เกล้า | (v) wear hair in a bun or coil, See also: gather hair up, dress a tuft of hair, tie up hair in a bun, Syn. รวบ, มุ่น, Ant. ปล่อย, Example: ทางด้านวัฒนธรรม ชาวผู้ไทสวมเครื่องประดับ สร้อยข้อมือ ข้อเท้าด้วยโลหะเงิน เกล้าผมมวยสูงตั้งตรง มัดมวยด้วยผ้าแถบผืนเล็กๆ, Thai Definition: มุ่นผมให้เรียบร้อย |
เกล้า | (n) head, See also: skull, Syn. หัว, กระหม่อม, เศียร, ศีรษะ, Example: การลงภาพบุคคลในสถาบันที่สาธารณชนเคารพสักการะและนับถือไว้เหนือเกล้าเหนือหัวนั้นควรระมัดระวังความเสื่อมเสียหายให้มาก, Count Unit: หัว |
ปกเกล้า | (v) protect, See also: tend, take care of, cover the head, Syn. ปกเกศ, คุ้มครอง, Example: พระบารมีปกเกล้าปวงประชาให้อยู่เย็นเป็นสุข |
เกล้าผม | (v) put up one's hair, See also: wear the hair in a bun, Example: เธอเกล้าผมเป็นมวยไว้บนศีรษะราวกับแขก, Thai Definition: มุ่นผมให้เรียบร้อย |
จอมเกล้า | (n) Chom Klao |
รัดเกล้า | (n) tiara, See also: band of precious materials worn as a woman's head-dress, Count Unit: อัน, Thai Definition: เครื่องประดับศรีษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณและประดับศรีษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ |
ร่มเกล้า | (n) protector, See also: guardian, ruler, Syn. ร่มเกศ, Thai Definition: ผู้ป้องกันความเดือดร้อน |
โปรดเกล้า | (v) be kind enough to, Syn. โปรดเกล้าโปรดกระหม่อ, กรุณา, Example: สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลี้ยงแก่บรรดานักเรียนนายร้อยที่สำเร็จการศึกษา, Notes: (ราชา) |
เกล้ากระผม | (pron) I, See also: me, Syn. เกล้า, เกล้าฯ, Example: เกล้ากระผมยินดีรับใช้ด้วยความจงรักภักดี, Thai Definition: สรรพนามบุรุษที่1 ใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมาก หรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์ |
จนด้วยเกล้า | (v) be baffled, See also: be at one's wits' end, Syn. สุดคิด, คิดไม่ออก, หมดปัญญาคิด, จนปัญญา, Example: ถ้าเจอข้อสอบหินแบบนี้ เห็นทีจะจนด้วยเกล้าแล้วแน่ๆ |
เกล้ากระหม่อม | (pron) I, See also: me, Syn. เกล้าฯ, Ant. เกล้ากระหม่อมฉัน, Example: เกล้ากระหม่อมขอรับพระบรมราชโองการไว้เหนือเกล้า, Thai Definition: สรรพนามบุรุษที่1 ใช้แทนตัวผู้พูดเพศชาย เพ็ดทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระวรวงศ์เธอที่ทรงกลม และสมเด็จพระสังฆราช |
ทูลเกล้าฯ ถวาย | (v) present, See also: offer, dedicate, consecrate, give, bestow, confer, Syn. ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย, Thai Definition: ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), Notes: (ราชา) |
น้อมเกล้าฯ ถวาย | (v) present, See also: offer, Syn. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย, Example: บริษัทสหกรณ์ ซี.ซี. ฟรีสแลนด์น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องมือสำหรับผลิตเนยแข็ง เนื่องในวโรกาสมหามงคล, Notes: (ราชา) |
ผู้บังเกิดเกล้า | (n) parents, See also: father, mother, progenitor, Syn. บุพการี, บิดามารดา, Example: เราทุกคนควรมีความกตัญญูต่อผู้บังเกิดเกล้า, Count Unit: คน, Thai Definition: ผู้ให้กำเนิด |
ปกเกล้าปกกระหม่อม | (n) Your Majesty the King, See also: form of address used when speaking to the royalty, Example: ข้าแผ่นดินไทยที่เฝ้ารอพระมหากรุณาธิคุณปกเกล้าปกกระหม่อมยังมีอีกมาก |
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม | (n) His/Her Majesty, Example: บทความที่ท่านผู้อ่านได้อ่านจบลงไปแล้วนี้ เป็นพระราชกรณียกิจของล้นเกล้าล้นกระหม่อมสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช, Thai Definition: คำเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพนับถือ |
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม | (adv) extremely, See also: excessively, immensely, Syn. มากมาย, Example: ราษฎรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมอย่างมิเสื่อมคลาย |
ทราบเกล้าทราบกระหม่อม | (v) know, See also: understand, perceive (used only when speaking to royalty), Syn. รู้, ทราบเกล้าฯ, Thai Definition: กราบบังคมทูลถึงสิ่งที่ทราบมา, Notes: (ราชา) |
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม | (v) royal to please, Syn. โปรดเกล้า, กรุณา, Example: พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นนายกรัฐมนตรีตามการกราบบังคมทูลของประธานรัฐสภา, Notes: (ราชา) |
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย | (v) present, See also: offer, dedicate, consecrate, give, bestow, confer, Syn. ทูลเกล้าฯ ถวาย, Ant. พระราชทาน, รับพระราชทาน, Thai Definition: ถวาย (ใช้แก่ของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี), Notes: (ราชา) |
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย | (v) present, See also: offer, Syn. น้อมเกล้าฯ ถวาย, Example: เศรษฐีจากเมืองจีนน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดิน 100 ไร่, Notes: (ราชา) |
กระหวัดเกล้า | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างหนึ่งจีบหงาย งอข้อศอก หักข้อมือเข้าหาแง่ศีรษะ มืออีกข้างหนึ่งตั้งวงกลาง เอียงศีรษะข้างเดียวกับมือที่ตั้งวง. |
เกล้า | (เกฺล้า) น. หัว (ใช้เฉพาะในโวหารแสดงความเคารพอย่างสูง) เช่น มารดาบังเกิดเกล้า. |
เกล้า | (เกฺล้า) ก. มุ่นผมให้เรียบร้อย เช่น เกล้าจุก เกล้ามวย. |
เกล้ากระผม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
เกล้ากระหม่อม | ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรม และสมเด็จพระสังฆราช, ถ้าผู้พูดเป็นเพศหญิงใช้ว่า เกล้ากระหม่อมฉัน, เขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ขนพองสยองเกล้า | น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยองมากเป็นต้น. |
จนด้วยเกล้า | ก. หมดปัญญาคิด. |
จุลจอมเกล้า | (จุนละ-) น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. |
ทราบเกล้าทราบกระหม่อม | ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), เขียนย่อว่า ทราบเกล้าฯ. |
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของเล็กหรือของที่ยกได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า ทูลเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย. |
น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย | ก. ถวาย (ใช้แก่สิ่งของใหญ่หรือของที่ยกขึ้นให้ไม่ได้ที่ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี), เขียนว่า น้อมเกล้าฯ ถวาย ก็ได้ แต่ต้องอ่านว่า น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย. |
ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า | ก. ทำสิ่งใด ๆ ให้พอสมควรกับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า. |
ปวดเศียรเวียนเกล้า | ก. เดือดร้อนรำคาญใจเพราะมีเรื่องยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน. |
ปัดเกล้า | น. ท่ารำชนิดหนึ่งแห่งหมอช้าง รำเมื่อนำช้างบำรูงาเสร็จครั้งแรกแล้ว. |
พระพุทธเจ้าข้า, พระพุทธเจ้าข้าขอรับ, พระพุทธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม | น. คำขานรับพระมหากษัตริย์. |
ร่มเกล้า, ร่มเกศ | น. ผู้คุ้มครองป้องกันให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข หมายถึง พระมหากษัตริย์. |
รัดเกล้า | น. เครื่องประดับศีรษะสตรีสูงศักดิ์ในราชสำนักแต่โบราณ และประดับศีรษะนางละครแต่งยืนเครื่องซึ่งเลียนแบบสตรีสูงศักดิ์ มี ๒ แบบ คือ รัดเกล้ายอด มีปลายยอดทรงกรวยแหลม สำหรับกษัตรี และรัดเกล้าเปลว มียอดปักช่อกระหนกเปลว สำหรับพระสนม. |
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม | น. คำเรียกพระมหากษัตริย์ เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. |
ล้นเกล้าล้นกระหม่อม | ว. ใช้เป็นราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่า ล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้. |
กฎหมายตราสามดวง | น. ประมวลกฎหมายโบราณของไทยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้ชำระและปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อทำเสร็จแล้วได้ประทับดวงตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง. |
กรรเจียก | (กัน-) น. เครื่องประดับหูมีรูปเป็นกระหนก ใช้ประกอบกับพระมหามงกุฎ พระชฎา หรือรัดเกล้า เช่น กรรเจียกซ้อนจอนแก้วแพรวพราว (อิเหนา). |
กระหม่อม | คำสำหรับใช้ควบกับคำที่ขึ้นต้นว่า “เกล้า” เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทนก็ได้ เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวาย. |
กฤษฎาญ | (กฺริดสะดาน) กร่อนมาจาก กฤษฎาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์). |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
คลื่นกระทบฝั่ง ๑ | น. ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงโหมโรง อัตรา ๓ ชั้น พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว |
คุณ ๑, คุณ- | คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป |
คุณหญิง | น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน, ถ้ายังไม่ได้สมรส เรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของพระยา |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ | น. สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการหรือส่วนพระองค์, เรียกเป็นสามัญว่า ตรา, ปัจจุบันหมายความรวมถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่ทางราชการกำหนด. |
โครงการตามพระราชประสงค์ | น. โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้เกิดขึ้น โดยทรงศึกษาทดลองปฏิบัติด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เมื่อทรงศึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญและทดลองจนได้ผลสรุปที่ดี และทรงมั่นพระราชหฤทัยว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐบาลหรือผู้สนใจรับไปดำเนินงานต่อ แบ่งเป็นโครงการทดลองในเขตพระราชฐาน และโครงการทดลองนอกเขตพระราชฐาน. |
จตุตถ-, จตุตถี | (จะตุดถะ-, -ตุดถี) ว. ที่ ๔ เช่น จตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. |
จางวาง | เจ้าเมืองที่พ้นตำแหน่งแล้ว ซึ่งได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของเจ้าเมือง เรียกว่า จางวางเมือง. |
จุมพฏ | รัดเกล้า, เทริด |
ช้างเผือก ๒ | น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง มีที่มาจากตราดาราช้างเผือกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลช้างเผือก. |
โซงโขดง | (-ขะโดง) น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้าไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. |
ฎีกา | คำร้องทุกข์ที่ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายต่อพระมหากษัตริย์ |
ตายน้อย | ว. เกือบตาย เช่น สิ้นแผ่นดินปิ่นเกล้ามาเปล่าอก น้ำตาตกตายน้อยลงร้อยหน (นิราศพระประธมของสุนทรภู่). |
ถึงแก่พิราลัย | ก. ตาย (ใช้แก่เจ้าประเทศราช สมเด็จเจ้าพระยา หรือผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นการเฉพาะ), ใช้ว่า พิราลัย ก็มี. |
แถก | เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ (ม. คำหลวง กุมาร) |
ทชี | (ทะชี) น. นักบวช เช่น พระบาททงงสองฉลองขึ้นเหนือเกล้า ทชีเถ้ากาฬเทพิลน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ทรัพย์สินส่วนพระองค์ | น. ทรัพย์สินที่เป็นของพระมหากษัตริย์อยู่แล้วก่อนเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ หรือทรัพย์สินที่รัฐทูลเกล้าฯ ถวาย หรือทรัพย์สินที่ทรงได้มาไม่ว่าในทางใดและเวลาใด นอกจากที่ทรงได้มาในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งนี้ รวมทั้งดอกผลที่เกิดจากบรรดาทรัพย์สินเช่นว่านั้นด้วย. |
ท่านผู้หญิง | น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป, ถ้ายังไม่ได้สมรสเรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของเจ้าพระยาและเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องยศท่านผู้หญิง. |
ท่าว ๑, ทะท่าว | ก. ล้ม, ทบ, ยอบลง, เช่น ก็กรลับกรลอกแทง ทีเดียวก็ท่าวล้มในกลางแปลง (อนิรุทธ์), ซ้ำ เช่น ก้มเกล้าท่าวทวน ทำนูญบำบวงสรวลเสร (อนิรุทธ์) |
ท้าว ๑ | ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว |
ทิวงคต | (ทิวงคด) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่สมเด็จพระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเฉลิมพระยศเป็นพิเศษ). |
เทศาภิบาล | การปกครองหัวเมืองที่จัดเป็นมณฑล โดยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทำหน้าที่ปกครองในแต่ละมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล เว้นแต่มณฑลชายแดนบางมณฑล เรียกว่า ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑล ภายหลังเรียกว่า สมุหเทศาภิบาลมณฑล หรือสมุหเทศาภิบาล. |
ธงบรมราชวงศ์น้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระบรมราชชนนี แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับตอนต้นของธงบรมราชวงศ์ใหญ่แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีแดงแปลงเป็นรูปธงยาวเรียว โดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของธงตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงบรมราชวงศ์ใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงมหาราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ แบ่งตามความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงมหาราชใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงเยาวราชน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระยุพราช แบ่งความยาวออกเป็น ๒ ตอน ตอนต้นมีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงเยาวราชใหญ่ แต่กว้างไม่เกิน ๖๐ เซนติเมตร ตอนปลายมีลักษณะเป็นชายต่อสีขาวแปลงเป็นรูปธงยาวเรียวโดยให้ปลายสุดกว้างครึ่งหนึ่งของตอนต้น ปลายธงตัดเป็นแฉกรูปหางนกแซงแซว ลึก ๓ ใน ๘ ส่วนของความยาวของผืนธง ความยาวของผืนธงเป็น ๘ เท่าของความกว้างของตอนต้น ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงเยาวราชใหญ่ หมายความว่า โปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
ธงราชินีน้อย | น. ธงสำหรับองค์สมเด็จพระราชินี มีลักษณะและสีอย่างเดียวกับธงมหาราชน้อย เว้นแต่ชายต่อเป็นสีแดง ธงนี้ถ้าชักขึ้นแทนธงราชินีใหญ่ หมายความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ. |
นักนิ่น | ว. นิ่ม, อ่อน, เช่น ต่างต่างคันธเกล้ากลิ่น แก่เนื้อนักนิ่นสองกรษัตร (ม. คำหลวง กุมาร), โดยปริยายหมายถึง ผู้หญิง เช่น จากมานักนิ่นเนื้อ นอนหนาว (กำสรวล). |