เจ้านาย | น. เชื้อสายของพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป และผู้ได้รับสถาปนาอิสริยยศขึ้นเป็นเจ้า, เจ้า ก็เรียก |
เจ้านาย | ผู้บังคับบัญชา, เจ้าขุนมุลนาย หรือ เจ้าขุนมูลนาย ก็ว่า. |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กรรชิง | (กัน-) น. เครื่องประกอบยศของเจ้านาย ขุนนาง และราชพาหนะ มีรูปร่างคล้ายสัปทนขนาดเล็ก บุด้วยผ้าต่างสีต่างชนิดกันตามชั้นยศ ระบายรอบอย่างน้อย ๒ ชั้น ยาวปรกลงมามากกว่าสัปทน สำรับหนึ่งมี ๔ คัน ใช้ตั้งแต่งประจำมุมทั้ง ๔ ของผู้ครองยศ หรือถือเข้ากระบวนแห่ เช่น แห่พระยาแรกนา แห่ช้างสำคัญ, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก. |
กระดูก ๓ | ว. ขี้เหนียวอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น เจ้านายคนนี้กระดูกจริง ๆ ดินสอแท่งเดียวก็ไม่ยอมให้เบิก. |
กระหม่อม | ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชายใช้ทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. |
กลด ๑ | (กฺลด) น. เครื่องกั้นกันแดดหรือฝน ลักษณะคล้ายร่มขนาดใหญ่ ขอบมีระบาย คันยาว ใช้ถือกั้นเจ้านาย, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบ ว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. |
กลดกำมะลอ | น. กลดชนิดหนึ่ง ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป. |
กษัตร | (กะสัด) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. |
กำมะลอ | เรียกกลดที่ทำด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สำหรับใช้กับเจ้านายหรือพระพุทธรูป ว่า กลดกำมะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่องกำมะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาวหรือแพรขาว ว่า ลายกำมะลอ |
เกย ๒ | น. เกยขนาดเล็กเคลื่อนย้ายไปได้ สำหรับเจ้านายใช้เป็นที่เสด็จขึ้นหรือลงพาหนะ |
เกยลา | น. เกยน้อยที่ยกไปได้ ใช้เป็นที่เสด็จขึ้นลงแห่งเจ้านายรองจากพระเจ้าแผ่นดินลงมา |
เกศากันต์ | ก. ตัดจุก, โกนจุก, (ใช้เฉพาะเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า). |
ใกล้ชิด | เป็นที่ไว้วางใจ เช่น เขาเป็นคนใกล้ชิดของเจ้านาย. |
ขอเฝ้า | น. ข้าพึ่งบุญเจ้า เป็นผู้ชายสำหรับเจ้านายฝ่ายในใช้สอย |
ข้านอกเจ้าข้าวนอกหม้อ | น. จำนวนคนซึ่งมีจำนวนมาก ย่อมกระทำหรือประพฤตินอกออกไปจากคำสั่งหรือแบบอย่างขนบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมามากเช่นกัน ดังข้อความว่า กาลแต่ก่อนเจ้านายน้อยตัว ก็ไม่รั่วไม่ร้ำข้างไหนหนัก ครั้นภายหลังเจ้านายมากขึ้นก็เกิดการรั่วร้ำไปต่าง ๆ เป็นการข้านอกเจ้า เข้านอกหม้อ ลูกนอกพ่อ หลานนอกปู่ เป็นขึ้น (พระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๔). |
ข้าหลวง ๑ | น. คนที่ถวายตัวเป็นข้าของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย, คนรับใช้ของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย ปัจจุบันมีเฉพาะผู้หญิง เรียกว่า คุณข้าหลวง. |
ข้าหลวงเดิม | น. คนที่พระเจ้าแผ่นดินเคยใช้สอยมาตั้งแต่ก่อนขึ้นครองราชย์, คนรับใช้เก่าแก่ของเจ้านาย, (ปาก) คนหรือสิ่งของที่ใช้สอยถูกใจมาเป็นเวลานาน ๆ. |
ข้าพระพุทธเจ้า | (ข้าพฺระพุดทะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือกราบบังคมทูล กราบทูลเจ้านายชั้นสูง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เข้าเจ้าเข้านาย | ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลักผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม. |
เข้าเฝ้า | ก. ไปหาเจ้านาย. |
เขียนทอง | น. เรียกผ้าลายแต้มทองสำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายทรง. |
คานหาม | น. ที่นั่งที่มีคานสำหรับหาม, ถ้าใช้สำหรับเจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, ถ้าใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระราชยานคานหาม. |
คำนัล | ก. เฝ้าเจ้านาย. |
คุ้ม ๒ | น. บ้านเจ้านายฝ่ายเหนือ. |
เครื่อง | (เคฺรื่อง) น. สิ่ง, สิ่งของ, สิ่งสำหรับประกอบกันหรือเป็นพวกเดียวกัน เช่น เครื่องนอน เครื่องปูลาดอาสนะ, สิ่งของสำหรับใช้การต่าง ๆ เช่น เครื่องรถ เครื่องเรือน เครื่องไฟฟ้า, ของที่เข้าสำรับกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เครื่องแป้ง หมายถึงของที่เข้าสำรับกับแป้งเครื่องสำอาง, ของใช้ของกินสำหรับเจ้านาย เช่น เครื่องทรง เครื่องเสวย. |
แคร่ ๑ | (แคฺร่) น. ที่สำหรับนั่งหรือนอนโดยมากมีรูปสี่เหลี่ยม มักทำด้วยฟากหรือไม้ไผ่ซี่ ๆ ถักติดกันเป็นต้น ไม่มีขา ยกไปได้, บางชนิดทำเสาเป็นเครื่องรองรับก็มี เรียกรวม ๆ ทั้งหมดว่า แคร่, บางชนิดใช้วางบนคานหาม สำหรับหามไป, ใช้แก่เจ้านาย เรียกว่า แคร่คานหาม, เรียกสั้น ๆ ว่า แคร่ ก็มี, บางชนิดใช้วางบนเรือ เรียกว่า แคร่เรือ |
จังหวะ | น. ระยะที่สม่ำเสมอ เช่น หัวใจเต้นเป็นจังหวะ, ระยะที่กำหนดไว้เป็นตอน ๆ เช่น เพลงจังหวะช้า จังหวะเร็ว พูดเป็นจังหวะ, โดยปริยายหมายความว่าโอกาสอันควร เช่น เจ้านายกำลังโกรธ ไม่มีจังหวะจะเข้าพบ. |
จางวาง | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงกว่าเจ้ากรมที่มิใช่กรมเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลกรมนั้น ๆ, ตำแหน่งในสังกัดของเจ้านายที่ทรงกรม ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมเจ้านาย, ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๔ มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวหมื่นมหาดเล็ก |
เจ้าขุนมุลนาย, เจ้าขุนมูลนาย | น. ผู้บังคับบัญชา, เจ้านาย ก็ว่า. |
เจ้าไทย | เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ |
เจ้า ๓ | น. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน |
ฉนวน ๑ | (ฉะหฺนวน) น. ทางเดินซึ่งมีเครื่องกำบัง ๒ ข้าง สำหรับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายฝ่ายในเสด็จขึ้นลงหรือเข้าออก. |
ชักแถว | ก. พร้อมกันทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น พนักงานชักแถวลาออก ลูกน้องชักแถวไปอวยพรวันเกิดเจ้านาย. |
ชุบสรง | น. ผ้าผลัดอาบนํ้าของเจ้านาย เรียกว่า ผ้าชุบสรง. |
ชุบอาบ | น. ผ้าผลัดอาบนํ้าของเจ้านายหรือพระสงฆ์ เรียกว่า ผ้าชุบอาบ. |
ด๊ก ๆ | ว. อาการที่รีบไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ด้วยความเต็มใจหรือสมัครใจ เช่น พอเจ้านายอยากได้ต้นไม้มาประดับห้อง เขาก็ด๊ก ๆ ไปหามาให้ พอเช้าขึ้นมาเขาก็ด๊ก ๆ พาลูกไปส่งโรงเรียน. |
ดำรัส | (-หฺรัด) ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). |
ดำรัส | (-หฺรัด) น. คำพูดของพระพุทธเจ้า ใช้ว่า พระพุทธดำรัส, คำพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดำรัส, คำพูดของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชดำรัส. |
ดำหนัก | น. ตำหนัก, เรือนของเจ้านาย, เช่น ผิธยลเยื้องไพรพระดำหนัก เจ้าจอมจักรจงบอกรา (ม. คำหลวง ชูชก). |
ดีฉาน | ส. ดิฉัน, ดีฉัน, เป็นคำที่เจ้านายผู้ชายมักใช้กับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง | เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดิน เมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ. |
ตรัสน้อย | (ตฺรัด-) น. คำยกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. |
ตรัสสา | (ตฺรัดสา) น. คำยกย่องเรียกเจ้านายฝ่ายในชั้นเจ้าฟ้า. |
ตั้งกรม | ก. สถาปนาเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งให้ควบคุมคนหมู่หนึ่ง. (ดู กรม ๓ ประกอบ). |
ต่างกรม | ว. เรียกเจ้านายที่ได้รับพระราชทานอิสริยยศให้มีข้าคนหมู่หนึ่งจัดตั้งเป็นกรมในปกครองเพื่อช่วยราชการแผ่นดิน เจ้าที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ปกครองข้าในกรมของพระองค์ เรียกว่า เจ้านายต่างกรม กรมของเจ้ามีชื่อต่าง ๆ กันไปตามนามของผู้เป็นเจ้ากรม. |
ตำหนัก | น. ที่ประทับของเจ้านาย เช่น ตำหนักปลายเนิน หรือของสมเด็จพระสังฆราช เช่น ตำหนักเพชร, ถ้าเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียกว่า พระตำหนัก เช่น พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระตำหนักวาสุกรี. |
ใต้ฝ่าพระบาท | ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้แก่เจ้านายชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าฟ้า, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
ถวาย | ให้, มอบให้, (ใช้แก่สมเด็จเจ้าฟ้าลงมาจนถึงหม่อมเจ้า), ให้สิ่งที่เป็นนามธรรมแก่พระมหากษัตริย์และเจ้านาย เช่น ถวายพระพร ถวายชีวิต. |
ถวายกร | ก. ไหว้เจ้านาย, รำให้เจ้านายชม. |
สดับปกรณ์ | เป็นทั้งคำกริยาและคำนามว่า สดับปกรณ์ (สะ-ดับ-ปะ-กอน) เป็นคำกริยา คือ บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย) ส่วนคำนามหมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุับันใช้เฉพาะเจ้านาย คำในภาษาบาลีเขียน สตฺตปฺปกรณ ส่วนภาษาสันสกฤตเขียน สปฺตปฺรกรณ หมายถึงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระโกศ | ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ กับโกศที่พระราชทานสำหรับศพข้าราชการผู้มีบรรดาศักดิ์สูง ตามคตินิยมของพราหมณ์ที่เชื่อว่า ต้องตั้งพระศพในท่ายืน, นั่ง, คุกเข่า หรือกอดเข่าประสานมือ เพื่อส่งพระศพและพระวิญญาณเสด็จกลับสู่สรวงสวรรค์ พระโกศสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ ๒ ประเภท ๑. พระโกศสำหรับทรงพระบรมศพหรือพระศพ ๒. พระโกศพระบรมอัฐิหรือพระอัฐิ, Example: <p><img src="http://stks.or.th/thaiglossary/sites/default/files/re-IM-2009-01.JPG" alt="พระโกศ"> <p>ที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ [ศัพท์พระราชพิธี] |
สวรรคาลัย | ตาย (ใช้แก่เจ้านายชั้นสูง) [ศัพท์พระราชพิธี] |
ข้าหลวง | คนที่ถวายตัวเป็นข้าของพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย, คนใช้ของพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระจิตกาธาน | เชิงตะกอน (สำหรับเจ้านาย), (ราชา) พระจิตกาธาน [ศัพท์พระราชพิธี] |
กงเต๊กหลวง | เป็นพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในงานพระบรมศพเจ้านายที่เพิ่มเติมเข้ามาจากแบบแผนราชสำนัก เป็นการผสานทางศาสนาพุทธนิกายมหายานและวัฒนธรรมญวน-จีน กับความเชื่อของไทย โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือการส่งเสด็จเจ้านายที่ล่วงลับสู่สวรรคาลัย [ศัพท์พระราชพิธี] |
พลับพลายก | มี ๓ หลัง ตั้งที่ท้องสนามหลวง นอกรั้วราชวัติ ด้านทิศเหนือ ๑ หลัง ใช้สำหรับเสร็จรับพระศพลงจากราชรถ ที่หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๑ หลัง ใช้สำหรับเจ้านายฝ่ายในและประทับทอดพระเนตรกระบวนและถวายบังคมพระศพ และที่หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีก ๑ หลัง ใช้สำหรับเสด็จส่งพระศพขึ้นราชรถ [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระวอสีวิกากาญจน์ | เป็นพระราชยานประทับราบสำหรับเจ้านายฝ่ายในและพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ นอกจากใช้เสด็จพระราชดำเนินในงานพระราชพิธีแล้ว ยังใช้ในงานพระบรมศพสมเด็จพระบรมราชินีด้วย คือ เชิญพระราชสรีรางคารจากพระเมรุมาศท้องสนามหลวงกลับเ้ข้าพระบรมมหาราชวัง [ศัพท์พระราชพิธี] |
พระกลด | [ กฺลด ] น. ร่มขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขอบร่มมีระบาย คันยาวกว่าก้านร่ม ใช้ถือกั้นเจ้านาย หรือพระภิกษุที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์, ราชาศัพท์ว่า พระกลด, เรียกร่มขนาดใหญ่มีด้าม สำหรับพระธุดงค์โดยเฉพาะ, เรียกดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ที่มีแสงสีรุ้งเป็นวงกลมล้อมรอบว่า ดวงอาทิตย์ทรงกลด ดวงจันทร์ทรงกลด. (ข. กฺลส). [ศัพท์พระราชพิธี] |
lord | (ลอร์ด) n. เจ้าศักดินา, ขุนนาง, เจ้าของที่ดิน, ท่านลอร์ด, สมาชิกสภาขุนนาง, ผู้นำในการค้า, เจ้านาย, เจ้าเหนือหัว, พระผู้เป็นเจ้า, พระเยซูคริสต์, ดาวนพเคราะห์ที่มีอิทธิพลครอบงำ. -interj. คำอุทานแสดงความประหลาดใจ. vi. มีอำนาจหรืออิทธิพล, ตั้งตัวเป็นเจ้าเหนือหัว |
master | (มาส'เทอะ, แมส'เทอะ) n. นาย, เจ้านาย, นายจ้าง, กัปตันเรือสินค้า, กัปตันเรือ, ผู้บังคับการ, หัวหน้าครอบครัว, เจ้าบ้าน, ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้มีชัย, ผู้มีอำนาจ, คนเก่ง, ผู้ช่วยผู้พิพากษา, มหาบัณฑิต, ผู้สำเร็จปริญญาโท adj. เป็นนาย, เป็นหัวหน้า, เป็นผู้นำ, เกี่ยวกับการควบคุม, เกี่ยวกับการนำ, วางอำนาจ, ใหญ่ยิ่ง, เชี่ยวชาญ |