ออกซิเจน | น. ธาตุลำดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วยการหายใจของคนไข้. |
กะรุน | น. แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุอะลูมิเนียมกับออกซิเจน แต่มักมีสิ่งอื่นผสมอยู่ทำให้มีสีต่าง ๆ เช่น ถ้าเป็นสีแดง เรียกว่า ทับทิม, ถ้าเป็นสีนํ้าเงิน เรียกว่า พลอยสีนํ้าเงิน, ถ้าเป็นสีเขียว เรียกว่า เขียวส่องหรือ เขียวมรกต. |
กังหันน้ำชัยพัฒนา | น. ชื่อเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยแบบหนึ่ง เป็นอุปกรณ์บำบัดน้ำเสียชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทำงานคล้ายกังหันวิดน้ำขึ้นเหนือผิวน้ำเพื่อเติมอากาศหรือออกซิเจนในแหล่งน้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาและประดิษฐ์อุปกรณ์เติมอากาศขึ้นแล้วทรงมอบหมายมูลนิธิชัยพัฒนา ศึกษาวิจัยเพื่อทำต้นแบบพร้อมสนับสนุนงบประมาณให้กรมชลประทานสร้าง นำไปใช้งานตามแหล่งน้ำเสียทั่วประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ ๓๑๒๗ และองค์กรนักประดิษฐ์โลกจากประเทศเบลเยียมได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลในฐานะที่ทรงสร้างนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม. |
คาร์โบไฮเดรต | (-เดฺรด) น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาลและพอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สำคัญมากประเภทหนึ่ง. |
เตรียม | ทำให้เกิดสารเคมีที่ต้องการจากสารเคมีอื่นด้วยกระบวนการทางเคมี เช่น เตรียมแก๊สออกซิเจนจากดินประสิว. |
ธาตุ ๓ | (ทาด) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มีโปรตอนจำนวนเดียวกันในนิวเคลียส เช่น ธาตุออกซิเจน ธาตุคาร์บอน. |
น้ำ | น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม |
ผายปอด | ก. ช่วยทำให้ปอดของผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพียงพอ โดยการกดหลัง การยกศอก เป็นต้น. |
ฟอกโลหิต | ก. อาการที่แก๊สออกซิเจนซึ่งหายใจเข้าไปแล้วเปลี่ยนเลือดดำเป็นเลือดแดง. |
เม็ดเลือด, เม็ดโลหิต | น. เซลล์ซึ่งอยู่ในกระแสเลือด มี ๒ ชนิด คือ ชนิดที่มีหน้าที่นำออกซิเจนไปสู่เซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เรียกว่า เม็ดเลือดแดง และชนิดที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและทำลายเชื้อโรคในร่างกาย เรียกว่า เม็ดเลือดขาว. |
รีดักชัน | น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุไฮโดรเจนมารวมตัวด้วย, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารสูญเสียธาตุออกซิเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น. |
ละลาย | อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีกอย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอนละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายในแก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย. |
เลือดดำ | น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยหรือขาดออกซิเจน มีสีแดงคล้ำ. |
เลือดแดง | น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนมาก มีสีแดงสด. |
สมมูลเคมี | น. จำนวนเลขที่บ่งแสดงนํ้าหนักของสารที่ทำปฏิกิริยาโดยทางตรงหรือทางอ้อมได้พอดีกับ ๑.๐๐๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุไฮโดรเจน หรือกับ ๘ หน่วยนํ้าหนักเดียวกันของธาตุออกซิเจน. |
สารหนูขาว | น. สารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งมีธาตุสารหนูและออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ มีสูตร As2O3 ลักษณะเป็นผงสีขาว มีพิษอย่างร้ายแรง ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมทำสีบางประเภท และยาฆ่าแมลง, ชาวบ้าน เรียกว่า สารหนู. |
สูตรเคมี | น. หมู่สัญลักษณ์ของธาตุซึ่งเขียนขึ้นแทนสารใดสารหนึ่งเพื่อแสดงให้ทราบว่า ๑ โมเลกุลของสารนั้น ๆ ประกอบด้วยธาตุใดบ้าง และมีอย่างละกี่อะตอม เช่น H2O เป็นสูตรเคมีที่เขียนขึ้นแทนนํ้า เพื่อแสดงว่านํ้า ๑ โมเลกุล ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน ๒ อะตอม และธาตุออกซิเจน ๑ อะตอม. |
หิ่งห้อย | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Lampyridae ลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ด้านปลายของส่วนท้องมีปล้องทำแสง ๒ ปล้องในเพศผู้ และ ๑ ปล้องในเพศเมีย โดยแสงเกิดจากสารลูซิเฟอรินทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ความถี่และช่วงของแสงนั้นแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด บางชนิดตัวเมียไม่มีปีก ที่พบมากตามแหล่งน้ำจืด เช่น ชนิด Luciola aquatilis Thaneharoen ที่พบตามป่าชายเลน เช่น ชนิด Pteroptyx malaccae (Gorham), ทิ้งถ่วง แมลงแสง หรือ แมลงไฟ ก็เรียก. |
อโลหะ | น. ธาตุซึ่งมีสมบัติไม่เป็นโลหะ เช่น ถ่าน ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส พวกอโลหะเมื่ออยู่ในสภาพไอออนจะเป็นไอออนลบ. |
ออกซิเดชัน | น. ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้สารได้รับธาตุออกซิเจนมารวมตัวด้วย หรือทำให้สารสูญเสียธาตุไฮโดรเจนไป, ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้อะตอมของธาตุสูญเสียอิเล็กตรอนไป. |
ออกไซด์ | น. สารประกอบที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุออกซิเจนกับธาตุอื่น. |
อะเซทิลีน | น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีสูตร C2H2 ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี เป็นพิษ จุดไฟติด ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่นนำไปจุดกับแก๊สออกซิเจนได้เปลวไฟออกซิอะเซทิลีนซึ่งร้อนจัดจนใช้เชื่อมและตัดโลหะได้ ใช้เป็นสารตั้งต้นเพื่อสังเคราะห์สารอื่นได้มากมาย. |
อัญรูป | (อันยะ-) น. ธาตุเดียวกันแต่มีสมบัติและรูปแบบต่างกัน เมื่อนำไปทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นธาตุเดียวกัน จะให้ผลเป็นสารประกอบอันเดียวกัน เช่น ธาตุคาร์บอน มีอัญรูป คือ เพชร กับ แกรไฟต์ เมื่อนำอัญรูปทั้ง ๒ นี้ ไปเผาด้วยความร้อนสูงกับธาตุออกซิเจน จะได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เช่นเดียวกัน. |
อากาศ, อากาศ- | (อากาด, อากาดสะ-) น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น |
โอโซน | น. แก๊สชนิดหนึ่ง สีนํ้าเงิน กลิ่นฉุน เป็นอัญรูปของธาตุออกซิเจน มีสูตร O3 ใช้ประโยชน์ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าเพื่อใช้เป็นนํ้าดื่ม ใช้ฟอกจางสีของสารอินทรีย์บางอย่างเช่นเส้นใยที่ใช้ทอผ้า. |
เฮโมโกลบิน | (-โกฺล-) น. สารที่ให้สีแดงในเม็ดเลือดแดง ประกอบขึ้นด้วยโปรตีนที่เรียกว่า โกลบิน และ เฮม ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีเหล็ก ไนโตรเจน คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นองค์ประกอบ มีหน้าที่นำออกซิเจน ซึ่งร่างกายสูดหายใจเข้าทางปอดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยออกซิเจนเกาะติดไปในรูปออกซิเฮโมโกลบิน และออกซิเจนแยกตัวออกได้ง่ายจากเฮโมโกลบินเมื่อไปถึงส่วนอื่นของร่างกายที่ต้องการใช้. |
Oxygen therapy | การบำบัดด้วยออกซิเจน [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Petroleum | สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ, สารไฮโดรคาร์บอนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมีธาตุสองชนิดเป็นองค์ประกอบหลัก ได้แก่คาร์บอนและไฮโดรเจน โดยอาจมีหรือไม่มีธาตุอโลหะอื่นๆ เช่น กำมะถัน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฯลฯ ปนอยู่ด้วยก็ได้, Example: ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของปิโตรเลียมเอง และความร้อน ตลอดจนความกดดันตามสภาพแวดล้อมที่ปิโตรเลียมนั้นถูกกักเก็บไว้ แบ่งตามสถานะสำคัญทางธรรมชาติได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ [ปิโตรเลี่ยม] |
Radiosensitizer | สารเพิ่มผลของรังสี, สารหรือยาเพิ่มประสิทธิภาพของรังสีในการทำลายเซลล์ เช่น ออกซิเจน สารไมโซนิดาโซล (misonidazole) และสาร 5-โบรโมดีออกซียูริดีน (5-bromodeoxyuridine) [นิวเคลียร์] |
Radiolysis | การแยกสลายด้วยรังสี, การแตกตัว หรือสลายตัว ของโมเลกุลด้วยรังสี เช่น ขณะเดินเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะมีน้ำส่วนหนึ่งที่อยู่ภายในแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เกิดการแตกตัวเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน [นิวเคลียร์] |
Oxygen enhancement ratio | อัตราส่วนการเสริมผลของออกซิเจน, โออีอาร์, อัตราส่วนเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่มีผลต่อเซลล์หรือสิ่งมีชีวิตเมื่อไม่มีและมีออกซิเจน ที่ก่อให้เกิดผลทางชีววิทยาเหมือนกัน ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน <br> OER = ปริมาณรังสีเมื่อไม่มีออกซิเจน / ปริมาณรังสีเมื่อมีออกซิเจน </br> <br>(ดู radiosensitizer ประกอบ)</br>, Example: [นิวเคลียร์] |
ICRU sphere | ทรงกลมไอซีอาร์ยู, ทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร ทำจากวัสดุที่มีการตอบสนองต่อรังสีเทียบเท่ากับเนื้อเยื่อมนุษย์ โดยมีความหนาแน่น 1 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร และมีองค์ประกอบของออกซิเจนร้อยละ 76.2 คาร์บอนร้อยละ 11.1 ไฮโดรเจนร้อยละ 10.1 และไนโตรเจนร้อยละ 2.6 เป็นทรงกลมที่ใช้อ้างอิงสำหรับการหาค่าปริมาณรังสีสมมูล [นิวเคลียร์] |
คาร์โบไฮเดรต | ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ คาร์โบไฮเดรท [คำที่มักเขียนผิด] |
Biochemical oxygen demand | ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี [TU Subject Heading] |
Dissolved oxygen | ออกซิเจนละลาย [TU Subject Heading] |
Oxygen | ออกซิเจน [TU Subject Heading] |
Oxygen consumption | การใช้ออกซิเจน [TU Subject Heading] |
Oxygen index of materials | ดัชนีออกซิเจนของวัสดุ [TU Subject Heading] |
Oxygen inhalation therapy | การรักษาด้วยการสูดออกซิเจน [TU Subject Heading] |
Oxygen-Sag Curve | เส้นหย่อนออกซิเจน, เส้นตกท้องช้างออกซิเจน, Example: เส้นแสดงปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในกระแสน้ำ ซึ่งลดลงจากการย่อยบีโอดี และเพิ่มขึ้นจากการสัมผัสอากาศที่ผิวน้ำ [สิ่งแวดล้อม] |
Dissolved-Oxygen Sag Curve | เส้นหย่อนออกซิเจนละลาย, เส้นตกท้องช้าง, Example: เส้นโค้งแสดงระดับออกซิเจนละลายตามความยาวของ ลำน้ำ ซึ่งจะลดลง เมื่อมีการระบายน้ำเสียลงลำน้ำนั้น และจะกลับเพิ่มขึ้นอีกเมื่อมีการเติมอากาศ จากการสังเคราะห์แสงและ/หรือจากการแทรกตัวลงน้ำของออกซิเจนจากอากาศ [สิ่งแวดล้อม] |
Anaerobic Bacteria | แบคทีเรียไม่ใช้ออกซิเจน, แอนแอโรบิกแบคทีเรีย, Example: แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนอิสระเป็นองค์ ประกอบในการเจริญเติบโต [สิ่งแวดล้อม] |
Aerobic | แอโรบิก, มีอากาศ, ใช้อากาศ, ใช้ออกซิเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Anaerobic | แอนแอโรบิก, ไร้อากาศ, ไม่ใช้อากาศ, ไม่ใช้ออกซิเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Reaeration | การเติมออกซิเจนซ้ำ, Example: การที่ออกซิเจนในอากาศซึมสู่น้ำในสภาวะการขาด แคลนออกซิเจน [สิ่งแวดล้อม] |
Reoxygenation | การเติมออกซิเจนซ้ำ, Example: การที่ปริมาณออกซิเจนในลำน้ำเพิ่มขึ้นจากการ เติมน้ำดีในน้ำเสีย หรือจาก การสังเคราะห์โดยใช้แสงของพืชและจากการสัมผัสอากาศผิวน้ำ [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Utilization | การใช้ออกซิเจน, Example: การใช้ออกซิเจนในกระบวนการบำบัดเพื่อให้คงสภาพ แอโรบิกอยู่ได้ [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Deficiency | การขาดออกซิเจน, Example: ปริมาณออกซิเจนที่ต้องการเพิ่ม เพื่อให้น้ำมีคุณภาพที่เหมาะสม [สิ่งแวดล้อม] |
Deoxygenation | การลดออกซิเจน, Example: การที่ออกซิเจนในน้ำลดลงตามสภาวการณ์ทาง ธรรมชาติ เช่น จากบีโอดี หรือโดยการเติมสารเคมีลงไป [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Depletion | การลดออกซิเจน, Example: การลดลงของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ หรือน้ำเสียซึ่งเกิดจาก การย่อยบีโอดี [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Saturation | การอิ่มตัวของออกซิเจน, Example: ปริมาณสูงสุดของออกซิเจนที่ละลายได้ในของเหลว ชนิดหนึ่ง ๆ ขึ้นอยู่กับปริมาณสารปะปน อุณหภูมิ และความดัน [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygenation Capacity | ขีดความสามารถให้ออกซิเจน, Example: ปริมาณออกซิเจนที่เครื่องเติมอากาศสามารถให้ ได้ [สิ่งแวดล้อม] |
Chemical Oxygen Demand, COD | ความต้องการออกซิเจนเชิงเคมี, ซีโอดี, Example: ปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์ ด้วยวิธีการทางเคมี [สิ่งแวดล้อม] |
Biochemical Oxygen Demand, BOD | ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี, บีโอดี, Example: เป็นค่าวัดความสกปรกของน้ำในรูปปริมาณอินทรีย์ สารอย่างหยาบ ๆ [สิ่งแวดล้อม] |
Ultimate Biochemical Oxygen Demand | ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมีสูงสุด (บีโอดีสูงสุด), Example: โดยทั่วไปหมายถึงปริมาณออกซิเจนทั้งหมดเพื่อ ให้พบกับบีโอดีขั้นแรก โดยเฉพาะแล้ว หมายถึงปริมาณออกซิเจนที่ต้องการให้พอกับบีโอดีทั้งในขั้นแรกและขั้นสอง [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Balance | ดุลยภาพออกซิเจน, Example: ระดับของออกซิเจนที่ละลายอยู่ ณ จุดใดจุดหนึ่งของกระแสน้ำ จากผลของ การถูกใช้ไปโดยน้ำเสียและการได้รับมาจากอากาศผิวน้ำ หรือความสัมพันธ์ ระหว่างความต้องการออกซิเจนเชิงชีวเคมีของน้ำทิ้งจากโรงบำบัดกับออกซิเจน ที่มีในน้ำที่เจือจาง [สิ่งแวดล้อม] |
Residual Oxygen | ออกซิเจนคงเหลือ, Example: ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ภายในน้ำ หลังจากกระบวนการลดออกซิเจนสิ้นสุดลง [สิ่งแวดล้อม] |
Dissolved Oxygen, DO | ออกซิเจนละลาย, ดีโอ, Example: ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ น้ำเสียหรือของเหลวอื่นๆ โดยปกติ จะวัดเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร, ส่วนในล้าน (สนล)หรือเปอร์เซนต์ของการอิ่มตัว [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Uptake Rate | อัตราการจับใช้ออกซิเจน, Example: อัตราที่ออกซิเจนถูกใช้ไปโดยจุลินทรีย์ในเวลา หนึ่งๆ มีหน่วยเป็น มก./ล.-วัน [สิ่งแวดล้อม] |
Oxygen Demand | อุปสงค์ออกซิเจน, ความต้องการออกซิเจน, Example: ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ในการย่อยบีโอดี ในเวลา อุณหภูมิ และสภาวะที่กำหนด, ดู BOD [สิ่งแวดล้อม] |
Positron Emission Tomography | เป็นเทคนิคการถ่ายภาพอวัยวะในร่างกายที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยการตรวจวัดสารกัมมันตรังสีบางชนิด ซึ่งให้แก่ร่างกายในรูปของสารเภสัชรังสี เพื่อใช้ในการตรวจวัดเชิงปริมาณของขบวนการทางชีวเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิต ไอโซโทปรังสีที่ใช้จะเป็นชนิดที่ปลดปล่อยโพซิตรอนออกมา เช่น ออกซิเจน-15 ไนโตรเจน-13 และคาร์บอน-11 โพซิตรอนที่ปล่อยออกมานี้จะเข้าทำปฏิกิริยาประลัย (annihilation) เกือบจะทันทีทันใดกับอิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสในอะตอมของสาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสารเภสัชรังสีนั้น และมีรังสีแกมมาพลังงาน 511 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ ปลดปล่อยออกมาพร้อมกันในสองทิศทางตรงกันข้าม สามารถตรวจวัดได้ด้วยหัววัดรังสีที่อยู่ตรงข้ามกัน จากหัววัดหลายๆ หัวที่ล้อมรอบคนไข้ ทำให้ทราบตำแหน่งที่ผิดปกติในร่างกายได้ โดยการแปลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากส่วนใหญ่ของไอโซโทปรังสีที่ใช้กับเทคนิคนี้ เป็นไอโซโทปของธาตุที่เป็นส่วนประกอบของอินทรีย์วัตถุ จึงทำให้ PET มีประโยชน์ในการศึกษากระบวนการทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่ผิดปกติด้วย ในทางปฏิบัติ PET จำเป็นต้องใช้ไอโซโทปรังสีที่ผลิตขึ้นจากการระดมยิงที่เป้า ด้วยโปรตรอนพลังงานสูงภายในเครื่องไซโคลตรอน การศึกษาโดยใช้ PET จะมุ่งเน้นไปยังระบบประสาทส่วนกลางเป็นหลัก ด้วยการวัดตัวแปรเสริมอื่นๆ ประกอบ เช่น การไหลเวียนของเลือด กระบวนการสร้างและสลายน้ำตาลกลูโคส และการเผาผลาญออกซิเจน จึงมีความเป็นไปได้ที่จะหาสมุฏฐานของโรคลมบ้าหมู หรือหาขนาดที่แน่นอนของบริเวณที่พิการในสมองได้ ในการศึกษาที่เกี่ยวกับหัวใจและหน้าที่ของหัวใจ การตรวจโดยใช้ PET จะเป็นวิธีที่เฉพาะเจาะจง และให้ผลดีกว่าการตรวจสอบโดยวิธีอื่นๆ [พลังงาน] |
ออกซิเจนเนต | สารประกอบที่มีออกซิเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ในโมเลกุล ซึ่งอาจเป็นพวกอีเทอร์หรือแอลกฮอล์ สำหรับประเทศไทยใช้ MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เติมในน้ำมันเบนซิน เพื่อช่วยให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์มากขึ้น [ปิโตรเลี่ยม] |
Chemical Oxygen Demand | ซีโอดี, ซีโอดี คือปริมาณออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับปฏิกิริยาเคมีที่ใช้ในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์ในน้ำเสียค่าซีโอดีที่สูงกว่าแสดงว่า ปฏิกิริยาการย่อยสลายนั้นต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่า ค่าซีโอดีสามารถใช้เป็นตัววัดทางอ้อมของปริมาณสารประกอบอินทรีย์ในน้ำ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Acrylic rubber or Polyacrylate rubber (ACM) | ยาง ACM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ของอะ ไครเลต (acrylic ester) และมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคงรูป (cure site monomer) มีหลายเกรดขึ้นกับชนิดของอะไครเลตที่ใช้ในการสังเคราะห์ สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้สูงเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อ เติมสารเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ยางชนิดนี้ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน โอโซน และความร้อนได้เป็นอย่างดี ทนต่อน้ำมันส่วนใหญ่ได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ทนต่อน้ำและสารเคมีต่างๆ ยางชนิดนี้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทั้งความทนทานต่อความร้อนและ น้ำมัน โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางโอริง ปะเก็นท่อน้ำมัน วาวล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Aging or Ageing | การอบเร่งยางในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อดูการเสื่อมสภาพ หรือ การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพ และ สมบัติทางเคมีของยางอันเนื่องมาจากออกซิเจน ความร้อน และโอโซน สามารถนำไปทำนายอายุการใช้งานของยางนั้นๆ ได้ [เทคโนโลยียาง] |
Antidegradant | สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อลดอัตราเร็วในการเสื่อมสภาพของยางอัน เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ออกซิเจน ความร้อน แสงแดด และโอโซน เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Antioxidant | สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยา ของออกซิเจนในอากาศกับยาง (ที่มีพันธะคู่) หรือทำให้ไฮโดรเพอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาแตกตัวต่อไปเป็นส่วนที่ ไม่เป็นอันตรายต่อการเสื่อมสภาพของยาง ทำให้ยางมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
Epoxidised or Epoxidized natural rubber | ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์เป็นยางที่ได้จากการเติมออกซิเจนเข้าไปใน โมเลกุลของยางตรงบริเวณพันธะคู่เกิดเป็นวงแหวนอิพ็อกไซด์โดยผ่านปฏิกิริยาอิ พ็อกซิเดชัน (Epoxidation) โดยมีระดับของการเกิดอิพ็อกซิเดชันตั้งแต่ร้อยละ 10-50 ยาง ENR ที่ได้จึงมีความเป็นขั้วสูงกว่ายางธรรมชาติทั่วไป ทำให้ทนต่อความร้อนและน้ำมันได้ดีขึ้น โดยยาง ENR เกรดที่มีระดับอิพ็อกซิเดชันสูงถึงร้อยละ 50 จะมีความเป็นขั้วสูงเทียบเท่ากับยาง NBR ที่มีปริมาณอะไครโลไนไทรล์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ายาง ENR ที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจะมีสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ อีกด้วย การเตรียมยาง ENR นี้สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene diene rubber | ยาง EPDM เป็นยางสังเคราะห์ที่พัฒนามาจากยาง EPM โดยเติมมอนอเมอร์ตัวที่สาม คือ ไดอีน ลงไปเล็กน้อยในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ทำให้ยางที่ได้มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (พันธะคู่) อยู่ในสายโซ่โมเลกุล ยางชนิดนี้จึงสามารถคงรูปได้ด้วยกำมะถัน แต่ไดอีนที่เติมลงไปไม่ได้ไปแทรกอยู่ที่สายโซ่หลักของโมเลกุล ดังนั้นสายโซ่หลักก็ยังคงเหมือนเดิมหรือไม่มีผลต่อสายโซ่หลักมากนัก จึงทำให้ยาง EPDM ยังคงมีสมบัติเด่นในเรื่องการทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากความร้อน แสงแดด ออกซิเจน โอโซน สารเคมี กรด ด่างได้ดีมาก และมีความยืดหยุ่นตัวได้ดีที่อุณหภูมิต่ำเมื่อเทียบกับ ยางธรรมชาติ มักใช้ทำผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ภายนอกเนื่องจากทนต่อสภาพอากาศได้ดีและใช้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ยางขอบกระจก ยางปัดน้ำฝน ท่อยางของหม้อน้ำรถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นฉนวนหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง แผ่นยางกันน้ำ แผ่นยางมุงหลังคา [เทคโนโลยียาง] |
Ethylene propylene rubber | ยาง EPM เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากการทำปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันระหว่างมอนอเมอร์ ของเอทิลีน (ethylene) กับโพรพิลีน (propylene) มีลักษณะการจัดเรียงตัวของโมเลกุลแบบอสัณฐานและมีสมบัติเป็นยาง แต่ไม่มีส่วนที่ไม่อิ่มตัว (ไม่มีพันธะคู่) จึงทำให้มีสมบัติเด่นในเรื่องความทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากแสง แดด ออกซิเจน ความร้อน โอโซน และสารเคมี แต่ยางชนิดนี้มีข้อเสีย คือ ไม่สามารถใช้กำมะถันในการคงรูปได้ (เนื่องจากไม่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุล) ดังนั้นการทำให้ยางคงรูปจึงต้องใช้เพอร์ออกไซด์เท่านั้น การใช้งานนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานภายนอก เช่น ยางขอบประตู ยางขอบหน้าต่าง โอริง ฉนวนหุ้มสายเคเบิล เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Mastication | ขั้นตอนการบดให้ยางนิ่ม มักใช้กับยางธรรมชาติเนื่องจากยางธรรมชาติมีน้ำหนักโมเลกุลสูงมาก (ความหนืดสูงมาก) การบดยางให้นิ่มเป็นการทำให้โมเลกุลฉีกขาด น้ำหนักโมเลกุลของยางลดลง (ใช้แรงเฉือน และออกซิเจนในอากาศ) สามารถทำได้โดยการบดยางล้วนๆ หรืออาจเพิ่มประสิทธิภาพในการบดยางได้โดยการเติมเพปไทเซอร์ลงไปเล็กน้อยและ การใช้อุณหภูมิสูง ผลที่ได้ทำให้ยางนิ่มลง เมื่อผสมสารเคมีลงไปจะทำให้สารเคมีนั้นให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกับยางได้ง่าย ขึ้น ส่วนยางสังเคราะห์ที่มีการควบคุมน้ำหนักโมเลกุลตั้งแต่ขั้นตอนการสังเคราะห์ ทำให้ความหนืดเริ่มต้นไม่สูงมาก จึงไม่จำเป็นต้องนำมาบดให้นิ่มก่อน [เทคโนโลยียาง] |
Peroxide | สารเคมีที่มี –O-O- ในโมเลกุล เช่น H2O2, Na2O2, benzoyl peroxide [ (C6H5CO)2O2 ] ออกซิเจนในเพอร์ออกไซด์มีเลขออกซิเดชัน -1 ทำให้เพอร์ออกไซด์โดยทั่วไปไม่เสถียร เมื่อให้ความร้อนจะสลายตัวให้อนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงของโมเลกุลขึ้นได้ด้วยพันธะคาร์บอน-คาร์บอน นิยมใช้เพอร์ออกไซด์เป็นสารทำให้ยางคงรูปในยางที่ไม่มีพันธะคู่ เช่น EPM, EVA, CPE, Q หรือยางที่มีปริมาณพันธะคู่ในโมเลกุลต่ำมากเท่านั้น เช่น HNBR, EPDM [เทคโนโลยียาง] |
Polyurethane rubber | ยางพอลิยูรีเทนได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างหมู่ไอโซไซยาเนต (isocyanate, -N-C=O) และหมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl, -OH) เกิดเป็นพันธะยูรีเทน (-NH-CO-O-) ขึ้น ถ้าหมู่ R ในพอลิออลเป็นพอลิเอสเทอร์ จะเรียกว่า พอลิเอสเทอร์ยูรีเทน (AU) และถ้าหมู่ R เป็นพอลิอีเทอร์ จะเรียกว่า พอลิอีเทอร์ยูรีเทน (EU) สมบัติทั่วไปของยางพอลิยูรีเทน คือ มีความทนต่อแรงดึง ความทนต่อการฉีกขาด ความแข็ง ความต้านทานต่อการขัดถู รวมทั้งมีความทนทานต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ออกซิเจน ความร้อน และโอโซนดีมาก แต่จะเสื่อมสภาพได้ง่ายถ้าใช้งานในที่ร้อนชื้นหรือในสภาวะที่ต้องสัมผัสกับ น้ำร้อน ไอน้ำ กรด หรือด่าง (เกิดการไฮโดรไลซิส) สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ท่อยาง ข้อต่อยาง ปลอกหุ้มสายเคเบิล สายพานลำเลียง ล้อสเก็ต ยางพื้นรองเท้า ยางซีล ปะเก็น เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Aeration | การพ่นอากาศลงไป, ฟองอากาศ, การให้ออกซิเจน, อากาศที่มีออกซิเจน [การแพทย์] |
Aerobe | แบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจน, ต้องการออกซิเจน, ที่มีออกซิเจน [การแพทย์] |
aerate | (แอ' เรท) vt. เผยให้ปรากฎในอากาศ, ทำให้โล่ง, อัดอากาศเข้า, ให้ออกซิเจน. |
aerobe | (แอ' โรบ) n. สิ่งมีชีวิต (โดยเฉพาะแบคทีเรีย) ที่ต้องอาศัยออกซิเจนในการดำรงชีพ |
aerobic | (แอโร' บิค) adj. ซึ่งต้องการอากาศหรือออกซิเจนในการดำรงชีพ |
anaerobe | (แอนแอ' โรบ , แอน' นะโรบ) n. สิ่งมีชีวิต (โดยเฉพาะแบคทีเรีย) ที่ไม่ต้องการอากาศหรือออกซิเจนในการหายใจ (not requiring air) |
anaerobic | (แอนแอโร' บิค) adj. ซึ่งดำรงชีพได้โดยปราศจากอากาศหรือออกซิเจน |
blackdamp | n. เหมืองที่ขาดอากาศออกซิเจน, Syn. chokedamp |
chokedamp | n. บรรยากาศในเหมืองซึ่งมีปริมาณแก๊สออกซิเจนน้อย แต่มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูง |
cyanosis | (ไซ'อะโนซิส) n. ภาวะผิวหนังเป็นสีเขียว (น้ำเงิน) เนื่องจากการขาดออกซิเจน |
hypoxemia | ภาวะเลือดขาดออกซิเจน |
mitochondria | เป็นแหล่งสร้างพลังงานของอเซลล์มีโครงสร้างเป็นรูปยาวรีประกอบด้วยผนัง 2 ชั้นคล้ายเซลล์ภายในมีเอนไซม์ที่จำเป็นต่อขบวนการสันดาบ โดยนำสารอาหารมาทำปฏิกริยากับออกซิเจน ได้เป็นพลังซึ่งเก็บสะสมไว้ในรูปพลังงานสูง (ATB) ซึ่งจะถูกใช้ไปในการทำงานของเซลล์ |
oxide | (ออค'ไซดฺ) n. สารประกอบออกซิเจนกับธาตุอื่นหรือกลุ่มของธาตุ, See also: oxidic adj. |
oxidise | (ออค'ซิไดซ) vt. เปลี่ยนธาตุให้เป็นoxide, รวมตัวกับออกซิเจน |
oxidize | (ออค'ซิไดซ) vt. เปลี่ยนธาตุให้เป็นoxide, รวมตัวกับออกซิเจน |
oxygen | (ออค'ซิเจน) n. ธาตุออกซิเจน |
pump | (พัมพฺ) n. เครื่องสูบ, เครื่องสูบลม, โรงสูบ, การสูบ, การชักขึ้นชักลง -v. สูบ, ใช้เครื่องสูบ, ชักขึ้นชักลง, สูบลม, สูบน้ำ, อัดออกซิเจนเข้าในปอด, ซักไซ้ไล่เลียง, สอบถาม, ล้วงเอาความลับ., See also: pumper n., Syn. interrogate, probe |
reduction | (รีดัค'เชิน) n. การลดลง, การย่อ, การทำให้หด, การทด, การทอน, การทำให้เจือจาง, การเอาออกซิเจนออกจากออกไซด์, การเพิ่มไฮโดรเจนแก่สาร, การได้อิเล็กตรอนของสาร, การลดวาเลนซีของธาตุที่มีประจุบวกในสารประกอบ, See also: reductional adj. -S... |