เผ่า | น. เหล่ากอ, กลุ่มชนเชื้อชาติเดียวกัน (มักใช้แก่ชนกลุ่มน้อยของประเทศ) เช่น ชาวเขาเผ่าต่าง ๆ. |
เผ่าพันธุ์ | น. เชื้อสาย. |
เผ้า | น. ผม, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผม เป็น ผมเผ้า หรือ เผ้าผม. |
เผ้าผง | น. ผง. |
กรรมพันธุ์ | มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง. |
กะโซ่, กะโซ้ ๑ | น. เผ่าข่าโซ้ เป็นชาวป่าทางภาคอีสานของไทย มีลักษณะคล้ายเขมร. |
กะเหรี่ยง | น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปรกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตกของประเทศไทย, โซ่ หรือ ยาง ก็เรียก, (โบ) เรียกว่า กั้ง ก็มี. |
กำพืด | น. เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, (มักใช้เป็นทำนองหยาม) เช่น รู้กำพืด. |
ขมุ | (ขะหฺมุ) น. ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ−เขมร. |
เขิน ๑ | น. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า |
โคตร, โคตร- | (โคด, โคดตฺระ-) น. วงศ์สกุล, เผ่าพันธุ์, ต้นสกุล, เช่น โคตมโคตร |
เจ้าไทย | เขียนเป็น เจาไท ก็มี เช่น พ๋องเผ่าพรรนอนนเหงาเจาไทอนนไปสู (จารึกวัดช้างล้อม). |
ชนกลุ่มน้อย, ชนหมู่น้อย | น. ชนต่างเผ่าหรือต่างเชื้อชาติที่อยู่อาศัยรวมกันกับชนเผ่าอื่นหรือเชื้อชาติอื่นที่มีจำนวนมากกว่า. |
ชอง | น. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ–เขมร มีมากทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สำเร หรือ ตำเหรด, เขมรเรียกว่า ปอร์. |
ชาติ ๑, ชาติ- ๑ | เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่. |
เชื้อ ๑ | ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือเผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก |
เชื้อชาติ | น. ผู้ที่ร่วมเผ่าพันธุ์เดียวกัน. |
ตระกูล | (ตฺระ-) น. สกุล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์. |
ตาด ๔ | น. ชื่อมองโกลเผ่าหนึ่งที่ชอบรบราฆ่าฟันและอพยพเร่ร่อนอยู่เสมอ บางทีก็เรียกว่า ตาดมองโกล, ชื่อภาษาของพวกตาด ใช้พูดกันในดินแดนตั้งแต่ทิวเขาอูราลทางตะวันตกไปจนถึงทิวเขาอัลไตทางตะวันออก. |
ทมิฬ | (ทะมิน) น. ชนพื้นเมืองอินเดียเผ่าหนึ่ง ปัจจุบันมีอยู่มากทางอินเดียแถบใต้และเกาะลังกาแถบเหนือ, ชื่อภาษาของชนเผ่านั้น. |
นาค ๒, นาคา ๑ | (นาก) น. ชื่อชนเผ่าหนึ่งอยู่ในบริเวณเทือกเขานาค ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มีหลายสาขา เช่น อาโอนาค กูกินาค. |
บรรพชน | น. บุคคลรุ่นก่อน ๆ แต่โบราณ ซึ่งเป็นต้นเผ่าพันธุ์หนึ่ง ๆ. |
บังกัด | ก. ปิดบัง, อำพราง, เช่น มาตราหนึ่ง ผู้ใดบังกัดพี่น้องลูกหลานเผ่าพันธุ์แห่งงานท่านก็ดี ส่งเสียไปอยู่ประเทษเมืองอื่นดั่งนั้น ท่านว่าเสมอพวกศึก ให้มีโทษ ๖ สถาน, บังกัดข้าคนท่านไว้เรือนตนก็ดี ฃ้าคนท่านหนีมาสู้หาตน ๆ เล้าโลมเอาข้าคนท่านไว้ก็ดี (สามดวง). |
ประยุร, ประยูร | (ปฺระยุน, ปฺระยูน) น. เผ่าพันธุ์, เชื้อสาย, ตระกูล. |
ปาทาน | น. เรียกแขกเผ่าหนึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอัฟกานิสถาน ว่า แขกปาทาน. |
เปิดบริสุทธิ์ | ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจโดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำหน้าที่นี้. |
ผม ๑ | น. ขนที่ขึ้นอยู่บนศีรษะ โดยปรกติเป็นเส้นยาว, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ เผ้า เป็น ผมเผ้า หรือ เผ้าผม. |
ผ่าน | ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน. |
ยิปซี | น. ชนเผ่าเร่ร่อน เชื้อสายคอเคซอยด์ ผิวคลํ้า เดิมอาศัยอยู่ในอินเดีย เข้าไปเร่ร่อนในยุโรปประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ ดำรงชีพด้วยการเล่นดนตรี ค้าม้า ทำนายโชคชะตา เป็นต้น. |
เย้า ๑ | น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้ว–เย้า. |
รุงรัง | ว. อาการที่สิ่งเป็นเส้นยาว ๆ พัวพันกันยุ่งยุ่มย่าม เช่น ขนยาวรุงรัง ผมเผ้ารุงรัง หนวดเครารุงรัง, อาการที่สิ่งต่าง ๆ รวมกันอยู่อย่างระเกะระกะหรือแยกกระจัดกระจายกันอยู่ยุ่งเหยิง เช่น ห้องรกรุงรัง ห้อยผ้าไว้รุงรัง |
ลีซอ | น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ตระกูลทิเบต–พม่า อยู่ทางแถบเหนือของประเทศไทย. |
สกุล | (สะกุน) น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์ |
เหล่ากอ | น. เชื้อสาย เผ่าพันธุ์, ต้นตระกูล, บางทีใช้ควบกับคำอื่น เช่น เทือกเถาเหล่ากอ พงศ์เผ่าเหล่ากอ โคตรเหง้าเหล่ากอ. |
อติชาต, อติชาต- | (อะติชาด, อะติชาดตะ-) ว. เลิศกว่าเผ่าพงศ์. |
กะเหรี่ยง | ชื่อชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง ปกติอาศัยอยู่ทางพรมแดนทิศตะวันตกของประเทศไทย, Example: คำที่มักเขียนผิด กระเหรี่ยง [คำที่มักเขียนผิด] |
Yaqui Indians | อินเดียนแดงเผ่ายาควี [TU Subject Heading] |
Cherokee Indians | อินเดียนแดงเผ่าเชโรกี [TU Subject Heading] |
Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide (1948) | อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (ค.ศ. 1948) [TU Subject Heading] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ [TU Subject Heading] |
Holocaust, Jewish (1939-1945) | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว (ค.ศ.1939-1945) [TU Subject Heading] |
Hopi Indians | อินเดียนแดงเผ่าโฮปิ [TU Subject Heading] |
Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] |
genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] |
Incas | ชาวอินเดียแดงเผ่าอินคา [การแพทย์] |
Aborigine | (n) ชนพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย, See also: ชนเผ่าอะบอริจิน |
Aeolian | (n) กลุ่มชนพื้นเมืองเอโอลิส (Aeolis), See also: ชนเผ่าเอโอลิส ในสมัยกรีกโบราณ |
Cherokee | (n) อินเดียแดงเผ่าเชอโรกี |
chieftain | (n) หัวหน้าเผ่า |
desegregate | (vt) ขจัดการแบ่งแยกผิวหรือเผ่าพันธุ์, Syn. unite, bond, link, Ant. segregate, separate |
desegregate | (vi) ขจัดการแบ่งแยกผิวหรือเผ่าพันธุ์, Syn. unite, bond, link, Ant. segregate, separate |
desegregation | (n) การขจัดการแบ่งแยกผิวหรือเผ่าพันธุ์ |
discriminate | (vi) แบ่งแยกเชื้อชาติ, See also: แบ่งแยกสีผิวหรือเผ่าพันธุ์, Syn. exclude, isolate, Ant. unite, integrate |
endogamy | (n) การแต่งงานของคนที่อยู่ในเผ่าเดียวกัน, See also: การแต่งงานในหมู่ญาติมิตร |
ethnic | (adj) เกี่ยวกับชาติพันธุ์, See also: เกี่ยวกับเชื้อชาติ, เกี่ยวกับเผ่าพันธุ์ |
ethnography | (n) มานุษยวิทยาแขนงหนึ่งซึ่งศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ต่างๆ |
genocide | (n) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, See also: การทำลายล้างเชื้อชาติ |
human race | (n) เผ่าพันธุ์มนุษย์ |
Iroquoian | (adj) เกี่ยวกับชนเผ่าอินเดียนแดง |
Iroquoian | (n) ตระกูลภาษาของเผ่าอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือ |
kinship | (n) ตระกูล, See also: ญาติ, เผ่าพันธุ์, โคตร, วงศาคณาญาติ, Syn. family |
matriarch | (n) หัวหน้าครอบครัวหรือชนเผ่าซึ่งเป็นหญิง, Syn. dowager, ruler |
matriarch | (n) ผู้เฒ่าซึ่งปกครองครอบครัวหรือชนเผ่า |
Maya | (n) เผ่าอินเดียนแดง |
Mohawk | (n) ชนชาวเผ่าอินเดียนแดงเผ่าหนึ่ง |
nomad | (n) ชนเผ่าเร่ร่อน, See also: คนร่อนเร่, พวกร่อนเร่, Syn. wanderer |
patriarch | (n) หัวหน้าครอบครัว, See also: หัวหน้าเผ่า, Syn. leader, head |
phyle | (n) ชนชาติ, See also: เผ่า |
Pict | (n) สมาชิกเผ่าโบราณที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของอังกฤษ |
Pygmy | (n) ชนเผ่าปิ๊กมี่ในทวีปแอฟริกาตอนใต้ |
race | (n) เชื้อชาติ, See also: กลุ่มชาติพันธุ์, เผ่าพันธุ์, Syn. nationality |
sachem | (n) หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง, Syn. dictator |
Saracen | (n) สมาชิกชนเผ่าหนึ่งแถบชายแดนซีเรียของอาณาจักรโรมันสมัยก่อน |
Saracenic | (adj) เกี่ยวกับชนเผ่าแถบชายแดนซีเรียของอาณาจักรโรมันสมัยก่อน |
Seminole | (n) ชาวอินเดียนแดงเผ่า Muskogean |
sheik | (n) ชีค, See also: ผู้นำศาสนาอิสลาม, หัวหน้าเผ่าอาหรับ, Syn. sheikh |
sheikh | (n) ชีค, See also: ผู้นำศาสนาอิสลาม, หัวหน้าเผ่าอาหรับ, Syn. sheik |
sheikh | (n) ชีค, See also: ผู้นำศาสนาอิสลาม, หัวหน้าเผ่าอิสลาม, Syn. sheik |
Sherpa | (n) สมาชิกเผ่าธิเบตบนเทือกเขาหิมาลัย |
Tamil | (n) ชาวทมิฬ, See also: ชนเผ่าใหญ่เผ่าหนึ่งอาศัยอยู่ทางอินเดียแถบใต้ |
Teuton | (n) สมาชิกเผ่าเยอรมันโบราณเผ่าหนึ่ง 100 ปีก่อนคริสต์กาล |
Teutonic | (n) เกี่ยวกับชนเผ่าเยอรมันโบราณเผ่าหนึ่ง 100 ปีก่อนคริสต์กาล |
tribal | (adj) เกี่ยวกับชนเผ่า |
tribe | (n) เผ่า, See also: เผ่าพันธุ์ |
walkabout | (n) การเดินทางในป่าของชนเผ่าอะบอริจิ้นในออสเตรเลีย |
witch doctor | (n) หมอผี (ในแอฟริกาและอเมริกากลาง ใต้), See also: โดยเฉพาะในเผ่าต่างๆทำหน้าที่รักษาโรค ติดต่อกับวิญญาณหรือเทพเจ้า และใช้เวทมนตร์ทำสิ่ง, Syn. shaman |
Zulu | (n) เผ่าซูลูในแอฟริกา |
amalgamation | (อะแมลกะเม' เชิน) n. การรวมกับปรอท, ผลที่เกิดจากการรวมกับปรอท, การรวมบริษัทกัน, การร่วมกันทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต, การสกัดโลหะจากแร่ด้วยปรอท (union, blend) |
angles | (แอง' เกลซ) n., pl. ชาวเผ่าเอยรมันเผ่าหนึ่ง (a west Germanic people) |
anglian | (แอง' กลิอัน, แอง' กลิค) adj., n. เกี่ยวกับ Angles, ชนเผ่า Anglies. ชื่อกลุ่มภาษาอังกฤษโบราณ |
antiquity | (แอนทิค' ควิที) n. ความโบราณ, สมัยโบราณ, ยุคโบราณ, บรรดาความโบราณทั้งหลาย (คน, เผ่า, ขนบ ธรรม เนียม, ประเพณีและอื่น, Syn. olden days, antique |
apache | (อะแพช'ชี) n., (pl. Apaches) อินเดียนแดงเผ่าอะปาเช่ |
australoid | (อสส'พระลอยด์) n. มนุษย์เผ่าพันธ์หนึ่งที่รวมทั้งชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย Papuans คนแระในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย. -adj. เกี่ยวกับมนุษย์เผ่าพันธุ์ดังกล่าว |
aymara | (ไอ'มารา) n. ชาวอินเดียแดงเผ่าพันธุ์หนึ่ง, ภาษาของคนพวกนี้. -Aymaran adj. (of an Indian people) |
caucasoid | (คอ'คะซอยดฺ) n., adj. (เกี่ยวกับ) คนเผ่าพันธุที่มีแหล่งดั้งเดิมในยุโรป/มีผิวหนังขาวจนถึงดำ/ริมผีปากบาง จมูกโด่ง |
chieftain | (ชีฟ'เทิน) หัวหน้าคณะ, หัวหน้าเผ่า, หัวหน้าแก๊ง, See also: cy, ship n. |
clan | (แคลน) n. เผ่า, เผ่าพันธุ์, วงศ์, วงศ์ตะกูล, ชาติวงศ์, ครอบครัว, กลุ่มคน, พวก, พ้อง |
clannish | adj. เกี่ยวกับเผ่าพันธ์ |
clansman | n. สมาชิกของเผ่าพันธ์, พรรคพวก, พวกพ้อง, See also: clansmanship n. ดูclansman |
comanche | (โคแมน'ซี) n. เผ่าอินเดียแดงเผ่าหนึ่ง |
electrocautery | n. การเผ่าจี้ด้วยไฟฟ้า |
emir | (อะเมียร์') n. หัวหน้าเผ่าอาหรับ, เจ้าชายอาหรับ, เจ้าเมืองอาหรับ, Syn. emeer |
gentile | (เจน'ไทลฺ) adj. เกี่ยวกับคนที่ไม่ใช่ยิว, คริสเตียน (ซึ่งแตกต่างจากยิว) , ไม่ใช่โมมอน (Mormon) และไม่ใช่ยิว, คนนอกศาสนา, เกี่ยวกับเผ่า-ประชาชน-ประเทศ., Syn. Gentile |
gentilitial | (เจนทิลิช'เชิล) adj. เกี่ยวกับครอบครัว-วงศ์ตระกูล-เผ่า-ชนชาติ-ประเทศ |
gurkha | (เกอ'ขละ) n., (pl. -khas, -kha) ชนชาวฮินดูเผ่า Rajput ในเนปาล, ทหารกุรข่า |
hetman | (เฮท'มัน) n., หัวหน้าชนเผ่าคอสแซค |
intermarriage | (อินเทอแม'ริเอจฺ) n. การแต่งงานระหว่างหญิงชายที่มีชนชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ต่างกัน, การแต่งงานระหว่างหญิงชายจากครอบครัวหรือกลุ่มเดียวกัน |
king | (คิง) n. กษัตริย์, ประมุข, ผู้นำ, เผ่า, ราชา, หมากรุกที่เดินข้ามกระดานจนได้เป็นเจ้า. vt. ทำให้เป็นกษัตริย์ vi. ปกครองเป็นกษัตริย์., See also: kinghood ดูking, Syn. ruler, sovereign |
matriarch | (เม'ทริอาร์ค) n. ผู้เฒ่าหญิงผู้ปกครองครอบครัวหรือเผ่า, แม่ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว., See also: matriarchal, matriarchic adj. matriarchalism n. |
mohawk | (โม`ฮอค) n.ชนชาวเผ่าอินเดียแดงเผ่าหนึ่ง |
paleethnology | (เพลีเอธนอล'โลจี) n. วิชาว่าด้วยเผ่าพันธุ์ของมนุษย์โบราณ., See also: paleethnologic adj. paleethnological adj. paleethnologist n. |
race | (เรส) vi., vt., n. (การ) วิ่งแข่ง, วิ่งอย่างรวดเร็ว, แข่งม้า., แข่งขันความเร็ว, การแข่งขัน, ความเชี่ยว, เชื้อชาติ, ชนชาติ, เผ่าพันธุ์, วงศ์ตระกูล, เชื้อสาย, พันธุ์, ชนชั้น, รสนิยม |
racial | (เร'เชิล) adj. เกี่ยวกับเชื้อชาติ (ชนชาติ, มนุษยชาติ, เผ่าพันธุ์, วรรณะ, เชื้อสาย) |
racism | (เร'ซิสซึม) n. ลัทธิชนชาติ, ลัทธิเชื้อชาติ, ลัทธิเผ่าพันธุ์, ลัทธิเหยียดผิว, ลัทธิเหยียดหยามชนชาติ, See also: racist n. |
semitic | (ซะมิท'ทิค) n. ่ภาษาอาหรับ-ฮิบรู (ยิว) -AkkadianและPhoenician, Syn. เกี่ยวกับภาษาดังกล่าว, เผ่ายิว |
sheik | (ชีค) n. หัวหน้าเผ่า, หัวหน้าหมู่บ้าน, เจ้าอาหรับ, ผู้นำศาสนา (อิสลาม) |
sheikh | (ชีค) n. หัวหน้าเผ่า, หัวหน้าหมู่บ้าน, เจ้าอาหรับ, ผู้นำศาสนา (อิสลาม) |
totem | (โท'เทิม) n. รูปสัตว์หรือพืชที่สลักอยู่บนเสาอินเดียนแดงที่เรียกว่าtotem pole/เป็นสัญลักษณ์ของเผ่าตระกูลครอบครัวหรืออื่น ๆ, See also: totemic adj. totemically adv. |
totemism | (โท'ทะมิสซึม) n. ระบบการแบ่งเผ่าต่าง ๆ ตามสัญลักษณ์ของ totem |
tribal | (ไทร'เบิล) adj. เกี่ยวกับเผ่า, เกี่ยวกับเผ่าพันธุ์., See also: tribally adv. |
tribesman | (ไทรบซ'เมิน) n., (pl. tribesmen) สมาชิกของเผ่า, ชนเผ่า |
vandal | (แวน'เดิล) n. สมาชิกเผ่าเยอรมันในสมัยศตวรรษที่ 5 ที่ถูกชาว Gaul และสเปนรุกราน adj. เกี่ยวกับชนเผ่าเยอรมันดังกล่าว, ชอบทำลาย, ทรัพย์สินของคนอื่น, ป่าเถื่อน., See also: Vandalic adj. vandal n. ผู้ทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือของเอกชน |
vandalism | (แวน'เดิลลิสซึม) n. การทำลายทรัพย์สินของรัฐหรือของเอกชน, การทำลายวัฒนธรรมหรือศิลปวรรณคดีของชาติอื่น, พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของชนเผ่าVandal., See also: vandalistic adj. vandalish adj. |
yao | (เย้า) n. ชนชาติเย้า, ชาวเขาเผ่าเย้า |
zulu | (ซู'ลู) n. ชื่อชนเผ่าหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกา, สมาชิกเผ่าดังกล่าว |