ตกปลอก | ก. สวมปลอกที่ข้อตีนคู่หน้าของช้าง เพื่อล่ามไว้ไม่ให้ไปหากินไกลหลังจากที่ใช้งานแล้ว. |
ตาสว่าง | โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขาตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. |
เทววาจิกสรณคมน์ | (ทะเววาจิกะสะระนะคม) น. การเปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์ เป็นสรณคมน์ที่ตปุสสะและภัลลิกะกล่าวหลังจากที่ได้ถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผงแด่พระพุทธเจ้าในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากตรัสรู้. |
บทเฉพาะกาล | น. บทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับผลกระทบของการใช้บังคับกฎหมายใหม่ที่มีต่อกรณีที่เกิดขึ้นก่อนกฎหมายใหม่ใช้บังคับ หรือวิธีดำเนินการกับกรณีข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหรือในวันใช้บังคับกฎหมายใหม่ หรือที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่กำหนดภายหลังจากที่กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว. |
พรายน้ำ | น. แสงเรืองในที่มืด ปรากฏที่ตัวเลขหน้าปัดนาฬิกาหรือที่สวิตช์ไฟฟ้าบางชนิด เกิดขึ้นได้เพราะสิ่งเหล่านั้นฉาบหรือผสมด้วยสารเคมีที่มีสมบัติเปล่งแสงเรืองออกมาได้หลังจากที่ถูกแสงสว่างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สารเคมีประเภทนี้ เช่น แคลเซียมซัลไฟด์ (CaS) แบเรียมซัลไฟด์ (BaS) ที่มีโลหะบางชนิดเจือปน. |
ลูกขุน ณ ศาลหลวง, ลูกขุนศาลหลวง | น. คณะผู้พิพากษามีหน้าที่ตัดสินคดี โดยชี้ขาดข้อกฎหมาย หลังจากที่ตระลาการพิจารณาคดีชี้ขาดข้อเท็จจริงแล้ว, บางทีเขียนเป็น ลูกขุน ณ สานหลวง หรือ ลูกขุน ณ สารหลวง ก็มี. |
อนุมูลกรด | น. ส่วนหนึ่งของโมเลกุลของกรดที่ปรากฏอยู่หลังจากที่ไฮโดรเจนไอออนแยกตัวออกไปแล้ว เช่น อนุมูลกรดคาร์บอเนต (-CO3) อนุมูลกรดไฮโดรเจนซัลเฟต (-HSO4). |
ออกลาย | ก. เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทำดีมาแล้ว. |
ถวายพระพรลา | กระทำภายหลังจากที่พระสงฆ์สวดบท ภวตุ สพฺพมงฺคลํ เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์รูปที่ ๒ จะต้องเป็นผู้กล่าวถวายพระพรลา ซึ่งมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ "ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ เวลานี้สมควรแล้ว อาตมภาพทั้งปวง ขอถวายพระพรลา แด่สมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอถวายพระพร" [ศัพท์พระราชพิธี] |
Wellhead Pressure | ความดันของของไหลที่ปากหลุมหลังจากที่มีการปิดหลุม, Example: การปิดหลุม (Shut-in) ในระยะเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ระดับความดันที่ปากหลุมจะอ่านได้จากเครื่องวัด (gauge) ที่ wellhead [ปิโตรเลี่ยม] |
Enhanced Oil Recovery | วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติ, วิธีการที่ช่วยในการผลิตน้ำมันขึ้นมาจากหลุมหลังจากที่ได้มีการผลิตตามธรรมชาติแล้ว ได้แก่ การผลิตขั้นทุติยภูมิ และ การผลิตขั้นตติยภูมิ (ดูคำ Secondary Recovery และ Tertiary Recovery) [ปิโตรเลี่ยม] |
Radiation safety | ความปลอดภัยจากรังสี, การป้องกันหรือลดอุบัติเหตุต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากต้นกำเนิดรังสี หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น โดยมีมาตรการบรรเทาผลแก่ผู้ปฏิบัติงานทางรังสี ประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายหลังจากที่เกิดเหตุขึ้น, Example: [นิวเคลียร์] |
accession | ภาคยานุวัติ หมายถึง การให้ความยินยอมที่จะผูกพันตามสนธิสัญญาภายหลังจากที่มีการลงนามในสนธิ สัญญาไปแล้ว [การทูต] |
Condolences | เมื่อใดที่ประมุขของรัฐผู้รับ หรือบุคคลในครอบครัวของประมุขนั้นถึงแก่กรรม เป็นธรรมเนียมที่ผู้แทนทางการทูตซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ประจำอยู่ในรัฐนั้น หลังจากที่ได้รายงานให้กระทรวงการต่างประเทศของผู้แทนทางการทูตนั้นก่อนทาง โทรเลขหรือโทรสารจะไปเยี่ยมหรือพบกับเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมของรัฐนั้นเพื่อ แสดงความเสียใจในนามของประมุขของรัฐของตน โดยมิต้องรอรับคำสั่งเป็นพิเศษจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนตามปกติ โทรเลขหรือโทรสารแสดงความเสียใจนั้นจะส่งจากประมุขของรัฐ ไปยังบุคคลที่เหมาะสมในครอบครัวที่ประสบความทุกข์โศกนั้นโดยตรง [การทูต] |
Consular office Declared ?Non grata? | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลจะถูกประกาศว่าไม่พึงปรารถนา หรือไม่พึงโปรดได้ ดังข้อ 23 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติไว้ด้วยข้อความดังนี้?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ว่าพนักงานฝ่ายกงสุลเป็น บุคคลที่ไม่พึงโปรด หรือบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีนั้นรัฐผู้ส่งจะเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นต่อสถานที่ทำการทางกงสุล แล้วแต่กรณี2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธหรือไม่นำพาภายในเวลาอันสมควรที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของ ตนตามวรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับอาจเพิกถอนอนุมัติบัตรจากบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น หรือเลิกถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลก็ได้ แล้วแต่กรณี3. รัฐผู้รับอาจประกาศว่า บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล เป็นผู้ที่ไม่อาจยอมรับได้ ก่อนที่บุคคลนั้นจะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับ หรืออยู่ในรัฐผู้รับแล้ว แต่ก่อนเข้ารับหน้าของตนต่อสถานที่ทำการทางกงสุลก็ได้ ในกรณีใด ๆ เช่นว่านั้น รัฐผู้ส่งจะเพิกถอนการแต่งตั้งบุคคลนั้น4. ในกรณีที่ได้บ่งไว้ในวรรค 1 และ 3 ของข้อนี้ รัฐผู้รับไม่มีพันธะที่จะต้องให้เหตุผลในการวินิจฉัยของตนแก่รัฐผู้ส่ง?การ ที่รัฐผู้รับปฏิเสธที่จะออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตรหลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วนั้น เป็นสิทธิของรัฐผู้รับอันจะถูกโต้แย้งมิได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาก็คือ รัฐผู้รับมีพันธะที่จะต้องอธิบายเหตุผลอย่างใดหรือไม่ ในการที่ปฏิเสธไม่ยอมออกอนุมัติบัตร หรือเพิกถอนอนุมัติบัตร หลังจากที่ได้ออกให้ไปแล้วข้อนี้ น้ำหนักของผู้ทรงอำนาจหน้าที่ดูแลจะเห็นคล้อยตามทรรศนะที่ว่า รัฐผู้รับไม่จำเป็นต้องแสดงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้นในการกระทำดังกล่าวเหตุผลของการไม่ยอมออกอนุมัติบัตรให้นั้นคือว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วย หรือไปแสดงสุนทรพจน์อันมีข้อความเป็นที่เสื่อมเสียแก่รัฐผู้รับ หรือเคยมีส่วนร่วมในการก่อการกบฏต่อรัฐผู้รับหรือเข้าไปแทรกแซงกิจการการ เมืองภายในของรัฐผู้รับ เป็นต้น [การทูต] |
Convention on Cluster Munitions | อนุสัญญาว่าด้วยระเบิดพวง มีสาระสำคัญคือ การห้ามใช้ สะสม ผลิตและโอนรวมทั้งต้องทำลายระเบิดพวง โดยมีการยกเว้นระเบิดพวงบางประเภทที่มีความแม่นยำต่อเป้าหมายและมีอัตรา ความเสี่ยงต่ำ โดยเปิดให้ลงนามอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์เป็นต้นไป และจะมีผลบังคับใช้วันแรก ของเดือนที่หกหลังจากที่ 30 ประเทศ ได้ให้สัตยาบัน [การทูต] |
Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
Multiple Representation | คือการเป็นตัวแทนประจำประเทศต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามหลักทั่วไป รัฐหนึ่งจะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งให้ไปประจำเพียงรัฐเดียวในตำแหน่งเอกอัคร ราชทูต แต่มาในทุกวันนี้ เนื่องจากงบประมาณของประเทศมีจำกัด จึงเป็นธรรมเนียมแพร่หลายที่จะตั้งให้เอกอัครราชทูตคนเดียวไปประจำปลาย ประเทศได้ในเวลาเดียวกัน ยกเว้นแต่ว่ารัฐผู้รับหนึ่งใดจะแสดงการคัดค้านอย่างแจ้งชัดเอกอัครราชทูตคน เดียวกัน ซึ่งไปประจำอยู่หลายประเทศนั้น จะมีถิ่นพำนักถาวร (Permanent Residence) อยู่ในนครหลวงของเพียงประเทศหนึ่ง ส่วนในประเทศที่เหลือที่เขาเป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ด้วยนั้น เขาไปพำนักอยู่เพียงระยะเวลาจำกัดเป็นพัก ๆ รัฐผู้ส่งจะมีคณะผู้แทนทางการทูตของตนไปประจำ ณ นครหลวงของแต่ละประเทศเหล่านั้น ตัวหัวหน้าคณะแต่ละแห่งจะมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Charge d? Affaires ad interim)เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 5 ดังนี้ ?1. หลังจากที่ได้บอกกล่าวแก่รัฐผู้รับที่เกี่ยวข้องตามสมควรแล้ว นอกจากจะมีการคัดค้านอย่างชัดแจ้งโดยรัฐผู้รับรัฐใดรัฐหนึ่ง รัฐผู้ส่งอาจแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทน หรือแต่งตั้งบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตแล้วแต่กรณี ไปยังมากกว่ารัฐหนึ่งก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งแต่งตั้งหัวหน้าคณะผู้แทนไปยังรัฐอื่นหนึ่งรัฐหรือมากกว่านั้น รัฐผู้ส่งอาจสถาปนาคณะผู้แทนทางการทูตโดยมีอุปทูตชั่วคราวเป็นหัวหน้าในแต่ ละรัฐที่หัวหน้าคณะผู้แทนไม่มีที่นั่งทำงานของตนเป็นประจำก็ได้ 3. หัวหน้าคณะผู้แทน หรือบุคคลใดในคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายการทูตของคณะผู้แทน อาจกระทำการในฐานะเป็นผู้แทนของรัฐผู้ส่งในองค์การระหว่างประเทศใดก็ได้" [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] |
Persona non grata | เป็นศัพท์ที่ใช้กับนักการทูตหรือผู้แทนทางการทูต ที่ประจำอยู่ในประเทศซึ่งรัฐบาลของประเทศนั้นไม่ปรารถนาให้อยู่ต่อไปอีกแล้ว หลังจากที่ได้ไปประจำทำงานในตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้น หรือก่อนหน้าที่นักการทูตผู้นั้นจะเดินทางไปถึงดินแดนของประเทศผู้รับ (Receiving State) นักการทูตที่ถูกประกาศเป็น persona non grata หรือ บุคคลที่ไม่พึงปรารถนานั้น เป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้ คือ กล่าวคำดูหมิ่นรัฐบาลของประเทศที่ตนไปประจำอยู่ ละเมิดกฎหมายของบ้านเมืองนั้น แทรกแซงในการเมืองภายในของเขา เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในประเทศของเขา ใช้ถ้อยคำก้าวร้าวต่อประเทศนั้น วิพากษ์ประมุขแห่งประเทศของเขากระทำการอันเป็นที่เสียหายต่อประโยชน์หรือต่อ ความมั่นคงของประเทศ และกระทำการอื่น ๆ ในทำนองนั้นตามปกติรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพที่เป็นฝ่ายเสียหายจะขอร้องให้ รัฐบาลผู้ส่ง (Sending government) เรียกตัวนักการทูตผู้กระทำผิดกลับประเทศ ซึ่งตามปกติรัฐบาลผู้ส่งมักจะปฏิบัติตาม รัฐบาลของประเทศผู้เสียหายจะแจ้งให้นักการทูตผู้นั้นทราบว่า รัฐบาลจะไม่ทำการติดต่อเกี่ยวข้องเป็นทางการกับเขาอีกต่อไป หรืออาจจะบอกให้นักการทูตผู้นั้นออกไปจากประเทศโดยไม่เกรงใจแต่อย่างใดก็ได้ เกี่ยวกับเรื่องนี้ อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติไว้ในข้อ 9 ดังต่อไปนี้ ?1. รัฐผู้รับอาจบอกกล่าวแก่รัฐผู้ส่งในเวลาใดก็ได้ และโดยมิต้องชี้แจงถึงการวินิจฉัยของตนว่า หัวหน้าคณะผู้แทนหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ไม่พึงโปรด หรือว่าบุคคลอื่นใดในคณะเจ้าหน้าที่ของคณะผู้แทนเป็นที่ไม่พึงยอมรับได้ ในกรณีใดเช่นว่านี้ ให้รัฐผู้ส่งเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นกลับ หรือเลิกการหน้าที่ของผู้นั้นกับคณะผู้แทนเสียก็ได้ตามที่เหมาะสมบุคคลอาจจะ ถูกประกาศให้เป็นผู้ไม่พึงโปรด หรือไม่พึงยอกรับได้ก่อนที่จะมาถึงอาณาเขตของรัฐผู้รับก็ได้ 2. ถ้ารัฐผู้ส่งปฏิเสธ หรือไม่นำพาภายในระยะเวลาอันสมควร ที่จะปฏิบัติตามข้อผูกพันของคนภายใต้วรรค 1 ของข้อนี้ รัฐผู้รับสามารถปฏิเสธที่จะยอมรับนับถือบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้นว่าเป็นบุคคล ในคณะผู้แทนก็ได้? [การทูต] |
State Peace and Development Council | สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของพม่าในปัจจุบัน เดิมมีชื่อว่าสภาฟื้นฟูกฎหมายและระเบียบแห่งรัฐ (SLORC - State Law and Order Restoration Council) อันเป็น กลุ่มทหารพม่าที่เข้ายึดอำนาจการปกครองในวันที่ 18 กันยายน 2531 ภายหลังจากที่ประชาชนชาวพม่าได้ออกมาเดินขบวนประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของ พรรคโครงการสังคมนิยมพม่า การเข้ายึดอำนาจรัฐในครั้งนั้นเป็นไปอย่างนองเลือดและคณะทหารดังกล่าวได้ให้ สัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้ง แต่ภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 27 พฤษภาคม 2533 SLORC กลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่พรรค National League for Democracy (NLD) และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 SLORC ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น SPDC [การทูต] |
South-South Cooperation | ความร่วมมือใต้-ใต้ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา " เป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศกำลังพัฒนา/ ด้อยพัฒนา ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายหลังจากที่ความ ช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้แก่ประเทศกำลัง พัฒนา/ด้อยพัฒนามีแนวโน้มลดลงและมีการนำเงื่อนไขอื่น ๆ มาผูกกับการให้ความช่วยเหลือมากขึ้น อาทิ ประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการระหว่างประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนานี้ จะเป็นทั้งในลักษณะของการให้ (อาทิ ทุนการศึกษา/ทุนฝึกอบรม/ทุนดูงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/วัสดุอุปกรณ์) ของประเทศใดประเทศหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว อาทิ การให้ความร่วมมือด้านทุนฝึกอบรมระยะสั้นในสาขาการเกษตรของไทยแก่ประเทศใน แอฟริกา และในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน " [การทูต] |
Distribution | การกระจายตัวเป็นขั้นตอนหนึ่งของกลไกการผสมสารตัวเติมเข้าไปในยางแห้ง จะเกิดขึ้นหลังจากที่สารตัวเติมเข้าไปในเนื้อยาง (incorporation) กล่าวคือ การไหลของยางจะทำให้สารตัวเติมที่ถูกโอบล้อมด้วยยางเกิดการกระจายตัวในเนื้อ ยาง ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของการผสม [เทคโนโลยียาง] |
Rebound resilience | การกระเด้งกระดอน หมายถึง ความสามารถในการกลับคืนสู่รูปร่างตั้งต้นได้อย่างรวดเร็วภายหลังจากที่ยาง เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างชั่วคราว [เทคโนโลยียาง] |
diastolic pressure | ความดันไดแอสโทลิก, ความดันระยะหัวใจคลายตัว, ความดันเลือดในขณะที่หัวใจคลายตัว หลังจากที่หัวใจบีบตัวเพื่อสูบฉีดโลหิตออกไปเลี้ยงร่างกายแล้ว ความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัวมีค่าน้อยกว่าความดันเลือดระยะหัวใจบีบตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
echo | เสียงสะท้อนกลับ, เสียงที่สะท้อนกลับมายังผู้พูดหรือแหล่งกำเนิดเสียงให้ได้ยินอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่เปล่งเสียงออกไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ประมาณเกินกว่า 1/10 วินาที ซึ่งนานพอที่หูจะแยกฟังเสียงเดิมและเสียงสะท้อนได้ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
after | (prep) ภายหลัง, See also: หลังจาก, หลัง, ต่อมา, หลังจากที่, ภายหลังที่ |
after | (adv) ภายหลัง, See also: หลังจาก, หลัง, ต่อมา, หลังจากที่, ภายหลังที่, Syn. later, next |
clinch | (vt) ตัดสินใจ (หลังจากที่พิจารณาอย่างมาก) |
fizzle out | (phrv) ล้มเหลว (หลังจากที่เริ่มต้นมาอย่างดี) (คำไม่เป็นทางการ), See also: จบลงด้วยการล้มเหลว |
hindsight | (n) การเข้าใจถึงปัญหาหลังจากที่เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้ว |
rear its ugly head | (idm) แสดงความไม่ดีออกมา, See also: เห็นความเลวร้ายหลังจากที่ซ่อนเร้นไว้ |
subtractive | (adj) ซึ่งเป็นสีที่เหลืออยู่หลังจากที่สีอื่นถูกดูดกลืนไปหมด (ทางฟิสิกส์) |
thaw | (n) การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลังจากที่ไม่เป็นมิตรกันมาก่อน |
whereupon | (conj) หลังจากที่, Syn. at which, upon which |
apple ii | (แอปเปิลทู) เป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรุ่นแรกที่บริษัทแอปเปิลผลิตออกมาสู่ตลาด คอมพิวเตอร์ชุดนี้ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ ในเชิงการใช้สอยอย่างมหาศาล ในวงการคอมพิวเตอร์ หลังจากที่แอปเปิล ทูออกสู่ตลาดแล้ว บริษัทแอปเปิลก็ได้ผลิตแอปเปิลทูอี (Apple IIe) และ แอปเปิล ทรี (Apple III) ตามกันออกมาอยู่ชั่วระยะหนึ่ง แล้วบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ก็ตัดสินใจหยุดผลิตชุดแอปเปิล ทรี หันมาผลิตชุดแมคอินทอช ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากในปัจจุบัน |
cold boot | เปิดเครื่องใหม่หมายถึง การเปิดสวิตช์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเริ่มใช้งานใหม่ หลังจากที่ปิดสวิตช์แล้ว ดู warm boot เปรียบเทียบ |
deselect | ยกเลิกการเลือกหมายถึง การสั่งยกเลิกคำสั่งที่ " เลือก " (select) ไว้ เช่น หากเปลี่ยนใจหลังจากที่ได้ "กำหนด" หรือ " เลือก" ไปแล้ว เช่น สั่งเลือกแฟ้มข้อมูลจำนวนหนึ่งไว้ แล้วเกิดเปลี่ยนใจ อยากจะยกเลิก ในระบบวินโดว์ จะมีปุ่ม deselect ให้เลือกกดได้เมื่อต้องการ เหมือนกด Cancel ดู select ประกอบ |
execute | (เอค'ซะคิวทฺ) vt. ปฎิบัติ, บริหาร, ประหารชีวิต, บังคับตามกฎหมาย., See also: executable adj. executer n. กระทำการหมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ลงมือกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม หลังจากที่มีการแปลโปรแกรมนั้น compile ออกเป็นภาษาเครื่อง machine language แล้วดู compile และ machine language ประกอบ |
exit | (เอค'ซิท, เอค'ซิท) n. ทางออก, ประตูฉุกเฉิน, การจากไป, การลงจากเวที, การตาย. vi. ออกไป, จากไป, ลงจากเวที, ตาย. -make one's exit ออกไป, จากไป, Syn. outlet, ออกทางออกหมายถึงคำสั่งที่ผู้ใช้โปรแกรมใช้ เมื่อต้องการหยุดหรือเลิกใช้โปรแกรมนั้นเพื่อกลับออกไปสู่ระบบปฏิบัติการ operating systems หลังจากที่ใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมต่าง ๆ ของแมคอินทอชมักจะใช้คำว่า Quit แทน ซึ่งก็มีความหมายเหมือนกัน ในระบบวินโดว์ของพีซี ทุกโปรแกรมจะมีคำสั่งนี้ไว้ให้เลือกใต้เมนู File ซึ่งเป็นคำสั่งกลับออกไปยังระบบวินโดว์นั้นเอง |
ibm xt | ไอบีเอ็ม เอ็กซ์ทีเป็นชื่อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่บริษัทไอบีเอ็มพัฒนาหลังจากที่ผลิตพีซีแล้วเป็นไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่มีฮาร์ดดิสก์ (hard disk) อยู่ในตัวเครื่องเลย (ไม่แยกออกต่างหากจากตัวเครื่องแบบแต่ก่อน) คำว่า XT ย่อมาจาก extended technology ซึ่งก็แปลว่าเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งนั่งเอง บริษัทไอบีเอ็มผลิต XT หลังจาก PC แล้วต่อไปก็ผลิต AT ดู IBM AT ประกอบ |
incremental back up | การสำรองเพิ่มขึ้นหมายถึง กระบวนการของการคัดลอกแฟ้มข้อมูล ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ หรือไม่ก็เป็นแฟ้มที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ หลังจากที่ได้คัดลอกทำสำรองไปแล้วชุดหนึ่ง |
maiden voyage | n. การเดินทางหรือเดินเรือครั้งแรกหลังจากที่สร้างเสร็จ |
ok button | ปุ่มตกลงหมายถึง ช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีตัวอักษร OK อยู่ข้างใน มักจะปรากฏให้เห็นในกรอบสนทนา (dialog box) ในระบบวินโดว์ ถ้ากดปุ่มนี้ ก็เท่ากับเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ลงมือปฏิบัติตามคำสั่งที่กำหนดไว้ในกรอบสนทนา หลังจากที่เลือกหรือกำหนดตัวเลขบางตัวตามที่ต้องการได้แล้ว ปุ่มนี้มักจะมีคู่มากับปุ่ม Cancel เพราะถ้าไม่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติ ก็กดปุ่ม Cancel แทน OK (ใช้ในแมคอินทอชด้วย) |
program window | หมายถึง วินโดว์ที่มองเห็นบนจอภาพหลังจากที่กดเมาส์สั่งเริ่มโปรแกรม ถ้าหากต้องการจะใช้โปรแกรมนั้น ต้องใช้คำสั่ง FILE...new หรือ open จะทำให้เห็นวินโดว์ใหม่เรียกว่า วินโดว์เอกสาร (document window) แล้วจึงจะเริ่มทำงานได้มีความหมายเหมือน application windowดู document window เปรียบเทียบ |
refresh rate | อัตราการทำใหม่หมายถึง อัตราความเร็วที่เครื่องสามารถจะสร้างภาพใหม่ หลังจากที่ได้รับข้อมูลเพิ่มขึ้นหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติม เมื่อมีการสร้างภาพใดภาพหนึ่งไปแล้ว หากมีการแก้ไขหรือย้าย จอภาพจะต้องสร้างภาพใหม่ทุกครั้ง ในการสร้างภาพใหม่นี้ ยิ่งทำได้เร็วเท่าใดยิ่งดี อัตราความช้า/เร็ว ของการสร้างภาพใหม่นี้ขึ้นกับคุณภาพของจอด้วย |
screen saver | โปรแกรมรักษาจอภาพหมายถึง โปรแกรมพิเศษที่จัดให้จอภาพมีภาพที่เคลื่อนไหวได้มาแทนงานที่กำลังทำ ทั้งนี้เพราะการปล่อยให้จอภาพแสดงภาพใดภาพหนึ่งนานเกินไป จอจะมีรอยไหม้ (burn in) รอยนี้จะติดอยู่ตลอดไป ลบออกไม่ได้ บางทีอาจทำให้จอมืดไปเลยก็ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อขยับเมาส์ หรือแตะที่แป้นพิมพ์แป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อความหรือภาพบนจอที่เคลื่อนไหวอยู่ ก็จะหายไป และกลับเป็นเหมือนเดิม ในระบบวินโดว์ คำสั่งกำหนดเรื่อง screen saver ว่าจะใช้ภาพใด เคลื่อนไหวช้าเร็วเพียงใดจะอยู่ในเรื่องของ " Desktop " (กดที่สัญรูป Control Panel) จะมีภาพจากระบบวินโดว์มาให้เลือกหลายภาพ เมื่อเลือกแล้ว ภาพเหล่านี้จะปรากฏบนจอเองโดยอัตโนมัติ หลังจากที่หยุดใช้เมาส์หรือกดแป้นพิมพ์ประมาณ 2-3 นาที (กำหนดเองได้) |
subsequent | (ซับ'ซะเควินทฺ) adj. ภายหลัง, ซึ่งตามมา, ต่อมา, ครั้นแล้ว, หลังจากที่, ก็., See also: subsequently adv., Syn. following |
Er kommt erst heute nach seinem Urlaub. | เขาเพิ่งจะมาวันนี้หลังจากที่หยุดพักร้อนมา, erst ใช้เสริมเหตุการณ์ที่ผู้พูดรู้สึกว่า เพิ่งเกิดขึ้น, ไม่นานมานี้ |
Ja | อืม (เป็นคำใช้เอื้อนเอ่ย หลังจากที่ทิ้งช่วงคิดไปสักพัก) เช่น Wann hast du deinen Schlüssel zum letzten Mal gesehen? - Ja, ich weiß nicht. เธอเห็นลูกกุญแจครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ - อืม ไม่รู้แฮะ |
wach | (adj) รู้สึกตัวตื่น เช่น Ich bleibe gern eine Weile weiter im Bett nachdem ich wach war. ฉันชอบอยู่บนเตียงต่ออีกเดี๋ยวหลังจากที่รู้สึกตัวตื่นแล้ว |
nachdem | (konj) |กริยาอยู่ท้ายประโยค| หลังจาก เช่น Nachdem ich mit dir telefoniert habe, arbeite ich weiter. หลังจากที่ฉันโทรศัพท์กับเธอ ฉันทำงานต่อ |
ausgehen | (vi) |geht aus, ging aus, ist ausgegangen| ดับ, ทำให้สิ้น, ยกเลิก, ยุติ เช่น Nachdem er mich viel geschumpfen hatte, ging mir die Geduld aus. หลังจากที่เขาด่าฉันซะมากมาย ความอดทนของฉันก็มลายหายไป |