เธอ | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คำเติมท้ายคำนำพระนามเจ้านายที่แสดงความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์ มาจากคำว่า ธ ซึ่งหมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ. |
พระนางเธอ | น. ตำแหน่งพระมเหสี. |
ลูกท่านหลานเธอ | น. ลูกหลานเจ้านายหรือผู้มีอำนาจ. |
ลูกเธอ | น. คำนำหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๔, คำนำหน้านามพระราชธิดาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าขึ้นไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ. |
ลูกยาเธอ | น. คำนำหน้านามพระราชโอรสในสมัยรัชกาลที่ ๔ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกยาเธอ, ถ้ามีพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าขึ้นไป เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ. |
กระต้วมกระเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี. |
กระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย ทูลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่มิได้ทรงกรม และหม่อมเจ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑, สรรพนามบุรุษที่ ๑ ที่หม่อมเจ้ามีรับสั่งระหว่างกัน. |
เก็บอาการ | ก. ไม่แสดงออก เช่น ไม่ว่าจะโกรธขนาดไหน เธอเก็บอาการได้ดี. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกาะชายกระโปรง | ก. อาศัยผู้หญิงหาเลี้ยง เช่น สามีของเธอไม่ทำงานเลย ดีแต่เกาะชายกระโปรงภรรยา. |
คำขาด | น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจากบ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม. |
เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร | น. ชื่อนกนางแอ่นขนาดเล็กชนิด Pseudochelidon sirintarae Kitti Thonglongya วงศ์ Hirundinidae เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ลำตัวสีดำเหลือบน้ำเงิน มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและวงรอบเบ้าตาสีขาว ปากสีเหลือง เฉพาะตัวเต็มวัยขนหางคู่กลางมีแกนขนยื่นยาวออกไปคล้ายเส้นลวด ๒ เส้น เคยพบเฉพาะบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์, ตาพอง ก็เรียก. |
ชั่วฟ้าดินสลาย | ว. ตลอดไป, ไม่มีวันสิ้นสุด, เช่น ขอรักเธอไปจนชั่วฟ้าดินสลาย. |
ญาติดี | ก. ทำเป็นดีด้วย, ทำดีด้วย, เช่น เธอไม่ต้องมาญาติดีกับฉัน. |
ฐาน ๒, ฐาน-, ฐานะ | (ถาน, ถานะ-) น. ตำแหน่งหน้าที่ เช่น เธอต้องรับผิดชอบในฐานที่เป็นหัวหน้าห้อง |
ด้นดั้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น ด้นดั้นไปตามหาเธอ, ด้น หรือ ดั้นด้น ก็ว่า. |
ดวงเดือนประดับดาว | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า เจ็บจิตมิตรหมางค้างเขินขวย เวียนวนหลงลมงมงงงวย ฉาบฉวยรวยเร่อเธอถูกทาง. |
ดั้นด้น | ก. มุ่งหน้าฝ่าไป เช่น จะไกลแค่ไหน ฉันก็จะดั้นด้นไปหาเธอ, ด้น หรือ ด้นดั้น ก็ว่า. |
ต้วมเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่ต้วมเตี้ยมอยู่อย่างนี้ทำงานไม่ทันเพื่อนเขาหรอก, กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า. |
ต่อ ๖ | ก. ยอมให้อีกฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ โดยฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง เช่น ฉันขายาวกว่าเธอ จึงต่อให้เธอเดินไปก่อน. |
ตัวเปล่าเล่าเปลือย | ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. |
ถึง ๑ | บ. สู่, กระทั่ง, ยัง, เช่น เรื่องนี้ถ้ารู้ถึงผู้ใหญ่จะไม่ดี เมื่อวานนี้เธอไม่มา ทุกคนต่างก็พูดถึงเธอ |
ทราบฝ่าพระบาท | ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า). |
ทศมาส | น. ๑๐ เดือน เช่น เมื่อพระนางเธอทรงพระครรภ์ถ้วนทศมาส ปรารถนาจะประพาสชมพระนคร (ม. ร่ายยาว หิมพานต์). |
ทักข์ ๒ | ก. ดู, แล, เห็น, เช่น เล็งทักข์อาทรเธอ เท่าฟ้า, เล็งทักข์ทุรเวทแล้ว เล็งดอย ดงนา (ลำนํ้าน้อย). |
เที่ยว ๒ | ก. ไปไหน ๆ เพื่อความเพลิดเพลินตามสบาย เช่น ไปเที่ยวงานกาชาด, กิริยาที่ไปที่โน่นที่นี่เรื่อยไป เช่น ฉันเที่ยวตามหาเธอทั้งวัน, กิริยาที่ไปหรือทำในหลายที่ทั่ว ๆ ไป ใช้ประกอบกับกริยาอื่น ผู้พูดพูดในทำนองไม่เห็นด้วยว่าควรทำ เช่น เรื่องนี้เป็นความลับ อย่าเที่ยวพูดไปนะ. |
โทรม | (โซม) ก. เสื่อมสภาพเดิม เช่น เรือนหลังนี้โทรมมาก ปีนี้เธอดูโทรมลงไปมาก ไฟโทรมแล้ว ผักโทรม |
ธ ๒ | (ทะ) ส. ท่าน, เธอ, เช่น ธ ประสงค์ใด จงสฤษดิ์ดัง หวังวรหฤทัย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. |
น้ำใจ | น. ใจแท้ ๆ, ใจจริง, ความรู้สึกนึกคิดจริง ๆ, เช่น อยู่ด้วยกันไม่นานก็เห็นนํ้าใจว่าเขาเป็นคนอย่างไร, ความจริงใจ เช่น เราเห็นว่าเขามีน้ำใจกับเรา ไม่เคยหลอกลวงเราเลย, นิสัยใจคอ เช่น นํ้าใจชาย นํ้าใจหญิง, ความเอื้ออาทร เช่น เขาเป็นคนมีนํ้าใจ เธอช่างแล้งนํ้าใจ. |
น้ำตาเช็ดหัวเข่า | เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนักในเรื่องคู่ครอง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น เพราะเธอเชื่อผู้ชายคนนี้ จึงต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่า. |
นี่เอง | คำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง. |
ใน ๒ | บ. แห่ง, ของ, เช่น สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. |
ในกรม | น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าและพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าที่ทรงกรม. |
ปากพระร่วง | น. วาจาสิทธิ์ คือ พูดอย่างไรแล้วจะเป็นไปตามที่ปากว่า เช่น เธอนี่ปากพระร่วงนะ บอกว่าฝนจะตกก็ตกจริง ๆ. |
พระเจ้า | คำนำหน้าพระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ |
พิสมัย ๑ | (พิดสะไหฺม) ก. รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย. |
ย้อนคำ | ก. ว่าสวนตอบตามคำที่เขาว่ามา เช่น ฝ่ายหนึ่งพูดว่า เธอโง่จริง อีกฝ่ายหนึ่งก็ย้อนคำว่า แล้วเธอไม่โง่หรือ. |
ยา ๒ | ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ. |
รับผิดชอบ | ก. ยอมรับผลทั้งที่ดีและไม่ดีในกิจการที่ตนได้ทำลงไปหรือที่อยู่ในความดูแลของตน เช่น สมุห์บัญชีรับผิดชอบเรื่องเกี่ยวกับการเงิน, รับเป็นภารธุระ เช่น งานนี้เขารับผิดชอบเรื่องอาหาร เธอจะไปไหนก็ไปเถอะ ฉันรับผิดชอบทุกอย่างในบ้านเอง. |
เรา | ส. สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม. |
ลงมือ | ก. เริ่มทำ, ตั้งต้นทำ, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ. |
ลูกเต้าเล้าอ่อน | น. ลูกเล็ก ๆ หลายคน เช่น เธอมีลูกเต้าเล้าอ่อน ไปไหนทีก็ต้องอุ้มบ้างจูงบ้าง. |
ลูกสมภารหลานเจ้าวัด | น. ลูกเจ้านาย, ลูกผู้มีอำนาจ, มีความหมายทำนองเดียวกับ ลูกท่านหลานเธอ. |
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ | น. องค์กรใหญ่ฝ่ายตุลาการขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีอำนาจจำกัดเฉพาะการพิจารณาตัดสินคดีแพ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติด้วยกัน ซึ่งประเทศคู่กรณียินยอมให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตัดสินเท่านั้น. |
สวรรคต, เสด็จสวรรคต | (สะหฺวันคด, สะเด็ด-) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร). |
สะทกสะท้าน | ก. รู้สึกเกรงกลัว, รู้สึกเกรงกลัวจนตัวสั่น, เช่น เขาข่มขู่ฉันเสียจนสะทกสะท้านพูดไม่ถูก เธอตอบคำถามผู้บังคับบัญชาอย่างไม่สะทกสะท้าน. |
สะสวย | ว. ค่อนข้างสวย, อยู่ในเกณฑ์สวย, (มักใช้แก่ผู้หญิง), เช่น เด็ก ๆ แต่งตัวสะสวย เธอเป็นคนหน้าตาสะสวย. |
สำหรับ | บ. เพื่อ เช่น ของสำหรับถวายพระ วันนี้ฉันทำกับข้าวเป็นพิเศษสำหรับเธอ. |
สุขนาฏกรรม | (-นาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต. |
สุดที่รัก | น. ผู้เป็นยอดรักหรือเป็นที่รักยิ่ง เช่น เธอเป็นสุดที่รักของผม. |
Macromedia Authorware | มาโครมีเดียออเธอร์แวร์ [TU Subject Heading] |
พระอิสริยยศ | ยศอันยิ่งใหญ่, ยศที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ หมายถึง สกุลยศของพระราชวงศ์ที่ถือกำเนิดมาว่ามียศทางขัตติยราชสกุลชั้นใด เช่น เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า, ถ้าพระราชวงศ์พระองค์ใดได้ปฏิบัติราชการแผ่นดิน มีความดีความชอบ ก็อาจได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นเจ้าต่างกรมจึงต่อพระนามกรมไว้ท้ายพระ นามเดิม เช่น พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ [ศัพท์พระราชพิธี] |
Arthur, King | อาร์เธอร์, กษัตริย์ [TU Subject Heading] |
Arthurian romances | นิยายรักในรัชสมัยกษัตริย์อาร์เธอร์ [TU Subject Heading] |
Authorware academic | ออเธอร์แวร์ อคาเดมิค [TU Subject Heading] |
Butyl methy ether | บิวทิล เมธิล อีเธอร์ [TU Subject Heading] |
Heterorhabditidae | ไส้เดือนฝอยเฮเธอโรฮับดิทิเด [TU Subject Heading] |
Heterorhabditis | ไส้เดือนฝอยเฮเธอโรฮับดิทิส [TU Subject Heading] |
Asia Europe Meeting | การประชุมเอเชีย-ยุโรป " เป็นการประชุมระดับผู้นำจากเอเชีย 10 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน ดารุสซาลาม จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น ผู้นำจากยุโรป 15 ประเทศ คือ สหราช- อาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป การประชุมครั้งแรกมีขึ้น ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2539 " [การทูต] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
Excellency | เป็นคำแสดงตำแหน่งที่ใช้เรียกตัวเอกอัครราชทูต ทั้งโดยวาจาและโดยลายลักษณ์อักษร เป็นคำที่เริ่มใช้กันตั้งแต่สมัยทำสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อ ค.ศ. 1648 และได้นำมาใช้ทั่วทวีปยุโรปหลังจากการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนา (ค.ศ. 1815) แต่ถ้าบังเอิญเอกอัครราชทูตของประเทศหนึ่งใดเป็นบุคคลเชื้อพระวงศ์ แทนที่จะเรียกเอกอัครราชทูตผู้นั้นด้วยคำว่า Excellency ก็ให้เรียกด้วยคำว่า ?Royal Highness? แทนแต่เดิมคำ ?Excellency? ซึ่งเป็นคำเติมหน้าชื่อแสดงตำแหน่งนี้ใช้เรียกเฉพาะตัวเอกอัครราชทูตเท่า นั้น แต่ในทางปฏิบัติ ทุกวันนี้ได้นิยมใช้เรียกตัวอัครราชทูต (Ministers) เช่นกัน ส่วนภริยาของเอกอัครราชทูตนั้นก็ได้รับการยกย่องโดยใช้คำ Excellency ด้วย แต่สำหรับเอกอัครราชทูตที่เป็นสตรี สามีของเธอจะไม่ได้รับเรียกเช่นนั้น นอกจากนั้น คำแสดงตำแหน่งนี้ยังใช้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และมีหลายประเทศได้นำไปใช้เรียกประมุขของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีด้วย แต่การปฏิบัติดังนี้ย่อมแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ส่วนเลขาธิการสหประชาชาตินั้น ใช้เรียกกันเป็นทางการว่า Excellency และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นทางการก็เรียกว่า Mr. Secretary-General [การทูต] |
Government in Exile | รัฐบาลพลัดถิ่น คือระหว่างที่สงครามยังดำเนินอยู่ ประเทศคู่สงครามหนึ่งอาจถูกกองทัพของประเทศฝ่ายศัตรูเข้ายึดครอง ในสถานการณ์เช่นนั้น ตัวหัวหน้าของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีของประเทศที่ถูกยึดครองอำนาจอาจไปตั้ง รรัฐบาลขึ้นชั่วคราวในดินแดนของประเทศพันธมิตรหนึ่ง ซึ่งยินยอมให้ทำเช่นนั้น รัฐบาลที่ตั้งขึ้นเป็นการชั่วคราวดังกล่าวเรียกว่า รัฐบาลพลัดถิ่น ตราบใดที่รัฐบาลพลัดถิ่นได้รับการรับรองฐานะเป็นตัวแทนของประเทศตน ย่อมดำเนินกิจการหน้าที่ของประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอื่นๆ ได้ รัฐบาลพลัดถิ่นจะยังคงสถานภาพของตนไว้ตราบเท่าที่ยังไม่มีความพยายามต่อไป ที่จะยึดเอาดินแดนของตนที่ข้าศึกครองอยู่กลับคืนมาให้ได้ ตัวอย่างของรัฐบาลพลัดถิ่นที่เคยมีมาแล้วคือ รัฐบาลของประเทศโปแลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ กรีซ และยูโกสลาเวีย ซึ่งได้ไปตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่ดินแดนของประเทศเหล่านี้ได้ถูกกองทัพของเยอรมนีเข้ายึดครอง [การทูต] |
Hugo Grotius (1583-1645) | บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ [การทูต] |
International Court of Justice | ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
North Atlantic Treaty Organisation | องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นองค์การร่วมมือทางการทหาร มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศคือ เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สเปน ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
The Netherlands Fellowship Progrmmes | แผนงานด้านทุนของเนเธอร์แลนด์ รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้ความร่วมมือด้านทุนการศึกษา และฝึกอบรมในระดับหลังปริญญาตรีแก่ผู้สนใจในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีหลักสูตรต่าง ๆ ดังรายละเอียดใน http://www.nuffic.nl โดยผู้สมัครจะต้องเป็นผุ้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีและต้องทำงานไม่ ต่ำกว่า 2 - 3 ปี เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อนำสิ่งที่ได้จากการฝึกอบรมมาพัฒนา งานของตน ทั้งนี้เน้นการให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้มากกว่าการศึกษา [การทูต] |
The Netherlands Organization for International Cooperation in Higher Education | องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการอุดมศึกษา แห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นองค์กรผู้บริหารการจัดการแผนการดำเนินงานด้านทุน ของเนเธอร์แลนด์ (NFP) [การทูต] |
Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
Schengen States | กลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปบางประเทศที่ยอมรับกันให้ประชาชนของแต่ละประเทศ สามารถเดินทางไปมาถึงกันและเข้าเมืองได้โดยไม่มีการตรวจลงตราหรือมีการควบ คุมใดๆ ระหว่างกัน และสำหรับประชาชนจากประเทศที่สาม หากได้รับอนุญาตให้เดินทางไปประเทศหนึ่งประเทศใดในกลุ่มประเทศนี้แล้ว จะสามารถเดินทางต่อไปประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ได้โดยไม่มีการควบคุม สมาชิกประกอบด้วย เบลเยี่ยม เยอรมนี ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ และสเปน [การทูต] |
The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] |
Western European Union | องค์การความร่วมมือทางด้านการทหารของประเทศในทวีปยุโรป ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส กรีซ ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 [การทูต] |
Van de Graaff Generator (accelerator) | เครื่องแวนเดอกราฟ, เป็นเครื่องผลิตประจุไฟฟ้าสถิตย์ศักดาสูง ซึ่งประจุไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดถูกส่งผ่านโลหะปลายแหลมไปยังสายพาน ซึ่งทำหน้าที่พาประจุขึ้นไปสะสมไว้ที่ผิวทรงกลมจนได้ศักดาไฟฟ้าสูง ระบบทั้งหมดนี้อยู่ในถังความดันที่บรรจุแก๊สเฉื่อยทางไฟฟ้า เช่น ฟรีออนความดันสูงไม่น้อยกว่า 15 บรรยากาศ จะสามารถเก็บประจุซึ่งมีศักดาไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 20 ล้านโวลต์ เครื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าได้ และมักใช้เร่งอนุภาคก่อนยิงเข้าสู่เครื่องเร่งอนุภาคแบบอื่นที่ให้พลังงานสูงขึ้น เรียกชื่อตาม Robert Van de Graaff ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประดิษฐ์เครื่องมิอนี้ ในปี พ.ศ. 2474 [พลังงาน] |
Arteriolar Sclerosis | อาร์เธอริโอลาร์สเคลอโรซิส, การแข็งของหลอดเลือด, การแข็งของหลอดเลือดฝอยของจอตา [การแพทย์] |
Arterioles | เส้นเลือดแดง, หลอดเลือดแดงฝอย, หลอดเลือดแดงรอง, เส้นเลือดแดงเล็กๆ, หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก, หลอดเลือดอาร์เธอริโอล, หลอดเลือดอาร์เทอริโอล, หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก, หลอดโลหิตแดง, อาร์เทอริโอล, เส้นเลือดอาร์เตอริโอล, เส้นเลือด, อาร์เทอริโอลส์, เส้นโลหิตแดงฝอย, หลอดเลือดแดงเล็กๆ [การแพทย์] |
Arterioles, Afferent | หลอดเลือดที่นำเข้าไปสู่ไต, หลอดเลือดแดงเข้าโกลเมอรูลัส, หลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่เข้าอาฟเฟอเรนอาร์เธอริโอล [การแพทย์] |
Arterioles, Afferent | อาฟเฟอเรนอาร์เธอริโอล, หลอดเลือดที่นำเข้าไปสู่ไต, หลอดโลหิตแดงขนาดเล็กที่เข้า, หลอดเลือดแดงเข้าโกลเมอรูลัส [การแพทย์] |
Atheroma | อเธอโรม่า, อเธอโรมา, หลอดเลือดแดงใหญ่ของไตตีบตัน, เส้นเลือดอุดตัน [การแพทย์] |
Atheromatous Plaque | แผ่นอเธอโรมา [การแพทย์] |
Atherosclerosis | หลอดเลือดแดงแข็ง, ไขมันเกาะจับเส้นโลหิต, อาเธอโรสเคลอโรซิส, โรคอะเธอโรสเคลอโรซิส, เส้นเลือดแข็ง, หลอดเลือดแข็ง, โรคไขมันในเลือดสูง, การแข็งตัวของหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดตีบแข็ง, หลอดเลือดแดงตีบ, ผนังของหลอดเลือดหนาและตีบ [การแพทย์] |
Bacillus Thuringiensis | บาซิลลัสเธอรินจิเอนซิส [การแพทย์] |
Ether Layer | ชั้นของอีเธอร์ [การแพทย์] |
Ethers | อีเธอร์, อีเทอร์ [การแพทย์] |
Ethylene Glycols | เอทเธอลีนไกลคอล, เอทิลลีนไกลคอล, เอ็ททีลีนกลัยคอล, เอธีลีนกลัยคอล [การแพทย์] |
stearic acid | กรดสเตียริก, กรดไขมันชนิดหนึ่งสูตรเคมีคือ C17H35COOH เป็นผลึกสีขาว ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ในแอลกอฮอล์และอีเธอร์ พบในไขมันพืชและสัตว์ ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำยา เครื่องสำอาง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ether | อีเทอร์, สารอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ R - O - R´ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์(C2H5 - O - C2H5) เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isomer | ไอโซเมอร์, สารที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีโครงสร้างและสมบัติแตกต่างกัน เช่น เอทิลแอลกอฮอล์(CH3CH2H) และเมธิลอีเธอร์(CH3OCH3) เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mainboard | เมนบอร์ด, แผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ อาจเรียกกว่า มาเธอร์บอร์ด หรือโมโบ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยช่องสำหรับติดตั้งซีพียูไบออส ชิปเซ็ต ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ สายสัญญาณ และบัสต่างๆ ขั้วต่อสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมภายใน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Isoetharine | ไอโซอีเธอรีน [การแพทย์] |
Isothermal | ไอโซเธอมัล [การแพทย์] |
aether | (อี' เธอะ) n. =ether. -aethereal, aetheric adj. |
aferothermodynamics | (แอโรเธอไมไดแนม' มิคซฺ) aerodynamics ที่เกี่ยวกับสถานะการณ์ที่มีการแลกเปลี่ยนความร้อนในแก๊ส. -aerothermodynamic adj. (aerothermodynamics) |
altogether | (ออลทูเกธ' เธอะ) adv. ทั้งหมด, พร้อมกัน, ด้วยประการทั้งปวง, โดยสิ้นเชิง, ทั้งสิ้น, โดยสรุป, รวมทั้งสิ้นเป็น (entirely, completely) |
aluminothermy | (อะลู' มิโนเธอมี) n. ขบวนการเพิ่มอุณหพูมิให้สูง โดยการให้ผงอะลูมิเนียมทำปฏิกริยากับอ็อกซิเจนที่ได้จากอ๊อคไซด์โลหะอื่น., Syn. aluminothermics |
another | (อะนา' เธอะ) adj., pron. อีก, อีกหนึ่ง, อื่น, อย่างอื่น, คล้ายกัน. -one another ซึ่งกันและกัน. -another time คราวหน้า, Syn. substitute, alternative |
anther | (แอน' เธอะ) n. เกสรตัวผู้ของดอกไม้. |
author | (ออ'เธอร์) n. ผู้ประพันธ์, นักเขียน, ผลงานประพันธ์, ผู้สร้างสรรค์. -vt. ประพันธ์. |
authoris | (z) e (ออ'เธอไรซ') มอบอำนาจ, แต่งตั้งมอบหมาย. -authoris (z) er n. |
authorisation | (ออเธอริเ''เชิน) n. การประพันธ์, การอนุญาตหรืออำนาจที่ได้มอบหมาย (sanction, approval) |
authorization | (ออเธอริเ''เชิน) n. การประพันธ์, การอนุญาตหรืออำนาจที่ได้มอบหมาย (sanction, approval) |
authorship | (ออ'เธอชิพ) n. อาชีพการเขียนหนังสือหรือบทความ, แหล่งที่มาของผลงาน |
aweather | (อะเวธ'เธอะ) adj., adv. ต้านลม, ทวนลม (toward the weather side) |
bantamweight | (แบน'เทิมเวท) n. นักมวยรุ่นแบนตัมเวท (อยู่ระหว่างไฟลเวทกับเฟทเธอร์เวท) |
boer | (โบ'เออ, บัวร์) n. ชาวโบเออร์ในแอฟริกาใต้ สืบเชื้อสายมาจากชาวเนเธอร์แลนด์) |
bother | (บอธ'เธอะ) { bothered, bothering, bothers } vt. รบกวน, ทำให้งง, ทำให้ยุ่งใจ vi. ยุ่งกับ -n. สิ่งที่น่ารำคาญ, คนที่น่ารำคาญ, งาน, ความกังวลใจ, Syn. pester |
bothersome | (บอธ'เธอเซิม) adj. ลำบาก, ยุ่ง, น่าเบื่อ, น่ารำคาญ, Syn. annoying |
breather | (บรีธ'เธอะ) n. การหยุดพัก, ผู้หายใจ, คนที่ชีวิต, หลอดหายใจ, หลอดระบายอากาศ, Syn. pause |
brother | (บรา'เธอะ) n. พี่ชายหรือน้องชาย, พี่น้องร่วมชาติ, เพื่อนร่วมงาน, บุคคลร่วมอาชีพ, บาทหลวง, ภราดร, เจษฎาจารย์ |
brother-in-law | (บรา'เธออินลอ) n. พี่หรือน้องเขย, พี่หรือน้องเมีย -pl. brothers-in-law |
brotherhood | (บรา'เธอฮูด) n. ภราดรภาพ |
brotherly | (บรา'เธอลี) adj., adv. เหมือนพี่เหมือนน้องกัน, พี่น้อง |
cothurnus | (โคเธอ'นัส) n. ละครโศกนาฎกรรม -pl. cothurni |
diathermy | (ได'อะเธอมี) n. การสร้างความร้อนในเนื้อเยื่อร่างกายด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ทางการบำบัด., Syn. diathermia |
dither | (ดิธ'เธอะ) n. การสั่น, การสั่นสะเทือน, ความตื่นเต้น, ความกลัว. vi. สั่น, สั่นสะเทือน |
dutch | (ดัทชฺ) adj. เกี่ยวกับเนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) , เยอรมัน (สแลง) , -Phr. (go Dutch ให้ต่างคนต่างออกค่าใช้จ่าย) n. ชาวเนเธอร์แลนด์, |
either | (ไอ'เธอะ, อี'เธอะ) adj., pron. แต่ละ, อันละ, ชิ้นละ, อันใดอันหนึ่ง (ของ2อัน) -conj. ถ้าไม่...ก็...หรือว่า adj. ด้วย, เหมือนกัน, เช่นเดียวกัน |
ether | (อี'เธอะ) n. อีเทอร์ , อากาศธาตุ., Syn. aether |
farther | (ฟาร์'เธอะ) adv., adj. ไกลออกไปอีก , ไกลกว่า, |
father | (ฟา'เธอะ) { fathered, fathering, fathers } n. บิดา, พ่อ, ผู้ปกครอง, พระ, พ่อบุญธรรม, คำเรียกชื่อผู้อาวุโสเพื่อแสดงความเคารพ, ผู้อาวุโสที่สุดของกลุ่ม, ผู้นำของเมือง, ผู้ก่อตั้ง, ผู้มาก่อน, แบบเริ่มแรก -Phr. (the Father พระผู้เป็นเจ้า) . vt. ให้กำเนิด, ริเริ่ม, เป็นพ่อ, ยอมร |
feather | (เฟธ'เธอะ) n. ขนนก, ขน, สิ่งเล็ก ๆ น้อย. vt. ประดับขนนกแก่.vi. เกิดขนนกขึ้น. . |
feathery | (เฟธ'เธอรี) adj. ซึ่งมีขนนกปกคลุม, คล้ายขนนก, เบา, ไม่สำคัญ., See also: featheriness n. |
forefather | (ฟอร์'ฟาเธอะ) n. บรรพบุรุษ, See also: forefatherly adj., Syn. forbear |
further | (เฟอ'เธอะ) adv. ต่อไป, ไกลออกไป, นานออกไป, นอกจากนี้. adj. ไกลกว่า, ขยายออกไปอีก, เพิ่มเติม, มากขึ้น. vt. ช่วยทำให้ก้าวไปข้างหน้า, ส่งเสริม, ผลักดัน, ก้าวหน้า., See also: furtherer n., Syn. farther |
furtherance | (เฟอ'เธอะเรินซฺ) n. การก้าวต่อไปข้างหน้า, การส่งเสริม, การผลักดัน, Syn. advancement, drive |
gather | (แกธ'เธอะ) vt., vi., n. (การ) รวบรวม, จัดรวม, สะสม, ขมวดคิ้ว, สิ่งที่เก็บรวม, See also: gatherable n., Syn. assemble, mass |
gathering | (แกธ'เธอริง) n. การรวบรวม, การเก็บรวม, การรวมกลุ่ม, สิ่งที่เก็บรวมเข้าด้วยกัน, กลุ่มคน, ฝีหนอง, Syn. meeting, assembly, crowd |
gilder | (กิล'เดอะ) n. เหรียญเงินและหน่วยเงินตราของเนเธอร์แลนด์มีค่าเท่ากับ100 เซนต์ |
guilder | (กิล'เดอะ) n. เหรียญเงินและหน่วยเงินตราของเนเธอร์แลนด์มีค่าเท่ากับ100 เซนต์ |
gulden | (กุล'เดิน) n. เหรียญเงินและหน่วยเงินตราของเนเธอร์แลนด์ |
heather | (ฮี'เธอะ) n. ต้นไม้เตี้ยโดยเฉพาะจำพวก colluna vulgaris |
her | (เฮอร์) pron. เธอ, หล่อน, เขา, ของเธอ |
hers | (เฮอซ) pron. เธอ, ของหล่อน |
herself | (เฮอร์เซลฟฺ') pron. ตัวเธอเอง |
hither | (ฮิท'เธอะ) adv. มาที่นี้ Phr. (hither and thither ที่โน่นและที่นี่, ที่ต่าง ๆ), See also: Phr. hither and yon ไปยังที่อื่น ๆ ไปหลายที่ adj. ที่นี้, ที่ใกล้เคียง |
hitherto | (ฮิธ'เธอะท) adv. จนกระทั้งเดี๋ยวนี้, จนบัดนี้, Syn. until now |
lather | (แลธ'เธอะ, ลา'เธอะ) n. ฟองสบู่, ฟอง, ภาวะที่ตื่นเต้น, ภาวะที่เร่าร้อน, ช่างกลึง vi. กลายเป็นฟอง, เป็นฟอง vt. ใส่ฟอง, ปกคลุมไปด้วยฟอง |
leather | (เลธ'เธอะ) { leathered, leathering, leathers } n. หนังฟอก, ผลิตภัณฑ์หนังฟอก. adj. เกี่ยวกับหรือคล้ายหนังฟอก. vt. คลุมด้วยหนังฟอก |
leatherneck | (เลธ'เธอะเนค) n. ทหารเรือ |
lightweight | (ไลทฺ'เวท) adj. เบา, มีน้ำหนักเบา, ไม่จริงจัง, เหลาะแหละ, สะเพร่า, เลินเล่อ, เกี่ยวกับนักมวยรุ่นไลท์เวท. n. บุคคลที่มีน้ำหนักเบากว่าปกติ, นักมวยที่มีน้ำหนัก126-134 ปอนด์ อยู่ระหว่างรุ่นเฟทเธอเวทกับรุ่นเวลเทอเวท |
massotherapy | (แมสโซเธอ'ระพี) n. นวดบำบัด., See also: massotherapist n. |
貴女 | [きじょ, kijo] เธอ |
彼女 | [かのじょ, kanojo] เธอ, แฟนสาว |
I love you | [かのじょ, I love you] ฉันรักเธอ |
皆さん 始めまして どぞよろしくね 俺毎日ゆっくり飲んで遊んで 仕事あまりしてない。 恋人探してるん | [かのじょ, minasan hajimemashite dozoyoroshikune ore mainichi yukkuri non de asonde shigoto amarishitenai . koibito sagashi terun] มีความสุขนะคะ ฉันรักเธอ |
キープサンプル | [きーぷさんぷる, kipusanpuru] (n, vi, vt, modal, ver) รักเธอ |
愛してる | [あいしてる, aishiteru] ฉันรักเธอ |
あの人 | [あのひと, anohito] (phrase) (เขา, เธอ, หล่อน) คนนั้น, See also: A. เขา, เธอ, หล่อน คนนี้ |
あの人 | [あのひと, anohito] (pron) คนนั้น, เขา, เธอ |
あの人 | [あの, ano] (pron) คนนั้น, เขา, เธอ, See also: S. あの方 |
あの方 | [あのかた, anokata] คนนั้น, เขา, เธอ, เป็นคำสุภาพของ あの人, See also: S. あの人 |
あなた | [あなた, anata] (n) คนนั้น, เขา, เธอ |
あの人 | [あのひと, anohito] (n) คนนั้น, เขา, เธอ |
あの人 | [あのひと, anohito] (n) คนนั้น, เขา, เธอ, See also: S. あ |
あの方 | [あのかた, anokata] (n) คนนั้น, เขา, เธอ (あの方 เป็นคำสุภาพของ あの人), See also: S. あの人 |
あの人 | [あのひと, anohito, anohito , anohito] (n) คนนั้น, เขา, เธอ, See also: S. あの方 |
あの方 | [あのかた, anokata, anokata , anokata] (n) คนนั้น, เขา, เธอ (あの方 เป็นคำสุภาพของ あの人), See also: S. あの人 |
彼女 | [かのじょ, kanojo, kanojo , kanojo] (pron) เธอ, เพื่อนหญิง, แฟน (ผู้หญิง) |
ฉันคิดถึงเธอ | [かのじょ, kanojo] (n) ฉันคิดถึงเธอ |
überhaupt | เป็นคำเสริมใช้เน้นว่า โดยทั่วไปไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้ เช่น Sie ist überhaupt sehr freundlich. โดยทั่วไปเธอเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมาก |
darunter | ภายใต้สิ่งนั้นๆ หรือ ท่ามกลาง เช่น Du, vorher habe ich die Wäsche gewaschen. Darunter war deine auch drin. นี่เธอ ก่อนหน้านี้ฉันซักผ้า ท่ามกลางเสื้อผ้าเหล่านั้น มีของเธอด้วยนะ |
denn | ใช้เป็นคำเน้น ไม่มีความหมายที่แน่นอน ใช้เสริมในประโยคเพื่อให้ฟังดูนุ่มขึ้น อาจแปลเป็นไทยภาษาพูดว่า 'ล่ะ' เช่น Was machst du denn da? เธอทำอะไรอยู่หรือเนี่ย (ถ้าไม่มี denn ฟังดูห้วนคล้ายว่า เธอทำอะไรอยู่) |
deren | (relpron) ของเธอ (เป็นสรรพนามสำหรับนามเอกพจห์เพศหญิงรูป Genetiv ที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของในวลีที่เชื่อมกับประโยคหลัก) เ เช่น Das ist Frau Schwarzkopf, deren Namen auf dem Schwarzbrett steht. นี่คือคุณชวาสคอร์ฟที่ชื่อของเธออยู่บนบอร์ด |
deutlich | (adv, adj) ชัดเจน เช่น Hast du ihm deutlich gesagt, was du denkst? เธอได้บอกเขาชัดเจนหรือเปล่า ว่าเธอคิดอย่างไร, See also: klar, Syn. eindeutig |
diesen | (dempron) สิ่งนี้ (คำสรรพนามหรืออาจเป็นคำนำหน้านามเพศชายรูป Akkusativ และนามพหูพจน์รูป Dativ ที่ใช้บ่งชี้เฉพาะสิ่งนั้นๆ) เช่น 1. Wer hat in diesen Apfel gebissen? ใครกัดแอปเปิ้ลลูกนี้เนี่ย 2. Ich habe dir ein Geschenk mit diesen Früchten mitgebracht. ฉันเอาของขวัญพร้อมด้วยผลไม้เหล่านี้มาฝากเธอ |
doch | ใช่ดอก (ใช้เวลาต้องการตอบใช่ในคำถามปฏิเสธ) เช่น Hast du noch kein Mittagessen gehabt? - Doch. เธอยังไม่ได้ทานอาหารกลางวันใช่ไหม - ผมทานแล้ว |
doch | ใช้เน้นว่าเชื่อเช่นนั้น เช่น Du weißt doch meine Telefonnummer, nicht wahr? เธอรู้เบอร์โทรศัพท์ของฉัน ไม่ใช่หรือ |
du | (pron) คุณหรือเธอ, สรรพนามบุรุษที่ 2 (สุภาพน้อยกว่า Sie, ใช้เวลาคุยกับคนที่สนิท หรือ ไม่เป็นทางการ) |
entwickeln | (vt) |entwickelte, hat entwickelt| พัฒนา, วิวัฒนาการ เช่น Hast du das Gerät entwickelt? เธอพัฒนาอุปกรณ์ชี้นนี้หรือ |
für | (präp) เพื่อ เช่น Ich bin immer für dich da. ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อเธอเสมอ |
ganz | (adv, adj) ทั้งหมด, ไม่เหลือเศษ เช่น Kannst du den Kuchen ganz aufessen? เธอสามารถกินขนมเค้กหมดทั้งชิ้นได้ไหม, Eine ganze Flasche Wein bitte! ขอไวน์ทั้งขวดครับ, Syn. völlig |
geben | (vt) |gibt, gab, hat gegeben| ให้ เช่น Kannst du mir bitte 10 Euro geben? เธอให้เงินฉันสักสิบยูโรได้ไหม |
gut | (adj, adv) |besser, best-| ดี เช่น Sie ist eine gute Chefin. เธอเป็นเจ้านายที่ดี, Konnten Sie gut schlafen? คุณนอนหลับสบายดีไหม, See also: A. schlecht |
haben | (vt) |hat, hatte, hat gehabt| มี เช่น Hast du Essen übrig? เธอมีอาหารเหลือไหม, Haben Sie noch Plätze frei? คุณมีที่ว่างเหลือบ้างไหมคะ |
im | (präp) ใน (บุพบทนำหน้านามเพศชายและกลางรูป Dativ) เช่น Bist du im Zimmer? เธออยู่ในห้องหรือเปล่า, See also: in |
immerhin | สุดท้ายแล้ว (ใช้บ่งว่า ไม่ควรเพิกเฉย) เช่น Du sollst ihm dabei helfen. Er ist immerhin dein Bruder. เธอควรช่วยเขานะ สุดท้ายแล้วเขาก็เป็นน้องชายของเธอเอง, Syn. schließlich |
je | (adv) เคย, เท่าที่เคยมา เช่น Sie ist glcklicher als je. เธอมีความสุขกว่าที่เคยเป็น, Syn. jemals |
jetzt | (adv) ขณะนี้, เดี๋ยวนี้ เช่น Hast du jetzt etwas zu tun? ขณะนี้เธอมีอะไรทำอยู่หรือเปล่า, Syn. in diesem Augenblick |
sprechen | (vi) |spricht, sprach, gesprochen| พูด, กล่าว, ปราศัย เช่น Wovon sprichst du? เธอพูดถึงอะไรนะ |
lieben | (vt) |liebte, hat geliebt| รัก เช่น Ich liebe dich. ฉันรักเธอ, ผมรักคุณ, See also: sich lieben, liebhaben |
überhaupt | เป็นคำเสริมใช้เน้นในประโยคคำถามที่ผู้ถามไม่แน่ใจว่าจริง เช่น Kannst du überhaupt kochen? เธอทำอาหารได้จริงหรือ |
überhaupt | เป็นคำเสริมใช้เน้นในประโยคคำถามเกี่ยวกับหัวข้อสนทนาไหม่ เช่น Was machst du überhaupt momentan? เธอทำอะไรอยู่ตอนนี้, See also: eigentlich, denn |
auf die Nerven gehen | กวนประสาท, รบกวน, สร้างความรำคาญ เช่น Deine Rederei geht mir langsam auf die Nerven. การพูดของเธอเริ่มกวนประสาทฉัน |
treten | (vi) |tritt, trat, hat/ist getreten| ก้าวเท้าไป(เล็กน้อยไม่กี่ก้าว)เช่น Sie ist zur Seite getreten. เธอก้าวหรือเขยิบไปข้างๆ |
malen | (vt) |malte, hat gemalt| วาดรูป, วาดภาพ (สังเกต: กรรมตรงของกิริยา malen เป็นภาพที่วาด) เช่น Kannst du mal einen Hund auf den Tisch malen? เธอช่วยวาดรูปสุนัขลงบนโตะหน่อยได้ไหม, See also: bemalen |
bemalen | (vt) |bemalte, hat bemalt| วาดภาพ, วาดรูป (สังเกต: กรรมตรงของกิริยา bemalen เป็นวัตถุที่ถูกวาดลงบน) เช่น Kannst du mal den Tisch mit einem Hund bemalen? เธอช่วยวาดรูปสุนัขลงบนโตะหน่อยได้ไหม, See also: malen |
Denkst du ich bin ein Dukatenkacker? | (phrase, slang) เธอคิดว่าชั้นรวยมากนักหรือไง (ความหมายตรงตัวคือ เธอคิดว่าฉันอุจจาระออกมาเป็นเงินเหรอ) |
bitte | ได้ค่ะ เชิญครับ (ใช้ตอบตกลงเวลาที่มีคนเสนอความช่วยเหลือหรือเสนอของให้) เช่น Möchtest du noch ein bißchen Reis? - Ja, bitte. เธอต้องการข้าวอีกสักนิดไหม - จ้ะ ได้จ้ะ |
halten | (vt) |hält, hielt, hat gehalten| ถือ, จับ เช่น Kannst du meine Tasche bitte mal halten? เธอช่วยถือกระเป๋าของฉันหน่อยได้ไหมเอ่ย, See also: festhalten |
wöchentlich | (adj, adv) (โดย)ทุกอาทิตย์ เช่น Er ruft sie wöchentlich an. เขาโทรหาเธอทุกอาทิตย์, See also: in jeder Woche |
wünschen | (vt) |wünschte, hat gewünscht| ปรารถนา หวังอยากให้ เช่น Ich wünsche dir, daß du die Prüfung schaffst. ฉันขอให้เธอสอบผ่าน |
Heirat | (n) |die, pl. Heiraten| การแต่งงาน เช่น Die Heirat mit einem bekannten Schauspieler ist ihr Traum. การแต่งงานกับนักแสดงที่โด่งดังเป็นความฝันของเธอ |
Satz | (n) |der, pl. Sätze| เกมเทนนิส เช่น Sie hat den ersten Satz mit 7:5 gewonnen. เธอชนะเกมแรกด้วยแต้ม 7:5 |
schaffen | (vt) |schaffte, hat geschafft| ทำให้เป็นผลสำเร็จ, ทำได้สำเร็จ เช่น Sie hat die Prüfung geschafft. เธอสอบผ่านแล้ว, Syn. erfüllen |
mutig | (adj, adv) ที่กล้าหาญ, อย่างกล้าหาญ เช่น Sie ist ein mutiges Mädchen. เธอเป็นเด็กที่กล้าหาญ |
willkommen | (adj) เป็นที่เชื้อเชิญ, ยินดีต้อนรับ เช่น Du bist jederzeit willkommen. เธอสามารถมาได้ตลอดเวลาด้วยความยินดี |
etw. mit etw. verwechseln | (vt) จำสลับกัน เช่น Einmal hat sie die Cola mit dem Whiskey verwechselt. ครั้งหนึ่งเธอเคยหยิบโค้กมาแทนวิสกี้, Syn. etw. mit etw. vertauschen |
nennenswert | (adj) ที่น่าเอ่ยถึง, เป็นที่น่าพูดถึง เช่น Diese Woche hat sie keinen nennenswerten Fortschritt. อาทิตย์นี้เธอไม่มีผลงานความก้าวหน้าที่น่าเอ่ยถึงเลย, Syn. erwähnenswert |
ersparen | (vt) |ersparte, hat erspart| ประหยัดเวลาหรือหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ Wenn du ihn nicht zurückschreibst, kannst du dir die Aufregung ersparen. ถ้าเธอไม่เขียนตอบเขากลับไป เธอก็สามารถลดการรบกวนหรือไม่ต้องมาหงุดหงิดอีก |
Verdacht | (n) |der, nur Sg.| สถานการณ์ที่กำลังถูกสงสัยอยู่ เช่น Man weiß nicht wo sie ist, aber es besteht Verdacht auf Bangkok. ไม่มีใครรู้ว่าเธอหายไปไหน แต่มีเหตุการณ์ชี้ว่าเธอน่าจะอยู่ที่กรุงเทพฯ |
gießen | (vt) |goß, hat gegossen| รินหรือเทของเหลวออกจากภาชนะ เช่น Soll ich Milch in dein Glas gießen? ฉันควรเทนมลงในแก้วของเธอไหม |
bei | (prep) ที่หรือกับ(คนใดคนหนึ่ง ณ ที่เฉพาะหนึ่งๆ ส่วนใหญ่ใช้บ่งบอกว่า ที่บ้านของคนๆนั้น) เช่น Gestern hat er bei ihr zu Hause übernachtet. เมื่อวานเขาค้างคืนที่บ้านเธอ |
vorsehen | (vt) |sah vor, hat vorgesehen| วางแผน, คาดการณ์ เช่น Mit wem hast du vorgesehen, zur Party zu gehen? เธอคาดว่าจะไปงานปาร์ตี้กับใคร, Syn. plannen |
in letzter Zeit | เมื่อไม่นานมานี้, เมื่อเร็วๆนี้ เช่น Was ist mit dir los in letzter Zeit? เกิดอะไรขึ้นกับเธอเมื่อไม่นานมานี้, Syn. neulich |
spüren | (vi, vt) |spürte, hat gespürt| รู้สึกถึง, รับความรู้สึก, รับรู้ เช่น Du sollst spüren, daß sie immer für dich da ist. นายควรรับรู้ไว้ว่าเธออยู่ตรงนี้เสมอสำหรับนาย (สังเกตความแตกต่างระหว่าง spüren และ fühlen โดยมาก fühlen ใช้บ่งความรู้สึกทางร่างกาย เช่น Ich fühle mich schlecht.ซึ่งจะไม่พูดว่า Ich spüre schlecht. ), See also: Related: fühlen |
schweigen | (vi) |schwieg, hat geschwiegen| นิ่งเงียบ และ ไม่แสดงความคิดเห็น หรือ ไม่เปิดเผยในสิ่งที่รู้ หรือ ไม่ตอบ ก็เป็นได้ นะเนี่ย ตัวอย่างการใช้ คำ 1° Du solltest auf all seine Fragen schweigen! = เธออย่าได้ตอบคำถามของเขาเชียวนะ แม้จะคำถามเดียวก็เหอะ (นั่น เป็นงั้นไปได้, ยังกะในละคร แนะ ) 2° Darüber sollten wir lieber schweigen. = ผมเห็นว่า พวกเราน่าจะนิ่งเฉยกับเรื่องนี้เอาไว้ดีกว่านะ ( เพิ่มเติม, ผู้พูดแนะนำให้ทำ ดังนั้นเขาจึง ใช้กริยาเป็น sollten เช่น solltest ในตัวอย่างที่ 1 ด้วยเหมือนกัน ) 3° Sebastian, er steht schweigend vor seinen Eltern. = เซบาสเทียน, เขายืนนิ่ง ไม่พูดอะไรสักคำต่อหน้าพ่อแม่ของเขา ( กริยา Infinitiv เติมด้วย d จะทำหน้าที่เป็น Adjektiv หรือ Adverb เช่นคำว่า schweigend ในประโยค ตัวอย่าง ), See also: verheimlichen, A. verraten, antworten, sagen, Syn. still sein |
verraten | (vi, vt) |verrät, verriet, hat verraten| เผยความลับ, บอกความจริง, ช่วยแนะ อธิบาย ตัวอย่างการใช้ คำ 1° Yujin, ich will dir verraten, dass Junsang dich sehr mag! = นี่ ยูจิน, เธอนะ ไม่รู้รู้เลยใช่มั้ย ว่าจุนซางเค้าชอบเธอมากเลยน้า (จาก winter love song แฮะๆ ) 2° Unser Geheimnis darfst du keinem verraten! = ความลับระหว่างเรานะ เธอ ห้ามไปบอก ใครเชียวนะ! ( กรรมตรง คือ unser Geheimnis, กรรมรอง คือ keinem, Dativ! ) 3° Können Sie mir bitte verraten, wie ich am schnellsten zum Bahnhof komme? = เอ่อ คุณครับ กรุณาเถอะครับ ช่วยบอกทางผมไปสถานีรถไฟให้ด่วนที่สุดจะได้มั้ยครับ? ( คำว่า bitte จะช่วยให้คุณไปถึงสถานีรถไฟได้เร็ว จริงๆน้า..), See also: die Sache aufklären, A. verheimlichen, still sein, Syn. das Geheimnis sagen |
überglücklich | (adj) ดีใจมาก, ดีใจท่วมท้น ตัวอย่างการใช้คำ Sie ist überglücklich über ihre bestandene Führerscheinprüfung = เธอดีใจสุดๆ เลยล่ะ ที่สอบใบขับขี่ผ่าน (ที่เยอรมนีสอบยากมาก) |
Schwein-Hund überwinden | (slang) เอาชนะความเกียจคร้านของตัวเอง เช่น Um die Prüfung zu bestehen, muss du zuerst deinen Schwein-Hund überwinden, weißt!! = ก่อนจะสอบให้ผ่านอ่ะนะ เธอต้องรู้จักเอาชนะความเกียจคร้านของตัวเองให้ได้ซะก่อน รู้มั้ย!! |
vous | (n) ประธานบุรุษที่สอง หมายถึง 1. ท่าน (คนเดียวหรือเอกพจน์) 2. ท่านทั้งหลาย (พหูพจน์) หรือ 3. พวกเธอทั้งหลาย |
tu | (n) ประธานบุรุษที่ 2 เอกพจน์, เธอ |
elle | (n) ประธานบุรุษที่ 3 เอกพจน์เพศหญิง, เธอ(ผู้หญิง), มัน(ผู้หญิง) |
aller | (vi) |je vais, tu vas, il va, nous allons, vous avez, ils vont| (1) ไป เช่น aller à pied ไปด้วยเท้า, aller à l'étranger ไปต่างประเทศ (2) ใช้เป็นกิริยาช่วยในประโยคที่บ่งอนาคตอันใกล้รูป futur proche โดย aller + infinitif เช่น Je ne vais pas sortir ce soir. เย็นนี้ฉันจะไม่ออกจากบ้าน (3) ในประโยคทักทาย แปลว่า สบายดีหรือเป็นเช่นใด เช่น Comment vas-tu? = (Comment) ca va? เธอสบายดีไหม หรือ เธอเป็นอย่างไรบ้าง |
comment vas-tu? | ((fig)) เธอเป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม ? |
comprendre | (vt) เข้าใจ เช่น Vous comprenez? คุณ (พวกคุณหรือพวกเธอ) เข้าใจไหมคะ, See also: prendre |
aider | (vt) ช่วยเหลือ เช่น En week-end, elle aide un peu ses parents de faire le ménage. วันหยุดสุดสัปดาห์ เธอช่วยพ่อแม่ทำความสะอาดบ้านนิดหน่อย, See also: regarder |
où | ที่ไหน (คำขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Il habite où? = Où est-ce qu'il habites? เขาอยู่ที่ไหน, Tu vas où en vacances? เธอไปเที่ยวพักร้อนที่ไหน |
Pourquoi | ทำไม (คำขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Pourquoi tu déménages? = Pourquoi est-ce que tu déménages? ทำไมเธอถึงย้ายบ้าน |
quand | เมื่อไหร่ (คำขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Tu sors quand? = Quand est-ce que tu sors? เธอออกไปเมื่อไหร่ |
que | อะไร (คำขึ้นต้นประโยคคำถาม) เช่น Qu'est-ce que tu prends? เธอเอาอะไร, Qu'est-ce qu'on fait? เราทำอะไรอยู่ |
fille, -s | (n) (opposé à garcon)เด็กผู้หญิง, (opposé à fils)ลูกสาว ตัวอย่างเช่น jeune fille, petite fille = สาวน้อย , elle est fille unique = เธอเป็นลุกสาวคนเดียว, Ant. garcon, fils |
d'où | จากที่ไหน เช่น Tu est d'où? = D'où est-ce que tu est? เธอมาจากที่ไหน |
me | สรรพนามบุรุษที่หนึ่งในรูปกรรมตรง เช่น Tu me comprends? เธอเข้าใจฉันไหม, Tu m'écoutes? เธอฟังฉันอยู่หรือเปล่า |
te | สรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมตรง เช่น Je te comprends. ฉันเข้าใจเธอนะ, Je t'invite. ฉันขอเชิญเธอ |
nous | สรรพนามบุรุษที่หนึ่งพหูพจน์ในรูปกรรมตรง เช่น Tu nous accompagnes? เธอติดตามพวกเราไปไหม |
vous | สรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมตรง เช่น Je vous rejoins. ฉันตามพวกเธอไปละกัน |
me | สรรพนามบุรุษที่หนึ่งในรูปกรรมรอง เช่น Tu me rends visite? เธอมาเยี่ยมฉันไหม, Tu m'apportes des disques? เธอนำ(เอา)แผ่นเสียงมาให้ฉันทีได้ไหม |
te | สรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมรอง เช่น Je te montre mes disques. ฉันโชว์(แสดง)เธอแผ่นเสียงของฉัน, Je t'offre un verre. ฉันเอาแก้วให้เธอนะ |
nous | สรรพนามบุรุษที่หนึ่งพหูพจน์ในรูปกรรมรอง เช่น Tu nous offres l'entrée? เธออนุญาตให้พวกเราเข้าไปไหม |
vous | สรรพนามบุรุษที่สองในรูปกรรมรอง เช่น Je vous réserve des places? ฉันจองที่ให้คุณ(พวกเธอ)ดีไหม |
en | (prep) ที่ (ใช้ตอบคำถาม ไปที่ไหน หรือ อยู่ที่ไหน) เช่น Le Chili, c'est en Amérique. ประเทศชิลีอยู่ในทวีปอเมริกา, Elle va à la fac chaque jour. เธอไปที่มหาวิทยาลัยทุกวัน |
tout, toute, tous, toutes | (adj) ทั้งหมด เช่น Tout le monde = ทุกๆคน Elle habite toute seule = เธออาศัยอยู่คนเดียว Tous les jours = ทุกวัน |
il n'y a que | (phrase) มีเพียงสิ่งนั้นๆสิ่งเดียวเท่านั้น เช่น Il n'y a que toi qui me comprends. = มีเพียงเธอเท่านั้นที่เข้าใจฉัน |
je t'aime. | ฉันรักเธอ |