เก็บดอกไม้ร่วมต้น | ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เด็ดดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า. |
แก้ว ๒ | น. ชื่อนกปากขอหลายชนิด ในวงศ์ Psittacidae ปากสีแดงหรือเหลือง จะงอยปากบนงอโค้งเป็นขอปลายแหลมขยับไปมาและขึ้นลงได้ จะงอยปากล่างขยับไปข้างหน้าและถอยมาข้างหลังได้ หัวค่อนข้างโต ลำตัวป้อม สีส่วนใหญ่ของลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง อยู่ร่วมกันเป็นฝูง กินเมล็ดพืชและผลไม้ ในประเทศไทยมี ๗ ชนิด แต่ที่เรียกว่านกแก้วมี ๒ ชนิด ได้แก่ แก้วโม่ง [ Psittacula eupatria (Linn.) ] ซึ่งเป็นนกแก้วขนาดใหญ่ที่สุดของไทย และแก้วหัวแพร ( P. roseata Biswas) . |
ครัว ๑ | (คฺรัว) น. โรง เรือน หรือห้องสำหรับทำกับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่กินอยู่ร่วมครอบครัวเดียวกัน ว่า ครัว หรือ ครัวเรือน. |
คลุกคลีตีโมง | ก. มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา. |
คู่ครอง | น. หญิงและชายที่อยู่ร่วมกันฉันผัวเมีย |
คู่เคียงเรียงหมอน | น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เรียงเคียงหมอน ก็ว่า. |
คู่เรียงเคียงหมอน | น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เคียงเรียงหมอน ก็ว่า. |
คู่เวรคู่กรรม | น. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมาแต่ชาติก่อน. |
คู่สร้าง, คู่สร้างคู่สม | น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, เนื้อคู่ ก็ว่า. |
เด็ดดอกไม้ร่วมต้น | ก. เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า. |
นานาสังวาส | น. “การอยู่ร่วมต่างกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลไม่เสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันไม่ได้. |
เนื้อคู่ | น. ชายหญิงที่ถือกันว่าเคยอยู่ร่วมกันมาแต่ปางก่อน, ชายหญิงที่สมเป็นคู่ครองกัน, คู่สร้าง หรือ คู่สร้างคู่สม ก็ว่า. |
บุพเพสันนิวาส | (บุบเพ-) น. การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน, การเป็นเนื้อคู่กัน. |
ปลาข้องเดียวกัน | น. คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน. |
พวง ๑ | น. กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่อยู่ร่วมขั้วเดียวกันหรือผูกมัดไว้รวมกัน เช่น พวงองุ่น พวงดอกไม้ พวงลูกโป่ง |
มุม | น. จุดที่เส้น ๒ เส้นมาบรรจบกัน เช่น เดินชนมุมโต๊ะ, เนื้อที่ตรงด้านยาวกับด้านสกัดมาบรรจบกัน เช่น วางตู้ไว้ที่มุมห้อง, ที่ว่างซึ่งเกิดจากเส้นตรง ๒ เส้น แยกออกจากกัน โดยปลายข้างหนึ่งของแต่ละเส้นอยู่ร่วมจุดเดียวกัน เช่น มุมฉาก มุมแหลม, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถูกต้อนเข้ามุม จนมุม. |
แยก | ก. ทำให้สิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่ออกจากกัน เช่น แยกกลุ่มประชุม แยกกล้วยไม้ แยกธาตุ, ทำให้อยู่เป็นพวก ๆ เช่น แยกนักเรียนชายออกจากนักเรียนหญิง, ทำให้ห่างจากกัน เช่น กรรมการแยกนักมวย ๒ ฝ่ายออกจากกัน, กิริยาของสิ่งที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แตกออกจากกัน เช่น แผ่นดินแยก, แตกหรือทำให้แตกออกเป็นทาง เช่น แม่นํ้าแยก ทางแยก, ไม่ไปด้วยกัน เช่น แยกกันตรงนี้, ไม่อยู่ร่วมกัน เช่น แยกกันอยู่ แยกกันไป. |
รา ๒ | น. ชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีคลอโรฟิลล์ ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ แพร่พันธุ์โดยสปอร์ อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ร่วมกับพืชอื่นก็มี. |
สบสังวาส | ว. อยู่ร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ที่มีศีลเสมอกันร่วมทำสังฆกรรมด้วยกันได้ เรียกว่า สงฆ์สบสังวาส. |
สมพาส | (-พาด) น. การอยู่ร่วม, การร่วมประเวณี. |
สมานสังวาส | (สะมานะ-) น. “การอยู่ร่วมเสมอกัน”, การที่พระสงฆ์มีศีลเสมอกัน ทำอุโบสถหรือสังฆกรรมร่วมกันได้. |
สังโยค | น. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด |
สังวาส | น. การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน |
สันติ | น. ความสงบ เช่น อยู่ร่วมกันโดยสันติ. |
สันนิวาส | การอยู่ด้วยกัน, การอยู่ร่วมกัน. |
สู่ | ก. มาอยู่ร่วมชายคาเดียวกัน เช่น ข้าคนท่านหนีมาสู่หาตนมาฃอนอนก็ดี (สามดวง) |
สู่สม | ก. อยู่ร่วมกันเสมือนผัวเมีย, อยู่ร่วมกันอย่างผัวเมีย, เขียนเป็น สู่สํ ก็มี เช่น ดินฤขัดเจ้าหล้า สู่สํสองสํ (กำสรวล). |
Radioecology | นิเวศวิทยารังสี, การศึกษาผลกระทบของสารกัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นต่อระบบนิเวศ สารกัมมันตรังสีอาจมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและสมบัติทางเคมีของตัวมันเอง และมีวัฏจักรการเคลื่อนย้ายในระบบนิเวศภายในกลุ่มหรือระหว่างกลุ่มของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต (หิน ดิน น้ำ และอากาศ) ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ กัน เข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต ส่งผลกระทบทางชีววิทยาและการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ [นิวเคลียร์] |
Coexistence | การอยู่ร่วมกัน, Example: การอยู่ร่วมกันของกลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ หรือในประเทศก่อนแล้ว กับประชากรกลุ่มที่ย้ายถิ่นเข้าไปอยู่ ถ้ามีการขจัดความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มเพื่อให้รวมเข้าด้วยกัน ได้เรียกว่า เป็นการรวมเข้าด้วยกัน (integration) ในทางตรงข้ามการแบ่งแยกระหว่างประชากรสองกลุ่มในการอยู่ร่วมกันเรียกว่า การ แบ่งแยก (segregation) [สิ่งแวดล้อม] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Coexistence | การอยู่ร่วมกัน [การแพทย์] |
Compatibility | การอยู่ร่วมกันได้, เข้ากันได้ [การแพทย์] |
Contacts and Suspected Case | ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วย [การแพทย์] |
การปรับตัว | การปรับตัว, การกระทำหรือจัดการให้สามารถอยู่ในสมดุลย์ตนเอง หรือคงอยู่ในสังคมรอบข้าง หรืออยู่รอดในสภาวะแวดล้อม หรืออยู่ร่วมกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง ถือเป็นความเป็นจริงของชีวิต ไม่ว่าทั้งสี่สิ่งจะมีสถานการณ์ที่ปรารถนาหรือทำให้ลำบากใจ อันเป็นไปเพื่อสนองตอบความต้อง [สุขภาพจิต] |
Netiquette | จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต, Example: จรรยามารยาทของการอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ต เป็นคำที่มาจากคำเต็มว่า "Network Etiquette" [คอมพิวเตอร์] |
community | กลุ่มสิ่งมีชีวิต, สิ่งมีชีวิตตั้งแต่ 2 ชนิด (สปีชีส์) ขึ้นไปอาศัยอยู่ร่วมกัน และมีความสัมพันธ์กัน เช่น ปลากับพืชในน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
parasitism | ภาวะปรสิต, สภาพความสัมพันธ์แบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันนั้น เช่น พยาธิใบไม้ในตับวัว พยาธิปากขอในลำไส้คน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
mutualism | ภาวะพึ่งพากัน, สภาพความสัมพันธ์แบบหนึ่งของการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์จากการดำรงชีวิตร่วมกัน ถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่สามารถจะดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไลเคน ซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันของสาหร่ายและรา เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
commensalism | ภาวะอิงอาศัย, ความสัมพันธ์แบบหนึ่งของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันโดยที่ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์จากการอยู่ร่วมกันนั้นและอีกฝ่ายหนึ่งไม่เสียประโยชน์แต่อย่างใด เช่น กล้วยไม้ที่เกาะบนต้นไม้ใหญ่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ionic bond | พันธะไอออนิก, พันธะที่ยึดเหนี่ยวอะตอมของธาตุให้อยู่ร่วมกัน โดยที่อะตอมของธาตุหนึ่งให้อิเล็กตรอนและอะตอมของอีกธาตุหนึ่งรับอิเล็กตรอน แล้วเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
lichen | ไลเคน, สิ่งมีชีวิตสองชนิด ประกอบด้วยสาหร่ายและราอยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์แบบภาวะที่ต้องพึ่งพา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
covalent bond | พันธะโคเวเลนซ์, พันธะที่ยึดเหนี่ยวอะตอมของธาตุให้อยู่ร่วมกัน โดยที่อะตอมคู่สร้างพันธะให้และใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแล้วเกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนซ์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
absent without leave | (idm) ขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต, See also: ปลดประจำการโดยไม่ขออนุญาต ทางทหาร, ไม่ได้อยู่ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาต |
AWOL | (idm) ขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต (คำย่อจาก absent without leave), See also: ปลดประจำการโดยไม่ขออนุญาต ทางทหาร, ไม่ได้อยู่ร่วมโดยไม่ได้รับอนุญาต |
break up | (phrv) เลิกกัน, See also: แยกทางกัน, ไม่อยู่ร่วมกัน, Syn. bust up, split up |
coexist | (vi) อยู่ด้วยกัน, See also: อยู่ร่วมกัน, อยู่ในสมัยเดียวกัน, Syn. exist together, exist side-by-side, synchronize |
coexist | (vi) อยู่ร่วมกันอย่างสงบ |
commune | (n) คนที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคมเดียวกัน |
coexist with | (phrv) อยู่ร่วมกันอย่างสงบ (โดยเฉพาะกับผู้มีความคิดแตกต่างกันทางการเมือง) |
extended family | (n) ครอบครัวขยาย, See also: ครอบครัวใหญ่ ที่มีพ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติๆ อยู่ร่วมกัน |
keep together | (phrv) รวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียว, See also: ร่วมกัน, อยู่ร่วมกัน, Syn. stick together |
live together | (phrv) อาศัยอยู่ด้วยกัน, See also: มีชีวิตอยู่ร่วมกัน, อาศัยอยู่ร่วมกัน, Syn. live with |
live with | (phrv) อาศัยอยู่ด้วยกัน, See also: มีชีวิตอยู่ร่วมกัน, อาศัยอยู่ร่วมกัน, Syn. live together |
remain together | (phrv) ยังอยู่ร่วมกัน, See also: อยู่ด้วยกัน เวลาหรือสถานที่เดียวกัน, Syn. keep together, stay together |
social | (adj) เกี่ยวกับสังคม, See also: เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน, Syn. communal, collective, public, group |
see of | (phrv) อยู่ร่วมกับ |
shack up | (phrv) อาศัยอยู่ร่วมกับ (คำไม่เป็นทางการ), See also: อยู่กับ |
sit through | (phrv) อยู่ร่วมตลอด, See also: อยู่จนจบ, ชมจนจบ, Syn. hear through, see through, sit out |
stay to | (phrv) อยู่ร่วมรับประทานอาหาร, Syn. stay for, stop for, stop to |
stay together | (phrv) อยู่ร่วมกัน, See also: อยู่ด้วยกัน, Syn. keep together, remain together |
stop for | (phrv) ยังอยู่ร่วมทานอาหาร, Syn. stay for, stay to, stop to |
together | (adv) อยู่ร่วมกัน (คำไม่เป็นทางการ), See also: แต่งงานกัน |
unite with | (phrv) นำมารวมกับ, See also: รวมกับ, นำมาอยู่ร่วมกับ, Syn. reunite with |
a mensa et thoro | (เอเมน' ซะ เอทโธ' โร) เกี่ยวกับการหย่าร้างที่ไม่ให้สามี และภรรยาอยู่ร่วมกันและพันธะการสมรสยังไม่ขาดจากกัน |
association | (อะโซชีเอ'เชิน) n. สมาคม, บริษัท, การร่วมกัน, ความสัมพันธ์, สันนิบาตพันธมิตร, สหภาพ, การเชื่อมติดกัน, ความคิดเห็นร่วมกัน, กลุ่มของพืชที่อยู่ร่วมกัน, เกมฟุตบอล, การสังสรรค์, Syn. fellowship, organization, link |
attendant | (อะเทน'เดินท) n. ผู้ดูแล, ผู้รับใช้, ผู้ปรนนิบัติ, ผู้เข้าร่วมประชุม, สิ่งประกอบ. -adj. ซึ่งอยู่ร่วมด้วย, เกี่ยวข้อง, ดูแลรักษา (servant) |
chum | (ชัม) { chummed, chumming, chums } n. เพื่อนสนิท, เพื่อนที่นอนในห้องเดียวกัน vi. อยู่ร่วมห้องเดียวกัน, สนิทสนม |
coexist | vt. อยู่ร่วมกัน, See also: coexistent adj. ดูcoexist coexistence n. ดูcoexist |
cohabit | vi. อยู่กินด้วยกันอย่างสามีภรรยา, อยู่ร่วมกัน, อยู่ในที่เดียวกัน., See also: cohabitant n. ดูcohabit cohabitation n. ดูcohabit |
concomitance | (คันคอม'มิเทินซฺ) n. การอยู่ร่วมกัน, การเกิดขึ้นพร้อมกัน, การมาพร้อมกัน. n. คุณลักษณะหรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือมาพร้อมกัน, Syn. concurrence, attendance |
unionism | (ยู'เนียนนิสซึม) n. หลักการของสหภาพกรรมกร, ลัทธิอยู่ร่วมกัน, ลัทธิรวมกัน |