กาจับหลัก ๒ | ดู กาสามปีก (๑). |
กาจับหลัก ๒ | ดู ราชดัด. |
ปักหลัก ๒ | น. ชื่อนกกระเต็นขนาดกลางชนิด Ceryle rudis (Linn.) ในวงศ์ Alcedinidae ปากใหญ่แบนข้าง แหลมตรง สีดำ ตัวสีขาวลายดำ มักเกาะตามหัวเสาหรือตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. |
ปักหลัก ๒ | ชื่อเหยี่ยวขนาดเล็กชนิด Elanus caeruleus (Desfontaines) ในวงศ์ Accipitridae อกสีขาว หลังสีเทา ช่วงไหล่สีดำ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ รวมทั้งนกขนาดเล็ก, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ขณะจ้องหาเหยื่อในน้ำหรือบนพื้นดิน จึงเรียกว่า ปักหลัก. |
หลัก ๒ | น. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗. |
กระเหลียก | (-เหฺลียก) ก. เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู (ลอ), เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา (จารึกสยาม หลัก ๒). |
ไม้สั้น | น. เครื่องต่อสู้ป้องกันตัวในการเล่นกระบี่กระบอง เป็นท่อนไม้ขนาดสั้น ๆ ปลายด้านหนึ่งมีห่วงสำหรับสอดแขนเข้าไปถึงข้อศอก ปลายอีกด้านหนึ่งมีไม้หลัก ๒ อัน อันในสำหรับมือจับ อันนอกเป็นเครื่องป้องกันในเวลาต่อสู้, ตรงข้ามกับ ไม้ยาว ซึ่งได้แก่พลองเป็นต้น. |
แสลงใจ ๒ | (สะแหฺลง-) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Strychnos nux-vomica L. ในวงศ์ Strychnaceae ผลกลม สุกสีเหลือง เมล็ดกลมแบน มีแอลคาลอยด์หลัก ๒ ชนิด คือ สตริกนิน และ บรูซีน เป็นสารพิษ, ตูมกาแดง ก็เรียก, อีสาน เรียก แสลงเบื่อ, เมล็ดแก่แห้งใช้ทำยาได้ เรียก โกฐกะกลิ้ง. |
เหยี่ยวขาว | ดู ปักหลัก ๒ (๒). |