Digital | ดิจิทัล เชิงเลข มีความหมายโดยนัยว่าเป็นระบบอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สัญญาณ หรือทำงานด้วยสัญญาณที่มีลักษณะเป็นเลขโดด (digit) โดยเฉพาะที่เป็นเลขฐานสองคือ เลข 0 กับ 1 [คอมพิวเตอร์] |
binary numeral system (binary number system) | ระบบตัวเลขฐานสอง, ระบบที่แสดงตัวเลขแทนจำนวนโดยการเพิ่มทีละ 2 หรือทวีคูณของ 2 เช่น 1012 หมายถึง 1 x 22 + 0 x 21 + 1 x 20 หรือ 5 102 หมายถึง 1 x 21 + 0 x 20 หรือ 2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
byte | ไบต์, หน่วยของข้อมูล ที่แทนด้วยตัวเลขฐานสองขนาด 8 บิต ใช้เก็บตัวอักขระ 1 ตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
digital signal | สัญญาณดิจิทัล, สัญญาณที่ไม่มีความต่อเนื่องที่เรียกว่าดิสครีตสัญญาณดิจิทัลถูกแทนด้วยระดับแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่านั้นโดยแสดงสถานะเป็น "0" และ "1" ซึ่งตรงกับรหัสตัวเลขฐานสอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
binary number system | ระบบตัวเลขฐานสอง, ดู binary numeral system [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bit | บิต, หน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดซึ่งถูกแทนด้วยตัวเลขฐานสองในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขสองตัว คือ '0' และ '1' [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ascii | คำย่อ American Standard code For Information Interchange, รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศนี้ เป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้กับคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่ใช้เลขฐานสอง รหัสแอสกี, รหัสมาตรฐาน ใช้แทนอักขระด้วย 7 บิต (ถ้ารวม parity check ด้วยจะเป็น 8 บิต) |
bin | (บิน) 1. ถัง, ลัง { binned, binning, bins } vt. ใส่ในถังหรือลัง 2. ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มที่บรรจุข้อมูล ที่เป็นเลขฐานสอง (binary) เช่น prog.bin |
binary | (ไบ'นะรี) adj. เกี่ยวกับหรือมีคู่, เกี่ยวกับ 2, ซ้ำสอง n. 2 คู่, เลขคู่, ระบบฐานสอง หมายถึง ระบบเลขฐานสอง ที่มีสัญลักษณ์เพียงสองตัวคือ 0 กับ 1 บางครั้งอาจหมายถึงการที่มีโอกาสจะเลือกได้เพียง 2 ทาง เช่น เปิดกับปิด, ใช่กับไม่ใช่ |
binary code | รหัสฐานสองหมายถึง การใช้รหัสเลขฐานสองแทนตัวอักษร ตัวเลข และตัวอักขระ พิเศษต่าง ๆ โดยใช้เพียงเลข 0 และ 1 รหัสที่นิยมใช้กันอยู่มีหลายรหัสเช่น เอ็บซีดิก (EBCDIC) , แอสกี (ASCII) , บีซีดี (BCD) คอมพิวเตอร์ของแต่ละบริษัทจะเลือกใช้รหัสหนึ่งในการแทนข้อมูล |
binary coded decimal | เลขฐานสิบเข้ารหัสฐานของ <คำแปล>ใช้ตัวย่อว่า BCD หมายถึงรหัสที่ใช้แทนเลขฐาน ซึ่งกำหนดให้เลขฐานสิบแต่ละตัวแทนด้วยเลขฐานสอง 4 บิต ตัวอย่าง เช่น เลข 17 ในฐานสิบ เขียนเป็นเลขฐานสองว่า 0001 0111 โดยที่เลขหลักของบิตจากซ้ายไปขวา เป็นลำดับเพิ่มตามสูตร 8-4-2-1 เลข 17 ที่เป็นฐานสิบ เมื่อแสดงในรูปเลขฐานสองธรรมดาจะเป็น 10001 |
binary digit | เลขโดดฐานสองเรียกย่อ ๆ ว่า bit หมายถึง ตำแหน่งหนึ่งในเลขฐานสอง ซึ่งเป็นได้ 2 ค่า คือ 0 กับ 1 ใช้แทนค่าต่าง ๆ บิตเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ในการเก็บค่า เรานำบิตมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-7-8 บิต เพื่อใช้เป็นรหัสแทนตัวอักขระต่าง ๆ ดู bit ประกอบ |
binary number system | ระบบเลขฐานสอง <คำแปล>ระบบเลขฐานสอง หมายถึง ตัวเลขบอกจำนวนที่มีฐานเป็น"สอง" (ไม่ใช่ "สิบ" อย่างที่นิยมใช้ในปัจจุบัน) คือมีเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 คอมพิวเตอร์ได้นำระบบเลขฐานสองนี้มาใช้เป็นรหัส เพื่อสะดวกในการแสดงสภาวะ 2 ประการคือ (สวิตซ์) เปิด และ ปิด |
boolean logic | ตรรกะแบบบูลหมายถึง ค่า"จริง" (True) หรือ "ไม่จริง " (False) ใช้มากในการเขียนโปรแกรม เป็นหลัก พิชคณิต ที่ตั้งตามชื่อของผู้คิด คือ ยอร์ช บูล (George Boole) หลักทั่วไปคล้ายพิชคณิต ธรรมดา แต่ใช้ระบบเลขฐานสอง |
chinese binary | เลขฐานสองแนวตั้ง (ดู) |
ebcdic | (เอบซีดิก) ย่อมาจาก extended binary coded decimal interchange code (แปลว่า รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
encode | เข้ารหัสหมายถึง การแปลงข้อมูลเป็นรหัส เช่น ตัวเลข 2 จะเข้ารหัสบีซีดี (BCD) เป็นเลขฐานสอง 0010 เป็นต้น |
exclusive or | หรือใช้ตัวย่อว่า XOR (อ่านว่า ซอร์) เป็นคำที่นักเขียนโปรแกรมใช้ เมื่อจะสั่งให้แสดงภาพออกมาเป็นตัวดำเนินการเชิงตรรกะตัวหนึ่ง ซึ่งใช้เลขฐานสอง สองตัวมาทำให้เกิดเป็นค่าใหม่ ถ้าในการคำนวณได้ผลลัพธ์เป็น 0 แสดงว่าคอมพิวเตอร์คำนวณได้ผลออกมาเหมือนกัน แต่ถ้าค่าออกมาไม่เท่ากัน ผลลัพธ์จะออกมาเป็นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คิดจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใจเรื่องตรรกะนี้ก็ได้ |
extended binary coded dec | extended binary coded decimal interchange code รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยายใช้ตัวย่อว่า EBCDIC (อ่านว่า เอ็บซีดิก) เป็นชื่อของรหัสคอมพิวเตอร์รหัสหนึ่ง ที่กำหนดไว้สำหรับเปลี่ยนเลขฐานสิบเป็นเลขฐานสองแบบขยาย บริษัทไอบีเอ็มเป็นผู้คิดและคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็มก็ใช้รหัสนี้ทั้งหมด แต่ในปัจจุบัน คนทั่วไปนิยมใช้รหัสแอสกี (ASCll) มากกว่า อันที่จริงแล้ว ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไม่จำเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของรหัสเหล่านี้เลยก็ได้ |
machine language | ภาษาเครื่องหมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้เครื่องรับรู้และเข้าใจได้ เขียนโดยใช้รหัสเลขฐานสองเป็นหลัก (ฉะนั้น จะมีแต่เลข 0 กับ 1 เท่านั้น) คำสั่งแต่ละคำสั่งจะหมายถึงการทำงานอย่างหนึ่ง แต่ละโปรแกรมจึงจะยาวค่อนข้างมาก ผู้ที่เริ่มต้นเรียนคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ไม่ควรเรียนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษานี้เลย เพราะอาจจะทำให้หมดกำลังใจไปเลย อาจจะพอเปรียบได้ว่า เลขฐานสองนั้นก็เหมือน ๆ กับตัวโน้ต เพลง (ภาษาดนตรีก็เข้าใจยากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าภาษาเครื่องนี้สักเท่าใดดอก) อย่างไรก็ตาม ก็ต้องทำความเข้าใจไว้เสมอว่า ไม่ว่าเราจะสั่งให้เครื่องทำงานด้วยโปรแกรมภาษาอะไรก็ตาม ตัวแปลโปรแกรม (compiler) ก็จะต้องทำหน้าที่แปลภาษาที่เราใช้ให้เป็นภาษาเครื่องก่อนเสมอ คอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจจนสามารถปฏิบัติตามคำสั่ง (execute) นั้น ๆ ได้ |
magnetic disk | จานแม่เหล็กหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเหมือนจาน เคลือบผิวด้วยไอออนออกไซด์ ทำให้เกิดกระแสแม่เหล็กบนผิวหน้าของจานแม่เหล็ก จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ สถานะสองขั้วนี้เองที่เรานำมาใช้แทนรหัสเลขฐานสอง (คือ 0 กับ 1) และทำให้เราสามารถบันทึกข้อมูลซึ่งแตกออกเป็นดิจิต (digit) ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นสื่อเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีทั้งจานอ่อน (floppy disk หรือ diskette) และจานแข็ง (hard disk) จานบันทึกเหล่านี้จะต้องนำมาจัดรูปแบบการบันทึก (format) คือกำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ก่อน จึงจะนำไปใช้ได้ดู track และ sector ประกอบ |
octal | ฐานแปดอัฐนิยมหมายถึง ระบบตัวเลขที่มีตัวเลขแปดตัว คือ 0 - 7 อันที่จริงมนุษย์เราคุ้นเคยและใช้ระบบเลขฐานสิบซึ่งมีเลข 10 ตัว คือ 0 - 9 ก็เพราะเรามีนิ้วไว้ให้นับ 10 นิ้วด้วยกัน ส่วนคอมพิวเตอร์นั้นใช้ระบบเลขฐานสองเป็นหลัก |
radix | (เร'ดิคซฺ) n.เลขฐานของระบบเลขหรือlogarithmsหรืออื่น ๆ , ราก, รากศัพท์, สมุฎฐาน, มูลฐาน, จำนวนสัญลักษณ์ที่ใช้บอกว่าเลขในระบบนั้น ๆ ว่ามีสัญลักษณ์โดด ๆ กี่ตัว เช่น ระบบฐานสิบมีสัญลักษณ์ 10 ตัว ระบบฐานสิบหกมีสัญลักษณ์ 16 ตัว เป็นต้น ในการเขียน มักจะต้องบอกฐานกำกับไว้ด้วยเสมอและมีวิธีเขียนหลายแบบ (ถ้าเป็นเลขฐาน 10 จะไม่ต้องเขียนฐานกำกับ) เช่น101 (8) หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานแปด (101) 2 หมายความว่า 101 เป็นเลขฐานสองมีความหมายเหมือน base numberดู number system ประกอบ pl. radices, radixes, Syn. root, a radical |