เส้นตรง | น. เส้นที่สั้นที่สุดระหว่างจุด ๒ จุด. |
ขนาน ๒ | น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอด ว่า เส้นขนาน. |
ความเฉื่อย | น. สมบัติของเทหวัตถุที่จะคงสภาพนิ่งอยู่อย่างเดิมตลอดไปหรือคงสภาพเคลื่อนที่อย่างสมํ่าเสมอในแนวเส้นตรงตลอดไป. |
คอร์ด ๑ | น. เส้นตรงที่เชื่อมจุด ๒ จุด บนเส้นโค้งใด ๆ. |
ไดเรกตริกซ์ | น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กำหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, ปัจจุบันใช้ว่า เส้นบังคับ. |
บรรทัดราง | น. อุปกรณ์อย่างหนึ่งของช่างไม้ เป็นเชือกพันลูกรอกอยู่ในรางไม้ เมื่อดึงปลายเชือกออกจากรอก เชือกจะผ่านกระปุกซึ่งมีสีดำหรือสีแดงบรรจุอยู่ทำให้เชือกติดสี เมื่อดึงเชือกให้ตึงตรงแนวพื้นกระดานเป็นต้นที่ต้องการขีดเส้นแล้วดีด สีจากเชือกจะติดพื้นเป็นเส้นตรงตามต้องการ. |
มัธยฐาน | น. ชื่อเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดมุมของรูปสามเหลี่ยมกับจุดกึ่งกลางของด้านที่ตรงข้ามกับมุมนั้น. |
มิสกรี | (มิดสะกฺรี) น. เสื้อที่ใช้ผ้าค่อนข้างบาง ลักษณะเป็นเสื้อคอกลม ผ่าหน้าลึกพอให้สวมได้ แขนเสื้อต่อเป็นเส้นตรง. |
มือเที่ยง | มีความสามารถในการบังคับมือให้เขียนเส้นตรง เส้นโค้ง หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น ได้ตามที่ต้องการ เช่นในการเขียนเส้นตรงได้ตรงเหมือนไม้บรรทัดหรือเขียนวงกลมได้กลมดิกเป็นต้น. |
มุม | น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาวกับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจากเส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วมจุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม. |
มุมกดลง | น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนวระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่ตํ่ากว่าจุดเล็ง, มุมก้ม ก็เรียก. |
มุมยกขึ้น | น. มุมระหว่างเส้นตรงที่ลากจากจุดเล็งไปยังวัตถุกับเส้นตรงแนวระดับที่ลากผ่านจุดเล็งในเมื่อวัตถุนั้นอยู่สูงกว่าจุดเล็ง, มุมเงย ก็เรียก. |
มุมแย้ง | น. มุมที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นขนานคู่หนึ่ง อยู่เยื้องกันคนละข้างของเส้นตัดภายในเส้นขนานคู่นั้น รวมกันแล้วได้ ๑๘๐ องศา หรือ ๒ มุมฉาก. |
ยาว | ว. ลักษณะของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งที่ขยายออกไปไม่ได้แล้ว เช่น ถนนยาว ๓๐ กิโลเมตร เชือกยาว ๒ เมตร, ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งไปถึงอีกจุดหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน, ไม่สั้น เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว กระโปรงยาว, นาน (ใช้แก่เวลา) เช่น หน้าร้อนกลางวันยาวกว่ากลางคืน. |
รูปเหลี่ยม | น. รูปที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรงอย่างน้อย ๓ เส้น ปลายเส้นจดกัน. |
เรขาคณิต | น. คณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่ว่าด้วยการจำแนกประเภท สมบัติ และโครงสร้างของเซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น เส้นตรง วงกลม รูปสามเหลี่ยม ระนาบ รูปกรวย. |
แรง ๒ | น. อิทธิพลภายนอกใด ๆ ที่เปลี่ยนแปลงหรือพยายามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะอยู่นิ่งหรือสถานะการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอในแนวเส้นตรง. |
สั้น | ว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน. |
สามเหลี่ยม ๑ | น. รูปเหลี่ยมที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรง ๓ เส้น ปลายเส้นจดกัน. |
สี่เหลี่ยม | น. รูปเหลี่ยมที่มีด้านโดยรอบเป็นเส้นตรง ๔ เส้น ปลายเส้นจดกัน. |
เส้นรัศมี | น. เส้นตรงที่เชื่อมจุดศูนย์กลางของวงกลมกับจุดใด ๆ บนเส้นรอบวง. |
เส้นสมมาตร | น. เส้นตรงซึ่งแบ่ง รูปใด ๆ ออกเป็น ๒ ส่วนที่มีรูปร่างและขนาดเท่ากันทุกประการ. |
เส้นสัมผัส | น. เส้นตรงที่ตัด เส้นโค้งเส้นหนึ่ง ณ ตำแหน่งที่จุดตัดทั้ง ๒ ใกล้ชิดกันมากจนถือได้ว่าเป็นจุดเดียวกัน. |
เส้นขนาน | น. เส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอด |
เส้นตั้งฉาก | น. เส้นตรงที่ทำมุม ๙๐° กับอีกเส้นตรงหนึ่ง. |
เส้นทแยง | น. เส้นตรงที่ลากในแนวเอียงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง. |
เส้นทแยงมุม | น. เส้นตรงที่ลากจากมุมหนึ่งไปยังมุมตรงข้าม. |
เส้นบังคับ | น. เส้นตรงที่ตรึงอยู่กับที่ซึ่งคู่กับจุดโฟกัส ใช้กำหนดบังคับเซตของจุดชุดหนึ่งให้เรียงกันเป็นเส้นโค้งในระบบภาคตัดกรวย, เดิมใช้ว่า ไดเรกตริกซ์. |
เสือตกถัง | ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง วิธีเล่นต้องขีดเส้นตรง ๒ เส้นตัดกัน แล้วเขียนวงกลมไว้ระหว่างเส้นแห่งใดแห่งหนึ่ง สมมุติให้เป็นถัง ผู้เล่นมี ๒ ฝ่าย สมมุติเป็นเสือฝ่ายละ ๒ ตัว แต่ละฝ่ายจะสลับกันเดิน โดยเดินจากปลายเส้นหนึ่งไปยังปลายอีกเส้นหนึ่ง หรือจากปลายเส้นมายังจุดกลางก็ได้ ถ้าเสือฝ่ายใดเดินแล้วตกถัง ก็เป็นฝ่ายแพ้. |
Electron linear accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เครื่องเร่งอิเล็กตรอน ที่อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงด้วยสนามไฟฟ้า มีสองแบบคือ แบบที่อิเล็กตรอนถูกควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าสถิต และแบบที่ควบคุมด้วยสนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ แบบแรกให้พลังงานของอิเล็กตรอนต่ำกว่าแบบหลัง เครื่องเร่งชนิดนี้เหมาะสำหรับงานวิจัยทางฟิสิกส์ และการปรับปรุงคุณภาพวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ เช่น งานเคลือบผิววัตถุและงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ, Example: [นิวเคลียร์] |
linear electron accelerator | เครื่องเร่งอิเล็กตรอนเชิงเส้น, เป็นเครื่องเร่งอนุภาคแบบหนึ่ง ใช้เร่งอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรงภายใต้สนามไฟฟ้าสถิตย์(electrostatic field) หรือสนามไฟฟ้าสลับย่านความถี่คลื่นวิทยุ (Radio frequency field) เครื่องเร่งอนุภาคทั้งสองแบบ ให้อิเล็กตรอนที่มีช่วงพลังงานแตกต่างกัน ในเครื่องเร่งแบบไฟฟ้าสถิตย์ (electrostatic accelerator)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องเร่งแบบกระแสตรง (DC-accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งเป็นเส้นตรง ภายใต้ความต่างศักย์ระหว่างขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว เครื่องเร่งชนิดนี้สามารถเร่งลำอิเล็กตรอนให้มีพลังงานระหว่าง 0.1-0.5 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ นิยมใช้ในงานเคลือบผิววัตถุ การปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เช่น ฉนวนหุ้มสายไฟ การวัลคาไนซ์ของน้ำยาง ในเครื่องเร่งแบบใช้สนามไฟฟ้าย่านความถี่คลื่นวิทยุ (high frequency accelerator) อิเล็กตรอนถูกเร่งให้วิ่งผ่านท่อทรงกระบอกซึ่งเรียงกันเป็นเส้นตรง และต่อกับแหล่งกำเนิดศักดาไฟฟ้าซึ่งสลับขั้วด้วยความถี่ในย่านของคลื่นวิทยุ เครื่องเร่งนี้สามารถเร่งลำอิเลคตรอนให้มีพลังงานสูงในช่วง 5-10 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ เหมาะสำหรับงานผลิตเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ และงานวิจัยทางฟิสิกส์ [พลังงาน] |
Straight line method | วิธีเส้นตรง [การบัญชี] |
Modulus | อัตราส่วนระหว่างความเค้นต่อความเครียดในช่วงเส้นตรงของกราฟจากการ ทดสอบแรงดึงหรือแรงอัด รู้จักกันในชื่อของ Young's modulus [เทคโนโลยียาง] |
Axillary Line, Posterior | แนวขอบรักแร้หลังแนวเส้นตรงลากจากขอบหลังรักแร้, แนวเส้นที่ลากจากมุมหลังของรักแร้, เส้นดิ่งรักแร้ข้างหลัง, แนวขอบหลังของรักแร้ [การแพทย์] |
Baseline | เส้นตรง, ระดับเส้นฐาน, แนวฐาน, เส้นพื้น [การแพทย์] |
axis of symmetry | แกนสมมาตร, เส้นตรง L จะเป็นแกนสมมาตรของจุด P และจุด Q เมื่อลากส่วนของเส้นตรง PQ แล้ว L จะแบ่งครึ่งและตั้งได้ฉากกับส่วนของเส้นตรง PQ และในกรณีนี้กล่าวได้ว่าจุด P สมมาตรกับจุด Q L จะเป็นแกนสมมาตรของเส้นโค้ง C หรือ รูป A ใด ๆ เมื่อทุก ๆ จุดบนเส้นโค้งหรือบนรูปนั้นสมม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
magnitude of a vector | ขนาดของเวกเตอร์, ความยาวของส่วนของเส้นตรงที่มีทิศทางแทนเวกเตอร์นั้น โดยวัดจากจุดเริ่มต้นถึงจุดปลายของเวกเตอร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
slope (of a line) | ความชัน (ของเส้นตรง), m เป็นความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด P1 (x1, y1) และ P2 (x2, y2) ก็ต่อเมื่อ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chord | คอร์ด, ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดสองจุดใด ๆ บนเส้นรอบวงหรือเส้นโค้ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
terminal side | ด้านสิ้นสุด, ในการวัดมุมถ้าส่วนของเส้นตรง AP หมุมรอบจุด A ไปอยู่ในแนว AQ สิ่งที่เกิดขึ้นเรียกว่ามุม และเรียกส่วนที่เกี่ยวข้องกับมุมดังนี้ เรียกจุด A ว่า จุดยอดมุม เรียก AP ว่า ด้านเริ่มต้น เรียก AQ ว่า ด้านสิ้นสุด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vector quantity | ปริมาณเวกเตอร์, ปริมาณที่บอกทั้งขนาด และทิศทาง เช่น ความเร็ว ความเร่ง ปริมาณเวกเตอร์อาจแทนได้ด้วยส่วนของเส้นตรงที่ระบุทิศทาง โดยใช้ความยาวของส่วนของเส้นตรงแทนขนาดและใช้หัวลูกศรเพื่อบอกทิศทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
scalar quantity | ปริมาณสเกลาร์, ปริมาณที่มีแต่ขนาด ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา อุณหภูมิ อาจแทนปริมาณสเกลาร์ได้ด้วยความยาวของส่วนของเส้นตรง หรือระยะระหว่างจุดสองจุดบนเส้นตรง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
parabola | พาราโบลา, เซตของจุดทุกจุดบนระนาบ ซึ่งแต่ละจุดมีระยะห่างจากเส้นตรงคงที่ (ไดเรกทริกซ์)เป็นระยะทางเท่ากับระยะห่างจากจุดคงที่(โฟกัส)จุดหนึ่งเสมอ ดูรูป ไดเรกทริกซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vertical angles | มุมตรงข้าม, มุม 2 มุมที่มีขนาดเท่ากัน และเกิดจากเส้นตรง 2 เส้นตัดกันดังรูป a เป็นมุมตรงข้ามกับ a´ หรือ กลับกัน b เป็นมุมตรงข้ามกับ b´หรือ กลับกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
interior angle (formed by two lines and a transversal) | มุมภายใน (ของเส้นตัด), มุมที่เกิดขึ้นจากการที่มีเส้นตรงเส้นหนึ่ง ตัดเส้นตรงคู่หนึ่ง จากรูป เป็นมุมภายใน และ เป็นมุมภายนอกที่เกิดจากเส้นตรง t ตัดเส้นตรง m และ n [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alternate-interior angles | มุมแย้ง, มุมที่เกิดจากเส้นตรงเส้นหนึ่งตัดเส้นตรงใด ๆ ตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป ดังรูป เป็นมุมแย้งของ หรือกลับกัน เป็นมุมแย้งของ หรือกลับกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
angle of inclination | มุมเอียง, มุมที่เส้นตรงทำกับแกน X เมื่อวัดจากแกน X ในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเข้าหาเส้นตรง และมีขนาดน้อยกว่า 180° จากรูป คือ มุมเอียง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
frequency polygon | รูปหลายเหลี่ยมของความถี่, รูปหลายเหลี่ยมของความถี่ รูปหลายเหลี่ยมที่เกิดจากการลากเส้นตรงโยงระหว่างจุดกึ่งกลางบนแท่งสี่เหลี่ยมมุมฉากที่อยู่ติดกันของฮิสโทแกรมของข้อมูลชุดนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
line segment | ส่วนของเส้นตรง, ส่วนที่ตัดออกมาจากเส้นตรง มีความยาวจำกัด ส่วนของเส้นตรง AB เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
parallel lines | เส้นขนาน, เส้นตรงใด ๆ ในระนาบเดียวกันที่มีความชันเท่ากัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cumulative frequency curve [ ogive ] | เส้นโค้งของความถี่สะสม, เส้นโค้งที่ได้จากการปรับเส้นตรงที่โยงต่อระหว่างจุดซึ่งแทนคู่อันดับของค่าตัวแปร และค่าของความถี่สะสม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
number line | เส้นจำนวน, เส้นตรงที่มีจุด 0 เป็นจุดแทนศูนย์ จุดที่อยู่ทางขวาของจุด 0 แทนจำนวนบวกเช่น 1, 2, 3, ... และจุดที่อยู่ทางซ้ายแทนจำนวนลบ เช่น -1, -2, -3, ... โดยแต่ละจุดอยู่ห่างจุด 0 เป็นระยะ 1, 2, 3, ... หน่วยความยาว ตามลำดับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vertical line | เส้นดิ่ง, เส้นตรงที่ลากในแนวตั้งฉากกับแนวระดับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
straight line | เส้นตรง, เซตของจุด (x, y) ที่สอดคล้องกับสมการ y = a + bx เมื่อ a และ b เป็นจำนวนจริงใด ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
perpendicular lines | เส้นตั้งฉาก, เส้นตรงสองเส้นตั้งฉากกัน ก็ต่อเมื่อเส้นตรงทั้งสองตัดกันแล้วมุมประชิดจะมีขนาดเท่ากัน ในเรขาคณิตวิเคราะห์เส้นตรงสองเส้นซึ่งไม่อยู่ในแนวดิ่งจะตั้งฉากซึ่งกันและกัน ก็ต่อเมื่อผลคูณของความชันของเส้นตรงทั้งสอง มีค่าเท่ากับ -1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
secant line [ secant ] | เส้นตัด, เส้นตรงซึ่งตัดเส้นโค้งที่กำหนดให้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
transversal | เส้นตัด, เส้นตรงซึ่งตัดเส้นตรงอื่นตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
tangent line (to a curve) | เส้นสัมผัส (เส้นโค้ง), เส้นตรงที่ผ่านจุด P ซึ่งอยู่บนเส้นโค้งและอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกับเส้นตรงที่ลากผ่านจุด P และอีกจุดหนึ่งบนเส้นโค้งซึ่งเกือบทับจุด P [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
refraction | การหักเห, การที่คลื่นเปลี่ยนทิศหรือเปลี่ยนความเร็วการเคลื่อนที่เมื่อผ่านจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น เมื่อลำแสงผ่านตัวกลางโปร่งใสต่างชนิดกันที่อยู่ติดกันโดยไม่ตั้งฉากกับแนวรอยต่อของตัวกลางทั้งสอง ลำแสงที่ผ่านตัวกลางทั้งสองชนิดจะไม่เป็นเส้นตรงเดียวกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
straight pulse wave | คลื่นดลเส้นตรง, คลื่นดลที่มีหน้าคลื่นเป็นเส้นตรง เกิดจากแหล่งกำเนิดคลื่นที่เป็นเส้นตรง เช่น คลื่นน้ำซึ่งเกิดจากการรบกวนผิวน้ำด้วยไม้บรรทัดเพียงครั้งเดียว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
microwave | ไมโครเวฟ, สื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล โดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ampere (A) | แอมแปร์, หน่วยสำหรับวัดกระแสไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ A โดยกำหนดว่า 1 แอมแปร์ คือ กระแสคงตัวในตัวนำเส้นตรง 2 เส้นที่มีความยาวไม่จำกัด และเล็กมากไม่คิดพื้นที่หน้าตัด วางห่างกันเป็นระยะ 1 เมตรในสุญญากาศ จะเกิดแรงระหว่างตัวนำทั้งสองเท่ากับ 2.0 x 10?7 นิวตันต่อเมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radius | รัศมี, ส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดศูนย์กลางของวงกลมกับจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นรอบวง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ray | รังสี, ส่วนของเส้นตรง ซึ่งมีจุดเริ่มต้นแต่ไม่มีจุดปลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
translation | การเลื่อนขนาน, การเลื่อนขนานบนระนาบเป็นการแปลงทางเรขาคณิตที่มีการเลื่อนจุดทุกจุดไปบนระนาบตามแนวเส้นตรงในทิศทางเดียวกันและเป็นระยะทางที่เท่ากันตามที่กำหนด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
geometic figure | รูปเรขาคณิต, รูปที่ประกอบด้วย จุด เส้นตรง เส้นโค้ง ระนาบ ฯลฯ อย่างน้อยหนึ่งอย่าง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
one-dimensional collisions | การชนในหนึ่งมิติ, การชนของวัตถุสองชิ้น โดยแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทั้งก่อนการชนและหลังการชน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
two-dimensional collisions | การชนในสองมิติ, การชนของวัตถุสองชิ้น โดยแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งสองไม่อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน ทั้งก่อนการชนและหลังการชน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
shape | รูปร่าง, การนำเส้นตรงหรือเส้นโค้งมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นรูปปิด ลักษณะเป็น 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาว แต่ไม่มีความลึกหรือความหนา แบ่งได้เป็น รูปร่างเรขาคณิต รูปร่างในธรรมชาติ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
geometric shape | รูปร่างเรขาคณิต, รูปร่างที่ประกอบด้วยเส้นตรงและเส้นโค้ง เช่น วงกลม ครึ่งวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isometric grid paper [ isometric graph paper ] | กระดาษกริดไอโซเมตริก, กระดาษที่มีเส้นตรง 3 แกนตัดกัน เกิดเป็นตารางสามเหลี่ยมเพื่อใช้เป็นเส้นร่างกำหนดแนวความกว้าง ความยาว และความสูงของภาพที่เราจะวาด ประกอบด้วย แกน X (แกนทแยงขวา)ใช้แทนความกว้าง แกน Y (แกนทแยงซ้าย) ใช้แทนความยาวหรือลึก แกน Z (แกนตั้ง) ใช้แทนความสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Least-Squares Analysis | วิธีวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นตรง [การแพทย์] |
Line, Solid | เส้นตรง [การแพทย์] |
Linear | เป็นเส้นตรง, เส้นตรง, ลักษณะเป็นเส้น [การแพทย์] |
Linear Correlation, Inverse | ความสัมพันธ์แบบผกผันเป็นเส้นตรง [การแพทย์] |
Linear Expansion | การขยายตัวในแนวเส้นตรง [การแพทย์] |
Linear Measurement | วัดเป็นเส้นตรง, การวัดส่วนสูง [การแพทย์] |
Linear Program | บทเรียนแบบโปรแกรมแบบเส้นตรง [การแพทย์] |
Linear Range | ความเป็นเส้นตรงของกราฟมาตรฐาน [การแพทย์] |
align | (อะไลนฺ') vt. จัดให้เป็นเส้นเดียวกัน, ทำให้เป็นเส้นเดียวกัน, ทำให้เป็นแถวเดียวกัน, ปรับ, กลายเป็นเดียวกันหรือเส้นตรง, เข้าร่วม. |
ansi graphics | การสร้างภาพกราฟิกของแอนซีหมายถึงสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟิกธรรมดา เช่น เส้นตรง, เส้นเฉียง, สี่เหลื่ยม, วงกลม ฯ) ที่สถาบันแอนซี (ANSI) เป็นผู้กำหนดไว้ดู ANSI ประกอบ |
asymptote | (แอส'ซิมโทท) n. เส้นตรงที่เส้นโค้งเช้าหา, ค่าไม่สิ้นสุด (infinity) |
bezier curve | รูปโค้งเบซิเอร์หมายถึง รูปเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์รูปหนึ่ง เป็นโค้งที่ไม่มีรูปลักษณ์ที่มีกฏเกณฑ์เป็นสูตรกำหนด การสร้างเส้นโค้งในโปรแกรมบางโปรแกรม จะต้องเริ่มด้วยการลากเส้นตรงขึ้นมาเส้นหนึ่งก่อน แล้วสร้างจุดสองจุดบนเส้นตรงนั้น ใช้เมาส์ดึงแต่ละจุดขึ้นไป ในทิศทางที่ต่างกัน ก็จะได้โค้งแบบเบซีเอร์ ขึ้นมา |
chord | (คอร์ด) n. สายเครื่องดนตรีดีดสี, สายซอ, เส้นตรงระหว่างจุด1จุดบนเส้นรอบวง, เอ็น, เส้น, ความรู้สึก, อารมณ์, เสียงที่คล้ายเส้นเชือก, เสียงประสาน vi. ประสาน, สัมผัส vt. ดีดสายให้เสียงสัมผัสกัน, See also: chordal adj. ดูchord |
cubit | (คิว'บิท) n. หน่วยเส้นตรงโบราณที่อาศัยความยาวของแขนเป็นหลัก (17-21 นิ้ว) |
drum plotter | พล็อตเตอร์แบบดรัมเป็นอุปกรณ์แสดงผลชนิดพล็อตเตอร์ (plotter) มีรูปเป็นทรงกระบอกหรือดรัม มีกระดาษพันรอบ ดรัมนี้จะหมุนไปข้างหน้าและข้างหลังได้ มีปลายเป็นเหมือนปากกาติดอยู่เหนือดรัม ซึ่งจะเลื่อนไปซ้ายไปขวาได้ เวลาวาด จะลากเป็นเส้นลงบนกระดาษ การขยับขึ้นลงของดรัม และปากกาจะทำให้เกิดเป็นเส้นตรงหรือเส้นโค้งได้ ความแม่นยำของเครื่องวาดชนิดนี้มีน้อยกว่าเครื่องวาดแบบระนาบ (flatbed plotter) แต่ราคาก็ถูกกว่า จึงนิยมใช้กันมากในเชิงพาณิชย์ |
graphic display | การแสดงผลกราฟิกการแสดงผลของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแสดงผลออกมาเป็นภาพได้ โดยใช้จุดมาเรียงกันเป็นเส้นตรง, เส้นโค้ง หรือแท่ง ฯ การป้อนข้อมูลอาจทำเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือก็ได้ และเราสามารถใช้คำสั่งบังคับให้แสดงภาพด้านตรง หมุน หรือเอียง รวมทั้งอาจมีปากกาไว้ให้เขียนบนจอภาพด้วยก็ได้ |
line | (ไลนฺ) { lined, lining, lines } n. เส้น, สาย, เชือก, เส้นแบ่ง, เส้นระดับ, ลายเส้น, สายโทรเลข, สายโทรศัพท์, เส้นโลหะ, เส้นเขต, เส้นทางคมนาคม, เส้นโน้ตเพลง, เส้นวิ่ง, เส้นทางเดินรถเดินเรือ, สายการบิน, สายเบ็ด, สายเชือก, แถว, แนว, แนวหน้า, วิธีการ vi. เรียงเป็นแนว, เรียงเป็นเส้นตรง, |
lineal | (ลิน'เนียล) adj. เป็นเส้นตรง, ซึ่งสืบเชื้อสายโดยตรง., Syn. linear |
linear | (ลิน' เนียร์) adj. เป็นแนวตรง, ตามระยะยาว, เป็นแนวยาว, ลายเส้นตรง, See also: linearity n. ดูlinear linearly adv. ดูlinear |
rectilineal | (เรค'ทิลินเนียล, -เนียร์) adj. เป็นเส้นตรง, เกิดจากเส้นตรง, มีลักษณะเป็นเส้นตรง, เคลื่อนเป็นเส้นตรง |
rectilinear | (เรค'ทิลินเนียล, -เนียร์) adj. เป็นเส้นตรง, เกิดจากเส้นตรง, มีลักษณะเป็นเส้นตรง, เคลื่อนเป็นเส้นตรง |
right | (ไรทฺ) adj. ถูก, ถูกต้อง, ปกติ, เป็นธรรม, ยุติธรรม, (ด้าน) หน้า, (ด้าน) บน, (ข้าง) ขวา, ตรงไป, เป็นมุมฉาก n. ธรรม, ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, สิทธิ, สิทธิตามกฎหมาย, การหันขวา, การเลี้ยวขวา, ฝ่ายที่ถูกต้อง, สมาชิกฝ่ายขวา, สมาชิกรัฐสภาที่นั่งอยู่ทางด้านขวาของประธานสภา vt. ทำให้เรียบร้อย, ทำให่เหทาะสม, แก้แค้น, แก้ไข vi. ทรงตัว, ตั้งตรง adv .เป็นเส้นตรง, อย่างถูกต้อง, แม่นยำ, เหมาะสม |
shift key | (แป้นพิมพ์) แป้นเปลี่ยน (ชุดอักษร) แป้นยกเป็นแป้นหนึ่งที่มีใช้ทั้งในแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด และแป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (แป้นนี้ มักจะมีเครื่องหมายลูกศรบนแป้น) โดยปกติแผงแป้นอักขระจะมีไว้ให้ 2 แป้น ทั้งทางด้านซ้ายและขวา การกดแป้นนี้เพียงลำพังแป้นเดียว จะไม่ทำให้เกิดอะไรขึ้น แต่ถ้ากดพร้อมกับแป้นตัวอักษรใดในภาษาอังกฤษ จะทำให้พิมพ์ตัวอักษรนั้นออกมาเป็นตัวใหญ่ (capital letter) ถ้าเป็นภาษาไทย ก็จะเป็นตัวที่อยู่ข้างบน เช่น ฤ ฆ ฏ ฑ ฒ นอกจากนั้น ในบางโปรแกรม เช่น โปร แกรมวาดภาพ การกดแป้นนี้พร้อมกับ ลากเส้น จะทำให้ลากได้เป็นเส้นตรง ถ้ากดพร้อมกับลากรูปสี่เหลี่ยม ก็จะทำให้รูปที่วาด เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นต้น |
simple | (ซิม'เพิล) adj. ง่าย ๆ , ง่าย, ไม่ยุ่งยาก, ไม่สลับซับซ้อน, เข้าใจยาก, ชัดแจ้ง, เรียบ, ถ่อมตัว, บริสุทธิ์, เซ่อ ๆ , ขาดประสบการณ์หรือความรู้, ประกอบด้วยสารหรือธาตุเดียว, ไม่เจือปน, ไม่แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ , มีองค์ประกอบเดียว, เกี่ยวกับเส้นตรง n.. คนเรียบ ๆ , คนเซ่อ, คนโง่, สิ่งที่ง่าย ๆ |
toolbox | ช่องเครื่องมือโปรแกรมสำเร็จบางโปรแกรมจะจัดให้มีเครื่องมือต่าง ๆ เตรียมไว้ให้เพื่ออำนวยความสะดวกในการพิมพ์ การเขียนรูปสี่เหลี่ยม การเขียนเส้นตรง การหมุน การทำเอียง เป็นต้น ถ้าเป็นโปรแกรมประเภทวาดภาพ จะยิ่งมีเครื่องมือมาให้มากชนิด รวมทั้งการใส่สีให้ด้วย เครื่องมือระบายสี ก็มีทั้งที่เป็นเหมือนพู่กัน ลากเป็นเส้นได้ ตัดขอบได้ ละเลงสีเต็มพื้นที่ หรือจะพ่นเป็น ฝอยเหมือนสเปรย์ ก็ได้ เป็นต้น บางโปรแกรมทำเป็นปุ่ม (button) ให้ใช้เมาส์กดแทนคำสั่งต่าง ๆ ได้ เรียกว่า toolbarดู toolbar ประกอบ |