กั้ง ๑ | น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Stomatopoda มีหลายวงศ์ ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Squillidae หายใจด้วยเหงือก ลำตัวแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๕ แต่ไม่ถึงปล้องที่ ๘ กรีมีลักษณะแบนราบ มี ๖ ขา, กั้งตั๊กแตน ก็เรียก. |
แต๊ดแต๋ | ว. มีลักษณะแบนราบเพราะถูกกดถูกเหยียบเป็นต้น ในคำว่า แบนแต๊ดแต๋, แป๊ดแป๋ ก็ว่า. |
แป๊ดแป๋ | ว. มีลักษณะแบนราบเพราะถูกกดถูกเหยียบเป็นต้น ในคำ แบนแป๊ดแป๋, แต๊ดแต๋ ก็ว่า. |
แปล้ | (แปฺล้) ว. แบนราบ เช่น หวีผมแปล้, เพียบ, เต็มที่ เช่น อิ่มแปล้ หนักแปล้ |
แผ่ | ก. คลี่ขยายกระจายออกไปให้มีลักษณะแบนราบหรือกว้างกว่าเดิมหรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แผ่อาณาเขต แผ่หาง |
มวน ๑ | น. ชื่อแมลงอันดับ Hemiptera เมื่อโตเต็มที่มีปีก ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างยาว แคบ เนื้อปีกครึ่งหน้าแข็งครึ่งหลังอ่อน ปีกคู่หลังอ่อนเป็นแผ่นบางตลอด เมื่อพับปีกจะแบนราบแนบไปตามลำตัวด้านหลัง ปากแบบเจาะดูด หลายชนิดปล่อยกลิ่นฉุน และเป็นศัตรูพืช พวกที่อยู่ในวงศ์ Pentatomidae เช่น มวนเขียว [ Rhynchocoris humeralis (Thunberg) ] ทำลายผลส้ม, แมลงแกง [ Tessaratoma javanica (Thunberg) ] ทำลายผลลิ้นจี่และลำไย, ที่อยู่ในวงศ์ Pyrrhocoridae เช่น มวนแดงฝ้าย [ Dysdercus cingulatus (Fabricius) ] ทำลายทุกส่วนของฝ้าย. |
เม่า ๒ | น. เรียกปลวกทุกชนิดในระยะที่มีปีกเพื่อบินออกผสมพันธุ์ ลำตัวขนาดแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด ยาวตั้งแต่ ๐.๕-๒.๗ เซนติเมตร มีปีก ๒ คู่ยาวกว่าลำตัว เหมือนกันทั้งรูปทรงและเส้นปีก เมื่อพับปีก ปีกจะแบนราบไปตามลำตัวด้านหลัง เมื่อผสมพันธุ์แล้วสลัดปีกและเฉพาะตัวเมียจะไปสร้างรังใหม่ ว่า แมลงเม่า. |
แย้ ๑ | น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานในวงศ์ Uromastycidae ลำตัวแบนราบคล้ายกิ้งก่า ยาวประมาณ ๑๖ เซนติเมตร ข้างตัวมีสีสวย ไม่มีหนามสันหลัง อาศัยขุดรูอยู่ในดิน หากินตามพื้นดิน กินพืชและตัวอ่อนแมลง ไม่ขึ้นต้นไม้ ในประเทศไทยที่พบแล้วมี ๔ ชนิด คือ ชนิด Leiolepis belliana (Hardwick & Gray), L. reevesii (Gray), L. triploida Peters และ L. boehmei Darevski & Kupriyanova. |
เรือด | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Cimicidae ลำตัวแบนราบรูปไข่ ปีกลดรูปเหลือเพียงติ่ง ลำตัวยาว ๔-๕ มิลลิเมตร สีนํ้าตาลแดง พบซ่อนตัวอยู่ตามที่อับเช่นที่อยู่อาศัยของคนและสัตว์โดยเฉพาะเตียงนอน พื้นบ้าน ที่นอนหมอนมุ้ง ร่องกระดาน ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ที่แพร่หลายมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Cimex lectularius Linn. และชนิด C. hemipterus (Fabricius). |