ม่อห้อม, ม่อฮ่อม | ดู หม้อห้อม. |
หม้อห้อม | น. เรียกเสื้อคอกลม แขนสั้นผ่าอกตลอด มักย้อมสีนํ้าเงินเข้มหรือดำ ว่า เสื้อหม้อห้อม, เขียนเป็น ม่อห้อม หรือ ม่อฮ่อม ก็มี. |
ห้อม ๑ | ก. แวดล้อม ในคำว่า แห่ห้อม |
ห้อม ๑ | ระวังรักษา เช่น คนผู้ดังนี้ คือว่าพระราชภักดีจักช่อยห้อมบ้านห้อมเมือง (จารึกหลักที่ ๓๘ ประชุมพงศ. ภาค ๓). |
ห้อมล้อม | ก. โอบล้อม, แวดล้อม, เช่น ฝูงชนห้อมล้อมดาราภาพยนตร์ชื่อดัง. |
ห้อม ๒, ห้อมเมือง | น. ต้นคราม. [ ดู คราม ๓ (๒) ]. |
แห่ห้อม | ก. แวดล้อมไป. |
กลุ้มรุม | ก. ประดังห้อมล้อมเข้ามา. |
คราม ๓ | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze ในวงศ์ Acanthaceae ใบใช้ทำสีนํ้าเงิน ใช้ย้อมผ้า, พายัพเรียก ห้อม หรือ ห้อมเมือง, เขียนเป็น ฮ่อม หรือ ฮ่อมเมือง ก็มี. |
ฉะ ๑ | คำใช้แทนกริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คำห้อมล้อม เช่น ฉะปาก หมายความว่า ต่อยปาก, ฉะข้าว หมายความว่า กินข้าว. |
ติดหน้าตามหลัง | ก. ห้อมล้อมติดตามไป. |
นิทร | (นิด) ก. นิทรา, นอน, เช่น จักจรมาดลกุฎี กลับมอบศรีเสวตฉัตรไชยห้อมแห่งไคลครนิทร (ม. คำหลวง สักรบรรพ). |
บริพาร | (บอริพาน) น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. |
เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น | น. เวลารวยคนมาห้อมล้อม ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี. |
ระหอบ | ก. ห้อม, ล้อม. |
รุม ๑ | ก. อาการที่คนหลายคนหรือสัตว์หลายตัวรวมกันเข้ามาทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้หนึ่งหรือสิ่งหนึ่งอย่างไม่มีระเบียบ เช่น รุมตี รุมด่า แมลงวันรุมตอมเมล็ดทุเรียน, ประดังห้อมล้อมเข้ามา เช่น กลุ้มรุม รุมกันเข้าไปซื้อของ, ประดังกันเข้ามา เช่น โดนโรครุมเสียแย่ |
รุมล้อม | ก. ออเข้ามา, รุมเข้ามาห้อมล้อม, เช่น นักข่าวรุมล้อมนายกรัฐมนตรี. |
วัง ๑ | ก. ล้อม, ห้อมล้อม. |
แวดล้อม | ห้อมล้อม เช่น มีบริวารแวดล้อม พอร้องเพลงจบก็มีคนมาแวดล้อมขอลายเซ็น. |
แวดล้อม | ว. ที่ห้อมล้อม, ที่อยู่โดยรอบ, เช่น สิ่งแวดล้อม ภาวะแวดล้อม. |
แห่แหน | (-แหนฺ) ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหนพระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน |
อมพระมาพูด | ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ. |