จแจ้น | ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคำว่า หนีญญ่ายพายจแจ้น (จารึกสยาม). |
แจ้น | ก. รีบไปหา (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น แจ้นไปหา แจ้นไปฟ้องครู แจ้นมาแต่เช้า. |
แจ้น | ว. อาการที่วิ่งเร็ว เช่น วิ่งแจ้น. |
คำกร่อน | น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็นอักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออกเสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระโครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ. |
ญญ่าย | (ยะย่าย) ว. แตกจากหมู่, กระจัดกระจาย, ในคำว่า หนีญญ่ายพ่ายจแจ้น (จารึกสยาม). |