อะตอม | น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทำปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลางและมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. |
กัมมันตภาพรังสี | (กำมันตะ-) น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. |
แกมมา | น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐, ๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. |
ธาตุ ๓ | (ทาด) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส เช่น ธาตุออกซิเจน ธาตุคาร์บอน. |
นิวเคลียร์ | ว. ที่ใช้พลังงานอะตอม, เกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอม. |
นิวเคลียส | น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สำหรับอะตอมของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สำคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่นไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. |
นิวตรอน | น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุทุกชนิด ยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มีประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
บีตา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสีแกมมา. |
โปรตอน | (โปฺร-) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าบวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. |
โมเลกุล | น. ส่วนที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้ตามลำพัง และทั้งยังคงรักษาสมบัติต่าง ๆ ของสารนั้นไว้ได้ด้วย โมเลกุลประกอบด้วยอะตอมของธาตุ, เดิมเรียกว่า อณู. |
ระเบิดปรมาณู | น. ลูกระเบิดที่ให้อำนาจระเบิดได้ด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ชนิดที่ทำให้นิวเคลียสของอะตอมของธาตุยูเรเนียมหรือธาตุพลูโทเนียมแตกสลาย ระเบิดชนิดนี้มีอำนาจทำลายมากยิ่งกว่าระเบิดธรรมดาที่ใช้ดินระเบิด. |
รีดักชัน | น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุไฮโดรเจนมารวมตัวด้วย, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารสูญเสียธาตุออกซิเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น. |
เวเลนซี | น. จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนย้ายออกจากอะตอมของธาตุหนึ่งเข้าสู่อะตอมอื่น หรือที่ใช้ร่วมกับอะตอมอื่น. |
สูตรเคมี | น. หมู่สัญลักษณ์ของธาตุซึ่งเขียนขึ้นแทนสารใดสารหนึ่งเพื่อแสดงให้ทราบว่า ๑ โมเลกุลของสารนั้น ๆ ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง และมีอย่างละกี่อะตอม เช่น H2O เป็นสูตรเคมีที่เขียนขึ้นแทนนํ้า เพื่อแสดงว่านํ้า ๑ โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ๒ อะตอม และธาตุออกซิเจน ๑ อะตอม. |
อนุภาค | น. ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา. |
ออกซิเดชัน | น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทำให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป. |
อิเล็กตรอน | (-ตฺรอน) น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวล ๙.๑๐๙๑ x ๑๐-๓๑ กิโลกรัม. |
แอลฟา | น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอมกัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาคแอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐, ๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอำนาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับฉากเรืองแสงจะทำให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. |
ไอโซโทป | น. อะตอมของธาตุเดียวกัน แต่มีจำนวนนิวตรอนที่นิวเคลียสต่างกัน. |
ไอออน | น. อะตอมหรือหมู่ของอะตอมที่ไม่เป็นกลาง มี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่แสดงอำนาจไฟฟ้าของประจุไฟฟ้าบวก เรียกว่า ไอออนบวกหรือแคตไอออน (cation) ชนิดที่แสดงอำนาจไฟฟ้าของประจุไฟฟ้าลบ เรียกว่า ไอออนลบหรือแอนไอออน (anion). |
Atomic volume | ปริมาตรอะตอม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Butane | ไฮโดรคาร์บอนที่ประกอบด้วยคาร์บอน 4 อะตอม และไฮโดรเจน 10 อะตอม, Example: ปรกติอยู่ในสภาพก๊าซ แต่ทำให้เหลวได้ง่ายเพื่อการขนส่งและจัดเก็บ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน รถยนต์ และอุตสาหกรรมบางประเภท [ปิโตรเลี่ยม] |
Antimatter | ปฏิสสาร, สสารที่มีอะตอมประกอบด้วยปฏิยานุภาค เช่น อะตอมของแอนติไฮโดรเจนประกอบด้วยนิวเคลียสที่มีแอนติโปรตอนจำนวน 1 อนุภาค และมีโพซิตรอน 1 อนุภาคโคจรอยู่รอบๆ (ดู antiparticle ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atom | อะตอม, หน่วยที่เล็กที่สุดที่ยังคงสมบัติทางเคมีของธาตุ โครงสร้างของอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสอยู่ตรงกลางและอิเล็กตรอนอยู่ในวงโคจรรอบนิวเคลียส นิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ในสภาพปกติอะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับโปรตอน [นิวเคลียร์] |
Atomic bomb | ลูกระเบิดอะตอม, ลูกระเบิดที่แรงระเบิดเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม-235 หรือ พลูโทเนียม-239 ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (ดู Fission ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atomic cloud | อะตอมิกคลาวด์, กลุ่มแก๊สร้อน ควัน ฝุ่น และสสารอื่นๆ ที่ลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าหลังการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ในอากาศหรือใกล้ผิวโลก มักมีรูปร่างเหมือนดอกเห็ด เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า mushroom cloud (ดู Fireball และ Radioactive cloud ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atomic energy | พลังงานอะตอม, พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาเมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอม หรือจากการสลายของสารกัมมันตรังสี ปัจจุบันนิยมใช้ “พลังงานนิวเคลียร์" [นิวเคลียร์] |
Atomic mass | มวลเชิงอะตอม, อัตราส่วนของมวลเฉลี่ยต่ออะตอมของธาตุใด ๆ ต่อ 1/12 ของมวลคาร์บอน-12 หนึ่งอะตอม แต่เดิมใช้คำว่าน้ำหนักเชิงอะตอม (atomic weight, A) เช่น มวลเชิงอะตอมของคลอรีน เท่ากับ 35.5 หมายถึง คลอรีน 1 อะตอม หนักเป็น 35.5 เท่าของ 1/12 ของมวลคาร์บอน-12 หนึ่งอะตอม, Example: [นิวเคลียร์] |
Atomic Mass Unit | หน่วยมวลอะตอม, หน่วยของมวล โดยหนึ่งหน่วยมีค่าเท่ากับ 1/12 ของมวลหนึ่งอะตอมของคาร์บอน-12 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.66033 10–27 กิโลกรัม หน่วยนี้ใช้สำหรับอะตอมและโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
Atomic number, Z | เลขเชิงอะตอม, จำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมใดๆ และเป็นสิ่งชี้บอกตำแหน่งของธาตุในตารางพีริออดิก [นิวเคลียร์] |
Atomic weapon | อาวุธอะตอม, อาวุธระเบิดซึ่งพลังงานเกิดจากปฏิกิริยาการแบ่งแยกนิวเคลียส (ดู nuclear weapon ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Atomic weight, A | น้ำหนักเชิงอะตอม, น้ำหนักทั้งหมดของโปรตอนกับนิวตรอนในนิวเคลียสของธาตุรวมกัน (ดู atomic mass ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Barn, b | บาร์น, หน่วยพื้นที่ภาคตัดขวางของอะตอม นิวเคลียส อิเล็กตรอน และอนุภาคอื่นๆ ที่แสดงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ 1 บาร์น มีค่าเท่ากับ 10–24 ตารางเซนติเมตร (ดู cross section ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Binding energy | พลังงานยึดเหนี่ยว, พลังงานยึดเหนี่ยวของโปรตอนและนิวตรอนในนิวเคลียส มีค่าเท่ากับพลังงานที่น้อยที่สุดสำหรับการแยกนิวเคลียสออกเป็นโปรตอนและนิวตรอน นอกจากนี้ยังหมายถึง พลังงานยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนด้วย ซึ่งมีค่าเท่ากับพลังงานที่ต้องใช้เพื่อแยกอิเล็กตรอนออกมาจากอะตอมหรือโมเลกุล [นิวเคลียร์] |
Boron Neutron Capture Therapy | บีเอ็นซีที, รังสีรักษาโดยการจับยึดนิวตรอน, การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งบางชนิด โดยการฉีดสารประกอบโบรอนเสถียรให้ไปสะสมในเซลล์มะเร็ง แล้วฉายรังสีนิวตรอนไปที่บริเวณนั้น อะตอมโบรอนจะจับยึดนิวตรอนไว้กลายเป็นโบรอนกัมมันตรังสี ซึ่งจะสลายพร้อมกับปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้น (ดู neutron capture ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Bragg’s law | กฎของแบรกก์, กฎที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความยาวคลื่นของรังสีเอกซ์ตกกระทบ มุมตกกระทบและระยะห่างของอะตอมซึ่งเป็นเงื่อนไขของการเกิดปรากฏการณ์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ กฎนี้ ดับเบิลยู. แอล. แบรกก์ (W. L. Bragg) คิดขึ้น ในปี พ.ศ. 2455 และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับบิดา คือ ดับเบิลยู. เอช. แบรกก์ (W. H. Bragg) ในปี พ.ศ. 2458 [นิวเคลียร์] |
Burnup | เบิร์นอัป, การวัดการใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยอาจคิดเป็นร้อยละของอะตอมเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่เกิดการแบ่งแยกนิวเคลียส หรือพลังงานที่ผลิตได้ต่อหน่วยน้ำหนักของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Characteristic X-ray | รังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะ, รังสีที่เกิดจากการที่อะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ซึ่งมีค่าพลังงานเฉพาะของธาตุที่ถูกกระตุ้น (ดู excited state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Compton scattering | การกระเจิงแบบคอมป์ตัน, ปรากฏการณ์เมื่อโฟตอนวิ่งชนอิเล็กตรอนของอะตอม แล้วเกิดการกระเจิง โฟตอนที่กระเจิงออกไปจะมีพลังงานลดลงจากเดิม ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมของการกระเจิงและมวลของอนุภาคที่ถูกชน ปรากฏการณ์นี้ตั้งชื่อตามผู้ค้นพบ คือ อาร์เทอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2470 [นิวเคลียร์] |
Cosmic radiation | รังสีคอสมิก, รังสีจากอวกาศซึ่งเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก มีองค์ประกอบโดยประมาณ ได้แก่ โปรตอนร้อยละ 87 รังสีแอลฟาร้อยละ 11 รังสีอนุภาคหนักที่มีเลขเชิงอะตอมระหว่าง 4 ถึง 26 ร้อยละ 1 และ อิเล็กตรอนร้อยละ 1 [นิวเคลียร์] |
Decay, radioactive | การสลาย(กัมมันตรังสี), การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Disintegration, radioactive | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิวไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Electron | อิเล็กตรอน, อนุภาคมูลฐานที่เป็นส่วนประกอบของอะตอม มีประจุไฟฟ้าลบ และมีมวล 1 ใน 1873 ส่วนของมวลโปรตอน โดยแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งอยู่ล้อมรอบนิวเคลียสที่มีประจุบวก สำหรับอะตอมที่เป็นกลางจำนวนอิเล็กตรอนจะเท่ากับจำนวนโปรตอนและเป็นตัวกำหนดสมบัติทางเคมีของอะตอม [นิวเคลียร์] |
Electron Capture | การจับยึดอิเล็กตรอน, การสลายกัมมันตรังสีแบบหนึ่งของนิวไคลด์ โดยอิเล็กตรอนจากวงโคจรในสุด 1 ตัว ถูกจับยึดและรวมเข้ากับนิวเคลียส เกิดเป็นนิวไคลด์ชนิดใหม่ที่มีเลขมวลคงเดิม แต่มีเลขเชิงอะตอมลดลง 1 (ดู K-capture ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Element | ธาตุ , สารที่ประกอบด้วยอะตอมที่มีเลขเชิงอะตอมเดียวกัน และไม่สามารถแบ่งแยกเป็นสารอื่นได้ด้วยวิธีทางเคมี เช่น ไฮโดรเจน ตะกั่ว ยูเรเนียม [นิวเคลียร์] |
Elementary particles | อนุภาคมูลฐาน, อนุภาคชั้นสามัญที่สุดของสสารและรังสี ส่วนใหญ่มีอายุสั้นและไม่ปรากฏในภาวะปกติ (ยกเว้น อิเล็กตรอน นิวตรอน โปรตอน และนิวทริโน) เดิมหมายถึงอนุภาคใดๆ ที่ไม่สามารถแบ่งย่อยต่อไปได้ หรืออนุภาคที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม ปัจจุบันหมายถึงอนุภาคโปรตอน นิวตรอน อิเล็กตรอน มีซอน มิวออน แบรีออน และปฏิยานุภาคของอนุภาคเหล่านี้ รวมทั้งโฟตอน แต่ไม่รวมอนุภาคแอลฟาหรือดิวเทอรอน [นิวเคลียร์] |
Excited state | สถานะถูกกระตุ้น, สถานะของนิวเคลียส อิเล็กตรอน อะตอม หรือโมเลกุล ขณะเมื่อมีพลังงานสูงกว่าระดับปกติ พลังงานส่วนเกินของนิวเคลียสมักถูกปลดปล่อยเป็นรังสีแกมมา สำหรับพลังงานส่วนเกินของโมเลกุลอาจปรากฏในลักษณะการเรืองแสงหรือความร้อน (ดู ground state ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
x-ray fluorescence | การเรืองรังสีเอกซ์, ปรากฏการณ์การเกิดรังสีเอกซ์ลักษณะเฉพาะของธาตุที่สนใจโดยใช้พลังงานที่เหมาะสมไปกระตุ้นอะตอมของธาตุนั้น [นิวเคลียร์] |
X-ray diffraction analysis | การวิเคราะห์โดยการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์, การวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ เพื่อหาโครงสร้างของอะตอม หรือโมเลกุลในธาตุ หรือสารประกอบที่มีการเรียงตัวเป็นระเบียบซ้ำๆ กัน เช่น เพชร โซเดียมคลอไรด์ รวมทั้งชีวโมเลกุลที่มีโครงสร้างซับซ้อน เช่น โปรตีน กรดนิวคลีอิก [นิวเคลียร์] |
X-rays | รังสีเอกซ์, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Uranium | ยูเรเนียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะหนัก มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 92 มีน้ำหนักเชิงอะตอมเฉลี่ยประมาณ 238 ไอโซโทปที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ ยูเรเนียม-235 ยูเรเนียม-238 และ ยูเรเนียม-234 [นิวเคลียร์] |
Triton | ไทรทอน, นิวเคลียสของอะตอมทริเทียม ประกอบด้วยโปรตอน 1 อนุภาค และนิวตรอน 2 อนุภาค [นิวเคลียร์] |
Transuranic element | ธาตุหลังยูเรเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุยูเรเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 92 เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เนปทูเนียม พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม [นิวเคลียร์] |
Transuranium element | ธาตุหลังยูเรเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุยูเรเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 92 เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เนปทูเนียม พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และลอว์เรนเซียม [นิวเคลียร์] |
Transplutonium element | ธาตุหลังพลูโทเนียม, ธาตุในตารางพีริออดิกที่อยู่หลังธาตุพลูโทเนียม มีเลขเชิงอะตอมมากกว่า 94 (ดู transuranium element ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Transmutation | การแปรธาตุ, การเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งเป็นอีกธาตุหนึ่ง โดยการเปลี่ยนจำนวนโปรตอนภายในนิวเคลียสของอะตอมด้วยปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแปรธาตุโคบอลต์-60 เป็นนิกเกิล-60 [นิวเคลียร์] |
Thorium | ทอเรียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 90 มีน้ำหนักเชิงอะตอมประมาณ 232 ไอโซโทปที่มีอยู่ในธรรมชาติ คือ ทอเรียม-232 แปรธาตุเป็นยูเรเนียม-233 ได้ด้วยการอาบนิวตรอน (ดู fertile material, fissile material, transmutation ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Thermonuclear reaction | ปฎิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์, ปฏิกิริยาการหลอมตัวของนิวเคลียสเบาภายใต้อุณหภูมิสูงมาก ไปเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่หนักกว่า และปลดปล่อยพลังงานออกมา [นิวเคลียร์] |
Subatomic particle | อนุภาคย่อยของอะตอม, อนุภาคใด ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของอะตอม เช่น อิเล็กตรอน นิวตรอน และโปรตอน, Example: [นิวเคลียร์] |
Roentgen rays | รังสีเรินต์เก็น, รังสีในรูปของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีอำนาจทะลุทะลวงสูงไม่ได้มีต้นกำเนิดจากนิวเคลียสของอะตอม แต่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมถูกกระตุ้น ทำให้อิเล็กตรอนวงในหลุดออกไป และอิเล็กตรอนวงถัดไปเข้ามาแทนที่ แล้วให้พลังงานส่วนเกินออกมาในรูปของรังสีเอกซ์ หรือเกิดจากการระดมยิงเป้าโลหะหนักบางชนิด เช่น ทังสเตน ด้วยอิเล็กตรอนความเร็วสูง ซึ่งอิเล็กตรอนจะถูกหน่วงให้ช้าลงอย่างทันทีทันใดและปล่อยรังสีเอกซ์ออกมา บางคน เรียกรังสีเอกซ์ว่า รังสีเรินต์เก็น ตามชื่อของ วิลเฮล์ม คอนราด เรินต์เก็น นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นพบรังสีนี้เมื่อ ปี พ.ศ. 2438 [นิวเคลียร์] |
Radon | เรดอน, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นแก๊สที่หนักที่สุดในธรรมชาติ มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 86 มีน้ำหนักเชิงอะตอมเท่ากับ 222 เป็นนิวไคลด์ลูกของเรเดียมในอนุกรมยูเรเนียม รังสีพื้นหลังในธรรมชาติเกิดจากการแผ่รังสีของเรดอนเป็นส่วนใหญ่ [นิวเคลียร์] |
Radium | เรเดียม, ธาตุกัมมันตรังสีที่เป็นโลหะ มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 88 ไอโซโทปที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ คือ เรเดียม- 226 เกิดปนอยู่เล็กน้อยในสินแร่ยูเรเนียม เช่น แร่พิตช์เบลนด์ และคาร์โนไทต์ เรเดียม-226 เกิดจากการสลายของทอเรียม-230 ในอนุกรมยูเรเนียม (ดู decay, radioactive และ uranium series ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Radioactive standard | สารมาตรฐานกัมมันตรังสี, สารกัมมันตรังสี ที่รู้จำนวนและชนิดของอะตอมกัมมันตรังสี ณ เวลาอ้างอิงใดๆ ใช้เป็นสารมาตรฐานสำหรับปรับเทียบอุปกรณ์วัดรังสี หรือใช้ในการวัดเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการ ปกติใช้สารกัมมันตรังสีที่มีครึ่งชีวิตยาวเป็นสารมาตรฐานกัมมันตรังสี, Example: [นิวเคลียร์] |
Radioactive decay | การสลายกัมมันตรังสี, การแปลงนิวเคลียสที่เกิดขึ้นเองของนิวไคลด์กัมมันตรังสีหนึ่งให้เป็นนิ วไคลด์อีกชนิดหนึ่ง หรือชนิดเดิมที่มีสถานะพลังงานต่างกัน กระบวนการนี้ทำให้จำนวนอะตอมกัมมันตรังสีของสารตั้งต้นลดลงตามเวลาที่ผ่านไป โดยมีการปล่อยอนุภาคแอลฟา หรืออนุภาคบีตา และหรือรังสีแกมมาออกมา หรือมีการจับยึดแบบนิวเคลียร์ (nuclear capture) หรือการสลัดอิเล็กตรอนออกจากวงโคจร หรือการแบ่งแยกนิวเคลียส คำนี้มีความหมายเหมือนกับ radioactive disintegration [นิวเคลียร์] |
Atomic structure | โครงสร้างอะตอม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Proton | โปรตอน, อนุภาคมูลฐานที่มีประจุไฟฟ้าบวกหนึ่งหน่วย มีมวลประมาณ 1837 เท่าของอิเล็กตรอน โปรตอนเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสทุกชนิด เลขเชิงอะตอม ของอะตอมใด ๆ จะเท่ากับจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอมนั้น [นิวเคลียร์] |
Plutonium | พลูโทเนียม, ธาตุหนักที่เป็นโลหะและเป็นธาตุกัมมันตรังสี มีเลขเชิงอะตอมเท่ากับ 94 ซึ่งมนุษย์ผลิตขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ ไอโซโทปสำคัญ คือ พลูโทเนียม-239 มีครึ่งชีวิต 24, 000 ปีสามารถแบ่งแยกนิวเคลียสได้ จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือทำอาวุธนิวเคลียร์ [นิวเคลียร์] |
Nucleus | นิวเคลียส, แกนกลางของอะตอม มีประจุเป็นบวก และขนาดเล็กประมาณ 10-15 เมตร หรือประมาณ 1 ใน 10, 000 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของอะตอม เป็นที่รวมของมวลเกือบทั้งหมดของอะตอม ทุกนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอน ยกเว้นนิวเคลียสของไฮโดรเจนธรรมดาที่มีเพียงโปรตอนหนึ่งอนุภาค [นิวเคลียร์] |
Nuclear reactions | ปฏิกิริยานิวเคลียร์, ปฏิกิริยาที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสของอะตอม เช่น ฟิชชัน ฟิวชัน การจับยึดนิวตรอน หรือ การสลายกัมมันตรังสี ซึ่งแตกต่างกับปฏิกิริยาเคมี ที่จำกัดอยู่เพียงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของอิเล็กตรอนที่อยู่รอบๆ นิวเคลียส [นิวเคลียร์] |
Nuclear force | แรงนิวเคลียร์, แรงที่ยึดอนุภาคต่างๆ ภายในนิวเคลียสของอะตอมเข้าไว้ด้วยกัน [นิวเคลียร์] |
a-bomb | abbr. atomic bomb (ระเบิดอะตอม) |
aliphatic | (แอลลิแฟท' ทิค) adj., chem. เกี่ยวกับอินทรีสารประกอบที่มีอะตอมของคาร์บินติดกันเป็นแนว (paraffins, olefins) |
alkylation | (แอลคิเล' ชัน) chem. การแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนในอินทรียสารประกอบด้วย alkyl group, การเติมพาราฟินลงใน olefin |
alpha | (แอล' ฟะ) n. พยัญชนะตัวแรกของภาษากรีก, จุดเริ่ม, สิ่งแรก, ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาว, ตำแหน่งหนึ่งของอะตอมหรือกลุ่มของอะตอมในสารประกอบ, isomer แบบหนึ่งของสารประกอบ |
alpha decay | ขบวนการแผ่กัมมันตภาพรังสีที่อนุภาคแอลฟ่าถูกขับออกจากนิวเคลียสของอะตอม ทำให้ atomic number ลดลงไปสอง |
alpha particle | อนุภาคที่มีประจุบวกที่ประกอบด้วยสองโปรตอนและสองนิวตรอน, นิวเคลียสของอะตอมของธาตุฮีเลียม (nucleus of a helium atom) |
amide | สารประกอบที่ได้จากแอมโมเนีย โดยการแทนที่อะตอมของไฮโดรเจนด้วย acyl radical หรือจาก acid จาก OH เป็น NH2 |
amu | abbr. atomic mass unit หน่วยของมวลอะตอม (atomic mass unit) |
anion | (แอน' ไอออน) n. ไอออนที่มีประจุลบ, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุลบ. -anionic adj. (negatively charged ion) |
at. m. | abbr. atomic mass มวลอะตอม |
atom | (แอท'เทิม) n. อะตอม, ปรมาณู, สิ่งที่เล็กมาก ๆ , ปริมาณที่น้อยมาก. -atomic (al) adj. |
atom bomb | ระเบิดปรมาณูซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาลูกโซ่ของการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุยูเรเนียม U -235 ทำให้ส่วนของมวลของมันเปลี่ยนเป็นพลังงานที่มหาศาล. |
atomic energy | พลังงานปรมาณูที่เกิดจากการจัดตัวใหม่ของนิวเคลียสของอะตอม. |
atomic mass | มวลอะตอม, หน่วยของมวลที่เท่ากับ 1/12 ของมวลของอะตอมของคาร์บอน |
atomic number | จำนวนประจุบวกหรือโปรตอนในนิวเคลียสของอะตอม หรือเท่ากับจำนวนอีเล็กตรอนที่ล้อมรอบอะตอมอย่างปกติ |
atomic structure | โครงสร้างของอะตอม |
atomic weight | น้ำหนักอะตอมโดยเฉลี่ยของธาตุ |
atomicity | (แอททัมมิส'ซิที) n. จำนวนอะตอมในหนึ่งโมเลกุลของแก๊ส. =valence |
atomise | (แอท'ทะไมซ) vt. ลดลงให้เป็นอะตอม, ทำให้เป็นอนุภาคหรือละออง, ทำลายโดยการทิ้งระเบิด. -atomis (z) ation n. |
atomize | (แอท'ทะไมซ) vt. ลดลงให้เป็นอะตอม, ทำให้เป็นอนุภาคหรือละออง, ทำลายโดยการทิ้งระเบิด. -atomis (z) ation n. |
atomy | (แอท'ทัมมี) n. อะตอม, ปรมาณู, ละออง, คนแคระ, โครงกระดูก, กระดูกใต้รักแร้ |
auxochrome | (ออค'ซะโครม) n. กลุ่มของอะตอมที่เป็นปัจจัยทำให้สีของสารเข้มขึ้น. -auxochromatic adj. |
avogadro's number | ค่าคงที่ 6.02 X 1023 ซึ่งเป็นจำนวนอะตอมในกรัม-อะตอม หรือจำนวนโมเลกุลในกรัม-โมเลกุล, Syn. Avogadro's constant Avogadro number |
azole | (แอซ'โซล) n. สารประกอบชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วย ไนโตรเจนอะตอมใน ring |
beta | (เบ'ทะ) n. อักษรตัวที่สองของพยัญชนะกรีก, ตำแหน่งหนึ่งของอะตอมหรือกลุ่มอะตอมในสารประกอบ, สารประกอบ isomer, อนุภาค beta |
bond | (บอนดฺ) { bonded, bonding, bonds } n. ข้อผูกมัด, ข้อตกลงในสัญญา, สิ่งผูกมัด, พันธนาการ, สลัก, ตรวน, โซ่, การคุมขัง, การติดคุก, พันธบัตร, ใบกู้ยืม, ใบหุ้นกู้, พันธุกรรม, พันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล vi., vt. (ทำให้) ผูกมัดเข้าด้วยกัน, เชื่อมติด, ผนึกเข้าด้วยกัน adj. เกี่ยวกับควา |
cation | (แคท'ไอออน) n. ไอออนบวก, อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่มีประจุบวก, See also: cationic adj. ดูcation, Syn. kation |
configuration | (คันฟิกยะเร'เชิน) n. โครงร่าง, สัณฐาน, รูปร่างภายนอก, องค์ประกอบ, กลุ่มดวงดาว, ตำแหน่งของอะตอมในโมเลกุล., See also: configurational adj. ดูconfiguration configurative adj. ดูconfiguration, Syn. arrangement, set |
electron | (อีเลค'ทรอน) n. อิเล็คตรอนของอะตอม |
fission | (ฟิส'เชิน) n. การแยกออก, การแบ่งเซลล์, การแตกแยกออก, การแบ่งตัว, การแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมออกเป็นอะตอมที่มีน้ำหนักน้อยกว่า และเกิดพลังงานขึ้นอย่างมหาศาล |
fusion | (ฟิว'เชิน) n. การหลอมละลาย, การหลอมเหลว, สิ่งที่หลอมละลาย, การผสมของพรรคการเมือง, ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของอะตอมที่เบารวมตัวกันเป็นนิวเคลียสที่หนักขึ้น (nuclear, See also: fusion, Syn. coalescence, combine, Ant. separate |
half-life | n. ระยะเวลาที่อะตอมครึ่งหนึ่งของปริมาณสารกัมมันตรังสีที่กำหนดให้ที่จะสลายตัว -pl. half-lives, Syn. half-life period |
hexad | n. จำนวนหก, กลุ่มที่มีอะตอมของธาตุที่มีวาเลนซี่เท่ากับ 6., See also: hexadic adj. |
ion | (ไอ'อัน, ไอ'ออน) n. อะตอมหรือกลุ่มของอะตอมที่มีประจุบวกและลบโดยขึ้นอยู่กับการได้หรือสูญเสียอีเล็กตรอน |
isotope | (ไอ'โซโทพฺ) n. ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกันแต่ต่างกันที่น้ำหนักอะตอมและประจุไฟฟ้าisotopeหลายชนิดที่มีกัมมันตภาพรังสี |
mass number | n. จำนวนnucleonsในนิวเคลียสของอะตอมมีค่าใกล้เคียงกับน้ำหนักอะตอม |
nebulise | (เนบ'บิวไลซ) vt. ทำให้เป็นละออง, ลดขนาดลงเป็นอะตอม., See also: nebulisation, nebulization n. nebuliser, nebulizer n. |
nebulize | (เนบ'บิวไลซ) vt. ทำให้เป็นละออง, ลดขนาดลงเป็นอะตอม., See also: nebulisation, nebulization n. nebuliser, nebulizer n. |
nuclear fission | n. การแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมเป็นนิวเคลียสของอะตอมที่เบากว่า และมีการปล่อยพลังงานออก |
nuclear fusion | n. ปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของอะตอมที่เบากว่ารวมกันเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าเช่นอะตอมของdeuteriumรวมกับอะตอมของฮีเลียม |
omega minus | n. อนุภาคอะตอม (atomic particle) ที่สลายตัวเป็นอนุภาคเล็กลงไปอีกเมื่อกระทบกับpi meson |
pixel | (พิก'เซลฺ) ย่อมาจาก picture element หมายถึง จุดที่เล็กที่สุดที่รวมตัวกันเป็นภาพ เหมือนอะตอมที่รวมตัวกันเป็นโมเลกุล (อะตอมนั้นไม่อาจจะแยกแยะต่อไปได้อีกแล้ว) จอภาพที่แสดงภาพที่มีจุด เล็ก ๆ มาก จะยิ่งให้ภาพที่คมชัด ในปัจจุบัน จอภาพชั้นดีและมีประสิทธิภาพสูง จะมีถึง 1, 280 จุดในแนวตั้ง และ 1, 024 จุดในแนวนอน |
proton | (โพร'ทอน) n. อนุภาคของอะตอมที่มีประจุบวกซึ่งมีขนาดประจุเท่ากับของอิเล็กตรอน., See also: protonic adj. |
secondary | (เซค'เคินเดอริ) adj. ที่สอง, ลำดับสอง, ทุติยะ, อันดับรอง, รอง, สำรอง, ทีหลัง, ต่อเนื่อง, สังกัด, ได้มาจาก, ไม่สำคัญ, ส่งเสริม, ส่วนเสริม, เกี่ยวกับโรงเรียนมัธยม, เกี่ยวกับคาร์บอนอะตอมที่รวมตัวกับอีกสองคาร์บอนอะตอม, เป็นอนุพันธุ์, เกี่ยวกับอดีต, เกี่ยวกับการเน้นเสียงที่สอง |
substituent | (ซับสทิช'ชูเอินทฺ) n. อะตอมหรือกลุ่มอะตอมที่แทนที่อะตอมหรือกลุ่มอะตอมอื่นในโมเลกุลของสารประกอบเดิม. adj. แทนที่ได้, สามารถแทนที่ได้ |
uranium | (ยูเร'เนียม) n. ธาตุโลหะชนิดหนึ่งที่มีกัมมันตภาพรังส'ใช้ในการผลิตระเบิดอะตอม |
valence | (เว'เลินซฺ) n. วาเลนซี่, เป็นตัวเลขแสดงถึงจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนที่สามารถรวมกับหนึ่งอะตอมของธาตุอื่น., Syn. valency |