Innovation | นวัตกรรม, นวัตกรรม หรือนวกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา หรือการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่และเหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น โดย มีหลักการที่สำคัญอยู่ 3 ประการ ที่จัดเป็นหลักพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหรือไม่ คือ <ul><li>สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่ค้นพบ หรือประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หรือการปรับปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัยมาใช้ในวงการศึกษา เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ</li><li>ได้ผ่านการทดลอง การปรับปรุงพัฒนา จนเป็นที่ยอมรับกับอย่างแพร่หลาย</li><li>ได้มีการนำมาปฏิบัติจริงในวงการนั้น</li></ul> [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Thermoluminescence dosimeter | อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับ, อุปกรณ์วัดปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับ โดยใช้หลักการเปล่งแสงของสารเมื่อได้รับความร้อน (ดู thermoluminescence ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Radiography | การถ่ายภาพรังสี, การใช้รังสีชนิดก่อไอออน เช่น รังสีเอกซ์ หรือ รังสีแกมมา ถ่ายภาพวัตถุบนแผ่นฟิล์มโดยอาศัยหลักการดูดกลืนรังสี ส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้น้อยกว่าจะปรากฏภาพเงาบนฟิล์มทึบกว่าส่วนของวัตถุที่ดูดกลืนรังสีไว้มากกว่า [นิวเคลียร์] |
Novelty | ความใหม่ สิ่งใหม่ ที่เป็นหลักการสำคัญในข้อร้องสิทธิในสิทธิบัตรการประดิษฐ์, ความใหม่ สิ่งใหม่ ที่เป็นหลักการสำคัญในข้อร้องสิทธิในสิทธิบัตรการประดิษฐ์, Example: ต้องไม่เคยปรากฏแก่สาธารณะมาก่อนไม่ว่าวิธีใด ๆ ก่อนที่ทำการยื่นขอรับสิทธิบัตรเรื่องนั้น ๆ [ทรัพย์สินทางปัญญา] |
Proportional counter | เครื่องนับรังสีแบบสัดส่วน, เครื่องวัดรังสีที่ใช้หลักการนับจำนวนสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนของไอออนที่เกิดขึ้นเมื่อมีรังสีชนิดก่อไอออนผ่านเข้าไปในหัววัดชนิดบรรจุแก๊ส [นิวเคลียร์] |
Audi alteram partem | หลักการรับฟังคู่กรณีทุกฝ่าย [TU Subject Heading] |
Foundations | หลักการ [TU Subject Heading] |
Polluter Pays Principle, PPP | หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย, พีพีพี, Example: กฎหรือหลักเกณฑ์ที่ให้ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้ออก ค่าใช้จ่ายในการลดหรือ บำบัดมลพิษที่ตนเองเป็นผู้ก่อขึ้น [สิ่งแวดล้อม] |
Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy | ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี ? เจ้าพระยา ? แม่โขง ACMECS หรือชื่อเดิม ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า และไทย (ECS : Economic Cooperation Strategy among Cambodia, Lao PDR, Myanmar and Thailand) คือ กรอบความร่วมมือระหว่าง 5 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ACMECS เป็นแนวคิดที่ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้หยิบยกขึ้นหารือกับผู้นำกัมพูชา ลาว และพม่า ในช่วงการประชุมผู้นำอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยโรค SARS เมื่อ 29 เมษายน 2546 ที่กรุงเทพฯ และได้มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วต่อเนื่องจนถึงการประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 1 ที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2546 โดยผู้นำทั้ง 4 ประเทศร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) รวมทั้งแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการ ลงทุน ความร่วมมือทางด้านเกษตรและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บนหลักการที่เน้นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและยกระดับความ เป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเปิดกว้างให้นานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศได้มีส่วนร่วมเป็น หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partner) ในโครงการต่างๆ ของ ACMECS ด้วย * เวียดนามร่วมเป็นสมาชิก ACMECS เมื่อ 10 พฤษภาคม 2547 สถานะล่าสุด ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2547 ที่จังหวัดกระบี่ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสมัยพิเศษและการประชุม รัฐมนตรี ACMECS อย่างไม่เป็นทางการ รวมทั้งการประชุมร่วมกับ Development Partners (ผู้แทนจากออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย) ซึ่งการประชุมประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง สมาชิก ACMECS ทั้ง 5 ประเทศได้ร่วมกันแสดงความเป็น เอกภาพ โดยยืนยันเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบความร่วมมือ ACMECS อย่าง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อผู้แทนของ Development Partners รวมทั้งมีการหารือถึงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการระหว่างกันอย่างเป็น รูปธรรม นอกจากนี้ ยังสามารถมีข้อสรุปที่สำคัญๆ เกี่ยวกับกลไกการประสานงานระหว่างกันซึ่งจะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมความร่วม มือของ ACMECS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป * ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับผู้นำ ACMECS ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพฯ [การทูต] |
ASEAN Finance Minister + 3 (China, Japan and the Republic of Korea) Meeting | การประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนกับผู้แทนจากจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี มีการประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542 ในช่วงการประชุม ประจำปีของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่กรุงมะนิลา และได้ ตกลงในหลักการที่จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อหารือสถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจในภูมิภาค และร่วมมือหามาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์การเงินในภูมิภาค ผลงานที่สำคัญคือ ข้อตกลงริเริ่มที่เชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) [การทูต] |
ASEAN-JAPAN SUMMIT | การประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งในหลักการจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 [การทูต] |
ASEAN Troika | กลุ่มผู้ประสานงานของอาเซียน " เป็นข้อเสนอของไทยในการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการ ณ กรุงมะนิลา เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก ผู้นำประเทศ/รัฐบาลอาเซียน เป็นกลไกเฉพาะกิจในระดับรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนสามารถแก้ไขและร่วมมือกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทันท่วงทีและใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และในเรื่องที่อาเซียนมีความห่วงกังวลร่วมกันว่ามี แนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค ทั้งนี้ กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญของอาเซียน คือ หลักฉันทามติ และการไม่แทรกแซงกิจการภายใน กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ ประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำของ อาเซียนในปัจจุบัน อดีต และอนาคต " [การทูต] |
ASEAN - China, Japan and the Republic of Korea Relationship | ความสัมพันธ์อาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธาณรัฐเกาหลี เป็นกลไกความร่วมมือใหม่ที่เริ่มมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540 ซึ่งผู้นำของ อาเซียน จีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี ได้พบกันเป็นครั้งแรกที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยในปี พ.ศ. 2542 ผู้นำอาเซียน+3 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Joint Statement on East Asia Cooperation) เป็นหลักการพื้นฐานของการเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง [การทูต] |
ASEAN Food Security Reserve Board | คณะกรรมการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงแห่งภูมิภาคอาเซียน เป็นกลไกประสานด้านการสำรองอาหารเพื่อความมั่นคงของภูมิภาค จัดตั้งขึ้นตามหลักการของปฏิญญาความสมานฉันท์แห่งอาเซียน 2514 [การทูต] |
concert of nations | ความปรองดองระหว่างชาติ หลักการและแนวคิดเรื่องความปรองดองระหว่างชาติเกิดขึ้นในยุโรป ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 ซึ่งเรียกว่า Concert of Europe หรือบางครั้งเรียกว่า Concert of Allies โดยการรวมตัวของกลุ่มรัฐพันธมิตรที่ต่อต้านการขยายอำนาจของฝรั่งเศส คือ รัสเซีย ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษ ได้รวมตัวกันเป็นระบบแห่งยุโรป (European system) หรือระบบแห่งมหาอำนาจในยุโรป ซึ่งต่อมาฝรั่งเศสและสเปนได้เข้าร่วมในระบบความปรองดองแห่งยุโรปด้วย นอกจากนี้การเกิดระบบความปรองดองแห่งยุโรปซึ่งมีระบบการประชุมคองเกรส ระหว่างชาติมหาอำนาจเป็นกลไกสำคัญนั้น ยังเป็นการแสดงถึง "มหาอำนาจแห่งปฐมลำดับ" (The powers of the first order) และยังถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการเรียกชื่อที่ระบุคำว่ามหาอำนาจ (The first expression of the idea of the Great Powers) อย่างไรก็ตาม ระบบความปรองดองแห่งยุโรปได้ล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2365 [การทูต] |
Extradition | การส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
North Atlanitc Treaty Organization | องค์การนาโต้ หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งได้ลงนามกันเมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกขณะเริ่มตั้งองค์การครั้งแรก ได้แก่ ประเทศเบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ต่อมาประเทศกรีซและตรุกีได้เข้าร่วมเป็นภาคีของสนธิสัญญาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และเยอรมนีตะวันตก ( ในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1949ในภาคอารัมภบทของสนธิสัญญา ประเทศภาคีได้ยืนยันเจตนาและความปรารถนาของตน ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติกับประเทศและรัฐบาลทั้งหลาย ที่จะปกป้องคุ้มครองเสรีภาพมรดกร่วม และอารยธรรมของประเทศสมาชิกทั้งมวล ซึ่งต่างยึดมั่นในหลักการของระบอบประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคลหลักนิติธรรม ตลอดจนจะใช้ความพยายามร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันประเทศ และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในสนธิสัญญาดังกล่าว บทบัญญัติที่สำคัญที่สุดคือข้อ 5 ซึ่งระบุว่า ประเทศภาคีสนธิสัญญาทั้งหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากประเทศภาคีหนึ่งใดหรือมากกว่านั้น ในทวีปยุโรปหรือในอเมริกาเหนือ ถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธ จักถือว่าเป็นการโจมตีต่อประเทศภาคีทั้งหมด ฉะนั้น ประเทศภาคีจึงตกลงกันว่า หากมีการโจมตีด้วยกำลังอาวุธเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง ประเทศภาคีแต่ละแห่งซึ่งจะใช้สิทธิในการป้องกันตนโดยลำพังหรือร่วมกัน อันเป็นที่รับรองตามข้อ 51 ของกฎบัตรสหประชาชาติ จะเข้าช่วยเหลือประเทศภาคีแห่งนั้นหรือหลายประเทศซึ่งถูกโจมตีด้วยกำลัง อาวุธในทันทีองค์กรสำคัญที่สุดในองค์การนาโต้เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศภาคีสนธิสัญญานาโต้ คณะมนตรีนี้จะจัดตั้งองค์กรย่อยอื่น ๆ หลายแห่ง รวมทั้งกองบัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรภาคพื้นยุโรปและภาคพื้น แอตแลนติก สำนักงานใหญ่ขององค์การนาโต้ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] |
New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] |
Political Offenses | ความผิดทางการเมือง หลักการข้อหนึ่งของการส่งตัวผู้กระทำความผิดไปให้อีก ประเทศหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดน คือ ผู้ที่กระทำผิดทางการเมืองจะถูกส่งข้ามแดนไปให้อีกประเทศหนึ่งไม่ได้เป็นอัน ขาด แต่อย่างไรก็ดี มีปัญหาในปฏิบัติคือว่า จะแยกความแตกต่างกันอย่างไรระหว่างความผิดทางการเมือง กับที่มิใช่ด้วยเหตุผลทางการเมือง นักวิชาการบางท่านนิยามความหมายของคำว่าความผิดทางการเมืองไว้ว่า คือ ความผิดฐานกบฏ (Treason) ซึ่งในกฎหมายของหลายประเทศหมายถึงการประทุษร้าย หรือพยายามประทุษร้ายต่อประมุขของประเทศ หรือช่วยฝ่ายศัตรูทำสงครามกับประเทศของตน ความผิดฐานปลุกปั่นให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ (Sedition) หรือการประกอบจารกรรม (Espionage) อันเป็นการคุกคามต่อความั่นคงหรือต่อระบบการปกครองของประเทศผู้ร้องขอ (หมายถึงประเทศที่ร้องขอให้ส่งตัวผู้กระทำผิดไปให้ในลักษณะผู้ร้ายข้ามแดน) ไม่ว่าจะกระทำโดยคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม [การทูต] |
Responsibility to protect | หลักการความรับผิดชอบในการคุ้มครอง เป็นหลักการที่ได้รับการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ เพื่อทบทวนผลของปฏิญญาสหัสวรรษ(High Level Panel Meeting - HLPM) เมื่อวันที่ 14-16 กันยายน พ.ศ. 2548 ณ นครนิวยอร์ก ที่เกี่ยวข้องกับการแทรกแซงทางมนุษยธรรม ( humanitarian interference/intervention of humanity)เพื่อคุ้มครองประชาชนจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การฆ่าล้างชนชาติ โดยจะถือเป็นความรับผิดชอบและที่จะต้องดำเนินการร่วมกันโดยประชาคมระหว่าง ประเทศ อย่างไรก็ตาม หลักการเรื่องนี้มีนัยเกี่ยวข้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ อธิปไตย ของรัฐ ความอ่อนไหวทางการเมือง และความชอบธรรมในการปฏิบัติ จึงยังไม่มีการนิยามแนวความคิด R2P รวมถึงขอบเขตของ R2P ที่ชัดเจน [การทูต] |
Security Council of the United Nations | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต อังกฤษ และสหรัฐฯ และมีสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) อีก 10 ประเทศ ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเป็นผู้เลือกตั้ง และให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งประเทศละ 2 ปี สมาชิกประเภทนี้ไม่มีสิทธิรับเลือกตั้งใหม่ในทันที และในการเลือกตั้งจะคำนึงส่วนเกื้อกูลหรือบทบาทของประเทศผู้สมัครที่มีต่อ การธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งที่มีต่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ ขององค์การสหประชาชาติด้วย ในการเลือกตั้ง จะคำนึงถึงการแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกดังนี้คือ ก. 5 ประเทศจากแอฟริกาและเอเชียข. 1 ประเทศจากยุโรปตะวันออกค. 2 ประเทศจากละตินอเมริกาง. 2 ประเทศจากยุโรปตะวันตก และประเทศอื่น ๆหน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีดังนี้1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร 6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศที่ทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสห ประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ [การทูต] |
Stalemate | ภาวะจนมุม เป็นคำที่ยืมมาจากเกมหมากรุกและใช้ในความหมายที่ว่า ตกอยู่ในสภาพชะงักงันหรือทางตัน คำนี้จะใช้กันแพร่หลายในด้านการทูต และในด้านการเจรจาระหว่างประเทศ คือ ทั้งสองฝ่ายต่างยึดมั่นในหลักการของแต่ละฝ่าย ซึ่งแตกต่างกันได้ก็ด้วยอาศัยมือที่สาม หรือประเทศที่สามเข้ามาแทรกแซงแก้ไขให้ [การทูต] |
Treaty of Amity and Cooperation | สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ " เป็นสนธิสัญญาที่จัดทำขึ้นโดยอาเซียนเมี่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อกำหนด หลักการดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค โดยมีหลักการที่สำคัญได้แก่ การเคารพในอำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียมกัน บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การแก้ไขปัญหาโดยสันติ การไม่ใช้หรือขู่ว่าจะใช้กำลัง และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งมีมาตราเกี่ยวกับแนวทางยุติความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยอาศัยกลไกคณะอัครมนตรี (High Council) ปัจจุบันประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ เป็นภาคีสนธิสัญญาฯ " [การทูต] |
Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] |
nuclear gauge | เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์ หรือนิวเคลียร์เกจ, เป็นเครื่องวัดและควบคุมที่ทำงานโดยการกระตุ้นด้วยรังสีจากต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก เครื่องวัดชนิดนี้ประกอบด้วยต้นกำเนิด และหัววัดรังสี บรรจุอยู่ในภาชนะที่แยกจากกัน หรือบรรจุอยู่ในภาชนะเดียวกัน โดยให้ลำรังสีผ่านออกมาทางช่องทางผ่าน หรืออุปกรณ์ควบคุมรังสีไปยังวัสดุที่ต้องการวัด ขณะเดียวกันหัววัดรังสีจะทำหน้าที่ตรวจวัดความเข้มของปริมาณรังสี หรือจำแนกชนิด และขนาดพลังงานของรังสี ซึ่งเป็นผลมาจากอันตรกิริยาระหว่างรังสีกับวัสดุนั้น ค่าที่วัดได้จะถูกส่งไปประมวลผลด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์ เพื่อแสดงผลการตรวจสอบที่จะใช้เป็นตัวแปรในอุปกรณ์ควบคุมกระบวนการผลิตในขั้นตอนต่อไป เครื่องวัดเชิงนิวเคลียร์นี้ มีหลักการทำงานตามลักษณะการเกิดอันตรกิริยาระหว่างรังสีกับวัสดุ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ เครื่องวัดแบบส่งผ่าน (Transmission gauge) และเครื่องวัดแบบกระตุ้นให้เกิดการแผ่รังสี (Reactive gauge) [พลังงาน] |
spallation neutron source | ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน, เป็นต้นกำเนิดนิวตรอนรุ่นใหม่ จัดเป็นเครื่องผลิตนิวตรอนพลังงานสูงชนิดหนึ่ง มีหลักการทำงานคือ เมื่อยิงโปรตรอนพลังงานสูง (มากกว่า 100 ล้าน อิเล็กตรอนโวลต์) เข้าไปในเป้าซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น แทนทาลัม ทังสเตน และยูเรเนียม จะทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบสปอลเลชั่น และมีการปลดปล่อยนิวตรอน พร้อมทั้งอนุภาคชนิดอื่นๆ เช่นโปรตรอน และเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องหลั่นกันไป (cascade) ต้นกำเนิดนิวตรอนชนิดนี้ ให้นิวตรอนพลังงานเฉลี่ยประ มาณ 1 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ จำนวนประมาณ 10-30 เท่าของการยิงโปรตรอน 1 อนุภาค นิวตรอนที่ผลิตขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัยด้านต่างๆ ต้นกำเนิดนิวตรอนแบบ สปอลเลชันเครื่องแรกมีชื่อว่า KENSตั้งอยู่ที่สถาบัน KEK (National Laboratory for High Energy Physics) ประเทศญี่ปุ่น เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี พ.ศ.2523 สำหรับต้นกำเนิดนิวตรอนแบบสปอลเลชัน ที่ให้นิวตรอนเข้มข้นสูงสุดในปัจจุบันคือ ISIS ของ Rutherford Appleton Laboratory ประเทศอังกฤษ เริ่มเดินเครื่องในปี พ.ศ. 2527 และให้นิวตรอนฟลักซ์เฉลี่ยประมาณ 1015นิวตรอน/ ตร.ซม.-วินาที และมีฟลักซ์สูงสุดมากกว่า 40 เท่าของฟลักซ์เฉลี่ย [พลังงาน] |
sterile insect technique | การควบคุมจำนวนแมลงด้วยแมลงที่เป็นหมัน, คือ วิธีการควบคุมประชากรแมลง โดยใช้แมลงชนิดเดียวกันที่เป็นหมันด้วยรังสี โดยมีหลักการคือ นำแมลงม ทำให้เป็นหมันด้วยรังสีชนิดก่อไอออน แล้วปล่อยไปในธรรมชาติ แมลงตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์กับแมลงตัวผู้ที่เป็นหมัน จะไม่สามารถขยายพันธุ์ต่อไปได้ การควบคุมแมลงวิธีนี้ จะต้องปล่อยแมลงที่เป็นหมันจำนวนมากหลายรุ่นต่อเนื่องกัน จนกว่าประชากรแมลงลดลงหรือหมดไป ข้อดีของวิธีการนี้เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการใช้ยาฆ่าแมลง คือ ไม่มีสารพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตร และไม่ทำลายแมลงที่เป็นประโยชน์ ประเทศไทยมีการใช้วิธีการนี้ควบคุมแมลงวันผลไม้ (Oriental fruit fly) ที่ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา [พลังงาน] |
Basic principle of accounting | หลักการบัญชีเบื้องต้น [การบัญชี] |
Generally Accepted Accounting Principles | หลักการบัญชีที่ยอมรับทั่วไป [การบัญชี] |
Principles of accounting | หลักการบัญชี [การบัญชี] |
Revenue realization principle | หลักการเกิดขึ้นของรายได้ [การบัญชี] |
Kneader | นีดเดอร์ คือ เครื่องนวดยาง ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องผสมแบบบานบูรี แต่มีประสิทธิภาพในการผสมที่ต่ำกว่า [เทคโนโลยียาง] |
Community Development Approach | หลักการพัฒนาชุมชน, การวินิจฉัยปัญหาอนามัยชุมชน [การแพทย์] |
Dosage Regimen | รับประทานยาให้ถูกวิธี, หลักการให้ยา [การแพทย์] |
Dye-Binding Method | หลักการรวมตัวกับสี [การแพทย์] |
Enzymatic Method | วิธีตรวจด้วยเอนไซม์, วิธีทดสอบที่ใช้เอ็นซัยม์, วิธีใช้หลักการทางด้านเอ็นไซม์ [การแพทย์] |
Universal design | หลักการออกแบบที่เป็นสากล, Example: หลักการออกแบบที่เป็นสากล (universal design) หมายถึง การออกแบบเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยไม่มีข้อจำกัด [Assistive Technology] |
Le Chatelier's principle | หลักของเลอชาเตอลิเอ, หลักการซึ่งกล่าวว่า เมื่อรบกวนระบบที่อยู่ในภาวะสมดุล ระบบจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่จะลดผลของการรบกวนนั้นโดยการเข้าสู่ภาวะสมดุลใหม่ การรบกวนภาวะสมดุลได้แก่ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสาร อุณหภูมิหรือความดัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
sonar | โซนาร์, อุปกรณ์ที่ใช้ในเรือเพื่อสำรวจหรือหาวัตถุใต้ทะเล โดยอาศัยหลักการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงออกไปกระทบวัตถุใต้น้ำ แล้วสะท้อนกลับมาสู่เครื่องรับ sonar ย่อมาจาก sound navigation and ranging [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
dynamo | ไดนาโม, เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการทำให้ขดลวดเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็ก เป็นการเปลี่ยนพลังงานกลให้เป็นพลังงานไฟฟ้า [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
jack | แม่แรง, เครื่องผ่อนแรงใช้สำหรับยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก ๆ ขึ้น ใช้หลักการทำงานด้วยคานเกลียวหรือแรงดันจากน้ำหรือน้ำมัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
automatic switch | สวิตช์อัตโนมัติ, อุปกรณ์สำหรับเปิดปิดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ โดยใช้หลักการเกิดสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำหรือแผ่นโลหะคู่ที่ขยายตัวไม่เท่ากันเมื่อได้รับความร้อน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
superposition principle | หลักการซ้อนทับ, การที่คลื่น 2 คลื่นเคลื่อนที่มาพบกันในตัวกลางเดียวกันและเกิดการรวมกันขึ้น ทำให้รูปร่างของคลื่นรวมขณะนั้นเปลี่ยนไป แต่เมื่อเคลื่อนที่ผ่านกันไปแล้ว คลื่นทั้ง 2 นั้นจะมีรูปร่างเหมือนเดิมก่อนที่จะมารวมกัน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
criterion, criteria | เกณฑ์, หลักการหรือมาตรฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ตัดสินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
rocket | จรวด, อุปกรณ์ที่ใช้กับยานอวกาศเพื่อเพิ่มพลังผลักดัน อุปกรณ์นี้เคลื่อนที่ได้โดยอาศัยหลักการขับเคลื่อนด้วยแรงซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
scientist | นักวิทยาศาสตร์, บุคคลที่ได้รับการศึกษาและฝึกอบรมให้มีความสามารถที่จะทำวิจัยค้นคว้า เสาะแสวงหาความรู้ และหลักการทางวิทยาศาสตร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
solid state drive (SSD) | เครื่องขับแบบโซลิดสเตต, อุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ล้วน มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับหน่วยความจำแบบแฟลช ไม่ได้ใช้จานแม่เหล็กในการเก็บข้อมูล จึงไม่มีชิ้นส่วนที่ต้องเคลื่อนไหวในขณะบันทึกหรืออ่านข้อมูลเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ทำให้ประหยัดไฟกว่า การอ่านหรือบันทึกทำได้รว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
abstract | (adj) ทางทฤษฎี, See also: ทางหลักวิชา, ทางหลักการ, ทางวิชาการ, Syn. theoretical |
accounting | (n) หลักการบัญชี, See also: ทฤษฎีการทำบัญชี |
axiom | (n) กฎเกณฑ์ที่ยอมรับกันทั่วไป, See also: หลักการที่เป็นที่ยอมรับ, Syn. maxim, saying, adage |
be in line with | (idm) เป็นไปตาม (ความคิด, หลักการ, กฎเกณฑ์), See also: ยึดตาม, Syn. be out of, Ant. be out of |
by the book | (idm) ตามกติกา, See also: ตามหลักการ |
canon | (n) หลักการทั่วไป, Syn. rule, principle |
catechise | (vt) สอนหลักการของศาสนาคริสต์โดยการถามตอบ, Syn. catechize |
catechism | (n) คำถามและคำตอบที่ใช้ในการสอนถึงหลักการของศาสนาคริสต์ |
catechize | (vt) สอนหลักการของศาสนาคริสต์โดยการถามตอบ, Syn. catechise |
champion | (n) นักต่อสู้, See also: นักสู้เพื่อป้องกัน คน การกระทำ การทำงาน หลักการ, คนที่ต่อสู้เพื่อป้องกัน คน การกระทำ หลั, Syn. defender, fighter, hero, paladin, protector |
found on | (phrv) ตั้งอยู่บนหลักการของ, Syn. base on, found upon, ground on |
found upon | (phrv) ตั้งอยู่บนหลักการของ, Syn. base on, found on, ground on |
doctrinal | (adj) เกี่ยวข้องกับหลักการ, See also: เกี่ยวข้องกับทฤษฎี, Syn. dogmatic, creedal |
doctrine | (n) ทฤษฎี, See also: หลักการ, ปรัชญา, คำสอนทางศาสนา, Syn. philosophy, religious doctrine |
dogmatist | (n) ผู้เชื่อในหลักการของตนเอง, See also: ผู้เชื่อในกฎเกณฑ์ของตนเอง |
equalitarian | (adj) เกี่ยวกับความเชื่อที่ว่าตามหลักการแล้วทุกๆ คนเท่าเทียมกัน, See also: เกี่ยวกับความเชื่อที่ว่าทุกๆ คนเสมอภาคกัน, Syn. egalitarian |
evangel | (n) หลักคำสอนเบื้องต้น, See also: หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับศีลธรรมหรือการเมือง |
generality | (n) กฎเกณฑ์ทั่วไป, See also: หลักการทั่วไป |
hardline | (adj) ที่ยึดมั่นในหลักการ |
hard-line | (adj) ที่ยึดมั่นในหลักการ |
ideally | (adv) ตามหลักการ, See also: ตามทฤษฎี |
indoctrinate | (vt) สั่งสอนให้ซึมซาบ, See also: ปลูกฝัง ความคิด ความเชื่อ หลักการหรือทฤษฎี, Syn. brainwash, imbue, inculcate |
internationalist | (n) ผู้สนับสนุนหลักการร่วมมือระหว่างประเทศ |
live up to | (phrv) ดำรงชีวิตโดยยึดตาม (กฎเกณฑ์, หลักการ, มาตรฐานฯลฯ) |
legitimate | (adj) ตามหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้, See also: ตามทำนองคลองธรรม, Syn. sanctioned |
Machiavellianism | (n) การยึดหลักการของ Machiavelli |
Machiavellism | (n) การยึดหลักการของ Machiavelli |
Maoism | (n) ลัทธิเหมาเซตุง, See also: ลัทธิสังคมนิยมของเหมาเซตุงซึ่งยึดถือหลักการของมาร์กซิสและเลนิน, Syn. communism, Marxism-Leninism |
maxim | (n) ข้อเขียนที่เป็นความจริง, See also: หลักการ, หลักปฏิบัติ, หลักคำสอน, Syn. aphorism, adage, saying |
methodology | (n) วิธีการ, See also: วิธี, หลักการ, Syn. system, arrangement |
negation | (n) คำลบล้าง, See also: ข้อคิดเห็นหรือหลักการที่นำมาใช้ลบล้าง, สิ่งหักล้าง, Syn. invalidation, nullification |
notional | (adj) ซึ่งประมาณไว้, See also: ซึ่งคาดตามหลักการ |
obiter dictum | (n) คำพูดแสดงความคิดเห็น ความจริง หลักการหรืออื่นๆ |
platform | (n) นโยบายพรรคที่แถลงก่อนการเลือกตั้ง, See also: แผนงาน, หลักการ, Syn. policies, principles |
pole | (n) สิ่งที่ต่างกันมาก (ในด้านความคิด ความชอบ หลักการ ตำแหน่ง) |
policy | (n) นโยบาย, See also: หลักการ, แผนการ, วิถีทาง, อุบาย, Syn. course, procedure |
politics | (n) การเมือง, See also: กิจกรรมทางการเมือง, หลักการทางการเมือง, ข้อคิดเห็นทางการเมือง, Syn. campaigning, seeking nomination, electioneering |
principled | (adj) ที่มีหลักการ, See also: มีจรรยา, มีศีลธรรม, Syn. noble-minded |
rudiments | (n) หลักการชั้นต้น, See also: มูลฐาน, ขั้นต้น, พื้นฐาน, ความรู้ขั้นต้น, Syn. elements, first principles |
rule of thumb | (n) หลักการทั่วๆ ไป, Syn. approximation, estimate |
scintillation counter | (n) อุปกรณ์ตรวจนับวัดกัมมันตรังสีตรังสีโดยใช้หลักการของ scintillation |
survival of the fittest | (n) หลักการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม, See also: หลักการอยู่รอดอย่างเหมาะสม, Syn. natural selection, selection |
system | (n) ระบบ, See also: หลักการ |
stand for | (phrv) ยึดมั่น, See also: เชื่อถือ หลักการ |
arian | (suf) เกี่ยวกับการติดตาม หลักการ หรือยุค |
theory | (n) ทฤษฎี, See also: หลักวิชา, หลักการ, Syn. law, principles, ideas, system |
theosophy | (n) ความคิดด้านปรัชญาหรือศาสนาที่ยึดหลักเทววิทยา, See also: เทวหลักการ, Syn. spiritualism |
transcendentalism | (n) หลักการเรียนรู้ด้วยตนเอง |
unchristian | (adj) ไม่ใช่คริสเตียน, See also: ไม่เหมาะสมสำหรับคริสเตียน, ไม่เข้ากับหลักการของคริสเตียน |
verism | (n) หลักการยึดถือความจริง (ทางวรรณคดี), Syn. realism |
absolute idea | หลักการที่ว่าขบวนการของโลกเป็นการแสดงออกและบรรลุผล (spiritual principle) |
allemande | (แอล' ลิมานดฺ) n., (pl. -mandes) การเต้นรำในศตวรรษที่ 17-18 ที่มีจังหวะคู่ที่ช้า, ดนตรีที่อาศัยหลักการเต้นรำดังกล่าว |
altruism | (แอล' ทรูอิสซึม) n. หลักการปฏิบัติที่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง (philanthropy) -altruist n. |
antinomy | (แอนทิน' โนมี) n. ความขัดแย้งกันระหว่างกฎหรือหลักการ, คำพูดหรือข้อความที่ขัดกันเอง. -antinoic (al) adj., (contradiction) |
antinovel | (แอน' ทีนอฟเวิล) n. นวนิยายหรือเรื่องเริงรมย์ที่ผู้เขียนไมใช้หลักการทั่วไปที่ยืดถือกัน. -antinovelist n. |
apostasy | (อะพอส'ทะซี) n. การผละออกจากศาสนาหลักการณ์ พรรคหรืออื่น ๆ |
apstate | (อะพอส'เทท) n. บุคคลที่ผละออกจากศาสนา หลักการพรรคหรืออื่น ๆ (convert) apostatise, apostatize (อะพอส'ทะไทซ) n. กระทำการ apostasy (commit apostasy) |
art 2 | (อาร์ทฺ) n. ศิลป, ฝีมือ, อุบาย, เล่ห์กระเท่ห์, เล่ห์เหลี่ยม, ความสามารถ, หลักการหรือวิธีการของการเรียนรู้, ความเชี่ยวชาญในกิจกรรมของมนุษย์, สาขาวิชาที่เกี่ยวกับศิลปศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, Syn. skill, craft, Ant. artlessness, guilelessness |
ascetical | (อะเซน'ทิคัล) adj. เกี่ยวกับวินัยหรือหลักการ (pertaining to ascetic discipline |
autosuggestion | (ออโทซักเจส'เชิน) n. การแนะนำใจตัวเอง (โดยเฉพาะการกล่าวซ้ำสูตรหรือหลักการต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนบุคลิกภาพ. -autosuggestibility n. |
axiom | (แอค' เซียม) n. ความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์, ความจริงในตัวของมันเอง, กฎหรือหลักการที่ยอมรับกันทั่วไป (self-evident truth, maxim) |
canon | (แคน'เนิน) n. วินัยศาสนา, ศีล, มาตรการ, หลักการ, คัมภีร์พระ, Syn. law |
commercialism | (คะเมอ'ชะลิสซึม) n. หลักการหรือวิธีการพานิชย์, ลัทธิการค้าเพื่อหวังผลกำไร, ลักษณะพ่อค้า, See also: commercialist n. ดูcommercialism commercialistic adj. ดูcommercialism |
conventionality | (คันเวน'ชะแนล'ลิท') n. หลักการตามประเพณีนิยม, Syn. convention |
corporatism | (คอ'พะระทิศซึม) n. หลักการลัทธิหรือระบบการร่วมกันทางการเมือง |
economism | (อีคอน'นะมัสซึม) n. การเพิ่มผลผลิตโดยการให้ชาวนาได้รับส่วนแบ่ง ของผลผลิตมากขึ้นการเพิ่มค่าแรงงานสวัสดิการและอื่น ๆ (เป็นทฤษฎีหรือหลักการ ของคอมมิวนิสต์จีน) |
espousal | (อีสเพา'เซิล) n. การรับหลักการ, การยอมรับ, การสนับสนุน, การยกให้เป็นภรรยา, พิธีสมรส, การหมั้น, พิธีหมั้น |
espouse | (อีสเพาซฺ') vt. รับหลักการ, รับ, สมรส, หมั้น, สนับสนุน -espouser n., Syn. marry |
explicate | (เอคซ'พลิเคท) vt. พัฒนา, อธิบาย, ชี้แจง, สร้างทฤษฎี, สร้างหลักการ., See also: explicator n., Syn. explain |
free trader | n. ผู้สนับสนุนและยึดหลักการค้าเสรี |
freetrader | n. ผู้สนับสนุนและยึดหลักการค้าเสรี |
generalisation | n. ลักษณะทั่วไป, หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป, การพูดคลุม, การลงความเห็น, การวางหลักเกณฑ์, Syn. generality, majority |
generality | n. หลักการทั่วไป, กฎเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป, ส่วนใหญ่, ความครอบคลุม |
generalization | n. ลักษณะทั่วไป, หลักการหรือกฎเกณฑ์ทั่วไป, การพูดคลุม, การลงความเห็น, การวางหลักเกณฑ์, Syn. generality, majority |
hard-line | adj. ยึดมั่นในหลักการ, ไม่ยินยอม, ไม่ประนีประนอม, Syn. unyielding |
hard-liner | (ฮาร์ด'ไล'เนอะ) n. ผู้ยึดมั่นในหลักการ |
hinge | (ฮินจฺ) n., vt. (ใส่) บานพับ, สายยู, หลักการ, จุดสำคัญ, ส่วนที่ปิดพับได้, ทำให้พึ่งพา, ทำให้ขึ้นอยู่กับ, Syn. depend, rest |
ideally | (ไอเดียล'ลี) adv. ซึ่งเกี่ยวกับอุดมการณ์หรืออุดมคติ, อย่างสมบูรณ์, ดีเลิศ, เป็นความนึกคิด, เป็นความเพ้อฝัน, เป็นทฤษฎี, เป็นหลักการ |
illegitimate | (อิลลิจิท'ทิเมท) adj. ผิดกฎหมาย, (ลูก) นอกกฎหมาย, ผิดปกติ, ผิดทำนองคลองธรรม, ผิดหลักการ. vt. ทำให้ผิดกฎหมาย. n. ลูกนอกกฎหมาย, บุคคลนอกกฎหมาย., See also: illegitimateness n. illegitimation n., Syn. unlawful, bastard, illogical |
jain | (ไจน์) n. ผู้ยึดหลักการของJainism |
jihad | (จิฮาด) n. สงครามพิทักษ์ศาสนามุสลิม, การต่อสู้เพื่อพิทักษ์ความเลื่อมใสหลักการหรือความคิด, Syn. jehad |
live 1 | (ลิฟว) { lived, living, lives } vi. มีชีวิตอยู่, ดำเนินชีวิต, อยู่, อาศัย, อยู่ในความทรงจำ, อยู่ได้ด้วย, กิน, เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง, มีอายุ, ผ่านชีวิต, ผ่านพ้นอันตราย -Phr. (live up to ปฏิบัติตามหลักการที่ยึดถือ), Syn. exist, be, dwell |
maxim | (แมค'ซิม) n. ข้อเขียนที่เป็นความจริง, หลักการ, คติพจน์, ความจริง, หลักปฏิบัติ, Syn. aphorism |
methodology | (เมธธะดอล'ละจี) n. วิธี, วิธีการ, หลักการ, กฎ, การศึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ |
philosophy | (ฟิลอส'ซะฟี) n. ปรัชญา, ระบบปรัชญา, หลักปรัชญา, ระบบหลักการ, สาขาวิชาทั้งหมด (ยกเว้นแพทยศาสตร์, วิชากฎหมาย และศาสนศาสตร์) , ธรรมะ, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, จริยศาสตร์, ความรักวิชาอย่างคลั่งไคล้ |
policy | (พอล'ลิซี) n. นโยบาย, วิถีทาง, ยุทธวิธี, หลักการ, ความฉลาด, ความสุขุม, กรมธรรม์ประกันภัย, ลอตเตอรี, Syn. strategy |
postulate | (พอส'ชะลิท) n. ขอร้อง, ยืนยัน, อ้าง, วางสมมุติฐาน, วางหลัก. n. สมมุติฐาน, หลัก, หลักฐาน, หลักการพื้นฐาน, เงื่อนไขที่ต้องมีก่อน., See also: postulation n. postulational adj., Syn. demand premise |
principle | (พริน'ซะเพิล) n. หลัก, หลักการ, กฎ, ศีลธรรม, ลัทธิ, หลักศีลธรรม, ตัวยา. -Phr. (in principle ในแง่ทฤษฎี), Syn. rule |
radicalism | (แรด'ดิคัลลิสซึม) n. การยึดหลักการที่รุนแรง, ลัทธิหัวรุนแรง |
rationale | (แรช'ชะแนล) n. ข้อความแห่งเหตุผล, ข้อความเหตุผลแห่งหลักการ, พื้นฐานของเหตุผล, Syn. basis, reason |
revisionist | (รีวิส'เชินนิสทฺ) n., adj. การยึดถือหลักการหรือทฤษฎีที่หันเหจากเดิม |
scientific | (ไซเอินทิฟ'ฟิค) adj. เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, ควบคุมโดยหลักความจริงหรือหลักการ, มีระบบ., See also: scientifically adv., Syn. empirical, systematic, demonstrable |
shinto | (ชิน'โท) n. ศาสนาชินโตในญี่ปุ่นยึดหลักการเคารพบูชาบรรพบุรุษ, ศาสนาไหว้เจ้าในญี่ปุ่น |
sin | (ซิน) n. บาป, อกุศล, ความชั่ว, ความชั่วร้าย vi. กระทำบาป, กระทำความชั่ว, ละเมิดต่อหลักการ. vt. กระทำผิด., See also: sinningly adv., Syn. trespass, wrongdoing, wickedness, err |
sql | เอสคิวแอลซีเควลย่อมาจาก structured query language (แปลว่า ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล (database) ซึ่งใช้หลักการของการให้ตอบคำถามไปทีละข้อ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ไปเลือกหาข้อมูลที่ต้องการมาแสดง |
stoic | (สโท'อิค) adj. เกี่ยวกับหลักการขจัดตัณหาราคะ, ปลงตก, stoic, =stoical (ดู) . n. สมาชิกหรือผู้ยึดถือหลักปรัชญาของสำนักหลักปรัชญาดังกล่าว, , See also: stoic n. ผู้ปฎิบัติตามหลักปรัชญาดังกล่าว |
structured programming | หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีการแบ่งเป็นโปรแกรมย่อย (subprogram) หรือ โมดุล (module) หลาย ๆ อัน ทำให้เข้าใจได้ง่าย หลักการเขียนก็คือ แต่ละส่วนจะประกอบด้วยข้อคำสั่ง 3 ประเภท คือ กำหนดคำสั่งให้เรียงไปตามลำดับการทำงาน ที่เรียกว่า sequential มีคำสั่งให้เลือกทิศทางที่เรียกว่า conditional คือ มี IF-THEN-ELSE และมีการวนไปทำคำสั่งเดิมที่เรียกว่า loop คือมีคำสั่ง DO WHLE อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่คิดจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ก็อาจจะไม่รู้จักคำสั่งประเภทนี้ และก็ไม่จำเป็นต้องรู้จักโปรแกรมโครงสร้างด้วย |
structured query language | ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้างใช้ตัวย่อว่า (บางทีออกเสียงว่า "ซีเควล") เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประเภทคลังข้อมูล (database) ซึ่งใช้หลักการของการให้ตอบคำถามไปทีละข้อ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ไปเลือกหาข้อมูลที่ต้องการมาแสดง |
taoism | (เดา'อิสซึม) n. ศาสนาเต๋าของจีนที่เล่าจื้อเป็นผู้ตั้งขึ้นยึดถือหลักการดำเนินชีวิตอย่างง่าย ๆ, See also: Taoist n. Taoistic adj. |
teaching | (ทิช'ชิง) n. การสอน, อาชีพการสอน, อาชีพครู, เรื่องที่สอน, สิ่งที่สอน, , See also: teachings ทฤษฎี, หลักการ, Syn. pedagogy, education |