ก้นขบ | น. ชื่องูขนาดเล็กชนิด Cylindrophis ruffus (Laurenti) ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดำแกมม่วง มีลายประตามลำตัวสีขาวเห็นได้ชัดเมื่อยังมีขนาดเล็ก ท้องมีลายดำขาวสลับกัน พื้นท้องของหางเกือบปลายสุดมีสีแดงอมส้ม ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษข้างหางเพราะชูและแผ่หางแบนม้วนให้เห็นเมื่อพบศัตรู. |
กระจกนูน | น. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวควํ่า สะท้อนแสงให้เกิดภาพเสมือนหัวตั้งมองเห็นได้ที่ผิวกระจกนั้น. |
กระดี๊กระด๊า | ก. ระริกระรี้, ตื่นเต้นแสดงความสนใจเพศตรงข้าม, เช่น พอเห็นหนุ่มหล่อ ๆ มาร่วมงาน สาว ๆ ก็กระดี๊กระด๊ากันเป็นแถว, แสดงท่าทางอย่างเห็นได้ชัดว่าดีใจหรือพอใจมาก เช่น แค่รู้ว่าผู้ชายจะมาสู่ขอลูกสาว ว่าที่แม่ยายก็กระดี๊กระด๊าจนเก็บอาการไม่อยู่, ตื่นเต้นแสดงความดีใจจนเกินงาม เช่น พอรู้ว่าหัวหน้าจะพาไปเที่ยวทะเลก็กระดี๊กระด๊ากันไปทั้งแผนก, กะดี๊กะด๊า หรือ ดี๊ด๊า ก็ว่า. |
กระเดือก ๑ | น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชายเรียกว่า ลูกกระเดือก. |
เก้ง | น. ชื่อกวางในสกุล Muntiacusวงศ์ Cervidae เป็นกวางขนาดเล็ก ขนสีนํ้าตาลอมเหลืองจนถึงนํ้าตาลเข้ม หน้าผากเป็นสันเห็นได้ชัดเจน ตัวผู้มีเขาและเขี้ยว ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ อีเก้งหรือฟาน [ M. muntjak (Zimmermann) ] และเก้งหม้อ เก้งดำ ฟานดำ หรือกวางจุก [ M. Feae (Tomas & Doria) ] ตัวโตกว่าชนิดแรก ขนสีนํ้าตาลแก่เกือบดำ หัวมีขนลักษณะคล้ายจุกสีเหลืองแซมดำ. |
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก. |
เค้า ๒ | น. ชื่อนกขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่หลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Strigidae และวงศ์ Tytonidae หัวโต ตาโตอยู่ทางด้านหน้าของหัว มองเห็นได้ดีในเวลากลางคืน ขนรอบหัวและหน้าพองฟู รูปหน้าคล้ายรูปหัวใจ ขนตามลำตัวนุ่มหนาและเบามีลายเป็นจุด ๆ หรือลายคล้ายเกล็ดปลา หากินในเวลากลางคืน กลางวันหลบพักผ่อนตามต้นไม้ เช่น แสก [ Tyto alba (Scopoli) ] เค้ากู่หรือฮูก ( Otus lempiji Pennant) เค้าใหญ่พันธุ์สุมาตรา [ Bubo sumatranas (Raffles) ] เค้าป่าสีน้ำตาล ( Strix leptogrammica Temminck) เค้าโมงหรือเค้าแมว [ Glaucidium cuculoides (Vigors) ] เค้าเหยี่ยว [ Ninox scutulata (Raffles) ], ฮูก ก็เรียก. |
จักจั่น ๑ | (จักกะ-) น. ชื่อแมลงในวงศ์ Cicadidae ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกส่วนใหญ่ใสเหมือนกันทั้ง ๒ คู่ เมื่อเกาะอยู่กับที่ปีกพับเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิดเจาะดูด ตาโตเห็นได้ชัด เพศผู้มีอวัยวะทำเสียงอยู่ทางด้านล่างของส่วนท้องได้ยินไปไกล ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ที่พบบ่อยเป็นชนิด Dundubia intermerata Walker. |
จุดบอด | น. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณหลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้. |
จุลทรรศน์ | น. กล้องขยายดูของเล็กที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า. |
ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
ชาปีไหน | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Caloenas nicobarica Linn. ในวงศ์ Columbidae ลำตัวสีเขียวเหลือบเทา มีสร้อยคอสีเขียวเห็นได้ชัด ขนหางสีขาว มักเกาะตามกิ่งไม้หนาทึบ หากินตามพื้นดิน กินเมล็ดพืช พบตามหมู่เกาะทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่มีชุกชุมทางด้านทะเลอันดามัน, กะดง ก็เรียก. |
ด้วง ๑ | น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลำตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อพับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังเป็นแผ่นใหญ่บางใสพับซ้อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ชัดเจน เช่น ด้วงแรด ในวงศ์ Scarabaeidae ด้วงดิน ในวงศ์ Carabidae ด้วงงวง ในวงศ์ Curculionidae ด้วงบางชนิดมีชื่อเรียกต่างออกไป เช่น กว่าง ค่อม ตด ทับ แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงในอันดับอื่น ๆ, แมลงปีกแข็ง ก็เรียก. |
ดาวเคราะห์ | น. ดาวที่ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ต้องได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และเป็นบริวารโคจรรอบดวงอาทิตย์ มี ๘ ดวง คือ พุธ (Mercury) ศุกร์ (Venus) โลก (Earth) อังคาร (Mars) พฤหัสบดี (Jupiter) เสาร์ (Saturn) มฤตยู (Uranus) สมุทร (Neptune) มองจากโลกจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเพียง ๕ ดวง คือ พุธ ศุกร์ อังคาร พฤหัสบดี และเสาร์. |
ดาว ๒ | น. ชื่อเสือชนิด Panthera pardus (Linn.) ในวงศ์ Felidae ขนาดใหญ่รองลงมาจากเสือโคร่ง ขนสีนํ้าตาลแกมเหลือง มีแต้มสีดำคล้ายรอยขยุ้มตีนหมากระจายทั่วตัว ว่องไว ปีนขึ้นต้นไม้ได้ดี บางตัวขนส่วนที่เป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองเป็นสีดำ และมีแต้มสีดำอยู่ทั่วตัวเช่นกัน เห็นได้ชัดเมื่อถูกแสง เรียก เสือดำหรือเสือแมลงภู่. |
เด่น | ว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่กว่าธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถเยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น. |
เดือนค้างฟ้า | น. ดวงจันทร์ที่ยังมองเห็นได้ในท้องฟ้าเวลากลางวัน. |
โด่ | ว. ใช้ประกอบคำกริยาบางคำเพื่อเน้นความหมายว่า ตรงขึ้นไป หรือเด่นเห็นได้ชัดเจน เช่น นั่งหัวโด่ ตั้งโด่. |
โดดเด่น | ว. พิเศษอย่างเห็นได้ชัด เช่น งานวิจัยเรื่องนี้โดดเด่นมาก. |
ตาทิพย์ | น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. |
ตำหนิ | น. รอยแผลเป็นหรือไฝปานเป็นต้นที่เป็นเครื่องหมายให้สังเกตเห็นได้, รอยเสียที่ผลไม้หรือสิ่งของ. |
ตุ่น ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Talpa micrura Hodgson ในวงศ์ Talpidae รูปร่างคล้ายหนูตะเภา ลำตัวอ้วนป้อม หัวเล็ก ตาเล็กมาก จมูกแหลม ขนอ่อนนุ่ม เล็บตีนหน้ายาวใหญ่เห็นได้ชัด ขุดรูเป็นที่อยู่อาศัย กินพืช, ติ่ง ก็เรียก. |
ทิพจักขุ | น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. |
ทิพยจักษุ | น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. |
ทิพยเนตร | น. ตาทิพย์ คือ จะดูอะไรเห็นได้ทั้งหมด. |
ทึดทือ | น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ]. |
ทุงงะ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดกลางชนิด Neolissochilus dukai (Day) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวยาวเรียว แบนข้าง ปากเล็กอยู่ตํ่า บริเวณหัวตอนหน้าหรือก่อนถึงตามีตุ่มเนื้อขนาดเล็กกระจายอยู่ เกล็ดใหญ่ มีจุดสีดำที่โคนครีบหางเห็นได้ชัดในปลาขนาดเล็ก พบอาศัยอยู่ตามเขตต้นนํ้าลำธารบริเวณภูเขาทั่วประเทศ ที่ดอยหัวมด ในเขตของภาคเหนือ เรียก แป้งแช่. |
เทิ่ง | ว. ที่ปรากฏชัดหรือเห็นได้อย่างชัดแจ้ง เช่น เดินเทิ่ง ๆ แบกของมาเทิ่ง ๆ. |
โท่ | ว. เป็นช่องกว้างใหญ่เห็นได้จะแจ้ง. |
เนบิวลา | น. บริเวณที่มีลักษณะเป็นฝ้าเรืองแสง ปรากฏเห็นได้บางแห่งบนท้องฟ้า มีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยกลุ่มแก๊ส กลุ่มดาวฤกษ์ และวัตถุต่าง ๆ ที่จะก่อตัวรวมกันเป็นดาวฤกษ์. |
โปร่งใส | ว. มีสมบัติที่แสงผ่านได้และมองเห็นได้ตลอด. |
พุก ๑ | น. ชื่อหนูในสกุล Bandicota วงศ์ Muridae มีฟันแทะขนาดใหญ่เห็นได้ชัด ตัวสีนํ้าตาล ดำ หรือเทา ขนตามลำตัวหยาบแข็งจะพองขึ้นโดยเฉพาะเวลาขู่ หางกลมยาวและหนา กินพืช มี ๒ ชนิด คือ หนูพุกเล็ก ( B. savilei Thomas) ตัวเล็กสีเทา และหนูพุกใหญ่ [ B. indica (Bechstein) ] ตัวใหญ่สีดำ นิสัยดุ. |
ม้าลาย | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างคล้ายม้าแต่มีลายสีดำและสีขาวพาดขวางลำตัวตัดกันเห็นได้ชัดเจน จมูกดำ ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้าเป็นกีบเดี่ยวกลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหางมีขนสั้น อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงตามทุ่งหญ้า ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi (Oustalet) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ชนิด E. burchelli (Gray) เป็นชนิดที่นิยมนำมาเลี้ยงตามสวนสัตว์ทั่ว ๆ ไป. |
มาน ๑ | น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่งพองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจลำบาก เท้าบวม เป็นต้น. |
เมฆคลุ้ม, เมฆมาก | น. ปริมาณเมฆมากกว่า ๗ ใน ๘ ในท้องฟ้า ซึ่งสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า ใช้ในการพยากรณ์อากาศ. |
รุ้ง ๒ | น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด Spilornis cheela (Latham) ในวงศ์ Accipitridae มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง มีหงอนขนบริเวณท้ายทอยซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเจนขณะโกรธ ตกใจ หรือต่อสู้กัน ตัวสีน้ำตาลเข้ม หางสีน้ำตาลพาดขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินสัตว์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะงู, อีรุ้ง ก็เรียก. |
เรือธง | น. เรือที่ผู้บัญชาการกองเรือ ซึ่งมียศตั้งแต่พลเรือตรีขึ้นไปใช้เป็นที่บังคับบัญชากองเรือ ชักธงตามยศของผู้บัญชาการนั้นไว้บนยอดเสาสูงสุดเพื่อให้เรือลำอื่นในกองเดียวกันสังเกตเห็นได้ชัดเจน. |
แรด ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osphronemus gouramy Lacepède ในวงศ์ Osphronemidae ลำตัวแบนข้างหนา ปากเชิด ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น มีลายแถบสีเข้มพาดขวางลำตัวเห็นได้ชัดโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก ปลาตัวผู้ขนาดใหญ่มีโหนกที่สันหัวคล้ายนอและมีสีส้ม พื้นลำตัวและครีบสีนํ้าตาล ขนาดยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร. |
ลายน้ำ | น. ลวดลายหรือภาพในเนื้อกระดาษที่ทำขึ้นพร้อม ๆ กับกระดาษจะมองเห็นได้ชัดเมื่อยกกระดาษนั้นขึ้นส่องกับแสงสว่าง. |
ลิงลม | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก. |
ลูกกระเดือก | น. ส่วนของกล่องเสียง มีลักษณะโปนออกมากลางลำคอเหนือท่อลม เห็นได้ชัดในผู้ชาย. |
เลนส์สัมผัส | น. เลนส์เล็ก ๆ บาง ๆ ใช้ครอบตาดำเพื่อช่วยให้มองเห็นได้ดีอย่างคนสายตาปรกติ. |
วิทยุติดตามตัว | น. การกระตุ้นเตือนผู้พกพาเครื่องรับวิทยุที่ใช้ติดตัวโดยทางคลื่นวิทยุ ซึ่งกระทำผ่านข่ายโทรศัพท์สาธารณะ การกระตุ้นเตือนอาจประกอบด้วยเสียงพูดหรือรหัสที่มองเห็นได้ ซึ่งส่งมาจากผู้กระตุ้นเตือนหรือจากข่ายโทรศัพท์สาธารณะ. |
ไวรัส | น. เชื้อจุลินทรีย์ที่เล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา ไม่จัดเป็นเซลล์ มีทั้งที่ก่อโรคและไม่ก่อโรค เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง. |
ศิลปลักษณะ | น. คุณสมบัติของงานศิลปกรรมที่ปรากฏให้เห็นได้จากรูปวัตถุที่ได้รับการสร้างสรรค์อย่างมีระเบียบ มีความกลมกลืนและความเรียบง่าย. |
สลัว, สลัว ๆ | (สะหฺลัว) ว. ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ในห้องมีแสงสลัวมองเห็นได้ราง ๆ ใกล้ค่ำมีแสงสลัว ๆ. |
สายตา | น. ระยะที่ตาจะมองเห็นได้ เช่น สุดสายตา อยู่ในสายตา, โดยปริยายหมายความว่า ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น ความประพฤติของนักเรียนอยู่ในสายตาของครูอาจารย์, ความสอดส่องจับตาดูอยู่เสมอ เช่น พวกนักเลงอยู่ในสายตาของตำรวจ, ความสนใจ เช่น คนจนไม่อยู่ในสายตาของพวกเศรษฐี. |
สายรุ้ง | น. ชื่องูน้ำขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาว ๕๐-๑๑๕ เซนติเมตร เช่น สายรุ้งธรรมดา [ Enhydris enhydris (Schneider) ] ด้านข้างลำตัวมีเส้นสีชมพูอมเทาสลับม่วงตามความยาวลำตัวสะท้อนแสงคล้ายสายรุ้ง ลำตัวกลมป้อม แยกจากส่วนหางซึ่งเรียวเล็กกว่าลำตัวเห็นได้ชัด มักหากินตามแหล่งน้ำ กินปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีพิษอ่อน ชนิดอื่น เช่น สายรุ้งลาย [ E. jagorii (Peters) ] สายรุ้งดำ [ E. smithii (Boulenger) ]. |
เสาร์ | ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๖ ในระบบสุริยะ มองเห็นด้วยตาเปล่า อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๑, ๔๒๗ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตร ๑๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตร มีวงแหวนล้อมรอบที่เห็นได้ในกล้องโทรทรรศน์. |
Bionic Eye | ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example: ความหมายเดียวกับ Retinal Prosthesis หรือ Retinal Implant [Assistive Technology] |
Retinal Prosthesis | ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example: ความหมายเดียวกับ Bionic Eye หรือ Retinal Implant [Assistive Technology] |
Retinal Implant | ตาเทียม, เทคโนโลยีเพื่อช่วยผู้ที่ตาบอดมองเห็นได้อีก โดยการผ่าตัดฝังไมโครชิป (retinal implant) ไว้ที่เรตินาในลูกตา ใช้กล้องวิดีโอที่ติดไว้กับแว่นตา ส่งสัญญาณภาพไปยังไมโครชิป ที่เชื่อมกับเรตินาที่เสื่อม ทำหน้าที่แปลงแสงให้เป็นสารเคมีที่ไปกระตุ้นเซลประสาทในการเห็นภายในสมองส่วนกลาง, Example: ความหมายเดียวกับ Bionic Eye หรือ Retinal Prosthesis [Assistive Technology] |
Freedom of Communication | เสรีภาพในการติดต่อและสื่อสาร ถือเป็นสิทธิทางกฎหมาย (ไม่ใช่เพียงเอกสิทธิ์เท่านั้น) ที่สำคัญอันหนึ่งของนักการทูตย่อมจะเห็นได้ชัดว่า คณะทูต จะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างพึงพอใจ นอกจากจะมีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการที่จะมีหนังสือหรือวิถีทางอื่นๆ เพื่อติดต่อกับรัฐบาลของตน หรือจะส่งและรับจดหมาย หรือหนังสือต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่ถือสารพิเศษ หรือโดยถุงทางการทูต (Diplomatic pouch) สำหรับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในข้อ 27 ดังนี้?1. ให้รัฐผู้รับอนุญาตและคุ้มครองการสื่อสารโดยเสรีในส่วนของคณะผู้แทน เพื่อความมุ่งประสงค์ในทางการทั้งมวลเพื่อการติดต่อกับรัฐบาล และกับคณะผู้แทนและสถานกงสุลอื่นของรัฐผู้ส่ง ไม่ว่าตั้งอยู่ ณ ที่ใด คณะผู้แทนอาจใช้วิถีทางที่เหมาะสมทั้งมวลได้ รวมทั้งผู้ถือสารทางการทูต และสารเป็นรหัสหรือประมวล อย่างไรก็ดี คณะผู้แทนอาจติดตั้งและใช้เครื่องส่งวิทยุได้ด้วยความยินยอมของรัฐผู้รับ เท่านั้น 2. หนังสือโต้ตอบทางการของคณะผู้แทนจะถูกละเมิดมิได้ หนังสือโต้ตอบทางการ หมายถึง หนังสือโต้ตอบทั้งมวลที่เกี่ยวกับคณะผู้แทนและภารกิจหน้าที่ของคณะผู้แทน 3. ถุงทางการทูต (Diplomatic Pouch) จะไม่ถูกเปิดหรือถูกกักไว้ 4. หีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางการทูต จะต้องมีเครื่องหมายภายนอกที่เห็นได้ชัดเจน สามารถแสดงลักษณะของถุงทางการทูต ซึ่งอาจบรรจุเพียงเอกสารหรือสิ่งของทางการทูตที่เจตนาเพื่อใช้ในทางการเท่า นั้น 5. ผู้ถือสารทางการทูต (Diplomatic courrier) จะได้รับเอกสารทางการแสดงสถานภาพของตน และจำนวนหีบห่อซึ่งรวมเป็นถุงทางทูตนั้น ให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐผู้รับ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน ให้ผู้ถือสารทางการทูตได้อุปโภคความละเมิดมิได้ ส่วนบุคคลจะต้องไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด 6. รัฐผู้ส่งหรือคณะผู้แทนอาจแต่งตั้งผู้ถือสารทางการทูตเฉพาะกรณีได้ ในกรณีที่ว่านี้ให้นำบทแห่งวรรค 5 ของข้อนี้มาใช้ด้วย เว้นแต่ว่าความคุ้มกันที่กล่าวไว้ในวรรคนั้นให้ยุติไม่ใช้ เมื่อผู้ถือสารนี้ได้ส่งถุงทางการทูตในหน้าที่ของตนให้แก่ผู้รับแล้ว 7. ถุงทางการทูตอาจจะมอบหมายไว้แก่ผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์ ซึ่งได้มีพิกัดจะลง ณ ท่าเข้าเมืองที่ได้รับอนุญาตแล้วได้ ให้ผู้บังคับบัญชาของเครื่องบินพาณิชย์รับเอกสารทางการแสดงจำนวนหีบห่อซึ่ง รวมเป็นถุง แต่ไม่ใช่ถือว่าผู้บังคับการของเครื่องบินพาณิชย์เป็นผู้ถือสารทางทูต คณะผู้แทนอาจส่งบุคคลหนึ่งในคณะผู้แทนไปรับมอบถุงทางการทูตได้โดยตรง และโดยเสรีจากผู้บังคับการของเครื่องบิน? [การทูต] |
Good Offices และ Mediation | วิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยฉันมิตร คำว่า Good Offices หมายถึง การช่วยเป็นสื่อกลาง ส่วน Mediation หมายถึง การไกล่เกลี่ยศัพท์ทั้งสองนี้หมายถึงวิธีการที่จะระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ โดยฉันมิตร กล่าวคือ ในกรณีข้อพิพาทซึ่งการเจรจากันทางการทูตไม่สามารถตกลงกันได้ง่าย ๆ ดังนั้น รัฐที่สามอาจยื่นมือเข้าช่วยเป็นสื่อกลาง หน้าที่ในการนี้มิใช่ออกความเห็นหรือวินิจฉัยชี้ขาดว่าใครถูกใครผิดในกรณี ข้อพิพาท หากเป็นแต่เพียงแสวงหาลู่ทางที่จะระงับข้อพิพาทจะต้องมีให้น้อยที่สุดเท่า ที่จะทำได้ และถือว่าเป็นกาดรกระทำฉันมิตร (Friendly act) คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธข้อเสนอได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางการ เมือง หรือคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจขอร้องให้ช่วยเป็นสื่อกลาง หรือให้ช่วยไกล่เกลี่ย ตามธรรมดาการช่วยเป็นสื่อกลางนั้นเป็นเพียงการเข้าช่วยงานพื้นฐาน หรือให้มีการเริ่มต้นการเจรจาเท่านั้น ส่วนงานเจรจาที่จะกระทำโดยตรงกว่าจะมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ย แต่ในทางปฏิบัติไม่ค่อยมีการคำนึงกันนักถึงความแตกต่างจริงๆ ระหว่างวิธีทั้งสอง คู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจปฏิเสธไม่ยอมรับการไกล่เกลี่ยไม่ว่าเวลาใดก็ได้ จะเห็นได้ว่า การช่วยเป็นสื่อกลางกับการไกล่เกลี่ยนั้นแตกต่างกัน คือ ในกรณีการช่วยเป็นสื่อกลาง ฝ่ายที่สามจะกระทำแต่เพียงช่วยให้มีการหันหน้าเข้าเจรจากันระหว่างคู่พิพาท ส่วนในกรณีการไกล่เกลี่ย ฝ่ายที่สามพยายามจัดให้มีการเจรจากันจริง ๆ ตามมูลฐานข้อเสนอของตน ฝ่ายที่เสนอช่วยเป็นสื่อกลางหรือช่วยไกล่เกลี่ยนั้น อาจจะมาจากประเทศที่สาม หรือจากองค์การระหว่างประเทศ หรือจากบุคคลธรรมดาคนหนึ่งก็ได้ [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Neutralization, Neutrality หรือ Neutralism | คำว่า Neutraliza-tion หมายถึง กระบวนการซึ่งรัฐได้รับการค้ำประกันความเป็นเอกราชและบูรณภาพอย่างถาวรภาย ใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ รัฐที่ได้รับการประกันรับรองให้เป็นกลาง (Neutralized State) เช่นนี้จะผูกมัดตนว่า จะละเว้นจาการใช้อาวุธโจมตีไม่ว่าประเทศใดทั้งสิ้น นอกเสียจากว่าจะถูกโจมตีก่อน ตัวอย่างอันเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความ เป็นกลางอย่างถาวร คือ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตามปฏิญญา (Declaration) ซึ่งมีการลงนามกัน ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ประเทศใหญ่ ๆ ในสมัยนั้น คือ ออสเตรีย ฝรั่งเศส อังกฤษ ปรัสเซีย และรัสเซีย ได้รับรองว่า โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นการจำเป็นที่จะให้รัฐเฮลเวติก(Helvetic Swiss States) ได้รับการประกันความเป็นกลางตลอดไป ทั้งยังประกาศด้วยว่า รัฐสภาของสวิตเซอร์แลนด์ตกลงรับปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ได้ระบุไว้เมื่อไร ความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ก็จะได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางในทันที และแล้วสมาพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ประกาศยอมรับปฏิบัติตาม หรือให้ภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1815 บรรดาประเทศที่รับรองค้ำประกันความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศ รับรองดังกล่าว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1815 อนึ่ง การค้ำประกันความเป็นกลางในลักษณะที่ครอบคลุมทั้งประเทศของรัฐใดรัฐหนึ่ง นั้น มีความแตกต่างกับการค้ำประกันเพียงดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งของรัฐหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าดินแดนส่วนหนึ่งของรัฐที่ได้รับการค้ำประกันความเป็นกลางจะ ไม่ยอมให้ฝ่ายใดใช้ดินแดนส่วนที่ค้ำประกันนั้นเป็นเวทีสงครามเป็นอันขาด การค้ำประกันความเป็นกลางยังมีอีกแบบหนึ่งคือ รัฐหนึ่งจะประกาศตนแต่ฝ่ายเดียวว่าจะรักษาความเป็นกลางของตนตลอดไปโดยถาวร แต่ในกรณีเช่นนี้ ความเป็นเอกราชและบูรณภาพของรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางเพียงฝ่ายเดียว จะไม่ได้รับการค้ำประกันร่วมกันจากรัฐอื่น ๆ แต่อย่างใดส่วนคติหรือลัทธิความเป็นกลาง (Neutralism) เป็นศัพท์ที่หมายถึงสถานภาพของรัฐต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการน้ำประเทศของตนเข้ากับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในสงครามเย็น ( Cold War) ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ระหว่างกลุ่มประเทศภาคตะวันออกกับกลุ่มประเทศภาค ตะวันตก นอกจากนี้ ผู้นำบางคนในกลุ่มของรัฐที่เป็นกลาง ไม่เห็นด้วยกีบการที่ใช้คำว่า ?Neutralism? เขาเหล่านี้เห็นว่าควรจะใช้คำว่า ?ไม่ฝักใฝ่กับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด? ( Uncommitted ) มากกว่าจะเห็นได้ว่า คำว่า ?ความเป็นกลาง? ( Neutrality ) นั้น หมายถึงความเป็นกลางโดยถาวร ซึ่งได้รับการค้ำประกันจากกลุ่มประเทศกลุ่มหนึ่ง เช่นในกรณีประเทศสวิตเซอร์แลนด์ก็ได้หรือหมายถึงความเป็นกลางเฉพาะในดินแดน ส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ยอมให้ใครเข้าไปทำสงครามกันในดินแดนที่เป็นกลางส่วน นั้นเป็นอันขาดก็ได้ ดังนั้น พอจะเห็นได้ว่า แก่นแท้ในความหมายของความเป็นกลาง ( Neutrality) จึงอยู่ที่ท่าที หรือ ทัศนคติของประเทศที่ดำรงตนเป็นกลาง ไม่ต้องการเข้าข้างประเทศคู่สงครามใด ๆ ในสงคราม ในสมัยก่อนผู้คนยังไม่รู้จักความคิดเรื่องความเป็นกลางดังที่รู้จักเข้าใจ กันในปัจจุบัน ความเป็นกลางเป็นผลมาจากการทยอยวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ของความเป็นกลาง นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Regional Organizations | คือองค์การส่วนภูมิภาค ในเรื่องนี้ ข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติได้บัญญัติไว้ว่า ?ไม่มีข้อความใดในกฎบัตรฉบับปัจจุบัน อันจักริดรอนสิทธิประจำตัวในการป้องกันตนเองโดยลำพังหรือโดยร่วมกัน หากการโจมตีโดยกำลังอาวุธบังเกิดแก่สมาชิกของสหประชาชาติ จนกว่าคณะมนตรีความมั่นคงจะได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็น เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ มาตรการที่สมาชิกได้ดำเนินไปในการใช้สิทธิป้องกันตนเองนี้ จักต้องรายงานให้คณะมนตรีความมั่นคงทราบโดยทันที และจักไม่กระทบกระเทือนอำนาจและความรับผิดชอบของคณะมนตรีความมั่นคงภายใต้กฎ บัตรฉบับปัจจุบันแต่ทางหนึ่งทางใด ในอันที่จักดำเนินการเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้หรือสถาปนากลับคืนมา ซึ่งสันติภาพความมั่นคงระหว่างประเทศ?จะเห็นได้ว่า ประเทศต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะทำข้อตกลงกันในส่วนภูมิภาค โดยอาศัยสนธิสัญญา และโดยที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใกล้เคียงกัน ( Geographical Propinquity ) หรือมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และมีวัตถุประสงค์ที่จะอำนวยความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเมืององค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งที่พอจะหยิบยก มาเป็นตัวอย่างได้ คือ องค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งบัดนี้ได้ยุบเลิกไปแล้วเพราะหมดความจำเป็น องค์การรัฐอเมริกัน (Organization of American States-OAS) องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต้ (NATO) องค์การร่วมมือระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา (ANZUS) เป็นต้น องค์การภูมิภาคเหล่านี้ตั้งขึ้นโดยอาศัยข้อ 51 ของกฎบัตร สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของประเทศสมาชิกที่จะทำการป้องกันตนเองโดนลำพังหรือโดย ร่วมกัน หากถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ [การทูต] |
Gene | ยีน, ส่วนของดีเอ็นเอทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต ผ่านการสร้างโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ลักษณะที่ปรากฏภายนอกแบบต่างๆ เช่น รูปร่างหน้าตาของเด็กที่มีส่วนคล้ายกับพ่อแม่ สีสันของดอกไม้ หรือรสชาติของผลไม้ รวมไปถึงลักษณะภายในบางอย่างที่ไม่อาจสังเกตเห็นได้ด้วยตา เป็นผลโดยตรงหรือผลบางส่วน (ร่วมกับสิ่งแวดล้อม) จากการทำงานของยีน [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Blood, Gross | เลือดที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า [การแพทย์] |
Concentration, Minimum Detectable | ความเข้มที่น้อยที่สุดที่มองเห็นได้ [การแพทย์] |
Convulsions, Generalized | การสั่นกระตุกเห็นได้ชัดเจน [การแพทย์] |
annual ring | วงปี, ส่วนของไซเลมที่ปรากฏเป็นลายเนื้อไม้ มีลักษณะเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้นๆ มองเห็นได้เมื่อตัดต้นไม้ตามขวาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
virus | ไวรัส, สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา เจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้เมื่ออาศัยในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตอื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
end point | จุดยุติ, ภาวะที่อินดิเคเตอร์เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนสังเกตเห็นได้ในกระบวนการไทเทรต [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
indicator | อินดิเคเตอร์, สารที่บ่งชี้สมบัติบางอย่างในปฏิกิริยาเคมีโดยการเปลี่ยนสีหรือสมบัติบางอย่างที่มองเห็นได้ เช่น อินดิเคเตอร์สำหรับปฏิกิริยากรด-เบส จะเปลี่ยนเป็นสีหนึ่งในกรดและเป็นอีกสีหนึ่งในเบส หรือบางชนิดเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ตามช่วง pH ของสารละลายนอกจากนี้ยังมีอินดิเคเตอร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
far point | จุดไกล, ตำแหน่งวัตถุไกลที่สุดที่ตาจะมองเห็นได้ชัด สำหรับตาคนปกติจะมองเห็นวัตถุไกลที่สุดได้ชัดในระยะอนันต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
virtual image | ภาพเสมือน, ภาพของวัตถุที่เกิดจากแสงจากวัตถุไปสะท้อนหรือหักเหที่กระจกหรือเลนส์ แล้วแสงสะท้อนหรือแสงหักเหนี้เสมือนไปทำให้เกิดภาพซึ่งใช้ฉากรับไม่ได้ แต่เรามองเห็นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
spectrum | สเปกตรัม, แถบรังสีของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน สเปกตรัมที่มองเห็นได้คือแสง เมื่อแสงขาวผ่านปริซึมจะเกิดการหักเหเป็นแสงสีต่าง ๆ ซึ่งเรียกสเปกตรัม ตั้งแต่ความยาวคลื่นน้อยไปหามากตามลำดับดังนี้ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
solar spectrum | สเปกตรัมของแสงอาทิตย์, แถบแสงสีที่เกิดขึ้นเมื่อให้แสงอาทิตย์ผ่านปริซึม แถบแสงสีของสเปกตรัมที่มองเห็นได้คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
light | แสง, พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 4 x 10-7 ? 7.7 x 10-7 เมตร ซึ่งเป็นช่วงที่มองเห็นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
near point | จุดใกล้, ตำแหน่งวัตถุใกล้ที่สุดที่ตาจะมองเห็นได้ชัด สำหรับตาคนปกติจะมองเห็นวัตถุใกล้สุดได้ชัดที่ระยะ 25 เซนติเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
blog | บล็อก, ระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความเห็นได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Light, Visible | แสงที่มองเห็นได้, แสงในเขตที่มองเห็นด้วยตา, แสงที่เห็นได้ [การแพทย์] |
apparent | (adj) ซึ่งเห็นได้, Syn. visible |
be in view | (idm) สามารถมองเห็นได้, Syn. keep in |
be written on someone's face | (idm) มองเห็นได้ชัดเจน (จากสีหน้า) |
by all appearances | (idm) อย่างเห็นได้ชัด, See also: อย่างที่บอกไว้ |
clearsighted | (adj) ที่เห็นได้ชัดเจน, Syn. keen-eyed, keen-sighted |
commonplace | (n) สิ่งที่เห็นได้บ่อยๆ, See also: สิ่งที่เห็นได้ทั่วไป |
conspicuous | (adj) ที่เห็นได้ชัดเจน, Syn. obvious |
fall in place | (phrv) ชัดเจน, See also: เห็นได้ชัด, Syn. fall into |
demonstrable | (adj) ซึ่งทดลองให้เห็นได้, See also: ซึ่งพิสูจน์ได้ |
downright | (adj) ีโดยสิ้นเชิง, See also: อย่างชัดแจ้ง, เห็นได้ชัด, Syn. clear, distinct, vivid, visible, obvious, Ant. indistinct, invisible, unclear |
eagle-eyed | (adj) ซึ่งมีสายตาที่คมกริบ, See also: ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้ในสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น, Syn. keen-sighted, sharp-eyed, sharp-sighted |
eminent | (adj) ซึ่งเห็นได้ชัดเจน |
eminently | (adv) อย่างเห็นได้ชัด, See also: อย่างเด่นชัด, Syn. apparently, obviously |
etch | (vt) เห็นได้ชัดเจน, See also: ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจน |
evidently | (adv) อย่างชัดเจน, See also: อย่างกระจ่าง, อย่างเห็นได้ชัด, Syn. clearly, obviously |
flagrant | (adj) ที่ปรากฏชัด, See also: ชัดๆ, ที่เห็นได้ชัด, Syn. obvious, glaring, blatant, Ant. obscure, latent |
much in evidence | (idm) เห็นได้ชัด, See also: ชัดแจ้ง |
indiscernible | (adj) ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้, See also: ซึ่งไม่สามารถเข้าใจได้, Syn. imperceptible, indistinct, Ant. discernible, perceptible |
marked | (adj) ชัดเจน, See also: ที่เห็นได้ชัดเจน, โดดเด่น, Syn. noticeable, Ant. ordinary |
noticeable | (adj) โดดเด่น, See also: สะดุดตา, ซี่งเห็นได้ชัด, Syn. eminent, manifest, prominent, Ant. unnoticeable, unclear |
noticeably | (adv) อย่างเห็นได้ชัด, See also: อย่างชัดเจน |
observable | (adj) ที่สังเกตเห็นได้, See also: ที่เห็นได้, Syn. noticeable, visible, Ant. invisible |
ostensible | (adj) ที่เห็นได้ชัด, See also: แน่ชัด, Syn. apparent, obvious, Ant. vague, obscure |
outstanding | (adj) เป็นที่สังเกตเห็นได้, See also: เด่น, ซึ่งสังเกตเห็นได้ง่าย, Syn. prominent, conspicuous, Ant. ordinary, usual |
outstandingly | (adv) อย่างสังเกตเห็นได้, See also: อย่างโดดเด่น, Syn. superbly, notably, supremely |
outward | (adj) ที่มองเห็นได้, See also: ที่สามารถสังเกตได้, Syn. visible, apparent, Ant. invisible |
patent | (adj) ซึ่งเปิดโล่ง, See also: ซึ่งเห็นได้ชัด, ซึ่งเปิดเผย, Syn. clear, conspicuous, obvious, palpable, unconcealed, Ant. dim, hidden, obscure |
plain | (adj) ชัดแจ้ง, See also: กระจ่าง, แน่ชัด, เข้าใจง่าย, ง่าย, ซึ่งเห็นได้ชัด, Syn. clear, understandable, Ant. unclear |
show | (vi) มองเห็นได้, See also: เห็นได้ชัด, เห็นชัด |
show | (vt) มองเห็นได้, See also: เห็นได้ชัด, เห็นชัด |
sightless | (adj) ไม่สามารถมองเห็นได้, See also: ตาบอด, มองไม่เห็น, Syn. blind, eyeless, visionless |
show itself | (phrv) เห็นได้ชัด, See also: ชัดเจน, ชัดแจ้งจาก |
stay in sight of | (idm) ยังมองเห็นได้จาก (สถานที่) |
unseen | (adj) ที่ไม่สามารถเห็นได้, Syn. unnoticed, unperceived, Ant. noticeable |
unseen | (adj) ที่เห็นได้ไม่ชัดเจน |
vantage point | (n) ฐานะหรือตำแหน่งซึ่งได้เปรียบ, See also: จุดได้เปรียบ, จุดที่มองเห็นได้กว้างขวาง, Syn. vantage position, viewpoint |
visibility | (n) ความสามารถที่จะมองเห็นได้, See also: ทัศนวิสัย, ความชัดเจน อากาศ, Syn. perceptibility, observability |
visible | (adj) ที่สามารถมองเห็นได้, See also: มองเห็นได้, Syn. visual |
visibly | (adv) อย่างชัดแจ้ง, See also: อย่างเห็นได้ชัด, Syn. obviously, clearly, noticeably |
visual | (adj) ที่เห็นได้, Syn. visible |
will-o'-the-wisp | (n) แสงเรืองสีฟ้าของฟอสฟอรัสเห็นได้ในเวลากลางคืน, Syn. friar’s lantern, ignis fatuus, jack-o’-lantern |
witnessable | (adj) ซึ่งสามารถรับรู้ได้, See also: ซึ่งสามารถรู้เห็นได้ |
api | (เอพีไอ) ย่อมาจาก application program interface หมายถึงวิธีการอย่างหนึ่งที่ทำให้ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์รู้สึกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายขึ้นกว่าเดิม เช่น เอพีไอจะกำหนดขั้นตอนมาตรฐานให้โปรแกรมสำเร็จต่าง ๆ ทำงาน โดยวิธีให้ผู้ใช้เลือกจากรายการคำสั่ง (menu) หรือตอบคำถามในกรอบสนทนา (dialog box) แทนที่จะต้องจำคำสั่งอย่างแต่ก่อน การใช้ระบบวินโดว์บนเครื่องพีซีก็ดี OS/2 ก็ดี หรือระบบของแมคอินทอช ก็ดี ล้วนเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการนำเอพีไอมาใช้ |
atm. | abbr. 1. atmosphere, atmospheric 2. (เอทีเอ็ม) ย่อมาจาก automatic teller machine แปลว่า เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงิน ได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ |
automatic teller machine | เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ <คำแปล>นิยมใช้ตัวย่อว่า ATM หมายถึง เครื่องปลายทาง (terminal) ของคอมพิวเตอร์ของธนาคารที่ลูกค้าสามารถกดรหัสติดต่อกับธนาคารเพื่อใช้บริการบางอย่าง เช่น ฝากหรือถอนเงินได้ ในกรุงเทพ เครื่องเอทีเอ็ม นี้จะเห็นได้อยู่ทั่วไป เพราะได้รับความนิยมมาก ในปัจจุบัน เนื่องจากสะดวกและรวดเร็วกว่าการเดินทางไปธนาคาร แล้วยังต้องรอรับบริการจากพนักงาน การสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องเอทีเอ็ม และคอมพิวเตอร์ของธนาคาร จะใช้ผ่านทางสายโทรศัพท์เป็นส่วนใหญ่ |
bitmapped graphic | (กราฟิกบิตแมป) หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped image |
bitmapped image | ภาพบิตแมป <คำแปล>หมายถึง ภาพที่มีลักษณะของบิตแมป กล่าวคือประกอบด้วยจุดเล็ก ๆ ของแสงที่เรียกว่าจุดภาพ (pixel) จุดนี้จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก การขยายขนาดของภาพจะทำให้จุดนี้โตขึ้น และเห็นเป็นรอยหยัก ๆ ถ้าเป็นเส้นโค้ง ก็จะยิ่งเห็นได้ชัด โปรแกรมวาดภาพบางโปรแกรม เช่น MacPaint หรือ Paint จะสร้างและและเก็บภาพ ในลักษณะนี้ ในระบบวินโดว์ แฟ้มข้อมูลที่เก็บภาพประเภทนี้ จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .BMPมีความหมายเหมือน bitmapped graphic |
chi-square | (ไค'สแควร์) n. คำที่เท่ากับผลบวกทั้งหมดของตัวแปรของผลหารของ (ความแตกต่างระหว่างค่าเห็นได้กับค่าคาดหมาย) |
conceivable | (คันซีฟ'วะเบิล) adj. พอที่จะคิดออก, พอจะนึกภาพออก, เป็นไปได้, นึกเห็นได้ |
dawn | (ดอน) { dawned, dawning, dawns } n. อรุณ, รุ่งอรุณ, การเริ่มต้น, การเริ่มปรากฎขึ้น, การเข้าใจอย่างกะทันหัน vi. เริ่มทอแสง, เริ่มมองเห็นได้, เริ่มปรากฎขึ้นในใจครั้งแรก -S.beginning |
free-spoken | adj. ซึ่งพูดแสดงความคิดเห็นได้โดยอิสระ, ขวานผ่าซาก, พูดจาโผงผาง, See also: free-spokenly adv. free-spokenness n. |
imperceptible | (อิมเพอเซพ' ทะเบิล) adj. เล็กน้อย, นิดหน่อย, ไม่รู้สึก. -n. สิ่งที่ไม่สามารถรู้สึกได้, สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้., See also: imperceptibitity, imperceptibleness n. imperceptibly adv. |
inclusive or | (อินคลูซีฟ ออร์) และ/หรือเป็นตัวดำเนินการ (operator) ตัวหนึ่งที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม ใช้มากในคำสั่งที่เกี่ยวกับการเขียนภาพ ผลลัพธ์ของ inclusive OR จะเห็นได้จากตารางที่แสดง 1 คือจริง (true) และ 0 คือ เท็จ หรือ (false) ถ้าไม่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักคำสั่งนี้ก็ได้ |
keyboard buffer | ที่พักข้อมูล (ที่ส่งเข้าไปทางแป้นพิมพ์) หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keystroke buffer |
keystroke buffer | หมายถึง เขตพื้นที่ของหน่วยความจำส่วนหนึ่ง ที่แบ่งเอาไว้เพื่อรองรับสัญญาณ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อเราพิมพ์สัมผัสเร็วกว่าที่เครื่องจะรับปฏิบัติตามคำสั่งได้ทัน คอมพิวเตอร์ จะนำข้อมูลที่เรากดแป้นพิมพ์แล้ว ไปเก็บไว้ยัง "ที่พักข้อมูล" นี้ก่อน จะเห็นได้ว่า ในบางครั้ง แม้เราจะหยุดพิมพ์แล้ว ที่พักข้อมูลส่วนนี้ก็ยังทะยอยส่งข้อมูลที่เรากดแป้นไว้เข้าไปยังหน่วยความจำมีความหมายเหมือน keyboard buffer |
macroscopic | (แมคระสคอพ'พิค) adj. ซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า. |
night blindness | n. ภาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ดีหรือมองไม่เห็นในเวลากลางคืน, See also: nightblind adj., Syn. nyctalopia |
numeric format | รูปแบบการเขียนตัวเลขหมายถึง รูปแบบการแสดงจำนวนเลขที่อ่านได้ เห็นได้ เราอาจแสดงจำนวนเลขได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน เช่น .25 หรือ 25% เป็นต้น รวมทั้งการเขียนเลขแบบต่าง ๆ อย่างที่ใช้ในโปรแกรมตารางจัดการ เช่น 1000, 1, 000, 1, 000.00 ฯ |
observable | (อับเซิร์ฟ'วะเบิล) adj. น่าสังเกต, มองเห็นได้, เด่นชัด, น่าปฏิบัติตาม, น่าสนใจ, น่าฉลอง, See also: observability n. observably adv. |
obvious | (ออบ'เวียส) adj. ชัดเจน, ชัดแจ้ง, เด่นชัด, เห็นได้ง่าย, เข้าใจได้ง่าย., See also: obviousness n., Syn. clear |
panchromatic | adj. ไวต่อทุกสีที่มองเห็นได้., See also: panchromatism n. |
perceivable | (เพอซี'วะเบิล) adj. สังเกตได้, เห็นได้, เข้าใจได้., See also: perceivableness n. perceivability n. perceivably adv. |
photographic | (โฟทะแกรฟ'ฟิค) adj. เกี่ยวกับการถ่ายภาพ, ซึ่งใช้หรือเกิดจากการถ่ายภาพ, เหมือนของจริง, ซึ่งสามารถจดจำสิ่งที่เห็นได้ตลอด, Syn. vivid, detailed, visual |
seeable | (ซี'อะเบิล) adj. เห็นได้, See also: seeableness n. |
sightless | (ไซทฺ'ลิส) adj. ไม่สามารถจะมองเห็นได้, ตาบอด, มองไม่เห็น, See also: sightlessness n., Syn. blind |
stamp | (สแทมพฺ) vt. ตอก, ตี, ประทับ, กระแทก, กระทืบ, เหยียบ, บด, กด, ขยี้, กำจัด. vi. กระทืบ, เหนียบ, ย่ำ n. ตราประทับ, ตรา, รอยด่างประทับ, ดวงตราไปรษณียากร, ลักษณะเฉพาะ, เอกลักษณ์, เครื่องหมาย, สิ่งที่เห็นได้ชัด, เครื่องประทับตรา, เครื่องบด, เครื่องขยี้, เครื่องทุบ, การกระทืบ, การย่ำ, |
start button | ปุ่มเริ่มต้นในระบบวินโดว์ 95 และ 98 ปุ่มเริ่มต้นจะอยู่บนแถบงาน (task bar) ที่ด้านล่างซ้ายสุดของจอภาพ จะมองเห็นได้ทันทีที่คอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบวินโดว์เรียบร้อยแล้ว ถ้ากดเมาส์ที่ปุ่มนี้ จะมีเมนูให้เลือกสั่งงานได้หลายอย่างดู Start menu ประกอบ |
start menu | เมนูเริ่มแรกในระบบวินโดว์ 95 และ 98 เมนูเริ่มแรกนี้จะมองเห็นได้ทันทีที่กดเมาส์ที่ปุ่ม Start มีคำสั่งให้เลือกใช้ดังนี้ Programs, Documents, Settings, Find , Help, Run และ Shut downดู Start button ประกอบ |
time sharing | การแบ่งกันใช้เวลาหมายถึง การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ตัวประมวลผล เครื่องพิมพ์ และหน่วยขับจานบันทึกในเครื่องเมนเฟรม หรือเครือข่าย ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้ร่วมกันในเวลาเดียวกัน หรือมิฉะนั้นอาจใช้หมายถึงระบบการประมวลผลแบบหนึ่ง ที่ทำให้ เครื่องปลายทาง (terminal) ที่มีอยู่หลายเครื่อง สามารถแบ่งกันใช้เวลาของหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ได้ หมายถึงว่า ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน หรือพูดง่าย ๆ ได้ว่า เป็นสมรรถวิสัยของเครื่องที่จะสามารถรับข้อมูลจากเครื่องปลายทางได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ง่าย ๆ ก็คือการถอนเงินจากตู้เงินด่วนหรือเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM) ซึ่งก็คือเครื่องปลายทางแบบหนึ่งนั่นเอง หลายคนจะสามารถถอนเงินจากสาขาต่างกันได้พร้อม ๆ กัน ในเวลาเดียวกัน (บางทีเขียนติดกัน เป็น timesharing ก็มี) |
truism | (ทรู'อิสซึม) n. ความจริงที่แน่ชัด, ความจริงที่เห็นได้ง่าย., See also: truistic, truistical adj., Syn. platitude, banality |
vanish | (แวน'นิ?) vi. หายไป, อันตรธาน, สูญสิ้น, จากไป, ไม่มีอยู่, กลายเป็นศูนย์ vt. ทำให้หายไป. n. ส่วนท้ายสุดของเสียงสระที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดจากเสียงหลัก., See also: vanisher n. vanishingly adv. vanishment n., Syn. disappea |
vantage point | n. ฐานะหรือตำแหน่งที่ได้เปรียบ, จุดที่สามารถมองเห็นได้กว้างขวาง |
visibility | (วิซซะบิล'ลิที) n. ความสามารถที่จะมองเห็นได้, ทัศนวิสัย, Syn. perception |
visible | (วิส'ซะเบิล) adj. เห็นได้, มองเห็นได้, แน่ชัด, ชัดเจน, ชัดแจ้ง, เกี่ยวกับระบบเก็บข้อมูลที่สามารถเห็นได้ชัดทันที., See also: visibly adv. |
visual | (วิส'ชวล) adj. เกี่ยวกับสายตา, เกี่ยวกับการมอง, เกี่ยวกับการเห็น, ใช้ในการมอง, เกี่ยวกับจักษุประสาท, มองเห็นได้, เข้าใจได้, เกี่ยวกับกำลังสายตา, เกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ช่วยในเรื่องทัศนศึกษา., See also: visuals ภาพ, ทิวทัศน์, Syn. opti |
what you see is what you | what you see is what you get ได้อย่างที่เห็นใช้ตัวย่อว่า WYSIWIG (อ่านว่า วิซิวิก) เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ " ได้อย่างที่เห็น " หมดแล้ว |
wysiwyg | (วีซิวิก) ย่อมาจาก what you see is what you get แปลตามตัวว่า "ได้อย่างที่เห็น" เป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งของโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกรมการจัดพิมพ์ ซึ่งมีการนำภาพและข้อความ (text) มาผสมกัน หมายความว่า ถ้ามองเห็นบนจอภาพอย่างไร สั่งพิมพ์ออกมา ก็จะได้ผลอย่างที่เห็นนั้น ทั้งนี้เป็นเพราะเมื่อ ก่อนนี้ โปรแกรมไม่สามารถสั่งให้แสดงผลบนจอภาพได้ เช่น ถ้าสั่งให้พิมพ์ตัวเข้ม ตัวเอน ฯ จะไม่สามารถมองเห็นได้บนจอภาพ แต่จะเห็นเมื่อสั่งพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เท่านั้น ปัจจุบัน โปรแกรมใหม่ ๆ จะมีลักษณะ "ได้อย่างที่เห็น" หมดแล้ว |