แกร่ว | (แกฺร่ว) ว. ทนรอหรือทนอยู่กับที่เป็นเวลานาน. |
ข้าหลวงเดิม | น. คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคยใช้สอยมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์, คนรับใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ. |
คนเก่าคนแก่ | คนที่มีพื้นเพอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน. |
ครอบครองปรปักษ์ | ก. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น. |
คู่ทุกข์คู่ยาก | น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขและยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย). |
จมเบ้า | ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ. |
ชั่วกัปชั่วกัลป์ | น. ชั่วอายุของโลกตั้งแต่เมื่อพระพรหมสร้างเสร็จจนถึงเวลาที่ไฟประลัยกัลป์มาล้างโลก ซึ่งเป็นเวลาที่นานมาก เช่น ขอให้คงอยู่ชั่วกัปชั่วกัลป์. |
ชั่วช้างปรบหู | น. ระยะเวลาเท่ากับที่ช้างปรบหู ซึ่งเป็นเวลาสั้นมาก, มักใช้เข้าคู่กับ งูแลบลิ้น เป็น ชั่วช้างปรบหูงูแลบลิ้น. |
แช่เบ้า | ว. อาการที่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไร. |
แช่เย็น | โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน. |
ซากดึกดำบรรพ์ | น. ซากของพืชหรือสัตว์ที่ฝังอยู่เป็นเวลานานมาก จนกระทั่งกลายเป็นหิน. |
ดักดาน | ว. คงสภาพอยู่อย่างนั้นเป็นเวลานาน (มักใช้ในเรื่องที่ไม่เจริญก้าวหน้า) เช่น เป็นเสมียนอยู่ดักดาน โง่ดักดาน. |
ถ่านหิน | น. ถ่านธรรมชาติมีลักษณะแข็งอย่างหิน เกิดจากการแปรสภาพของพืชและต้นไม้ที่ทับถมกันมาเป็นเวลานานมาก. |
บำนาญ | น. เงินตอบแทนที่ได้รับราชการหรือทำงานมาเป็นเวลานาน ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนจนตลอดชีวิตเมื่อออกจากงาน, โบราณใช้ว่า เบี้ยบำนาญ, (กฎ) เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมาซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน เมื่อออกจากราชการแล้ว. |
พิษสุราเรื้อรัง | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งสมองและประสาทเสื่อมเนื่องจากดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการมือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม บางครั้งชักแบบลมบ้าหมู. |
เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก | น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย), เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็ว่า. |
เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ | น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยามสุขยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่คู่ผัวตัวเมีย), เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก ก็ว่า. |
มัธยมกาล | น. เวลาของตำบลใดตำบลหนึ่งที่ทางการบัญญัติให้ใช้เป็นเวลากลางสำหรับประเทศ. |
เมื่อย | ก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน. |
โมง ๑ | น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า. |
ยาม, ยาม- | ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ |
ร่ำไห้ | ก. ร้องไห้เป็นเวลานาน, ร้องไห้ไม่หยุดหย่อน. |
ลัคน-, ลัคน์, ลัคนา | เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสำหรับลงมือทำการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคำนวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสำหรับทำพิธีรดนํ้าแต่งงาน. |
ลูกหลง | น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี |
วัดแดด | ก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่นพอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ นาฬิกา. |
ส้อมเสียง | น. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่อ้างอิง เช่นใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี. |
สิกขมานา | น. สามเณรีที่มีอายุครบ ๑๘ ปี ก่อนอุปสมบทเป็นภิกษุณีจะต้องรักษาสิกขาบท ๖ ประการ เป็นเวลา ๒ ปี. |
หน้าเก่า | ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น ดาราหน้าเก่า ลูกค้าหน้าเก่า, หน้าเดิม ก็ว่า. |
หน้าเดิม | ว. ที่เคยเห็นหรือรู้จักกันมาเป็นเวลานานจนคุ้นตา เช่น งานนี้มีแต่คนหน้าเดิม, หน้าเก่า ก็ว่า. |
Chronic exposure | การรับรังสีต่อเนื่อง, การรับรังสีเป็นเวลานาน เช่น การรับรังสีจากนิวไคลด์กัมมันตรังสีที่มีอายุยาวในธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี [นิวเคลียร์] |
Gamma greenhouse | เรือนรังสีแกมมา, เรือนเพาะเลี้ยงพืชที่มีหลังคาโปร่งแสง บริเวณตรงกลางเรือนหรือด้านใดด้านหนึ่งของห้องติดตั้งเครื่องฉายรังสีแกมมา มีกำแพงคอนกรีตหนาเพื่อป้องกันไม่ให้รังสีออกสู่ภายนอก และมีเครื่องควบคุมการฉายรังสีอยู่ด้านนอก ใช้สำหรับศึกษาผลของรังสีต่อพืชและการชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยให้พืชที่ปลูกในกระถางได้รับรังสีปริมาณต่ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลานาน [นิวเคลียร์] |
Corps Diplomatique หรือ Diplomatic Corps | คณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในนครหลวง (Capital) ของประเทศ ซึ่งจะมีหัวหน้าคณะทูตพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทางการทูตใน คณะทูต เจ้าหน้าที่ทางการทูตในคณะทูตนั้นจะประกอบไปด้วย อัครราชทูต (Minister) อัครราชทูตที่ปรึกษา (Minister Counselor) และที่ปรึกษา (Counselor) ซึ่งอาจจะมีคนเดียวหรือหลายคน นอกจากนี้ มีเลขานุการทางการทูตอีกหลายคน คือ เลขานุการเอก โท ตรี และตามปกติยังมีผู้ช่วยทูต (Attaché) อีกหลายคนซึ่งมีฐานะทางการทูต (Diplomatic status) คือผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ และอากาศ) ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ (Commercial Attaché) ผู้ช่วยทูตฝ่ายการแถลงข่าว (Press Attaché) และผู้ช่วยฝ่ายอื่น ๆ ซึ่งกระทรวงทบวงกรมของรัฐบาล (นอกจากกระทรวงการต่างประเทศ) เป็นฝ่ายแต่งตั้งข้าราชการของตนไปประจำในคณะทูต รวมทั้งเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ซึ่งมีฐานะทางการทูตด้วยในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูต (Head หรือ Dean of the Diplomatic Corps) จะได้แก่ผู้แทนทางการทูตอาวุโสที่ได้ประจำการอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลานาน ที่สุด ยกเว้นแต่ในบางประเทศ จะถือเอกอัครราชทูตผู้แทนองค์สมเด็จพระสันตะปาปา (Papal Nuncio) เป็นหัวหน้าคณะทูตานุทูตตลอดไป โดยไม่คำนึงถึงเรื่องอาวุโสแต่อย่างใด เช่น ฟิลิปปินส์ [การทูต] |
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
Judicial Settlement | การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐโดยศาลตุลาการ ก่อนที่จะเกิดองค์การสหประชาชาติ รัฐทั้งหลายที่มีกรณีพิพาทระหว่างประเทศจะฟ้องร้องต่อศาลระวห่างประเทศแห่ง หนึ่ง มีชื่อว่าศาลประจำยุติธรรมระหว่าประเทศ (Permanent Court of International Justice) ซึ่งองค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1920 ได้ประชุมกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1922 หลังจากนั้นเป็นเวลา 23 ปี ผู้พิพากษาของศาลก็ได้ลาออกในปีค.ศ. 1946 และสันนิบาตชาติได้ยุบศาลนี้ในปีเดียวกันเมื่อมีการสถาปนาองค์การสหประชา ชาติขึ้น ได้มีการจัดตั้งศาลระหว่างประเทศขึ้นใหม่ เรียกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ตามกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรนี้ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 92 ว่า ?ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจักเป็นองค์กรทางตุลาการอันสำคัญของสหประชาชาติ ศาลจักดำเนินหน้าที่ตามธรรมนูญผนวกท้าย ซึ่งยึดถือธรรมนูญของศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศเป็นมูลฐาน และซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งส่วนเดียวกับกฎบัตรฉบับปัจจุบัน?ศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศนี้ ประชุมกันเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 เมษายน ค.ศ. 1946 [การทูต] |
New Diplomacy | การทูตแบบใหม่ ภายหลังสงครามโลกครั้งแรก หรือตั้งแต่ ค.ศ. 1918 เป็นต้นมา ได้เกิดการทูตแบบใหม่ ซึ่งแตกต่างไปจาการทูตแบบเก่า อันได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี นักวิชาการบางท่านมีความเอนเอียงที่จะตำหนิว่า การที่เกิดสงครามโลกขึ้นนั้น เป็นเพราะการทูตประสบความล้มเหลวมากกว่าอย่างไรก็ดี บางท่านเห็นว่าแม้ส่วนประกอบของการทูตจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา แต่เนื้อหาหรือสาระสำคัญของการทูตยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่างการทูตแบบเก่ากับการทูตแบบใหม่อาจกล่าวได้ ว่า มีปัจจัยสำคัญ ๆ อยู่สามประการ ที่มีอิทธิพลหรือบังเกิดผลโดยเฉพาะต่อวิธีการหรือทฤษฎีของการเจรจาระหว่าง ประเทศ กล่าวคือ ข้อแรก ชุมชนนานาชาติทั้งหลายเกิดการตื่นตัวมากขึ้น ข้อที่สอง ได้มีการเล็งเห็นความสำคัญของมติสาธารณะ ( Public Opinion) มากขึ้น และประการสุดท้าย เป็นเพราะการสื่อสารคมนาคมได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วอดีตนักการทูตผู้มี ชื่อเสียงคนหนึ่งของอินเดีย ได้แสดงความไม่พอใจและรังเกียจความหยาบอย่างปราศจากหน่วยก้านของการดำเนิน การทูตแบบใหม่ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อเข้าใส่กัน การใช้ถ้อยคำในเชิงผรุสวาทต่อกัน การเรียกร้องกันอย่างดื้อ ๆ ขาดความละมุนละไมและประณีต อาทิเช่น การเรียกร้องข้ามหัวรัฐบาลไปยังประชาชนโดยตรงในค่ายของฝ่ายตรงกันข้ามการ กระทำต่าง ๆ ที่จะให้รัฐบาลต้องเสียชื่อหรือขาดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนการใส่ร้ายป้ายสีกันด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ให้ประชาชนติดต่อกันทางสังคม และอื่น ๆ เป็นต้น [การทูต] |
Epichlorohydrin | ยางอิพิคลอโรไฮดรินเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่มีสายโซ่หลักเป็นพอลิ อีเทอร์และมีหมู่คลอโรเมทิลเป็นกิ่งก้าน แบ่งได้เป็น 3 ชนิดหลัก คือ 1.โฮโมพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดริน (CO) ได้จากการทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงแหวนของอิพิคลอโรไฮดริน 2.โคพอลิเมอร์ของอิพิคลอโรไฮดรินและเอทิลีนออกไซด์ (ECO) ได้จากการนำเอทิลีนออกไซด์ไปพอลิเมอไรเซชันร่วมกับอิพิคลอโรไฮดริน 3.เทอร์พอลิเมอร์ระหว่างอิพิคลอโรไฮดริน เอทิลีนออกไซด์ และมอนอเมอร์ชนิดที่ไม่อิ่มตัว (GECO/ETER) ได้จากการเติมมอนอเมอร์ชนิดที่สามลงไปเพื่อให้ยางชนิดนี้สามารถคงรูปได้โดย ใช้ระบบกำมะถันและเพอร์ออกไซด์ ยางอิพิคลอโรไฮดรินมีสมบัติเด่นหลายประการ คือ ทนต่อน้ำมันและน้ำมันเชื้อเพลิงได้ดี ทนต่อความร้อนและโอโซนได้ดีเยี่ยม มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซและน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำที่สุด ทนทานต่อการติดไฟได้ดี และมีสมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำดีมากอีกด้วย ยางชนิดนี้แม้ว่าจะมีสมบัติที่ดีหลายประการ แต่ไม่นิยมนำมาใช้มากนักเนื่องจากยางชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะและยางจะ อ่อนตัว (reversion) เมื่อใช้งานที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานและมีราคาแพงมาก ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางชนิดนี้ ได้แก่ ซีล ปะเก็น ท่อน้ำมัน ปลอกหุ้มสายเคเบิล ลูกกลิ้งในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Ribbed smoked sheet | ยางแผ่นรมควันผลิตโดยเติมกรดลงในน้ำยางข้นเพื่อให้ยางจับตัวกัน และแยกตัวออกจากน้ำ นำยางที่ได้ไปรีดเป็นแผ่นด้วยเครื่องรีดแบบ 2 ลูกกลิ้ง นำไปล้างน้ำ แล้วนำทำให้แห้ง โดยวิธีการรมควันที่อุณหภูมิประมาณ 60-70 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 2-3 วัน เพื่อป้องกันเชื้อรา การจัดชั้นของยางแผ่นรมควันทำโดยการใช้สายตา (ตามปริมาณสิ่งสกปรกปนเปื้อนในยาง) แบ่งได้เป็น 5 ชั้น ตั้งแต่ชั้นที่1 ถึงชั้นที่ 5 (ชั้นที่ 1 เป็นเกรดที่ดีที่สุด) [เทคโนโลยียาง] |
Asthmaticus, Status | หืดขั้นรุนแรง, สภาวะที่จับหืดไม่สร่าง, หอบเป็นเวลานาน [การแพทย์] |
Cohort Studies, Longitudinal | การศึกษาที่มีการติดตามคนกลุ่มหนึ่งเป็นเวลานาน [การแพทย์] |
Dose, Large | การกินยาเป็นเวลานานและขนาดสูง [การแพทย์] |
Fertility, Delayed Return of | ไม่ตั้งครรภ์อีกเป็นเวลานานหลังคลอดบุตรแล้ว [การแพทย์] |
conditioning | การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข, พฤติกรรมของสัตว์ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 ชนิดอย่างมีเงื่อนไข คือเมื่อมีสิ่งเร้าแท้จริงและสิ่งเร้าไม่แท้จริง เร้าติดต่อกันเป็นเวลานาน จนกระทั่งแม้จะไม่มีสิ่งเร้าแท้จริงอยู่ด้วย สิ่งเร้าไม่แท้จริงก็สามารถกระตุ้นให้สัตว์นั้น ๆ ตอบสนองได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fossil | ซากดึกดำบรรพ์, รูปรอยหรือซากของสิ่งมีชีวิตที่ถูกทับถมมาเป็นเวลาอันยาวนานมักจะพบในหินตะกอน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
petroleum | ปิโตรเลียม, สารอินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของพืชและสัตว์ที่ทับถมอยู่ใต้พื้นดินเป็นเวลาหลายล้านปี เป็นสารไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 1 - 60 อะตอม อาจเป็นแก๊ส (แก๊สธรรมชาติ) ของเหลว (น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติเหลว) หรือของแข็ง (แอสฟัลต์) หรืออยู่รวมก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
irradiation | การอาบรังสี, การนำวัสดุไปอาบรังสีบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา เป็นต้น ตัวอย่างการนำอาหารไปอาบรังสีแกมมา เพื่อเก็บรักษาคุณภาถของอาหารให้อยู่ได้เป็นเวลานาน ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
classical physics | ฟิสิกส์แบบฉบับ, วิชาฟิสิกส์ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาเป็นเวลานาน โดยมีรากฐานจากวิชากลศาสตร์ของนิวตัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anthracite | แอนทราไซต์, ถ่านหินที่เกิดจากการทับถมของซากพืชเป็นเวลานาน มีปริมาณของคาร์บอนมากมีคุณภาพดีและให้พลังงานสูง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coal | ถ่านหิน, เชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง เกิดจากการผุพังและแปรสภาพไปตามธรรมชาติของพืชที่ทับถมกันอยู่เป็นเวลานานนับล้านปี มีสีน้ำตาลจนถึงดำ ถ่านหินมีหลายชนิด เช่น พีต ลิกไนต์ บิทูมินัส และแอนทราไซต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
crude oil | น้ำมันดิบ, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิดรวมกันเป็นของเหลวค่อนข้างเหนียวมีสีน้ำตาลไหม้หรือดำ เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์ ทับถมกันอยู่เป็นเวลานานนับล้านปี เมื่อนำมากลั่นลำดับส่วนจะได้แก๊สน้ำมันชนิดต่าง ๆ และแอสฟัลต์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
deposition | การสะสมตัวของตะกอน, การสะสมทับถม, การสะสมตะกอนของหิน ทราย หรือสารประกอบเคมีเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดเป็นชั้นหินหรือชั้นแร่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
limestone | หินปูน, หินตะกอนชนิดหนึ่งเกิดจากการสะสมตัวของโคลน ตะกอนพวกแคลไซต์หรือแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งทับถมกันอยู่เป็นเวลานาน ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
oil shale | หินน้ำมัน, หินที่เกิดจากการทับถมของซากพืชและซากสัตว์ในหนองบึงหรือทะเลสาบเป็นเวลานับล้านปี มีลักษณะเหมือนหินดินดานเนื้อละเอียดมีสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ ในเนื้อหินมีสารเคโรเจน ซึ่งเมื่อนำไปอบให้ร้อนพอจะได้น้ำมันออกมา เรียกว่า น้ำมันหิน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sedimentary rock | หินตะกอน, หินที่เกิดจากการทับถมของโคลน หิน ดิน ทราย ซากของสิ่งมีชีวิตหรือสารต่าง ๆที่ได้จากการสึกกร่อนซึ่งถูกพัดพาโดยลม แม่น้ำ ลำธาร หรือธารน้ำแข็ง ไปสะสมกันในท้องทะเลหรือในแอ่งเปลือกโลกเป็นเวลานาน หินตะกอนมีหลายชนิดเช่น หินทราย ศิลาแลง หินปูน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
pasteurization | การฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์, การฆ่าเชื้อโรคในอาหารที่เป็นของเหลว โดยใข้ความร้อนที่ไม่สูงนักแล้วทำให้เย็นลงอย่างเร็วเพื่อรักษาคุณค่าของอาหารให้คงเดิม เช่น การฆ่าเชื้อโรคในน้ำนมโดยให้ความร้อนประมาณ 62°C เป็นเวลา 30 นาทีแล้วทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Gastric Drainage, Prolonged | การดูดน้ำออกจากกระเพาะเป็นเวลานาน [การแพทย์] |
Longitudinal Studies | การศึกษาระยะยาว, การติดตามกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไปข้างหน้าเป็นเวลานาน, การศึกษาโดยใช้กลุ่มเดียวตลอด [การแพทย์] |
Maladjustment, Longitudinal | การปรับตัวที่ไม่ดีเป็นเวลานาน [การแพทย์] |
chronic | (adj) เรื้อรัง, See also: ติดต่อกันเป็นเวลานาน, Syn. continuing, lasting, persisting |
combat fatigue | (n) ความผิดปกติทางจิตใจที่เกิดหลังจากไปสงครามมาเป็นเวลานาน |
day in day out | (adv) ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน, See also: ไม่หยุดหย่อน, ไม่เว้นแต่ละวัน, Syn. every day |
disused | (adj) โดยเลิกใช้เป็นเวลานาน |
expatriate | (n) คนที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ (เป็นเวลานาน), See also: คนที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ เป็นเวลานาน |
for | (prep) เป็นระยะ, See also: เป็นเวลา, เป็นจำนวนเงิน |
guarantee for | (phrv) รับประกันเป็นเวลา |
get the third degree | (idm) โดนซักถามเป็นเวลานาน |
lecture for | (phrv) สั่งสอนเป็นเวลา (ช่วงเวลา) |
lie up | (phrv) นอนพักบนเตียง (เป็นเวลานาน), Syn. lay by, lay up |
jet lag | (n) อาการอ่อนเพลียจากการเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน |
leisure | (adj) เกี่ยวกับเวลาว่าง, See also: ที่เป็นเวลาว่าง, Syn. free, unoccupied |
long-lasting | (adj) คงอยู่เป็นเวลานาน, See also: ยาวนาน, Syn. enduring, durable, long-lived |
long-lasting | (adj) ที่สวมใส่ได้เป็นเวลานาน (เสื้อผ้า) |
long-standing | (adj) นาน, See also: ยาวนาน, ที่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน, Syn. enduring, lasting, long-lasting |
long-suffering | (n) การอดทนเป็นเวลานาน |
long-suffering | (adj) ซึ่งทนทุกข์ทรมานเป็นเวลายาวนาน |
long-term | (adj) ที่อยู่มายาวนาน, See also: ที่อยู่มาเป็นเวลานาน, Syn. long-standing, long-lived, Ant. short-lived |
periodical | (adj) ซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลา, See also: เกี่ยวกับระยะเวลา, Syn. periodic |
quadrennial | (n) ช่วงทุก 4 ปี, See also: การเกิดขึ้นเป็นเวลา 4 ปี |
rantings | (n) คำพูดเกรี้ยวกราดและเสียงดังเป็นเวลานาน |
sit on | (phrv) เก็บไว้ในช่วง (เวลา), See also: เก็บไว้ก่อนเป็นเวลา |
sit upon | (phrv) เก็บไว้ในช่วง (เวลา), See also: เก็บไว้ก่อนเป็นเวลา, Syn. sit on |
speak for | (phrv) พูดเป็นเวลา, Syn. talk for |
stare out | (phrv) จ้องออกไปข้างนอก (เป็นเวลานาน) |
think for | (phrv) คิด (เป็นเวลา), See also: ใช้เวลาคิด |
wear and tear | (n) เสียหายเนื่องจากใช้มาเป็นเวลานาน |
ball | (บอลล์) { balled, balling, balls } n. ลูกบอล, ลูกตา, บุคคล vt. ทำให้เป็นลูกบอล, สังวาส, งานรื่นเริงขนาดใหญ่ที่หรูหราและมีการเต้นรำ, สโมสรสันนิบาต, เวลาที่มีความสุข vi. จับเป็นก้อนลูกบอล, สังวาส, เป็นเวลาที่มีความสุข, See also: baller n. คำที่มีความหมายเหม |
bedsore | (เบด'ซอร์) n. แผลบนร่างกายที่เนื่องจากการนอนหลับทับเป็นเวลานานบนเตียง |
burn out | เหนื่อยล้าหมดแรงหมายถึง อาการที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการตรากตรำทำงานนาน ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ มักจะปวดคอ ปวดหัว ตาพร่า จนทำงานอะไรต่อไปไม่ได้ |
curfew | (เคอ'ฟิว) n. การห้ามประชาชนออกนอกบ้านในระยะเวลาที่กำหนด (มักเป็นเวลากลางคืน) , เวลาห้ามออกนอกบ้านดังกล่าว, ระฆังบอกเวลากลางคืน, เสียงระฆังกลางคืน |
feudal | (ฟิว'เดิล) adj. (เกี่ยวกับ) ทิ่ดินศักดินา, ทรัพย์สินที่เป็นมรดกตกทอด, ระบบศักดินา, ยุคกลาง (Middle Age) , เกี่ยวกับการอาฆาตพยาบาทที่ต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนาน, เกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท |
fragmentation | การแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้ |
hemophilia | (ฮี'มะฟิลเลีย) n. โรคกรรมพันธุ์ที่โลหิตออกไม่หยุดเป็นเวลานานเพราะโลหิตไม่จับเป็นก้อนหรือลิ่ม. |
periodic | (เพียร'ออด'ดิค) adj. เป็นช่วง ๆ , เป็นครั้งเป็นคราว, เป็นเวลา, เกี่ยวกับประโยคทิ้งท้าย., See also: periodically adv., Syn. intermittent |
reside | (รีไซดฺ') vi. อยู่อาศัย, อยู่เป็นเวลานาน, พำนักอยู่อย่างถาวร, อยู่ประจำ, อยู่กับ , ตั้งใหม่เป็นปุ่มหนึ่งบนเครื่องพีซีบางเครื่อง การกดที่ปุ่มนี้จะเป็นการเริ่มเปิดเดินเครื่องใหม่ใช้เหมือนการกดแป้น Ctrl + Alt + Del ในระบบดอส บางทีในกรอบสนทนาก็จะมีปุ่มนี้ ในกรณีนั้น จะเป็นคำสั่งให้ยกเลิกค่าที่กำหนดใหม่ แล้วกลับไปใช้ค่าเดิม, See also: resider n., Syn. dwell, live, stay |
time exposure | n. การเปิดหน้ากล้องถ่ายรูปเป็นเวลานาน (กว่า 1/2 วินาที) , ภาพที่เกิดจากการเปิดหน้ากล้องนานดังกล่าว |
week | (วีค) n. สัปดาห์, อาทิตย์ adv. เป็นเวลา7วันก่อนหรือหลังวันที่กำหนดให้ |
yearlong | (เยียร์'ลอง) adj. เป็นเวลาหนึ่งปี |
caduceus | (n) คทางูไขว้. คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพีเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ที่ถือโดยเทพเฮอร์มีสผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์เช่นในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ก็ใช้สับสนกับสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์ในสมัยโบราณซึ่งเป็น[ [ คทางูเดี่ยว ] ] (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก (wikipedia.org/wiki/Caduceus), See also: rod of Asclepius |
caduceus | (n) คทางูไขว้. คือคทาสั้นที่มีงูสองตัวพันกันเป็นเกลียวขึ้นมา บางครั้งก็จะมีปีกอยู่ข้างบนด้วย ผู้ใช้คทางูไขว้คนแรกคือเทพีไอริสผู้เป็นผู้สื่อสารของเทพีเฮรา ต่อมาคทานี้เรียกว่า “คทาเฮอร์มีส” (wand of Hermes) ที่ถือโดยเทพเฮอร์มีสผู้ที่เป็นผู้ถือคทาต่อมาในตำนานเทพหลังจากนั้นเป็นเวลานาน บางครั้งคทางูไขว้ก็ใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์เช่นในประเทศไทยหรือในทวีปอเมริกาเหนือ บางครั้งสัญลักษณ์นี้ก็ใช้สับสนกับสัญลักษณ์สำหรับการแพทย์ในสมัยโบราณซึ่งเป็น[ [ คทางูเดี่ยว ] ] (rod of Asclepius) เท่านั้นที่มีงูเพียงตัวเดียวและไม่มีปีก (wikipedia.org/wiki/Caduceus), See also: rod of Asclepius |
Monoculture | (n) การปลูกพืชเพียงชนิดเดียวเป็นเวลาหลายฤดูกาลเพาะปลูกลงในพื้นที่เพาะปลูกเดียวกัน โดยไม่มีการปลูกพืชชนิดอื่นแซมหรือขั้นในบางช่วงเวลา |
Rhabdomyolysis | ความผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อม, อาจนำไปสู่สภาวะร้ายแรง การสลายตัวของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อโครงร่างเป็นผลมาจากการเกิดไฟฟ้าหรือการสัมผัสเป็นเวลานานกับสารพิษ (ลักษณะการขับถ่ายของ ปัสสาวะออกมาสีดำเหมือนน้ำโคคาโคล่า ในปัสสาวะ) |
Stoneflies | (n) สโตนฟลาย เป็นแมลงใน อันดับ พลีคอปเทอร่า (Order Plecoptera: Class Insecta) ลักษณะตัวเต็มวัย (adult) แบ่งออกเป็น ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ชัดเจน; ส่วนหัว (head) มีหนวด (antennae) ยาว 1 คู่ มีตารวม (compound eyes) 1 คู่ มีตาเดี่ยว (ocelli) 0-3 ตา มีปากแบบกัดกิน (Chewing mouthpart), ส่วนอก (thorax) มีขา 3 คู่ มีปีก 2 คู่เป็นแผ่นบางใส (membranous wings) ปีกคู่หลัง (hind wings) จะซ้อนพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า (fore wings), ส่วนท้อง (abdomen) ยาวแบ่งเป็นปล้อง; มีการเจริญเติบโตแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis) คือเจริญเติบโตจากไข่ ฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ลอกคราบหลายครั้งจนเป็นตัวเต็มวัย โดยไม่มีระยะดักแด้; ในระยะตัวอ่อน (nymph) มีลักษณะคล้ายตัวเต็มวัยแต่ไม่มีปีก อาจพบเหงือก (gills) รูปร่างต่าง ๆ ตามลำตัวเป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล (Lotic habitat, running water) บางชนิดมีนิสัยการกินแบบผู้ล่า (predator) กินสัตว์อื่นที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร แต่บางชนิดกินเศษซากตะกอนในแหล่งน้ำเป็นอาหาร (detritivore) และเมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายเป็นตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่บนบกใกล้แหล่งน้ำ สโตนฟลายบางชนิดที่มีวงจรชีวิตระยะตัวอ่อนเป็นเวลายาวนาน เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะจับคู่ผสมพันธุ์ทันทีโดยไม่กินอาหาร แต่ในบางชนิดที่มีวงจรชีวิตใช้เวลาในระยะตัวอ่อนน้อย เมื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยแล้วจะกินน้ำหรือเศษซากพืชหรือซากตะกอนเพียงเล็กน้อย เพื่อพัฒนาระบบสืบพันธุ์ให้เจริญเต็มที่ ก่อนจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่ลงในแหล่งน้ำไหลเพื่อให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัวอ่อนอาศัยเจริญเติบโตในแหล่งน้ำไหลนั้นต่อไป; จากลักษณะการดำรงชีวิตโดยอาศัยพึ่งพาแหล่งน้ำอยู่เกือบตลอดทั้งวงจรของชีวิต แมลงชนิดนี้จึงจัดอยู่ในกลุ่มของแมลงน้ำ (Aquatic insect), See also: Stonefly, Plecoptera, Stonefly, Syn. Plecoptera |