มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N | [มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: N] (n, vi, vt, modal, verb, aux, verb, adj, adv, prep, conj, pron, phrase, jargon, slang, colloq, vulgar, abbrev, name, o) มาริลิน มอนโร (อังกฤษ: Marilyn Monroe) หรือชื่อเกิด นอร์มา จีน มอร์เทนสัน (อังกฤษ: Norma Jeane Mortenson) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1926 – 5 สิงหาคม ค.ศ. 1962) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชาวอเมริกัน มีชื่อเสียงจากบทบาท "dumb blonde" เธอกลายเป็นสัญลักษณ์ทางเพศที่ได้รับความนิยมในคริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นสัญลักษณ์ของทัศนคติที่มีต่อเพศแห่งยุค แม้ว่าเธอได้เป็นนักแสดงระดับต้น ๆ เพียงแค่หนึ่งทศวรรษ ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้ได้ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐก่อนที่เธอจะเสียชีวิตอย่างไม่คาดคิดใน ค.ศ. 1962[ 1 ] เธอยังถือว่าเป็นสัญรูปของวัฒนธรรมสมัยนิยมหลัก ๆ นับแต่นั้นมา[ 2 ] มอนโรเกิดและเติบโตในลอสแอนเจลิส วัยเด็กเธออาศัยอยู่ในบ้านรับเลี้ยงเด็ก และสถานเด็กกำพร้า และสมรสครั้งแรกเมื่ออายุ 16 ปี ขณะทำงานในโรงงานเป็นส่วนหนึ่งของกำลังสงคราม ใน ค.ศ. 1944 เธอพบกับช่างภาพคนหนึ่ง และเริ่มทำอาชีพนางแบบ งานของเธอทำให้เธอได้เซ็นสัญญากับภาพยนตร์ขนาดสั้น 2 เรื่องกับค่ายทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (1946-1947) และโคลัมเบียพิกเจอส์ (1948) หลังจากรับบทย่อยในภาพยนตร์จำนวนหนึ่ง เธอเซ็นสัญญาใหม่กับฟอกซ์ใน ค.ศ. 1951 เธอกลายเป็นนักแสดงที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วด้วยบทบาทตลกขบขันหลายบทบาท เช่นในเรื่อง แอสยังแอสยูฟีล (1951) และมังกีบิสเนส (1952) และในภาพยนตร์ดรามาเรื่อง แคลชบายไนต์ (1952) และ โดนต์บาเดอร์ทูน็อก (1952) มอนโรเผชิญหน้ากับข่าวลือหลังจากมีการเปิดเผยว่าเธอเคยถ่ายแบบเปลือยก่อนมาเป็นนักแสดง แต่แทนที่จะทำลายอาชีพเธอ มันกลับทำรายได้ให้กับบอกซ์ออฟฟิศ ก่อน ค.ศ. 1953 มอนโรเป็นหนึ่งในดาราฮอลลิวูดที่มีบทบาทนำในภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ ฟิล์มนัวร์ เรื่อง ไนแอการา (ภาพยนตร์ ค.ศ. 1953)|ไนแอการา ซึ่งมุ่งจุดสนใจที่เสน่ห์ทางเพศของเธอ และภาพยนตร์ตลกเรื่อง เจนเทิลเม็นพรีเฟอร์บลอนส์ และ ฮาวทูแมร์รีอะมิลเลียนแนร์ ซึ่งสร้างภาพลักษณ์ให้เธอเป็น "dumb blonde" แม้ว่าเธอจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างและจัดการภาพลักษณ์สาธารณะของเธอตลอดอาชีพการทำงาน เธอรู้สึกผิดหวังต่อสตูดิโอที่ไทป์แคสต์ และการให้ค่าตัวเธอต่ำไป เธอถูกพักงานเป็นช่วงสั้น ๆ ในต้นปี ค.ศ. 1954 เนื่องจากเธอปฏิเสธโครงการทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่กลับมาเป็นดาราในภาพยนตร์เรื่องที่ประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่งคือ เดอะเซเวนเยียร์อิตช์ (1955) เมื่อสตูดิโอยังลังเลที่จะเปลี่ยนแปลงสัญญาของเธอ มอนโรก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ใน ค.ศ. 1954 ชื่อ มาริลิน มอนโร โพรดักชันส์ (MMP) ขณะก่อสร้างบริษัท เธอเริ่มศึกษาการแสดงที่แอกเตอส์สตูดิโอ ในปลายปี ค.ศ. 1955 ฟอกซ์มอบฉันทะให้เธอควบคุมและให้เงินเดือนสูงขึ้น หลังจากได้รับคำสรรเสริญจากการแสดงในเรื่อง บัสสต็อป (1956) และการแสดงในภาพยนตร์อิสระเรื่องแรกของบริษัท MMP เรื่อง เดอะพรินซ์แอนด์เดอะโชว์เกิร์ล (1957) เธอได้รับรางวัลลูกโลกทองคำจากเรื่อง ซัมไลก์อิตฮอต (1959) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของเธอที่ถ่ายทำจนเสร็จคือเรื่อง เดอะมิสฟิตส์ (1961) |
แต่กลับ | (conj) but, Syn. แต่, กลับ, Example: ในขณะที่ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ นั้นมีราคาถูกลงแต่กลับมีขีดความสามารถสูงขึ้น |
ใกล้เกลือกินด่าง | ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี. |
ดีแตก | ว. เคยดีมาแล้วแต่กลับเสียในภายหลัง. |
เดาะ ๑ | โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กำลังจะดี แต่กลับมีข้อบกพร่องเสียกลางคัน ใช้เป็นคำแทนกริยาหมายความว่า ทำแปลกกว่าธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้. |
ตาไม่มีแวว | ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมาให้เลือกแต่กลับไปเลือกของเลว. |
ทะลึ่ง | ให้ทำอย่างหนึ่งแต่กลับไปทำอีกอย่างหนึ่ง เช่น ใช้ให้ไปซื้อของทะลึ่งไปว่ายน้ำเสียนี่. |
ทำคุณบูชาโทษ | ก. ทำความดีต่อผู้อื่น แต่กลับเป็นโทษแก่ผู้ทำ, ทำดีแต่กลับเป็นร้าย, มักใช้พูดเข้าคู่กับ โปรดสัตว์ได้บาป. |
ปรานีตีเอาเรือ | ก. เอ็นดูหรือเผื่อแผ่เขา แต่กลับถูกประทุษร้ายตอบ เช่น มุทะลุดุดันขันเหลือ ปรานีตีเอาเรือเสียอีกเล่า (สังข์ทอง). |
โปรดสัตว์ได้บาป | ก. ทำดีแต่กลับได้ชั่ว, มักพูดเข้าคู่กับ ทำคุณบูชาโทษ ว่า ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป. |
มวยล้ม | น. การชกมวยบนเวทีที่คู่ต่อสู้ฝ่ายหนึ่งแกล้งยอมเป็นฝ่ายแพ้ เพื่อหวังผลในการพนัน, โดยปริยายหมายถึงการต่อสู้หรือเรื่องราวที่ดูเหมือนเอาจริงเอาจัง แต่กลับไม่จริงหรือเลิกล้มไป. |
มือถือสาก ปากถือศีล | ว. มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว. |
รกบิน | น. รกที่ไม่ออกมาตามปรกติภายหลังคลอด แต่กลับตีขึ้นข้างบน. |
เสียชาติเกิด | ก. เกิดมาแล้วควรจะทำให้ได้ แต่กลับไม่ได้ทำหรือทำไม่สำเร็จ หรือทำความดีไม่ได้ ก็ไม่น่าจะเกิดมาเป็นคน เช่น เกิดเป็นไทย ใจเป็นทาส เสียชาติเกิด เกิดมาเป็นคนทั้งที ต้องทำความดีให้ได้ จะได้ไม่เสียชาติเกิด. |
หมูเขี้ยวตัน | น. บุคคลที่คิดว่าจะหลอกหรือเอาชนะได้ง่าย ๆ แต่กลับปรากฏว่าตรงกันข้าม เช่น นักมวยที่สั่งมาชกโดยคิดว่าจะเป็นหมู กลับกลายเป็นหมูเขี้ยวตันไป. |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
symmetry | สมมาตร, ลักษณะรูปร่างของวัตถุหรือรูปภาพซึ่งเมื่อแบ่งด้วยระนาบหรือเส้นหรือจุดอ้างอิงแล้วจะได้สองซีกซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันแต่กลับกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
no-show | (n) คนที่คาดว่าจะมาแต่กลับไม่มา, See also: สถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดแต่กลับไม่เกิด |
backslash | \ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C: |
dvorak keyboard | แป้นพิมพ์ดีโวรักแป้นพิมพ์แบบพิเศษ ที่อ้างว่าจัดเรียงลำดับของแป้นอักษรและสัญลักษณ์ เพื่อให้ สะดวกในการใช้สอยสูงสุด แต่กลับมีคนรู้จักน้อยและไม่นิยมใช้กันเท่าใดนัก ดู Qwerty keyboard เปรียบเทียบ |
infinite loop | วงวนไม่จุดจบหมายถึง คำสั่งในโปรแกรมที่สั่งให้เครื่องปฏิบัติการไปตามคำสั่งตามลำดับขั้นตอน แต่กลับวนไปที่คำสั่งเก่าซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างไม่รู้จักจบ เพราะหาทางออกไม่ได้ (อาจเกิดจากความบกพร่องในการเขียนโปรแกรม) มีความหมายเหมือน endless loop |
vice versa | (ไว'ซะ เวอ'ซะ) ในทางกลับกัน, แต่กลับกัน, ในทำนองเดียวกัน |