ขุนหมื่น | น. ข้าราชการผู้น้อยชั้นประทวนซึ่งเสนาบดีแต่งตั้งให้เป็นขุนบ้างเป็นหมื่นบ้าง มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐. |
เจ้าหมื่น | ดู หัวหมื่น . |
หมื่น ๑ | ว. จำนวนนับเท่ากับ ๑๐ พัน. |
หมื่น ๒ | น. ชื่อบรรดาศักดิ์ในราชการ เหนือพันขึ้นไป. |
หมื่น ๓ | ว. ทะลึ่ง, ทะเล้น. |
หัวหมื่น | น. ตำแหน่งข้าราชการในกรมมหาดเล็ก มี ๔ ตำแหน่ง เดิมเรียกว่า หมื่น เจ้าหมื่น และจมื่น เช่น หมื่นสรรเพธภักดี เจ้าหมื่นไวยวรนารถ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ ตำแหน่งหัวหมื่นทั้งสี่อยู่ภายใต้การดูแลของจางวางกรมมหาดเล็ก |
หัวหมื่น | เจ้าพนักงานระดับหนึ่งในกรมมหาดไทยและกรมพระกลาโหม รองจากขุนสูงกว่าหัวพัน เช่น หัวหมื่นทลวงฟัน หัวหมื่นเครื่องต้น (สามดวง). |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กระบวน | ลำดับ เช่น แลขุนหมื่นชาวสานทังปวงเฝ้าตามกระบวน (สามดวง) |
กระมึน | ว. ทะมึน, มีลักษณะดำมืดสูงใหญ่น่าเกรงขาม, เช่น กายาศีรษะพลัดพราย หัวขาดเด็ดตาย จรลู่กระมึนเหมือนเขา (เสือโค, บางฉบับเป็น ตระหมื้น), ตระมึน หรือ ตระมื่น ก็ใช้, โดยมากใช้ว่า ทะมื่น. |
กาหล | (-หน) น. แตรงอน เช่น หมื่นกาหลวิชัยมีหน้าที่ประโคมแตรงอน. |
กำนัน | น. ผู้ป้องกัน, ผู้รักษา, ผู้ดูแล, เช่น หัวหมื่นกับกำนันพระแสง |
คดีมโนสาเร่ | น. คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสามหมื่นบาทหรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา. |
จมื่น | ดู หัวหมื่น. |
จางวาง | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงกว่าเจ้ากรมที่มิใช่กรมเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา กำกับดูแลกรมนั้น ๆ, ตำแหน่งในสังกัดของเจ้านายที่ทรงกรม ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมเจ้านาย, ตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ตั้งขึ้นในรัชกาลที่ ๔ มีหน้าที่บังคับบัญชาหัวหมื่นมหาดเล็ก |
แด่น ๒ | ก. แล่น, ไปถึง เช่น ทัพถึงหมื่นถึงแสนแด่นถึงล้าน (ม. คำหลวง มหาราช). |
ตระทรวง | (ตฺระซวง) น. กระทรวง เช่น ให้ตราพระราชบันหญัตคำนับประเดียงโฆษนาแก่หมื่นขุนมุนนายทุกตระทรวงทบวงการ (สามดวง). |
เต้า ๓ | ก. ไป เช่น คร้นนเช้ากหิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปตามชาย (ม. คำหลวง มัทรี), มา เช่น แต่นี้จักเปล่งถ้อย แถลงนาม หัวหมื่นพันพลเหนือ แต่เต้า (ยวนพ่าย). |
ทศนิยม | น. จำนวนจริงในรูปเลขฐานสิบ โดยกำหนดจุดจุดหนึ่งให้ตัวเลขที่อยู่ข้างหน้าจุดแสดงจำนวนเต็ม ตัวเลขที่อยู่ข้างหลังจุดแสดงจำนวนที่เป็นส่วนของสิบ ร้อย พัน ไปเรื่อย ๆ เช่น ๘๕๖.๑๒๘ ล้านบาท หมายความว่า แปดร้อยห้าสิบหกล้านหนึ่งแสนสองหมื่นแปดพันบาท. |
ท้าง | ว. ทั้ง, ทั่ว, ตลอด, เช่น อันว่าแผ่นดินกว้างท้างทุกแดน อนนหนาได้หยิบแสนสี่หมื่นโยชนประมาณ (ม. คำหลวง กุมาร). |
นหุต ๑ | (นะหุด) ว. หมื่น. |
บรรดาศักดิ์ | (บันดา-) น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ. |
เบาะ ๆ | ว. อาการที่ตี ฟัน หรือทุบเป็นต้นแต่เบา ๆ เช่น ตีเบาะ ๆ, อย่างน้อย เช่น กระเป๋ายี่ห้อนี้เบาะ ๆ ก็เหยียบหมื่น. |
ปะขาว | ตำแหน่งข้าราชการชั้นขุนหมื่นพวกหนึ่ง, คู่กับ ประแดง. |
พรรษายุต | น. หมื่นปี. |
พระนาย | น. คำเรียกหัวหมื่นมหาดเล็ก เช่น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เรียกว่า พระนายไวยวรนาถ. |
พัน ๑ | น. ตำแหน่งหัวหน้าทหารสมัยโบราณสูงกว่าหัวปาก, บรรดาศักดิ์ชั้นประทวนตํ่ากว่าหมื่น, ชื่อตำแหน่งหัวหน้านายเวรในกระทรวงมหาดไทยและกลาโหม, ยศทหารชั้นสัญญาบัตรรองจากนายพล. |
เรือน | จำนวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน |
สลดใจ | ก. รู้สึกเศร้าใจแกมสังเวช, รู้สึกหดหู่ใจ, เช่น ข่าวแผ่นดินไหวคนตายเป็นหมื่น ๆ ฟังแล้วสลดใจ เห็นสุนัขถูกรถทับตาย รู้สึกสลดใจ. |
แสน | ว. สิบหมื่น |
หญิบ | (หฺยิบ) ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร (ม. คำหลวง ทศพร). |
หลัก ๒ | น. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗. |
หัวพัน | น. ตำแหน่งข้าราชการรองจากหมื่น เป็นหัวหน้าข้าราชการชั้นหัวปากในกรมแต่ละกรม. |
อยู่แล้ว | ว. แย่แล้ว เช่น เอะกูอยู่แล้วนะเสนี เห็นไพรีจะมากมายหลายหมื่น (สังข์ทอง). |
หัวหมื่น | [hūameūn] (n) EN: officer of the royal household doing the duty of the King's butler |
ขุนหมื่น | [khunmeūn] (n) EN: former minor officer of the crown |
หมื่น | [meūn] (num) EN: ten thousand, 10, 000 FR: dix milles, 10.000 |
หมื่นหนึ่ง | [meūn neung] (num) EN: ten thousand ; 10, 000 FR: dix milles [ mpl ] ; 10.000 |
หนึ่งหมื่น | [neung meūn] (num) EN: ten thousand ; 10, 000 FR: dix milles [ mpl ] ; 10.000 |
หน่วยหมื่น | [nūay-meūn] (n, exp) EN: ten thousands FR: dizaine de millier [ f ] |
๒๐๐๐๐ (สองหมื่น) | [søng meūn] (num) EN: 20, 000 (twenty thousand) FR: 20.000 (vingt milles) |
๓๐๐๐๐ (สามหมื่น) | [sām meūn] (num) EN: 30, 000 (thirty thousand) FR: 30.000 (trente milles) |
๔๐๐๐๐ (สี่หมื่น) | [sī meūn] (num) EN: 40, 000 (forty thousand) FR: 40.000 (quarante milles) |
๕๐๐๐๐ (ห้าหมื่น) | [hā meūn] (num) EN: 50, 000 (fifty thousand) FR: 50.000 (cinquante milles) |
๖๐๐๐๐ (หกหมื่น) | [hok meūn] (num) EN: 60, 000 (sixty thousand) FR: 60.000 (soixante milles) |
๗๐๐๐๐ (เจ็ดหมื่น) | [jet meūn] (num) EN: 70, 000 (seventy thousand) FR: 70.000 (soixante-dix milles) |
๘๐๐๐๐ (แปดหมื่น) | [paēt meūn] (num) EN: 80, 000 (eighty thousand) FR: 80.000 (quatre-vingt-milles) |
๙๐๐๐๐ (เก้าหมื่น) | [kao meūn] (num) EN: 90, 000 (ninety thousand) FR: 90.000 (quatre-vingt-dix milles) |
big iron | ท่อนเหล็ก <คำแปล>เป็นคำสะแลงที่ใช้เรียกคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe) รุ่นเก่า ที่มีราคาเป็นเรือนล้าน ขนาดใหญ่คับห้อง แต่ทำงานได้เท่ากับไมโครคอมพิวเตอร์ ที่ราคาเพียงไม่กี่หมื่นบาท |
disk | (ดิสคฺ) { disked, disking, disks } n. แผ่นกลม, แผ่นเสียง, จานกลม. vt. พรวนดินด้วยคราดกลม., Syn. disc, circle จานบันทึกหมายถึง อุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ มีลักษณะกลม เหมือนจาน มีอยู่ 3 ชนิด1. จานอ่อน floppy disk มีลักษณะอ่อน บรรจุในซองกระดาษ มีขนาด 5.25x5.25 นิ้ว การเก็บรักษาค่อนข้างยาก จุข้อมูลได้ประมาณสามแสนหกหมื่นถึงหนึ่งล้านสองแสนตัวอักษร 2. จานบันทึกอีกชนิดหนึ่งมีลักษณะแข็งกว่าเพราะห่อหุ้มด้วยพลาสติกแข็ง มีขนาดเล็กกว่าแบบแรก มักเรียกกันว่า diskette มีขนาด 3.5x3.5 นิ้ว จุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1.44 ล้านตัวอักษร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าแบบแรก เพราะเก็บรักษาได้ง่ายกว่า3. จานบันทึกแข็งหรือที่นิยมเรียกว่า ฮาร์ดดิสก์ hard disk มักจะบรรจุไว้ในกล่องพร้อมกับหน่วยขับ drive แล้วเก็บอยู่ภายในตัวเครื่องเลย ฮาร์ดดิสก์นั้นมีความจุสูงมากประมาณ 100-800 ล้านตัวอักษร เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีประสิทธิภาพสูงและราคาลดลงทุกวัน ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาเกือบจะไม่มีเลย แต่อาจจะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับไวรัสได้นอกจาก 3 ชนิดที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก็ยังมีอีกหลายชนิด เช่น จานบันทึกที่นำมาใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ mainframe ที่เรียกว่าชุดจานบันทึก disk pack ซึ่งจะมีแกนยึดติดกันตรงกลาง, จานแสงหรือจานเลเซอร์ optical or laser disk, จานวีดิทัศน์ vedio disk, จานบันทึกอัดแน่น compact disk ซึ่งล้วนแต่มีความจุสูงมาก ปัจจุบันจานบันทึกได้รับความนิยมมากกว่าสื่อบรรจุข้อมูลอื่น เพราะราคาถูก ใช้ซ้ำได้ และการค้นคืนข้อมูลทำได้รวดเร็วกว่าสื่อชนิดอื่น |
kilo instructions per sec | พันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก |
kips | (กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ |