35 ผลลัพธ์ สำหรับ *อาบัติ*
หรือค้นหา: อาบัติ, -อาบัติ-

NECTEC Lexitron-2 Dictionary (TH-EN)
อาบัติ(n) offence, See also: infringement, misdemeanor, offense, Syn. บาป, ความผิด, Example: พระวินัยที่พระภิกษุละเมิดจนเป็นเหตุต้องอาบัติปาราชิกนั้นมี 4 ข้อ, Thai Definition: โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบท หรือข้อห้ามแห่งพระภิกษุ
ปลงอาบัติ(v) confess one's misdemeanors, See also: avow one's sin, Example: พระสงฆ์จะเข้าพิธีปลงอาบัติในวันโกน, Thai Definition: แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ)
ปรับอาบัติ(v) punish the monk who breaks the religious discipline, Example: สมภารปรับอาบัติพระใหม่, Thai Definition: เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ)

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ปรับอาบัติก. เอาโทษเป็นผิดตามพระวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
ปลงอาบัติก. แสดงความผิดของตนเพื่อเปลื้องโทษทางวินัย (ใช้แก่พระภิกษุ).
อาบัติน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ.
เข้าปริวาส, เข้าปริวาสกรรมก. เข้าปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), อยู่กรรม หรือ อยู่ปริวาส ก็ว่า.
ครุก-(คะรุกะ-) ว. หนัก เช่น ครุกาบัติ ว่า อาบัติหนัก.
ครุกาบัติ(คะรุกาบัด) น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวชใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
ตาลยอดด้วนพระภิกษุที่ต้องอาบัติปาราชิกไม่อาจกลับมาบวชใหม่ได้.
ถุลลัจจัย(ถุนลัดไจ) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ทุกกฏ(ทุกกด) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ทุพภาษิต(ทุบพาสิด) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ปริวาสชื่อกรรมที่ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ.
ปาจิตตีย์น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ปาฏิเทสนียะ(ปาติเทสะนียะ) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ.
ปาราชิกน. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม.
ปาราชิกว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก.
มานัตน. วินัยกรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสให้เป็นภิกษุที่นับเข้าในหมู่สงฆ์ได้ เช่น สวดมานัต.
ลหุกาบัติ(ละหุกาบัด) น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต.
โลกวัชชะ(โลกะ-) น. โทษทางโลก, อาบัติที่เป็นโทษทางโลก, ข้อเสียหายที่ชาวโลกติเตียนว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ คือ สิ่งที่ภิกษุหรือคนทั่วไปที่ไม่ใช่ภิกษุทำ ก็เป็นความผิดความเสียหายเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทะเลาะวิวาท.
สงฆ์ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้.
สังฆาทิเสสน. ชื่ออาบัติหนักหมวดหนึ่งรองจากปาราชิก.
อนิยต(อะนิยด) น. ชื่ออาบัติที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็นอาบัติปาราชิก สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ซึ่งพระวินัยธรจะต้องวินิจฉัย.
อยู่กรรม, อยู่ปริวาสก. อยู่ปฏิบัติปริวาสกรรมให้ครบตามวันที่กำหนด (ใช้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส), เข้าปริวาส หรือ เข้าปฏิวาสกรรม ก็ว่า.
อัพภาน(อับพาน) น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทำโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืนเป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน.
อาบันก. ต้อง เช่น อาบัติอาบัน ว่า ต้องอาบัติ

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
After a couple more miles, the second monk speaks up, tells the first monk, "you violated the rules of our order when you carried that woman across the stream." พอเดินไปได้ไม่กีไมล์ พระรูปที่2 ก็พูดกับพระรูปแรกว่า "หลวงพี่ต้องอาบัติ ที่ไปอุ้มผู้หญิงนั่นข้ามลำห้วย" Dr. Feelgood (2007)
Penance for my past sins. เข้าพิธีปลงอาบัติสำหรับบาปในอดีตของลูก IV. (2014)
It seems as though my penance ought to be a simple one. มันดูราวกับว่าการปลงอาบัติของลูก ควรจะทำอย่างเรียบง่าย IV. (2014)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
อาบัติ[ābat] (n) EN: offence ; infringement ; misdemeanor ; offense  FR: transgression [ f ] ; infraction [ f ]
อาบัติ[ābat] (v) EN: transgress a precept
ปรับอาบัติ[prap ābat] (v, exp) EN: punish the monk who breaks the religious discipline

Hope Dictionary
penance(เพน'เนินซฺ) n. การบำเพ็ญทุกรกริยาเพื่อถ่ายบาป, การปลงอาบัติ, (นิกายโรมันคาทอลิก) การสารภาพบาปและการถ่ายบาป, Syn. repentance, remorse

Nontri Dictionary
penance(n) การสำนึกผิด, การปลงอาบัติ, การบำเพ็ญทุกรกิริยา

Time: 0.033 seconds, cache age: 1.763 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/