เผ่า | น. เหล่ากอ, กลุ่มชนเชื้อชาติเดียวกัน (มักใช้แก่ชนกลุ่มน้อยของประเทศ) เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ. |
เผ่าพันธุ์ | น. เชื้อสาย. |
เผ้า | น. ผม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผม เป็น ผมเผ้า หรือ เผ้าผม. |
เผ้าผง | น. ผง. |
กรรมพันธุ์ | มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. |
กะโซ่, กะโซ้ ๑ | น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะคล้ายเขมร. |
กะเหรี่ยง | น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตกของประเทศไทย, โซ่ หรือ ยาง ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี. |
กำพืด | น. เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, (มักใช้เป็นทำนองหยาม) เช่น รู้กำพืด. |
ขมุ | (ขะหฺมุ) น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ−เขมร. |
เขิน ๑ | น. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า |
โคตร, โคตร- | (โคด, โคดตฺระ-) น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร |
เจ้าไทย | เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู (จารึกวัดช้างล้อม). |
ชนกลุ่มน้อย, ชนหมู่น้อย | น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจำนวนมากกว่า. |
ชอง | น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร มีมากทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สำเร หรือ ตำเหรด, เขมรเรียกว่า ปอร์. |
ชาติ ๑, ชาติ- ๑ | เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่. |
เชื้อ ๑ | ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือเผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก |
เชื้อชาติ | น. ผู้ที่ร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน. |
ตระกูล | (ตฺระ-) น. สกุล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์. |
ตาด ๔ | น. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวกตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไปจนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก. |
ทมิฬ | (ทะมิน) น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. |
นาค ๒, นาคา ๑ | (นาก) น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค. |
บรรพชน | น. บุคคลรุ่นก่อน ๆ แต่โบราณ ซึ่งเป็นต้นเผ่าพันธุ์หนึ่ง ๆ. |
บังกัด | ก. ปิดบัง, อำพราง, เช่น มาตราหนึ่ง ผู้ใดบังกัดพี่น้องลูกหลานเผ่าพันธุ์แห่งงานท่านก็ดี ส่งเสียไปอยู่ประเทษเมืองอื่นดั่งนั้น ท่านว่าเสมอพวกศึก ให้มีโทษ ๖ สถาน, บังกัดข้าคนท่านไว้เรือนตนก็ดี ฃ้าคนท่านหนีมาสู้หาตน ๆ เล้าโลมเอาข้าคนท่านไว้ก็ดี (สามดวง). |
ประยุร, ประยูร | (ปฺระยุน, ปฺระยูน) น. เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย, ตระกูล. |
ปาทาน | น. เรียกแขกเผ่าหนึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอัฟกานิสถาน ว่า แขกปาทาน. |
เปิดบริสุทธิ์ | ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจโดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำหน้าที่นี้. |
ผม ๑ | น. ขนที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ โดยปรกติเป็นเส้นยาว, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เผ้า เป็น ผมเผ้า หรือ เผ้าผม. |
ผ่าน | ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน. |
ยิปซี | น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้าไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ดำรงชีพด้วยการเล่นดนตรี ค้าม้า ทำนายโชคชะตา เป็นต้น. |
เย้า ๑ | น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้ว–เย้า. |
รุงรัง | ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผมเผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะหรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง |
ลีซอ | น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย. |
สกุล | (สะกุน) น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์ |
เหล่ากอ | น. เชื้อสาย เผ่าพันธุ์, ต้นตระกูล, บางทีใช้ควบกับคำอื่น เช่น เทือกเถาเหล่ากอ พงศ์เผ่าเหล่ากอ โคตรเหง้าเหล่ากอ. |
อติชาต, อติชาต- | (อะติชาด, อะติชาดตะ-) ว. เลิศกว่าเผ่าพงศ์. |