การเปรียญ | (-ปะเรียน) น. เรียกศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ. |
เปรียญ | (ปะเรียน) น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป. |
ศาลาการเปรียญ | น. ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม. |
การบุเรียน | น. การเปรียญ. |
เฉลียง | (ฉะเหฺลียง) น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ มีหลังคาคลุม. |
ตั้ง | ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้งเปรียญ |
ถาวรวัตถุ | (ถาวอระวัดถุ, ถาวอนวัดถุ) น. สิ่งที่ก่อสร้างเพื่อให้มั่นคงยั่งยืน เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ปราสาท พระราชวัง. |
นิตยภัต | น. อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์, เงินงบประมาณแผ่นดินที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อเบิกจ่ายถวายอุดหนุนอุปถัมภ์แก่พระภิกษุผู้ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระสังฆาธิการ พระเลขานุการ พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค เป็นต้น. |
บาเรียน | น. ผู้เล่าเรียน, ผู้รู้ธรรม, ผู้คงแก่เรียน, เปรียญ. |
ประโยค | ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓ |
พัดยศ | น. พัดพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป หรือแก่พระภิกษุที่มีความรู้ ความสามารถในการศึกษา การบริหาร หรือการเผยแผ่พระศาสนา เป็นต้น เป็นเครื่องหมายแสดงลำดับชั้นแห่งสมณศักดิ์ มีรูปและชื่อต่าง ๆ กัน คือ พัดหน้านาง พัดพุดตาน พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์. |
พัดหน้านาง | น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำกว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้านาง ด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็นพัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง. |
มหา ๒ | น. สมณศักดิ์ที่ใช้นำหน้าชื่อภิกษุผู้ที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไป. |
ศาลากลางย่าน | น. อาคารทรงไทย คล้ายศาลาการเปรียญ นิยมสร้างไว้กลางหมู่บ้าน สำหรับให้คนในหมู่บ้านมาประชุม ทำบุญ หรือฟังธรรม เช่น ศาลากลางย่านที่ตำบลบ้านบุ, ศาลาโรงธรรม ก็เรียก. |
สังฆาวาส | น. บริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ ประกอบด้วยกุฏิ หอฉัน ศาลาการเปรียญ เป็นต้น. |
หีบเชิงชาย | น. หีบเกียรติยศประกอบศพที่พระราชทานพระครูสัญญาบัตร ภิกษุสามเณรเปรียญธรรม ๙ ประโยค ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เบญจมาภรณ์ช้างเผือก เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย เบญจมดิเรกคุณาภรณ์เป็นต้น เชิงชายทั้ง ๔ ด้านแกะสลักเป็นลายปิดทองประดับกระจก. |