หรอก | (หฺรอก) ว. คำประกอบใช้ในความแย้งหรือปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นไรหรอก. |
ก้นร้อน | ก. นั่งอยู่ที่ใดได้ไม่นาน เช่น แม่คนนี้ก้นร้อน นั่งที่ไหนไม่ได้นานหรอก. |
กระต้วมกระเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี. |
ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ | น. ส่วนที่เลวที่สุด เช่น ฝีมือแค่นี้ไม่ได้ขี้ไซ้เขาหรอก. |
ขี้ตีน | น. ฝุ่นละอองที่ติดมากับเท้า, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ต่ำค่าที่สุด เช่น เก่งแค่นี้ไม่ได้ขี้ตีนเขาหรอก. |
ซ้อนซับ | ก. ทับกันหลายชั้น เช่น ของกองซ้อนซับสูงขนาดนี้ รื้อไม่ไหวหรอก. |
ดอก ๓ | ว. คำประกอบใช้ในความแย้งหรือปฏิเสธ เช่น ได้แต่มัทรีที่แสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปลิ้นปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี (ม.ร่ายยาว มัทรี), (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. |
ต้วมเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่ต้วมเตี้ยมอยู่อย่างนี้ทำงานไม่ทันเพื่อนเขาหรอก, กระต้วมกระเตี้ยม ก็ว่า. |
ไม่กี่น้ำ | ว. ไม่ช้า, ไม่นาน, ไม่เท่าไร, เช่น เก่งไปได้ไม่กี่น้ำหรอก. |
วุ่นวาย | ก. เอาเป็นธุระมากเกินไป เช่น เขาชอบเข้าไปวุ่นวายกับเรื่องของคนอื่น ไม่ต้องเตรียมอะไรมากหรอก อย่าวุ่นวายไปเลย |
สะดุ้งสะเทือน | ก. หวั่นไหว, เดือดร้อน, กังวลใจ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ใครจะนินทาว่าร้ายอย่างไรก็ไม่สะดุ้งสะเทือน มหาเศรษฐีเสียเงินล้านสองล้านไม่สะดุ้งสะเทือนหรอก. |
สะตึ, สะตึ ๆ | ว. ไม่มีอะไรดี, ไม่ได้เรื่อง, ไม่มีค่า, เช่น หนังเรื่องนี้สะตึดูแล้วเสียดายเงิน ของสะตึ ๆ อย่างนี้ไม่ซื้อหรอก. |
สัมพหุลา | ว. รวมปะปนกันหลาย ๆ อย่าง เช่น งานสัมพหุลาเต็มไปหมด ทำไม่ไหวหรอก, สรรพหุลา ก็ว่า. |
สามเพลงตกม้าตาย | ก. แพ้เร็ว เช่น นักมวยหน้าใหม่อย่างนี้เดี๋ยวก็สามเพลงตกม้าตายหรอก, เพลงเดียวตกม้าตาย ก็ว่า. |
เสียตา | โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่อยากดูให้เสียตาหรอก, เสียสายตา ก็ว่า. |
เสียตีน | ก. สูญเสียตีนไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น บ้านของเขา ฉันไม่ไปเหยียบให้เสียตีนหรอก. |
เสียมือ | ก. สูญเสียมือไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น คนอย่างนี้ ฉันไม่ไหว้ให้เสียมือหรอก. |
เสียสายตา | โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า. |
เสียหู | ก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก. |
เสียหูเสียตา | ก. สูญเสียหูและตาไป, โดยปริยายหมายความว่า ไม่อยากดูไม่อยากฟัง เช่น ละครไม่มีคุณภาพอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียหูเสียตาหรอก. |
เห็นดี | ก. เห็นประจักษ์ในอำนาจ (มักใช้ในการขู่เด็กหรือผู้น้อย) เช่น เดี๋ยวก็ได้เห็นดีหรอก. |
ฮึ่ม | โดยปริยายหมายถึงการแสดงอาการขู่. ก. แสดงอาการโกรธหรือไม่พอใจ ทำท่าว่าจะลงโทษหรือต่อสู้กัน เช่น เดี๋ยวก็ฮึ่มเสียหรอก เขากำลังฮึ่มเข้าหากัน. |
get along | (phrv) ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
get along with | (phrv) ฉันไม่เชื่อหรอก, See also: ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
get away with | (phrv) ไม่เชื่อ, See also: ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
get off with | (phrv) ไม่เชื่อ, See also: ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
get off | (phrv) ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
get on with | (phrv) ฉันไม่เชื่อ, See also: ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
get on | (phrv) ไม่เชื่อหรอก, See also: ฉันไม่เชื่อ, Syn. come on |
go along | (phrv) ไม่เชื่อหรอก, See also: ฉันไม่เชื่อ, Syn. come on |
go along with | (phrv) ไม่เชื่อ, See also: ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |
go on with you | (phrv) ไม่เชื่อหรอก, See also: ไม่เชื่อ, Syn. come on |
go on | (phrv) ไม่เชื่อหรอก, Syn. come on |