เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง ๆ | ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะขอยืมเงิน. |
กรอ ๒ | ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. |
กระแซะ | ก. ขยับกระทบเข้าไป เช่น ขยับตัวกระแซะเข้าไป พูดเลียบเคียงกระแซะเข้าไป. |
เกราะ ๔ | (เกฺราะ) ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา (รามเกียรติ์ ร. ๑), เขียนเป็น เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง (อิเหนา). |
เกลาะ | (เกฺลาะ) ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง (อิเหนา), เขียนเป็น เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา (รามเกียรติ์ ร. ๑). |
เกี้ยว ๑ | พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา. |
เคาะ | ว. เลียบเคียง เช่น พูดเคาะ. |
ชาย ๓ | เดินเลียบเคียงไป เช่น ชายไปดู. |
เต๊าะ | ก. พูดหรือแสดงอาการเลียบเคียงให้พอใจเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ เช่น วันนี้เต๊าะเงินจากพี่มาได้ ๒๐๐ บาท. |
ทาม ๒ | ลองดู, เลียบเคียง. |
แทะโลม | ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงเกี้ยวพาราสี, แพละโลม หรือ แพะโลม ก็ใช้. |
แพละโลม | (แพฺละ-) ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพะโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า. |
แพะโลม | ก. พูดเกี้ยว, พูดเลียบเคียงทางชู้สาว, แพละโลม หรือ แทะโลม ก็ว่า. |
เมียง | ก. เลียบเคียงเข้าไป, ชายตาดู. |
และเลียม | เลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย เช่น เด็กและเลียมเข้ามาขอขนมกิน. |