อุณหภูมิ | (อุนหะพูม) น. ระดับความสูงต่ำของความร้อน นิยมวัดได้ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์. |
การแผ่รังสี | น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนในลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วของแสง เมื่อเทหวัตถุใดดูดกลืนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นไว้ได้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าก็จะแปรสภาพเป็นพลังงานความร้อน เป็นผลให้เทหวัตถุนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าเดิม. |
แกลเลียม | (แกน-) น. ธาตุลำดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙.๗๘ °ซ. เดือดที่ ๒๑๐๐ °ซ. ใช้ทำเทอร์โมมิเตอร์ชนิดใช้วัดอุณหภูมิสูง ๆ สารประกอบแกลเลียมอาร์เซไนด์ใช้ประโยชน์เป็นวัตถุกึ่งตัวนำ. |
ไข ๑ | น. มันข้น, นํ้ามันที่ได้จากสัตว์ พืช หรือแร่ ที่แข็งตัวในอุณหภูมิปรกติ |
ไข ๑ | น้ำมันที่มีสถานะเป็นของแข็งเนื่องจากอยู่ในอุณหภูมิต่ำ. |
ไขมัน | น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็นของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat) |
ไข้ | อาการที่มีอุณหภูมิของร่างกายผิดจากระดับปรกติเนื่องจากความเจ็บป่วย. |
ควบแน่น | กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไอเป็นของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง. |
ความชื้นสัมพัทธ์ | น. อัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศเทียบกับมวลของไอนํ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักกำหนดค่าเป็นร้อยละ. |
ความถ่วงจำเพาะ | น. อัตราส่วนของนํ้าหนักของเทหวัตถุกับนํ้าหนักของสารมาตรฐานที่มีปริมาตรเท่ากับเทหวัตถุนั้น โดยทั่วไปใช้นํ้าบริสุทธิ์ที่อุณหภูมิ ๔ ํซ. เป็นสารมาตรฐาน. |
เครื่องควบแน่น | น. เครื่องมือที่ใช้สำหรับทำให้ไอแปรสภาพเป็นของเหลวโดยวิธีลดอุณหภูมิลง |
จุดเดือด | น. อุณหภูมิขณะที่ความดันสูงสุดของไอของของเหลวเท่ากับความกดของบรรยากาศ ณ อุณหภูมินี้ ของเหลวจะเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอได้ทั่วทั้งหมด. |
จุดน้ำค้าง | น. อุณหภูมิที่ไอนํ้าในอากาศเกิดการอิ่มตัวและเริ่มควบแน่นเป็นหยดนํ้า. |
จุดเยือกแข็ง | น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดหลอมเหลวของสารเดียวกัน). |
จุดหลอมเหลว | น. อุณหภูมิที่เกิดภาวะสมดุลระหว่างของแข็งกับของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, อุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ณ ความกดมาตรฐาน ๑ บรรยากาศ, (อุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิเดียวกับจุดเยือกแข็งของสารเดียวกัน). |
จุดอิ่มตัว | น. ขีดขั้นที่อากาศสามารถรับไอนํ้าไว้ได้เต็มที่ ณ อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง ถ้าได้รับเกินขีดขั้นนี้ ไอนํ้าที่ได้รับเกินมาจะควบแน่นเป็นหยดนํ้า. |
เซนติเกรด | (-เกฺรด) น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซนติเกรด, ปัจจุบันใช้ องศาเซลเซียส, อักษรย่อว่า ซ. |
เซลเซียส | น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กำหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐ ºซ.) และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐ ºซ.), อักษรย่อว่า ซ. |
โซ่ลาน | น. โซ่เหล็กกว้างประมาณ ๔ มิลลิเมตร หนา ๐.๕ มิลลิเมตร ไม่ยืดหรือหดในทุกอุณหภูมิ มี ๒ ขนาด คือ ยาว ๔๐ เมตร และ ๕๐ เมตร ทั้ง ๒ ขนาด แบ่งออกเป็น ๑๐๐ ข้อต่อกัน ใช้วัดที่ดิน. |
ดีเซล | น. เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีระบบจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงด้วยการอัดอากาศภายในเครื่องยนต์จนได้ความร้อนสูงมากพอ แล้วจึงฉีดนํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยผสมเข้ากับอากาศซึ่งมีอุณหภูมิสูงนั้น เป็นผลให้เกิดการจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงขึ้น, นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ชนิดนี้ เรียกว่า นํ้ามันดีเซล. |
ตู้เย็น | น. เครื่องใช้ไฟฟ้า มีลักษณะเป็นตู้ ภายในมีอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้ความเย็นรักษาอาหารหรือของอย่างอื่นไม่ให้เสื่อมสภาพ. |
เทอร์โมมิเตอร์ | น. เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ ทำด้วยหลอดแก้วบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์หรือแก๊สเป็นต้น แล้วแต่ความมุ่งหมาย ความสะดวกที่จะนำไปใช้ และความละเอียดถูกต้องในการวัด, เทอร์มอมิเตอร์ ก็เรียก. |
น้ำค้างแข็ง | น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ใบหญ้า เมื่ออุณหภูมิผิวหน้าของพื้นดินตํ่ากว่า ๐ ºซ. |
น้ำพุ | น. นํ้าใต้ดินที่ผุดพุ่งขึ้นมาเหนือพื้น มีอุณหภูมิตํ่ากว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์, ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งมีตั้งแต่อุ่น ๆ จนถึงเดือดพล่าน เรียกว่า นํ้าพุร้อน, นํ้าที่ผุดขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น. |
น้ำมันดิน | น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดำ ได้จากการกลั่นทำลายไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อนำไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก. |
ไนโอเบียม | น. ธาตุลำดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม เพื่อทำให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. |
บ่อน้ำร้อน | น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึกมาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทำให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัวหรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหินและดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกำมะถันและแก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้. |
บิสมัท | น. ธาตุลำดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓ °ซ. เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลายที่อุณหภูมิตํ่า. |
ปรอท | เครื่องวัดอุณหภูมิ |
ปรับอากาศ | ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ. |
มวลอากาศ | น. อากาศในบริเวณกว้างที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอุณหภูมิและความชื้น. |
โรเมอร์ | น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ เรียกว่า องศาโรเมอร์ กำหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๘๐ องศา. |
ลมบก | น. ลมที่พัดออกจากฝั่งไปสู่ทะเลในเวลากลางคืน เนื่องจากอุณหภูมิของนํ้าทะเลอุ่นกว่าอุณหภูมิของพื้นดินที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือผิวนํ้าจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่. |
ลมมรสุม | น. ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดินร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก. |
เลือดเย็น ๒ | น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น. |
เลือดอุ่น | น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถคงอุณหภูมิของร่างกายไว้ได้โดยไม่เปลี่ยนไปตามอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นคน นก เรียกว่า สัตว์เลือดอุ่น. |
ศูนย์สัมบูรณ์ | น. อุณหภูมิที่ตํ่าสุดตามทฤษฎี คือ อุณหภูมิศูนย์องศาเคลวิน (0 °K) หรือ -๒๗๓.๑๕ °ซ. |
สูง | เหนือระดับปรกติ เช่น อุณหภูมิสูง ไข้สูง ความสามารถสูง |
หลอมละลาย, หลอมเหลว | น. เรียกอุณหภูมิที่ของแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ว่า จุดหลอมละลาย จุดหลอมเหลว ขีดหลอมละลาย หรือ ขีดหลอมเหลว. |
หิม-, หิมะ | (หิมมะ-) น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุย ลอยลงมาจากท้องฟ้า |
เหล็กกล้า | น. เหล็กที่มีธาตุคาร์บอนเจืออยู่ประมาณร้อยละ ๐.๑๕-๑.๕ สมบัติของเหล็กกล้าแตกต่างกันไปตามจำนวนร้อยละของธาตุคาร์บอนและของโลหะอื่นที่เจือปนอยู่ ทั้งยังขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้ในการเตรียมเหล็กกล้านั้น ๆ ด้วย. |
องศา | หน่วยในการวัดอุณหภูมิตามชนิดของเครื่องวัด |
preheating temperature | อุณหภูมิอุ่นก่อนเชื่อม [การเชื่อม ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๔] |
low quartz | ควอตซ์อุณหภูมิต่ำ [ธรณีวิทยา๑๔ ม.ค. ๒๕๔๖] |
low-temperature storage | ๑. ตัวสะสมพลังงานอุณหภูมิต่ำ๒. การสะสมพลังงานอุณหภูมิต่ำ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
room temperature | อุณหภูมิห้อง [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
stimulus, thermal | ตัวกระตุ้นเชิงอุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
sense, temperature | การรับรู้อุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
saturation temperature | อุณหภูมิอิ่มตัว [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
synthermal | -ร่วมอุณหภูมิ, -อุณหภูมิตรงกัน [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
spot, temperature | จุดรับอุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
subnormal temperature | อุณหภูมิใต้ปรกติ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
suction temperature | อุณหภูมิด้านดูด [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
optimum temperature | อุณหภูมิพอเหมาะ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
axilla thermometer | เทอร์มอมิเตอร์รักแร้, ปรอทวัดอุณหภูมิรักแร้ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
approach | อุณหภูมิแอปโพรช [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
ambient temperature | อุณหภูมิโดยรอบ [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
absolute temperature | อุณหภูมิสัมบูรณ์ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
absolute temperature | อุณหภูมิสัมบูรณ์ [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
body temperature | อุณหภูมิกาย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
basal body temperature | อุณหภูมิกายขณะพัก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
basal body temperature method | วิธีวัดอุณหภูมิกาย [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕] |
mean temperature difference | ผลต่างอุณหภูมิเฉลี่ย [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
condensing temperature | อุณหภูมิควบแน่น [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
constant-temperature pressure welding | การเชื่อมกดอุณหภูมิคงตัว [การเชื่อม ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๔] |
centre, thermoregulatory | ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
change in temperature clause | ข้อกำหนดเรื่องอุณหภูมิเปลี่ยน [ประกันภัย ๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
critical temperature | อุณหภูมิวิกฤต [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
critical temperature | อุณหภูมิวิกฤต [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dry-bulb temperature | อุณหภูมิกระเปาะแห้ง [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
dew-point temperature | อุณหภูมิจุดน้ำค้าง [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
diffusion temperature difference | ผลต่างอุณหภูมิแพร่ [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
discharge temperature | อุณหภูมิทางออก [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
evaporating temperature | อุณหภูมิระเหย [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
evaporator temperature | อุณหภูมิเครื่องระเหย [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
effective temperature | อุณหภูมิยังผล [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
effective temperature difference | ผลต่างอุณหภูมิยังผล [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
interpass temperature | อุณหภูมิระหว่างเที่ยวเชื่อม [การเชื่อม ๒๐ ก.ย. ๒๕๔๔] |
isothermal | อุณหภูมิเสมอ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ignition temperature | อุณหภูมิจุดระเบิด [พลังงาน ๒๖ ม.ค. ๒๕๔๕] |
vacuum-control temperature-sensing valve | วาล์วควบคุมสุญญากาศด้วยอุณหภูมิ [ยานยนต์ ๑๒ มี.ค. ๒๕๔๕] |
thermal stimulus | ตัวกระตุ้นเชิงอุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
thermotropism | การเบนเนื่องจากอุณหภูมิ [พฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕] |
temperature rise | อุณหภูมิเพิ่ม [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
temperature sense | การรับรู้อุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
temperature spot | จุดรับอุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
temperature swing | อุณหภูมิแกว่ง [ปรับอากาศ ๗ มี.ค. ๒๕๔๕] |
temperature, absolute | อุณหภูมิสัมบูรณ์ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
temperature, basal body | อุณหภูมิกายขณะพัก [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
temperature, body | อุณหภูมิกาย [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
temperature, critical | อุณหภูมิวิกฤต [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
thermosystaltic | ๑. -หดตัวเหตุร้อน๒. -กล้ามเนื้อหดตัวเหตุเปลี่ยนอุณหภูมิ [แพทยศาสตร์ ๖ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Global temperature changes | การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Oil Window | ช่วงความลึกใต้ผิวโลกที่มีอุณหภูมิสูงพอที่จะให้กำเนิดน้ำมัน, Example: อุณหภูมิประมาณ 150 -300 F แต่ไม่สูงพอที่จะเปลี่ยนน้ำมันไปเป็นก๊าซ ในแอ่งสะสมตะกอนช่วง oil window จะอยู่ที่ความลึกประมาณ 7, 000 - 18, 000 ฟุต อุณหภูมิที่เป็นช่วง oil window จะขึ้นอยู่กับหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม (source rock) ด้วย เช่น ถ้าหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมมีอายุแก่ อุณหภูมิก็จะต่ำ [ปิโตรเลี่ยม] |
Temperature control | การควบคุมอุณหภูมิ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Temperature measurement | การวัดอุณหภูมิ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Advanced Gas-cooled Reactor | เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงระบายความร้อนด้วยแก๊ส, เอจีอาร์, <em>เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์</em>ผลิตไฟฟ้าแบบหนึ่ง ใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ระบายความร้อน โดยพัฒนามาจากแบบที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ตัวอย่างของเครื่องปฏิกรณ์ชนิดนี้คือเครื่องปฏิกรณ์ Hinkley Point B อยู่ทางตะวันตกของประเทศอังกฤษ ใช้ยูเรเนียมไดออกไซด์ (มียูเรเนียม-235 ร้อยละ 1.4 ถึง 2.6) เป็นเชื้อเพลิง และใช้แกรไฟต์เป็น<strong>สารลดความเร็วนิวตรอน</strong> เครื่องปฏิกรณ์นี้ สามารถผลิตไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงถึง 540 องศาเซลเซียส และความดัน 16 เมกะพาสคัล ทำให้มีประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สูงถึงร้อยละ 40 ซึ่งสูงเท่ากับโรงไฟฟ้าพลังเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในปัจจุบัน [นิวเคลียร์] |
Yellow cake | เค้กเหลือง, สารผสมของยูเรเนียมออกไซด์หลายชนิด (โดยเทียบออกไซด์ทุกชนิดให้อยู่ในรูปของ U3O8) มีลักษณะเป็นผงละเอียด ได้จากกระบวนการสกัดสินแร่ยูเรเนียมจากเหมือง มีสีเหลือง ส้ม หรือเขียวคล้ำ ขึ้นอยู่กับสัดส่วนชนิดของออกไซด์ และอุณหภูมิที่ใช้ขณะผลิต โดยอุณหภูมิที่สูงกว่าจะทำให้มีสีเข้มขึ้น เค้กเหลืองใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Thermonuclear reaction | ปฎิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์, ปฏิกิริยาการหลอมตัวของนิวเคลียสเบาภายใต้อุณหภูมิสูงมาก ไปเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่หนักกว่า และปลดปล่อยพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Thermal radiation | รังสีเทอร์มัล, รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกจากลูกไฟจากการระเบิดทางนิวเคลียร์ ซึ่งมีอุณหภูมิสูงมาก รังสีเทอร์มัลอยู่ในรูปของรังสีอัลตราไวโอเลต รังสีอินฟราเรด และแสงสว่าง คิดเป็นร้อยละ 35 ของพลังงานทั้งหมดจากการระเบิด [นิวเคลียร์] |
Thermal neutron | เทอร์มัลนิวตรอน, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Slow neutron | นิวตรอนช้า, นิวตรอนที่มีพลังงานในช่วงประมาณ 0.02 ถึง 0.5 อิเล็กตรอนโวลต์ มีความเร็วเฉลี่ย 2, 200 เมตรต่อวินาที ที่อุณหภูมิห้อง, Example: [นิวเคลียร์] |
Spontaneous mutations | การกลายพันธุ์เกิดเอง, การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์สิ่งมีชีวิต ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แสงแดด อุณหภูมิ หรือเกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการสร้างและซ่อมแซมดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตนั้น [นิวเคลียร์] |
Radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทพืชหัวด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการงอก เช่น หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Temperature measuring instrument | เครื่องวัดอุณหภูมิ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Radappertization | การทำปลอดจุลินทรีย์ด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค หรือ จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เพื่อให้อาหารนั้นเก็บรักษาได้นานหลายเดือนหรือเป็นปีที่อุณหภูมิห้อง อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับผู้ป่วย และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ (ดู food irradiation ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
PWR type reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่อง ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
Pressurized water reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า, Example: [นิวเคลียร์] |
Pressurized water cooled moderated reactor | เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบน้ำอัดความดัน, เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ออกแบบให้น้ำภายใต้ความดันสูงในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ มีอุณหภูมิสูงขึ้นโดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นไอน้ำ แล้วถ่ายโอนความร้อนไปให้น้ำอีกระบบหนึ่งกลายเป็นไอไปหมุนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า [นิวเคลียร์] |
High temperature superconductor | ตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดอุณหภูมิสูง [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Hydrogen bomb | ลูกระเบิดไฮโดรเจน, ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสของไอโซโทปของไฮโดรเจนภายใต้อุณหภูมิสูงมากจากการจุดระเบิดด้วยปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส, Example: [นิวเคลียร์] |
Atmospheric temperature | อุณหภูมิชั้นบรรยากาศ [TU Subject Heading] |
Body temperature regulation | การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย [TU Subject Heading] |
Earth temperature | อุณหภูมิผิวโลก [TU Subject Heading] |
Effect of temperature on | ผลกระทบของอุณหภูมิ [TU Subject Heading] |
Global temperature changes | การผันแปรของอุณหภูมิโลก [TU Subject Heading] |
High temperature superconductivity | สภาพนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง [TU Subject Heading] |
High temperature superconductors | ตัวนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูง [TU Subject Heading] |
Hyperthermier, Induced | การรักษาด้วยการทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูง [TU Subject Heading] |
Hypothermia | ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ [TU Subject Heading] |
Hypothermia | ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ [TU Subject Heading] |
Materials at high temperatures | สภาพวัตถุที่อุณหภูมิสูง [TU Subject Heading] |
Skin temperature | อุณหภูมิผิวหนัง [TU Subject Heading] |
Temperature | อุณหภูมิ [TU Subject Heading] |
Temperature control | การควบคุมอุณหภูมิ [TU Subject Heading] |
Temperature measurements | การวัดอุณหภูมิ [TU Subject Heading] |
Temperature measuring instruments | เครื่องวัดอุณหภูมิ [TU Subject Heading] |
Thermogram | เทอร์โมแกรม หรือกราฟวัดอุณหภูมิ, Example: กระดาษกราฟ บันทึกค่าอุณหภูมิที่ได้จาก การตรวจวัดบน เครื่องเทอร์โมกราฟ ตามปกติจะบันทึกอุณหภูมิประจำวันหรือ ประจำสัปดาห์ (ดู thermograph ประกอบ) [สิ่งแวดล้อม] |
Thermograph | เทอร์โมกราฟ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิแบบกราฟ, Example: เทอร์มอมิเตอร์ซึ่งใช้เครื่องบันทึกค่า อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา โดยบันทึกลงบนกระดาษที่พันรอบกระบอกลานนาฬิกาซึ่งหมุนไปตามเวลา เทอร์โมกราฟที่ใช้กันโดยมากเป็นแบบโลหะสองชนิดประกบกันแล้วขดเป็นวง (bimetallic strip) หรือแบบหลอดบูร์ดอน (Bourdon tube) ชนิดโลหะประกบกันนั้นมีปลายข้างหนึ่งยึดติดกับตัวเครื่อง อีกข้างหนึ่งต่อเข้ากับแขนปากกา การยึดและหดของโลหะประกบเนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง จะติดต่อไปยังกระเดื่องกลไกของแขนปากกาดึงปลายปากกาให้บันทึกค่าลงบนกระดาษ กราฟตามความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศ ส่วนแบบหลอดบูร์ดอนดูรายละเอียดในเรื่องของ Bourdon tube [สิ่งแวดล้อม] |
Thermometer | เทอร์มอมิเตอร์ หรือเครื่องวัดอุณหภูมิ, Example: เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดอุณหภูมิ หรือระดับความร้อน เทอร์มอมิเตอร์ ชนิดธรรมดาประกอบด้วยหลอดแก้วปลายข้างหนึ่งตัน อีกข้างหนึ่ง ทำเป็นตุ้มบรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายในหลอดแก้ว ตอนบน เหนือของเหลวเป็นสูญญากาศ ข้างหลอดแก้วมีขีดสเกลบอกอุณหภูมิ เป็นองศาไว้ เมื่อปรอทหรือแอลกอฮอล์ได้รับความร้อนขยายตัวขึ้นไปหยุดอยู่ ณ ที่ขีดสเกลใดก็อ่านอุณหภูมิที่จุดนั้นเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้กันโดยมากเป็นแบบ เซนติเกรด หรือเซลเซียส และฟาเรนไฮด์ แบบเซนติเกรด หรือเซลเซียส แบ่งสเกลระหว่างขีดเยือกแข็งและขีดเดือดเป็น 100 องศา ส่วนแบบฟาเรนไฮด์มีขีดเยือกแข็งอยู่ที่ 32 องศา และขีดเดือดอยู่ที่ 212 องศา (พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2516) เทอร์โมมิเตอร์แบ่งออกได้เป็น 6 แบบ (แล้วแต่การสร้าง) คือ เทอร์โมมิเตอร์แบบบรรจุแก๊ส (gas themometer) เทอร์โมมิเตอร์แบบบรรจุของเหลวในแก้ว (liquid - in glass themometer) เทอร์โมมิเตอร์แบบเปลี่ยนรูปร่าง (deformation thermometer) เทอร์โมมิเตอร์ระบบไฟฟ้า (liquid - in - metal thermometer) เทอร์โมมิเตอร์แบบใช้เสียง (sonic thermometer) [สิ่งแวดล้อม] |
Isallotherm | เส้นไอแซลโลเทอม หรือเส้นอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเท่า, Example: เส้นซึ่งลากผ่านจุดต่าง ๆที่มีค่าการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอากาศเท่ากัน ภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนดให้ [สิ่งแวดล้อม] |
Isotherm | เส้นไอโซเทอม หรือเส้นอุณหภูมิเท่า, Example: เส้นซึ่งลากผ่านจุดต่าง ๆ ที่มีค่าอุณหภูมิอากาศเท่ากัน [สิ่งแวดล้อม] |
Inter-Diurnal Temperature Variation | การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในช่วงวันหนึ่ง ๆ, Example: คือค่าตัวเลขที่แตกต่างระหว่างอุณหภูมิเฉลี่ย แต่ละวันของ 2 วันติดต่อกัน (two consecutive days) [สิ่งแวดล้อม] |
Thermal Stratification | การแยกชั้นตามอุณหภูมิ [สิ่งแวดล้อม] |
Isothermal Layer | ชั้นไอโซเทอม หรือชั้นอุณหภูมิเท่า, Example: ชั้นของบรรยากาศตลอดทั้งชั้นซึ่งไม่มีการ เปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ตามความสูง หรือชั้นของบรรยากาศที่มีอุณหภูมิเท่ากันตลอด [สิ่งแวดล้อม] |
Soil Temperature Regime | ชั้นอุณหภูมิดิน, Example: ค่าอุณหภูมิดินเฉลี่ยตลอดปีในช่วงควบคุม อุณหภูมิดิน โดยวัดที่ระดับความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน หรือเหนือชั้นหินในกรณีที่มีชั้นหินอยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตร ในอนุกรมวิธานดินแบ่งชั้นอุณหภูมิไว้ดังนี้ เพอร์เจลิก (pergelic) ไครอิก (cryic) ฟริจิด (frigid) เมสิก (mesic) เทอร์มิก (thermic) และไฮเปอร์เทอร์มิก (hyperthermic) [สิ่งแวดล้อม] |
Normal Temperature and Pressure (NTP) | อุณหภูมิและความดันปกติ, Example: สภาวะมาตรฐานที่มีอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียล (2710.15 องศาฟาเรนไฮด์) และมีความดัน 1 บรรยากาศ (1.011025 x 100000 Pa) [สิ่งแวดล้อม] |
Soil Temperature | อุณหภูมิในดิน, Example: อุณหภูมิที่ตรวจได้ภายในดินที่ระดับความลึก ต่าง ๆ กัน [สิ่งแวดล้อม] |
Sea-Surface Temperature | อุณหภูมิของน้ำทะเล, Example: ซึ่งอยู่บริเวณผิวหน้าของทะเล [สิ่งแวดล้อม] |
Minimum Temperature | อุณหภูมิต่ำสุด, Example: อุณหภูมิต่ำสุดซึ่งปรากฏขึ้นในระหว่างระยะเวลา ที่กำหนดให้ [สิ่งแวดล้อม] |
Grass Minimum Temperature | อุณหภูมิต่ำสุดที่ยอดหญ้า, Example: อุณหภูมิต่ำสุดที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์ ซึ่งกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ ที่บรรจุวัตถุเหลวสัมผัสพอดีกับยอดของใบหญ้าที่ตัดสั้น [สิ่งแวดล้อม] |
Autoignition Temperature | อุณหภูมิติดไฟอัตโนมัติ, Example: อุณหภูมิที่สารประเภทติดไฟได้ จะเกิดการลุกเป็นเปลวไฟขึ้นมาได้เอง เช่น ในกรณีของบิวเทน (butane-n) จะลุกติดไฟทันทีที่อุณหภูมิ 806 องศาฟาเรนไฮด์ หรือที่ 4100 องศาเซลเซียส เป็นต้น [สิ่งแวดล้อม] |
air-conditioned | (adj) หนาวเย็น, See also: ที่มีอุณหภูมิต่ำ, Syn. cooling, chilly, frosty |
centigrade | (adj) หน่วยวัดอุณหภูมิความร้อน, See also: เซนติเกรด, Syn. C, celsius |
cold | (n) อุณหภูมิใต้ศูนย์องศา, Syn. frost, freeze |
deep-freeze | (vt) แช่แข็ง, See also: แช่เย็นที่อุณหภูมิต่ำมาก |
degree | (n) องศา (หน่วยวัดอุณหภูมิ) (ทางฟิสิกส์) |
Fahrenheit | (n) การวัดอุณหภูมิแบบฟาห์เรนไฮต์ |
fever | (n) การเป็นไข้, See also: การมีอุณหภูมิร่างกายสูงเพราะพิษไข้, Syn. pyrexia, delirium, feverishness, heat, Ant. cold, coldness |
freeze-dry | (n) การถนอมอาหารโดยแช่แข็งก่อนใส่ภาชนะสุญญากาศแล้วเก็บที่อุณหภูมิห้อง |
gallium | (n) ธาตุโลหะใช้ทำสารกึ่งตัวนำและเครื่องวัดอุณหภูมิ (สัญลักษณ์ย่อ Ga) |
greenhouse effect | (n) ภาวะเรือนกระจก, See also: ภาวะที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจากมลพิษจากสิ่งแวดล้อม |
heat | (n) อุณหภูมิความร้อน |
ignition point | (n) อุณหภูมิขณะที่มีการลุกไหม้ |
isotherm | (n) เส้นลากเชื่อมโยงจุดที่มีอุณหภูมิเท่ากันบนแผนที่อากาศ, See also: เส้นที่ลากผ่านจุดที่มีอุณหภูมิเท่ากัน |
kelvin | (n) หน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน, See also: หน่วยวัดอุณหภูมิมีสัญลักษณ์ย่อ K |
plunge | (vi) ลดลงอย่างเร็ว (เช่น ราคา, อุณหภูมิ), Syn. plummet |
preheat | (vt) ทำให้เตาร้อนก่อน, See also: วอร์มเตา, อุ่นเตาไว้ที่อุณหภูมิหนึ่งก่อนที่จะนำอาหารเข้าไป |
refrigerant | (adj) ซึ่งทำให้เย็น, See also: ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิหรือลดไข้ |
regulator | (n) เครื่องควบคุมอัตโนมัติ (เช่น ควบคุมความเร็ว อุณหภูมิ) |
sensor | (n) อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ไวต่อแสงหรืออุณหภูมิ, See also: ตัวเซ็นเซอร์ |
stenothermal | (adj) ซึ่งเจริญเติบโตในช่วงอุณหภูมิสั้นๆ |
take | (vi) วัดความถูกต้องของบางสิ่งด้วยเครื่องมือ, See also: วัดอุณหภูมิ |
temperature | (n) อุณหภูมิ, See also: ระดับความร้อน, Syn. climatic characteristic |
thermal | (adj) ที่เกี่ยวกับความร้อน, See also: เกี่ยวกับอุณหภูมิ, Syn. thermic |
thermocouple | (n) เครื่องมือวัดอุณหภูมิชนิดหนึ่ง |
thermoelectricity | (n) ไฟฟ้าที่เกิดจากความร้อนหรือความแตกต่างของอุณหภูมิ |
thermometer | (n) เครื่องวัดอุณหภูมิ, Syn. calorimeter |
warm-blooded | (adj) (สัตว์) ที่มีอุณหภูมิคงที่, See also: ที่มีเลือดอุ่น, ที่มีอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม |
absolute scale | เกณฑ์องศาอุณหภูมิที่มีศูนย์เท่ากับ absolute zero |
absolute temperature | (ฟิสิกส์) n. เกณฑ์องศาอุณหภูมิระบบ absolute scale |
absolute zero | (เคมีฟิสิคส์) อุณหภูมิต่ำสุดของสสาร, อุณหภูมิที่อนุภรคหยุดอยู่กันที่หรือจุดที่อยู่ใต้องศา Celsius 273 องศา lowest possible) |
amberoid | (แอม' เบอรอยดฺ) n. อำพันสังเคราะห์ ที่ทำจากการอัดเรซิน (resins) ณ ที่อุณหภูมิสูง., Syn. ambroid |
amylose | (แอม' มะโลส) n. ส่วนประกอบที่ละลายได้ของแป้งที่มีลักษะเป็น gel แข็งที่อุณหภูมิปกติ |
analog computer | (แอน' นะลอกคอมพิวเตอร์) n. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คำนวณด้วยสิ่งที่แทนตัวเลขได้ และมีการแสดงผลลัพธ์โดยทางภาพที่ปรากฏบนจอภาพ หน้าปัด หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัด ค่าต่าง ๆ ที่นำมาใช้กับการคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ เป็นค่าที่ต่อเนื่อง เช่น อุณหภูมิ ความดัน อย่างไรก็ตาม การใช้คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ช่วย เพื่อจะนำมาเปรียบเทียบแทนค่าได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ได้แก่ สไลด์รูล (slide rule) เทอร์โมแสตท (thermostat) เครื่องวัดความเร็วรถยนต์ เป็นต้น ความละเอียดถูกต้องในการคำนวณด้วยอะนาล็อกคอมพิวเตอร์มีน้อยกว่าดิจิตอลคอมพิวเตอร์มากดู digital computer เปรียบเทียบ |
avogadro's law | กฎที่ว่าแก๊สทั้งหลายที่มีปริมาตรที่เท่ากัน ภายใต้อุณหภูมิและความกดดันเดียวกันย่อมมีจำนวนโมเลกุลเท่ากัน |
boil | (บอยลฺ) { boiled, boiling, boils } vi. เดือด, เป็นไอน้ำ, เดือดดาล vt. ต้มเดือด, ทำให้อุณหภูมิจุดเดือด -Phr. (boil over ระเบิด, โกรธ) -n. การต้มให้เดือด, ผี, สิว, หัวสิว |
calorie | (แคล'ละรี) n. ปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำ1กรัม/มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น1องศาเซลเซียส, Syn. calory |
cold | (โคลดฺ) n. หนาว, เย็น, เย็นชา, เฉยเมย, ไม่แยแส, ไร้อารมณ์, ตาย, ครบถ้วน, แน่ชัด, อ่อน (กลิ่น) , (สี) เย็นตา. n. ความหนาว, ความเย็น, หวัด, ไข้หวัด, อุณหภูมิใต้ศูนย์องศา -adv. หมดสิ้น, ทั้งสิ้น, สิ้นเชิง, กะทันหัน, Syn. wintry abbr. chronic obstructive lung disease |
coolant | (คูล'ลันทฺ) n. สารลดอุณหภูมิ |
cryostat | (ไคร'อะสแทท) n. เครื่องมือรักษาระดับอุณหภูมิที่ต่ำมากให้คงที่ |
deep-freeze | (ดีพ'ฟรีซ) vt. แช่เย็น (ด้วยอุณหภูมิที่ต่ำมากและทำให้เย็นเร็ว) n. ของแช่เย็น (ที่มีอุณหภูมิต่ำมาก), See also: deep-frozen adj. ดูdeep-freeze deepfreezing n. ดูdeep-freeze |
eighty column card | บัตร 80 คอลัมน์บัตรทำด้วยกระดาษ มีไว้ใช้สำหรับบรรจุข้อมูล โดยปกติจะต้องมีรูปร่างและขนาดตามมาตรฐานที่กำหนด (71/8 นิ้ว +31/4 นิ้ว) จะต้องทำด้วยกระดาษชนิดพิเศษที่มีความต้านทานความชื้นสูง และมีความต้านทานสูงต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอากาศ ในการบรรจุข้อมูลนั้น ใช้วิธีเจาะรูตามคอลัมน์ของบัตรซึ่งจะมี 80 คอลัมน์ (จึงเรียกกันว่า บัตร 80 คอลัมน์) แต่ละคอลัมน์มี 12 แถว ในการเจาะนั้นรูหนึ่งรูในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวเลข (0-9) และรูสองรูหรือมากกว่าในแต่ละคอลัมน์เป็นรหัสใช้แทนตัวอักษร (A-Z) หรือ อักขรพิเศษอื่น ๆ เมื่อใส่บัตรเข้าเครื่อง รูเหล่านี้จะถูกแปรงไฟฟ้าปัดผ่าน ทำให้เครื่อง สามารถอ่านข้อมูลเข้าไปได้ บัตรคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันมากคือ บัตรที่ ดร. เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Hermann Hollerith) แห่งบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) เป็นผู้คิดขึ้น บางทีจึงนิยมเรียกกันว่า บัตรไอบีเอ็ม (IBM card) หรือ บัตรฮอลเลอริท (Hollerith card) ดู card ประกอบ |
fahrenheit | (ฟาร์'เรนไฮทฺ) adj. เกี่ยวกับอุณหภูมิฟาห์เรนไฮท์ |
fever | (ฟี'เวอะ) n. ไข้, อุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่าปกติ, โรคที่มีอาการไข้, ความตื่นเต้นอย่างมาก. vt. เป็นไข้. |
high-test | adj. ซึ่งมีจุดเดือดที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ |
parasympathetic | adj. ซึ่งเกี่ยวกับการแบ่งตามระบบ กะโหลกศีรษะกับกระดูกก้นกบ ของระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ช่วยให้การเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น ม่านตาหดลง หลอดลมหดตัว ความดันโลหิตต่ำลง เหงื่อออกน้อยลง อุณหภูมิร่างกายลดลง กระเพาะปัสสาวะหดตัว การบีบตัวของมดลูกมากขึ้น ต่อมขับฮอร์โมนมากขึ้น |
pyrochemical | (ไพ' ระเคม' มิเคิล) adj. เกี่ยวกับหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่อุณหภูมิสูง |
reading | (รีด'ดิง) n. การอ่าน, การอ่านออกเสียง, การพิจารณากฎหมายตามวิธีของรัฐสภา, ความรู้, การแปล, จำนวนตัวเลขที่อ่านได้จากอุปกรณ์ (เช่นจากปรอทวัดอุณหภูมิ) , การอ่านบทละคร, การบรรเลงดนตรี adj. เกี่ยวกับการอ่าน, ใช้สำหรับอ่าน, Syn. perusal, interpret |
refrigerant | (รีฟริจ'เจอเรินทฺ) adj. ทำให้เย็นเยือก, ทำให้หนาวเยือก, ลดอุณหภูมิ, ลดไข้, เย็นชืด n. สารที่ทำให้เย็นเยือก, สารลดอุณหภูมิ, Syn. chill, freeze |
sensor | (เซน'เซอะ) n. เครื่องส่งสัญญาณชนิดหนึ่งที่ไวต่อแสง อุณหภูมิระดับรังสี, สิ่งที่รู้สึก, ตัวที่รับความรู้สึกหรือมีปฎิกิริยาต่อสิ่งกระตุ้นโดยการเคลื่อนไหว |
sympathetic | (ซิมพะเธท'ทิค) adj. เห็นอกเห็นใจ - เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนอก และเอว แต่มี center อยู่ในไขสันหลัง เป็นระบบประสาทที่มักใช้ในผู้ที่ใช้พลังงานทันทีทันใด หรือในขณะตื่นเต้น สู้รบ หรือป่วยไข้ ทำให้ม่านตาขยาย หัวใจเต้นเร็ว หลอดลมขยายตัว หลอดเลือดหดตัวเล็กน้อย ความดันเลิอดสูงขึ้น เหงื่อออกมาก อุณหภูมิร่างกายเพิ่มมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะยืดอออก การบีบตัวของมดลูกลดลง ต่อมขับฮอร์โมนน้อยลง, Syn. kindly, kind |
temperature | (เทม'เพอระเชอะ) n. อุณหภูมิ, อุณหภูมิร่างกาย |
thermoelectricity | (เธอโมอีเลคทริส'ซิที) n. ไฟฟ้าที่เกิดจากความร้อนหรือความแตกต่างของอุณหภูมิ |
thermometer | (เธอมอม'มิเทอะ) n. เครื่องวัดอุณหภูมิ, See also: thermometric adj. thermometrical adj |
weather | (เวธ'เธอะ) n. สภาพบรรยากาศ (ลม, ผน, ฟ้า, อุณหภูมิ, ความชื้น, เมฆ, หมอก, ความกดดันเป็นต้น) , อากาศ, ลมแรง, พายุ vi. มีการเปลี่ยนแปลง (เมื่อปล่อยให้ถูกอากาศ) , ทนต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ. adj. ต้านลม, under the weather ไม่สบาย, ป่วย, สถานการณ์, สภาวะ, สภาพ |