เทอญ | (เทิน) ว. เถิด (ใช้เป็นคำลงท้ายข้อความที่แสดงความมุ่งหมายให้เป็นดังนั้นดังนี้, มักใช้ในการให้ศีลให้พร). |
คำสร้อย | น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นาเฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ. |
ดล ๒ | (ดน) ก. ถึง เช่น เท่าถึงอรหนตดล นฤพาน โสดเทอญ (ม. คำหลวง ทศพร). |
เดียง ๑ | ก. รู้ เช่น ผู้ยิ่งญาติอยู่กลใด มากูจะไปให้ดลเดียงถนัด น่อยหนึ่งเทอญ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ทะนะ, ทะนา | ว. คำละมาจากคำว่า เทอญนะ เทอญนา เถิดนะ หรือ เถิดนา, มักใช้ในความชักชวน เช่น ไปทะนะ. |
บาย | น. ข้าว เช่น จุ่งเอาอรรนอวยแก่ผู้มักบาย น้นนเทอญ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
สร้อย ๓ | (ส้อย) น. คำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้ายบทร้อยกรอง เพื่อให้ครบตามจำนวน เพื่อความไพเราะของเสียงและความหมายหรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์เทอญ, คำสร้อย ก็ว่า |