เศวต, เศวต- | (สะเหฺวด, สะเหฺวดตะ-) น. สีขาว. |
เศวตกุญชร | (สะเหฺวดกุนชอน) น. ช้างเผือก. |
เศวตงค์ | (สะเหฺวตง) ว. มีตัวขาว. |
เศวตฉัตร | (สะเหฺวดตะฉัด) น. ฉัตรขาว ใช้เป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้น. |
เศวตัมพร, เศวตามพร | (สะเหฺวตำพอน, -ตามพอน) น. ชื่อนิกายในศาสนาเชนหรือเดียรถีย์นิครนถ์ นักบวชนิกายนี้ประพฤติตนเป็นผู้นุ่งห่มผ้าขาว, คู่กับ นิกายทิคัมพร. |
เศวติภ, เศวตีภ, เศวเตภ | (สะเหฺวติบ, -ตีบ, -เตบ) น. ช้างเผือก. |
เศวตงค์ | ดู เศวต, เศวต-. |
เศวตร | (สะเหฺวด) น. สีขาว. |
เศวตัมพร, เศวตามพร | ดู เศวต, เศวต-. |
เศวติภ, เศวตีภ, เศวเตภ | ดู เศวต, เศวต-. |
เสียเศวตฉัตร | ก. เสียความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, เสียราช-สมบัติ, เสียบ้านเสียเมือง, เสียเอกราช, ใช้พูดย่อว่า เสียฉัตร ก็มี. |
เกิบ ๒ | ก. กำบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์ (สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา (สรรพสิทธิ์). |
ฉัตรมงคล | (ฉัดตฺระ-, ฉัดมงคล) น. พระราชพิธีฉลองพระมหาเศวตฉัตร ทำในวันซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก. |
เชน | น. ชื่อศาสนาหนึ่งในอินเดีย ศาสดาชื่อมหาวีระ มี ๒ นิกายคือ นิกายทิคัมพรหรือพวกชีเปลือย และนิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพรหรือพวกนุ่งผ้าขาว ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาทางศาสนา ถือมั่นในหลักอหิงสาและมังสวิรัติ, ชิน หรือ ไชนะ ก็ว่า. |
ทิคัมพร | (-พอน) น. ชื่อนิกายในศาสนาเชน นักบวชนิกายนี้ประพฤติตนเป็นคนเปลือยกาย, คู่กับ นิกายเศวตัมพรหรือเศวตามพร. [ ป., ส. ทิคฺ (ทิศ, ฟ้า) + อมฺพร (เครื่องนุ่งห่ม) = ผู้มีฟ้าเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมายความว่า ไม่นุ่งผ้า ]. |
นพปฎล | (นบพะปะดน) ว. มีหลังคา ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. |
นวปฎล | (นะวะปะดน) ว. นพปฎล, มีหลังคา ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. |
บอน | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Araceae เช่น ชนิด Colocasia esculenta (L.) Schott ขึ้นตามชายนํ้าหรือที่ลุ่มนํ้าขัง ยางคัน ก้านใบทำให้สุกแล้วกินได้ และอีกหลายชนิดในสกุล Caladium ใบมีสีและลายต่าง ๆ ปลูกเป็นไม้ประดับ เช่น บอนสี [ C. bicolor (Aiton) Vent. ] บอนพระยาเศวต [ C. humboltii (Raf.)Schott ]. |
บัลลังก์ | น. พระแท่นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร เรียกว่า พระแท่นราชบัลลังก์ |
พระที่นั่ง | น. อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ซึ่งตามปรกติอยู่ในพระราชวัง เช่น พระที่นั่งบรมพิมาน พระที่นั่งอัมพรสถาน, อาคารที่เสด็จออกมหาสมาคม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งวโรภาษพิมาน, ที่ประทับซ้อนบนพระแท่นราชบัลลังก์ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร เช่น พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์, ยานที่ประทับในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนแห่ทางบก เช่น พระที่นั่งพุดตานทอง พระที่นั่งราเชนทรยาน |
รังมด | น. เรียกผ้าขาวที่หุ้มซี่คํ้าฉัตรโดยรอบ รูปทรงกรวย (ใช้เฉพาะนพปฎลเศวตฉัตร). |
วันฉัตรมงคล | น. วันประกอบพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตรและเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ซึ่งตรงกับวันบรมราชาภิเษก ในรัชกาลปัจจุบันตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม. |
สุจหนี่ | (สุดจะหฺนี่) น. เครื่องปูลาดชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยผ้าเยียรบับไหมทอง สำหรับทอดถวายพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศ์ที่ทรงพระเศวตฉัตร ๗ ชั้น เป็นที่ประทับหรือทรงยืน เรียกว่า พระสุจหนี่. |
สุรางคนา ๒, สุรางคนางค์ | น. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์
| (กฤษณา), | ตัวอย่างฉันท์ | | (หลักภาษาไทย), |
ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น
| (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ). |
|
เสต- | (-ตะ-) ว. เศวต, สีขาว. |
อัมพร ๑ | เครื่องนุ่งห่ม ในคำว่า ทิคัมพร = ผู้นุ่งลมห่มทิศ คือ ชีเปลือย, เศวตัมพร = ผู้นุ่งห่มผ้าขาว คือ ชีผ้าขาวหรือชีปะขาว. |