กำลังเทียน | น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่างของแหล่งกำเนิดแสง, แรงเทียน ก็ว่า, ปัจจุบันใช้หน่วยแคนเดลา. |
กำลังม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ กำลังม้า คือ อัตราของการทำงานได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ กำลังม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, แรงม้า ก็ว่า. |
กิโลไซเกิล | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที, ปัจจุบันใช้ว่า กิโลเฮิรตซ์. |
กิโลเฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับหรือคลื่นวิทยุ ใช้สัญลักษณ์ kHz ๑ กิโลเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ เฮิรตซ์ หรือเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ไซเกิลต่อวินาที. |
แกลลอน | (แกน-) น. หน่วยวัดปริมาตรของอังกฤษ ๑ แกลลอน = ๔.๕๔๖๐๙ ลิตร (British Imperial gallon), หน่วยวัดปริมาตรของสหรัฐอเมริกา ๑ แกลลอน = ๓.๗๘๕๔๔ ลิตร (U.S. gallon). |
แคลอรี | น. หน่วยวัดปริมาณความร้อน ๑ แคลอรี คือ ปริมาณความร้อนที่ทำให้นํ้าบริสุทธิ์ ๑ กรัม ร้อนขึ้น ๑ °ซ. |
ไซเกิล | น. ชุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะหนึ่งจนกระทั่งกลับคืนมาสู่ภาวะแท้จริงเดิมอีก เช่น การเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนที่ของไฟฟ้ากระแสสลับเริ่มจากภาวะที่ไม่มีกระแสจนกระทั่งกระแสทวีค่าสูงสุดในทิศทางหนึ่ง แล้วลดลงจนไม่มีกระแส จากนี้กระแสทวีค่าขึ้นอีก จนสูงสุดในทิศทางตรงข้าม แล้วจึงกลับลดลงจนสู่ภาวะไม่มีกระแสอีก ดังนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ครบ ๑ ไซเกิล จึงใช้จำนวนไซเกิลต่อวินาทีเป็นหน่วยวัดความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับและความถี่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, ปัจจุบันใช้ เฮิรตซ์ แทน ไซเกิล. |
บาร์ ๑ | น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๑๐๖ ดายน์ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๕ นิวตันต่อตารางเมตร |
บาร์ ๑ | หน่วยวัดความดึงดูดของโลก ๑ บาร์มีค่าเท่ากับ ๙๘๐.๖๑๖ เซนติเมตรต่อวินาที ทุก ๆ วินาที. |
บาร์เรล | น. หน่วยวัดความจุของของเหลว ซึ่งเมื่อใช้กับการวัดปริมาตรนํ้ามันปิโตรเลียม ๑ บาร์เรล = ๓๖ แกลลอนในประเทศอังกฤษ ส่วนในสหรัฐอเมริกา ๑ บาร์เรล = ๔๒ แกลลอน. |
ปีแสง | น. หน่วยวัดระยะซึ่งใช้ในวิชาดาราศาสตร์ โดยกำหนดว่าระยะ ๑ ปีแสง คือ ระยะที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา ๑ ปี ซึ่งเป็นระยะ ๕.๘๗๘๔๘ x ๑๐๑๒ ไมล์ หรือ ๙.๔๖๐๕ x ๑๐๑๒ กิโลเมตร. |
มิลลิบาร์ | น. หน่วยวัดความกดอากาศ ๑ มิลลิบาร์มีค่าเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ดายน์ต่อตารางเซนติเมตร หรือ ๑๐๐ นิวตันต่อตารางเมตร. |
เมกะเฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ ใช้สัญลักษณ์ MHz ๑ เมกะเฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑ ล้านเฮิรตซ์ หรือ เท่ากับ ๑ ล้านไซเกิลต่อวินาที. |
เมตร | (เมด) น. หน่วยวัดความยาวอย่างหนึ่งตามวิธีเมตริก กำหนดเทียบเท่ากับ ๑๐๐ เซนติเมตร หรือ ๒ ศอก. |
ไมครอน | (-คฺรอน) น. หน่วยวัดความยาว ๑ ไมครอนมีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐, ๐๐๐ ของ ๑ เมตร หรือเท่ากับ ๑๐, ๐๐๐ อังสตรอม ใช้สัญลักษณ์ µm, ไมโครเมตร ก็เรียก. |
ไมโครกรัม | (-โคฺร-) น. หน่วยวัดนํ้าหนัก ๑ ไมโครกรัม มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐, ๐๐๐ ของ ๑ กรัม ใช้สัญลักษณ์ µg. |
ไมโครลิตร | (-โคฺร-) น. หน่วยวัดปริมาตร ๑ ไมโครลิตร มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐, ๐๐๐ ของ ๑ ลิตร. |
แรงเทียน | น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่างของแหล่งกำเนิดแสง, กำลังเทียน ก็ว่า. |
แรงม้า | น. หน่วยวัดกำลังหรืออัตราของการทำงาน โดยกำหนดว่า ๑ แรงม้า คือ อัตราของการทำงาน ได้ ๕๕๐ ฟุตปอนด์ต่อวินาที ๑ แรงม้า มีค่าเท่ากับ ๗๔๕.๗ วัตต์, กำลังม้า ก็เรียก. |
วัตต์ | น. หน่วยวัดกำลัง ๑ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ จูลต่อวินาที หรือ ๑๐ ๗ เอิร์กต่อวินาที, ๗๔๕.๗ วัตต์ มีค่าเท่ากับ ๑ กำลังม้า. |
ศอกกำ, ศอกกำมา, ศอกตูม | น. ระยะตั้งแต่ข้อศอกจนสุดกำมือ โบราณใช้เป็นหน่วยวัดระยะ เช่น ๔ ศอกกับศอกกำมาหนึ่ง. |
สายวัด | น. เครื่องวัดระยะชนิดหนึ่งเป็นแถบเล็กยาว มีหน่วยวัดระยะ ใช้วัดสิ่งต่าง ๆ เช่น สายวัดตัวของช่างเย็บเสื้อ สายวัดของช่างไม้. |
ห่า ๒ | น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาดกลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง |
ออนซ์ | น. หน่วยวัดนํ้าหนัก ๑ ออนซ์ มีค่าเท่ากับ ปอนด์ หรือ ๒๘.๓๔๑๕ กรัม. |
เอเคอร์ | น. หน่วยวัดพื้นที่ ๑ เอเคอร์ เท่ากับ ๔, ๘๔๐ ตารางหลา หรือ ประมาณ ๔, ๐๐๐ ตารางเมตร หรือ ประมาณ ๒ ไร่ครึ่ง. |
แอมแปร์ | น. หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ๑ แอมแปร์ คือ กระแสไฟฟ้าที่มีอัตราการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนได้วินาทีละประมาณ ๖ x ๑๐๑๘ อิเล็กตรอน. |
โอห์ม | น. หน่วยวัดความต้านทาน ใช้สัญลักษณ์ Ω ความต้านทาน ๑ โอห์ม คือ ความต้านทานระหว่างจุด ๒ จุดบนตัวนำ ซึ่งเมื่อจุดคู่นี้มีความต่างศักย์ไฟฟ้า ๑ โวลต์แล้ว จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ ๑ แอมแปร์. |
เฮิรตซ์ | น. หน่วยวัดความถี่ ใช้สัญลักษณ์ Hz ๑ เฮิรตซ์ มีค่าเท่ากับ ๑ ไซเกิลต่อวินาที. |
The American Petroleum Institute Gravity | หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบเป็นองศา, หน่วยวัดค่าความถ่วงจำเพาะของน้ำมันดิบเป็นองศา กำหนดขึ้นโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Petroleum Institute), Example: เป็นค่าที่แสดงความหนักเบาของน้ำมัน โดยปรกติน้ำมันดิบจะมีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 20-45 องศา และสามารถแบ่งน้ำมันดิบออกเป็น 3 ชนิด คือ น้ำมันดิบชนิดเบา มีค่าความถ่วง API มากกว่า 34 องศา น้ำมันดิบชนิดกลาง มีค่าความถ่วง API อยู่ระหว่าง 34-20 องศา และน้ำมันดิบชนิดหนัก มีค่าความถ่วง API น้อยกว่า 20 องศา [ปิโตรเลี่ยม] |
Barrel | หน่วยวัดปริมาตรน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน, Example: 1 บาร์เรล มีค่าเท่ากับ 158.978 ลิตร หรือ 42 ยูเอส แกลลอน หรือ 35 อิมพีเรียล แกลลอน [ปิโตรเลี่ยม] |
cubic feet | หน่วยวัดปริมาตรก๊าซ เป็นลูกบาศก์ฟุต [ปิโตรเลี่ยม] |
Cubic feet | หน่วยวัดปริมาตรก๊าซ เป็นลูกบาศก์ฟุต [ปิโตรเลี่ยม] |
Cubic metre | หน่วยวัดปริมาตรก๊าซ เป็นลูกบาศก์เมตร [ปิโตรเลี่ยม] |
Unit of account | หน่วยวัดมูลค่า (ในการลงบัญชี), หน่วยวัดมูลค่า (ในการลงบัญชี) [เศรษฐศาสตร์] |
Sievert | ซีเวิร์ต, หน่วยวัดปริมาณรังสีสมมูล เป็นผลคูณระหว่างปริมาณรังสีดูดกลืนที่มีหน่วยเป็นเกรย์ กับค่าปรับเทียบที่แตกต่างกันตามชนิดและพลังงานของรังสี (อาร์อีบี) หน่วยซีเวิร์ตนี้ใช้แทนหน่วยเรม โดย 1 ซีเวิร์ต เท่ากับ 100 เรม (ดู rem ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
hertz | หน่วยวัดจำนวนคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในหนึ่งวินาที โดยทั่วไปใช้วัดความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ [คอมพิวเตอร์] |
gray | หน่วยวัดปริมาณรังสีดูดกลืน, หน่วยวัดปริมาณรังสีดูดกลืน โดย 1 เกรย์ มีค่าเท่ากับ 1 จูล ต่อกิโลกรัมของมวลสาร [นิวเคลียร์] |
bit per second | bit per second, หน่วยวัดความเร็วในการสื่อสารข้อมูล วัดเป็นบิต (0 หรือ 1) ต่อนาที หน่วยวัดอาจจะเป็น Kbps หรือ Mbps หรือ Gbps เป็นต้น K ย่อมาจาก Kilo มีค่าประมาณพัน M ย่อมาจาก Mega มีค่าประมาณล้าน G ย่อมาจาก Giga มีค่าประมาณพันล้าน [คอมพิวเตอร์] |
Byte | Byte, หน่วยวัดความจุของสื่อความจำ, Example: เช่น หน่วยวัดความจำหลัก (RAM) หน่วยวัดความจำสำรอง ได้แก่ ดิสก์ เทป เป็นต้น หรืออาจจะเป้นหน่วยที่บอกขนาดของแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ 1 Byte จะมี 8 bit และ 1 Byte แทนข้อมูล 1 ตัวอักษร [คอมพิวเตอร์] |
kilowatt-hour | กิโลวัตต์-ชั่วโมง, หน่วยวัดความสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า เรียกโดยทั่วไปว่าหน่วย(unit) ใช้สัญลักษณ์ kW-hr 1 kW-hr คือกำลังไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ที่ใช้ในเวลา 1 ชั่วโมง เช่น เตารีดไฟฟ้า ขนาด 2 กิโลวัตต์ใช้เวลา 3 ชั่วโมง จะสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า 6 กิโลวัตต์-ชั่วโมง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
J | จูล, สัญลักษณ์หน่วยวัดงานหรือพลังงาน ดู joule [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
S | ซีเมนส์, สัญลักษณ์หน่วยวัดความนำไฟฟ้า ดู siemens [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
siemens | ซีเมนส์, หน่วยวัดความนำไฟฟ้าของตัวนำ ใช้สัญลักษณ์ S โดยกำหนดว่า 1 ซีเมนส์ คือ ความนำไฟฟ้าของตัวนำซึ่งมีความต้านทาน 1 โอห์ม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
T | เทสลา, สัญลักษณ์ของหน่วยวัดความเข้มของสนามแม่เหล็ก ดู tesla [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radian | เรเดียน, หน่วยวัดมุม 1 เรเดียน หมายถึงมุมที่ศูนย์กลางของวงกลมซึ่งรองรับส่วนโค้งของวงกลมที่มีความยาวเท่ากับรัศมีของวงกลมนั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
roentgen | เรินต์เกน, หน่วยวัดปริมาณรังสีเอกซ์ หรือรังสีแกมมา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
W | วัตต์, สัญลักษณ์ของหน่วยวัดกำลัง ดู watt [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
A | แอมแปร์, สัญลักษณ์หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า ดู ampere [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ohm | โอห์ม, หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้า ใช้สัญลักษณ์ W โดยกำหนดว่าความต้านทานไฟฟ้า 1 โอห์ม คือความต้านทานของตัวนำซึ่งมีปลายทั้งสองต่อกับความต่างศักย์ไฟฟ้า 1 โวลต์ แล้วมีกระแสไฟฟ้าผ่านตัวนำนั้น 1 แอมแปร์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hertz | เฮิรตซ์, หน่วยวัดความถี่ของคลื่น ใช้สัญลักษณ์ Hz 1Hz คือความถี่ของปรากฏการณ์แบบพริออดิกที่เกิดขึ้นครบ 1 รอบในเวลา 1 วินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
AU | เอยู, สัญลักษณ์หน่วยวัดระยะทางเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ดู astronomical unit [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
astronomical unit (AU) | หน่วยดาราศาสตร์, หน่วยวัดระยะทางที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์มีสัญลักษณ์ AU โดยกำหนดให้ระยะเฉลี่ยจากโลกถึงดวงอาทิตย์มีค่าเป็น 1 AU 1 AU = 1.49 x 1011 เมตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
International Units | หน่วยสากล, หน่วยวัดสากล [การแพทย์] |
acre | (n) หน่วยวัดเนื้อที่เป็นเอเคอร์ |
amp | (n) แอมป์ (คำย่อของ ampere เป็นหน่วยวัดกำลังกระแสไฟฟ้า), See also: กำลังกระแสไฟฟ้า |
are | (n) หน่วยวัดเนื้อที่ เท่ากับ 100 ตารางเมตร |
bel | (n) หน่วยวัดเสียง, See also: เบล |
bit | (n) หน่วยวัดความจุข้อมูล, See also: บิต |
Celsius | (n) เซลเซียส, See also: หน่วยวัดอุณภูมิความร้อน, Syn. C, centigrade |
centigrade | (adj) หน่วยวัดอุณหภูมิความร้อน, See also: เซนติเกรด, Syn. C, celsius |
centigram | (n) เซนติกรัม, See also: ัหน่วยวัดน้ำหนักเท่ากับ หนึ่งในร้อยของกรัม, Syn. centigramme |
centigramme | (n) เซนติกรัม, See also: หน่วยวัดน้ำหนักเท่ากับหนึ่งในร้อยกรัม, Syn. centigram |
centiliter | (n) เซนติลิตร, See also: หน่วยวัดเท่ากับหนึ่งในร้อยของลิตร |
centilitre | (n) เซนติลิตร, See also: หน่วยวัดเท่ากับหนึ่งในร้อยของลิตร |
centimeter | (n) เซนติเมตร, See also: หน่วยวัดเท่ากับหนึ่งในร้อยของเมตร, Syn. centimetre |
centimetre | (n) เซนติเมตร, See also: หน่วยวัดเท่ากับหนึ่งในร้อยของเมตร, Syn. centimeter |
conversion | (n) การแปลงหน่วยวัด |
convert | (vt) แปลงหน่วยวัด |
cubit | (n) หน่วยวัดโบราณ เท่ากับประมาณ 18-22 นิ้ว |
dag | (n) เดคากรัม, See also: หน่วยวัดน้ำหนักมีค่าเท่ากับ 10 กรัม, Syn. decagram |
decibel | (n) หน่วยวัดระดับความดังของเสียง (ย่อ dB) (ทางฟิสิกส์), See also: เดซิเบล |
degree | (n) องศา (หน่วยวัดมุมทางเราขาคณิต) |
degree | (n) องศา (หน่วยวัดอุณหภูมิ) (ทางฟิสิกส์) |
denier | (n) หน่วยวัดคุณภาพของเส้นด้ายหรือไหม, Syn. staple, texture |
digit | (n) นิ้ว (หน่วยวัดความยาว) |
dyne | (n) หน่วยวัดกำลัง, See also: หน่วยวัดแรงงาน |
em | (n) หน่วยวัดขนาดของตัวพิมพ์ |
erg | (n) หน่วยวัดของพลังงานในระบบเซนติเมตร-กรัม-วินาที 1 erg มีค่าเท่ากับ 107 joule |
fathom | (n) หน่วยวัดความลึกของน้ำ (มีค่าเท่ากับ 6 ฟุตหรือ1.8 เมตร), See also: ระยะลึก 6 ฟุต |
foot | (n) หน่วยวัดความยาวเท่ากับ 12 นิ้ว, See also: หน่วยวัดความยาวเป็นฟุต |
force | (n) หน่วยวัดความแรงของลม |
gallon | (n) หน่วยวัดปริมาตรของของเหลว (สัญลักษณ์ย่อ gal.), See also: แกลลอน, Syn. quart, pint, cup |
gauss | (n) หน่วยวัดแรงเหนี่ยวนำของแม่เหล็ก (สัญลักษณ์ย่อคือ G) |
geographical mile | (n) หน่วยวัดระยะทาง มีค่าเท่ากับ 6, 080 ฟุต |
hectare | (n) หน่วยวัดของพื้นที่ (1 เฮกตาร์เท่ากับ 100 เอเคอร์ หรือ 10000 ตารางเมตร), See also: เฮกตาร์ |
hectoliter | (n) หน่วยวัดความจุตามมาตราเมตริกมีค่าเท่ากับ 100 ลิตร, See also: เฮกโตลิตร |
hectometer | (n) หน่วยวัดความยาวตามมาตราเมตริกมีค่าเท่ากับ 100 เมตรหรือ 328.08 ฟุต, See also: เฮกโตเมตร, Syn. hectometre |
joule | (n) หน่วยวัดพลังงานทางฟิสิกส์ (อักษรย่อคือ J) |
K | (abbr) คำย่อของหน่วยวัดซึ่งขึ้นต้นด้วยกิโล |
karat | (n) กะรัต, See also: หน่วยวัดความบริสุทธิ์ของทองหรือเพชร, Syn. carat |
kelvin | (n) หน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน, See also: หน่วยวัดอุณหภูมิมีสัญลักษณ์ย่อ K |
liquid measure | (n) หน่วยวัดของเหลว |
liter | (n) ลิตร (หน่วยวัดปริมาณ 1 ลิตรเท่ากับ 0.264 แกลลอน), Syn. litre |
litre | (n) ลิตร (หน่วยวัดปริมาณ 1 ลิตรเท่ากับ 0.264 แกลลอน), Syn. liter |
Mach | (n) หน่วยวัดความเร็วของเครื่องบิน |
measure | (n) หน่วยวัด, Syn. dimension, capacity |
megaton | (n) หน่วยวัดพลังนิวเคลียร์ |
meter | (n) หน่วยวัดความยาวเป็นเมตร, See also: เมตร |
metre | (n) เมตร, See also: หน่วยวัดเป็นเมตร, Syn. meter |
mho | (n) หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า |
microfarad | (n) หน่วยวัดความจุไฟฟ้า |
micrometre หน่วยวัดความยาว | (n) หน่วยวัดความยาวมีค่าเท่ากับหนึ่งส่วนล้านของหนึ่งเมตร, Syn. micrometer |
mile | (n) ไมล์ (เป็นหน่วยวัดความยาว), See also: ระยะทางที่นับเป็นไมล์ |
acre | (เอ' เคอะ) n. หน่วยวัดเนื้อที่ที่เท่ากับ 2.5 ไร่, ที่ดิน, Syn. acres 43, 560 ตารางฟุต |
apothecaries measure | ระบบหน่วยวัดดวงที่ใช้ส่วนใหญ่กับการปรุงยาหรือจ่ายยา |
b.t.u. | abbr. British thermal unit หน่วยวัดค่าความร้อนแบบหนึ่งของอังกฤษ มักใช้ในการแสดงถึงความสามารถในการลดความร้อนของเครื่องปรับอากาศ |
baud | (บอด) เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็ม 1 บอดเท่ากับจำนวนบิตที่ส่งได้ใน 1 ครั้ง ถ้าส่งได้ครั้งละ 2 บิต 1 บอดก็จะเท่ากับ 2 บิต โมเด็มจะดีหรือไม่ ก็ดูที่ความเร็วจากหน่วยวัดนี้ โดยปกติ เท่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีขนาดความเร็ว 300 บอด (ประมาณ 37 ตัวอักษร) และ 1, 200 บอด (ประมาณ 150 ตัวอักษร) |
billisecond | ใช้ตัวย่อว่า BS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานหรือการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ |
bit | (บิท) 1. n. ดอกสว่าน, สิ่งค้ำ, ของเล็ก ๆ น้อย ๆ , ครู่เดียว, การกระทำ, บทบาทเล็กน้อย, เหรียญเล็ก ๆ , หน่วย, กริยาช่อง 2 และ 3 ของ bite, บิต, 2. ในระบบเลขฐาน 2 หมายถึงตัวเลข 0 และ 1, หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด โดยที่หนึ่งบิตจะต้องเพียงพอต่อการบอกความแตกต่างระหว่างข้อมูลประเภท "ใช้" ในปัจจุบันมักใช้บิตเป็นหน่วยวัดตัวประมวลผล (microprocessor) ของไมโครคอมพิวเตอร์ ว่าเป็นขนาด 8 บิต 16 บิต หรือ 32 บิต ถ้าจัดบิตเป็นชุดที่เรียกว่าไบต์ (byte) ซึ่งปกติจะมี 8 บิต จะใช้เป็นรหัสเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร ฯ ดู byte ประกอบ |
bits per inch | บิตต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก โดยวัดว่า แถบบันทึก 1 นิ้วจะเก็บตัวอักขระได้กี่บิต |
bits per second | บิตต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า BPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
bpi | (บีพีไอ) ย่อมาจาก bits per inch หรือบิตต่อนิ้ว เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก โดยวัดว่า แถบบันทึก 1 นิ้วจะเก็บตัวอักขระได้กี่บิต |
bps | (บีพีเอส) ย่อมาจาก bits per second หรือบิตต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านโมเด็มว่า มีความเร็วกี่บิตต่อวินาที |
byte | (ไบทฺ) n. หน่วยของข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่ากับ 1 อักขระหรือ 8 บิต, ข้อมูลจำนวน 8 บิต, ชุดของบิต (bit) ซึ่งคอมพิวเตอร์จัดไว้สำหรับเก็บข้อมล 1 ชุด คอมพิวเตอร์ต่างชนิดจะจัดชุดของบิตไว้ไม่เท่ากัน เช่น เครื่อง IBM 360 จัดบิตไว้เป็นชุด ๆ ละ 8 บิต เรียกว่า ไบต์ โดยปกติ ใช้เป็นหน่วยวัดขนาดของหน่วยความจำ หรือจานบันทึกว่า มีขนาดเก็บได้กี่ตัวอักษร หน่วยวัดที่ใช้กันนั้น วัดกันเป็นกิโลไบต์ (kilobyte) เรียกว่า K byte เท่ากับประมาณ 1 พันไบต์ หรือหนึ่งพันตัวอักษร, เมกะไบต์ (mega byte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านไบต์ , กิกะไบต์ (gigabyte) เท่ากับประมาณ 1 พันล้านไบต์ และเทราไบต์ (terabyte) เท่ากับประมาณ 1 ล้านล้านไบต์เช่น เราอาจพูดว่า ฮาร์ดดิสก์ในเครื่องนี้มีขนาดความจุ 2 กิกะไบต์ (หมายความว่าสามารถเก็บข้อความได้สองพันล้านตัวอักษร) อนึ่ง หน่วยวัดที่นิยมใช้มีดังนี้ 1 KB (kilobyte) = 1, 024 ไบต์ 1 MB (Megabyte) = 1, 048, 576 ไบต์ (หรือ 1, 024 Kbytes) 1 GB (gigabyte) = 1, 073, 741, 824 ไบต์ (หรือ 1, 024 Mbytes) 1 TB (terabyte) = 1, 099, 511, 627, 776 ไบต์ (หรือ 1, 024 Gbytes) |
bytes per inch | ไบต์ต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า BPI เป็นหน่วยวัดความจุของตัวอักขระในเทปหรือแถบบันทึก (tape) หมายความว่า ขนาดความยาวของแถบบันทึก 1 นิ้ว จะบรรจุตัวอักขระได้เท่าใดอาจต่างกันได้ตั้งแต่ 200 ถึง 1600 ไบต์ต่อนิ้ว และอาจมีการปรับให้มากหรือน้อยกว่านั้นก็ได้ (บางทีใช้กับความยาวของแทร็กของพื้นผิวของจานบันทึก (disk) ด้วย |
characters per inch | จำนวนอักขระต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า CPI แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อนิ้ว เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึกว่า เนื้อเทป 1 นิ้ว จะเก็บข้อมูลได้กี่ตัวอักขระ |
characters per second | จำนวนอักขระต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า CPS แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่าเครื่องพิมพ์สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น (เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะพิมพ์ที่ละหน้า) ดู printer ประกอบ |
cpi | 1. abbr. Consumer Price Index ดัชนีราคาบริโภคภัณฑ์ 2. (ซีพีไอ) ย่อมาจาก characters per inch เป็นหน่วยวัดความจุของแถบบันทึก (tape) ว่าจุได้กี่ตัวอักษรต่อความยาว 1 นิ้วมีความหมายคล้ายกับ BPI |
cps | (ซีพีเอส) ย่อมาจาก characters per second แปลตรง ๆ ได้ว่า อักขระต่อวินาที ใช้เป็น หน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ว่า เครื่องพิมพ์ สามารถพิมพ์ได้กี่ตัวอักขระในเวลา 1 วินาที ใช้กับเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix) และแบบฉีดหมึก (ink jet) เท่านั้น |
cycle time | เวลาครบรอบหมายถึงเวลาที่หน่วยประมวลผลกลางใช้ในการปฏิบัติตามคำสั่ง โดยเริ่มตั้งแต่ไปดึงคำสั่งมา (fetch) และลงมือกระทำการ (execute) มีหน่วยวัดเป็น นาโนวินาที (nano second) หรือหนึ่งในพันล้านวินาที และพิโกวินาที (picosecond) หรือหนึ่งในล้านล้านวินาที |
decibel | (เดส'ซิเบิล) n. หน่วยวัดความเข้มหรือความดังของเสียง |
diopter | n. หน่วยวัดอำนาจหักเหแสงของเลนส์ใช้อักษรย่อว่า D |
dioptre | n. หน่วยวัดอำนาจหักเหแสงของเลนส์ใช้อักษรย่อว่า D |
dots per inch | จุดต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า dpi เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว |
dpi | (ดีพีไอ) ย่อมาจาก dots per inch (จุดต่อนิ้ว) เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมชัด (resolution) ของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว |
em pica | ตัวพิมพ์ขนาด1/6 นิ้วใช้เป็นหน่วยวัดตัวพิมพ์ |
femtosecond | เฟมโตวินาทีเท่ากับ หนึ่งในพันล้านล้านของวินาที (10 -15) ใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานของอุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของหน่วยประมวลผลการถ่ายโอนข้อมูล การดึงข้อมูลจากหน่วยความจำสำรอง (auxiliary memory) สู่หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นต้น |
finger | (ฟิง'เกอะ) n. นิ้วมือ, ความยาวเป็นนิ้วมือ (ประมาณ4 นิ้ว) , ความกว้างของนิ้วมือ (เป็นหน่วยวัด) , สิ่งที่คล้ายนิ้วมือ, ส่วนที่ยื่นออกของเครื่องจักร. -Phr. (put one's finger on ระบุ, ชี้บ่ง) vt. แตะด้วยนิ้ว, เล่น (ดนตรี) ด้วยนิ้ว. vt. ใช้นิ้วมือเล่น. คำศัพท์ย่อย: |
gb | (จีบี) ย่อมาจากคำว่า gigabyte (อ่านว่า กิกะไบต์) เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230) หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ฯ |
gigabyte | (กิกะไบต์) ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ |
gigahertz | (กิกะเฮิร์ทซ์) เป็นหน่วยวัดการทำงาน เท่ากับหนึ่งพันล้านรอบต่อวินาที (10 ยกกำลัง 9) |
hz | ย่อมาจาก hertz เป็นหน่วยวัดการสั่นสะเทือนของกระแสไฟฟ้าที่ใช้จำนวนมาก ๆ เพื่อวัดความเร็วของการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกทีหนึ่ง 1 เฮิร์ทซ์ เท่ากับ 1 รอบต่อวินาที เมื่อวัดกันในขนาดจำนวนมากจริง ๆ จึงใช้หน่วยใหญ่ที่เรียกว่า เมกะเฮิร์ทซ์ (megahertz) ใช้ตัวย่อว่า MHz ไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบันจะทำงานด้วยความเร็วประมาณ 25 - 60 เมกะเฮิร์ทซ์ |
k | (เค) พยัญชนะอังกฤษตัวที่ 11, เสียง K ย่อมาจาก kilobyte (กิโลไบต์) มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
karat | (แค'เริท) n. กะรัต, หน่วยวัดความบริสุทธิ์ของทอง, ทองบริสุทธิ์100%เท่ากับ24กะรัต, ใช้อักษรย่อว่าk.หรือkt. |
kb | ย่อมาจาก kilobyte มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า K เฉย ๆ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kbs | (เคบีเอส) ย่อมาจาก kilobyte per second (กิโลไบต์ต่อวินาที) 1 KBS เท่ากับ 1024 ไบต์ต่อวินาที ใช้เป็นหน่วยวัดอัตราการส่งข้อมูล เช่น ในการสื่อสาร |
khz | (กิโลเฮิร์ทซ์) ย่อมาจาก Kilohertz มีค่าเท่ากับ 1, 000 เฮิร์ทซ์ เป็นหน่วยวัดจำนวนรอบต่อวินาที 1 กิโลเฮิร์ทซ์ จึงเท่ากับหนึ่งพันรอบต่อวินาที ใช้กับสัญญาณนาฬิกา ตัววัดความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ |
kiiobyte | ใช้ตัวย่อว่า K หรือ KB มีค่าเท่ากับ 1, 024 ไบต์ (210) บางทีก็ใช้ตัวย่อ ว่า KB ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของอุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูล เช่น หน่วยความจำ จานบันทึก ฯ 1 ไบต์จะเก็บได้ 1 ตัวอักขระ (หรือช่องว่าง) ถ้าพูดว่าจานบันทึกนี้มีความจุ 720 เคไบต์ ก็แปลว่า เก็บข้อมูลได้ไม่เกิน (720x1024) 737, 280 ตัวอักขระ หรือถ้าบอกว่าหน่วยความจำขนาด 64 เคไบต์ ก็แปลว่า มีความจุ (64x1024) 65, 536 ตัวอักขระ |
kilo instructions per sec | พันคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า KIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมาก |
kips | (กิปส์) ย่อมาจาก kilo instructions per second พันคำสั่งวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) โดยวัดเป็นจำนวนคำสั่ง (หน่วยเป็นพัน) ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการ (execute) ได้ใน 1 วินาที เช่นคอมพิวเตอร์นี้ทำงานได้ 50 กิปส์ หมายความว่า ทำงานได้เร็วห้าหมื่นคำสั่งในหนึ่งวินาที ปัจจุบัน นิยมใช้หน่วยวัดเป็นมิปส์หรือ MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) เพราะคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นมากดู MIPS เปรียบเทียบ |
link | (ลิงคฺ) { linked, linking, links } n. สิ่งเชื่อมต่อ, การเชื่อม, ข้อต่อ, ข้อลูกโซ่, ห่วงเชื่อม, เครื่องประสาน, เครื่องเกี่ยวดอง, หน่วยสื่อสาร, กระดุมหรือที่หนีบของแขนเสื้อเชิ้ต, หน่วยความยาว7.92 นิ้ว (หน่วยวัด) , ส่วนที่เป็นโค้งเว้าของแม่น้ำลำธาร. vt., vi. เชื่อม, ต่อ, ประสาน |
lpm | (แอลพีเอ็ม) ย่อมาจาก lines per minute (บรรทัดต่อนาที) เป็นหน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer) เช่น พิมพ์ได้ 800 บรรทัดต่อนาที เป็นต้น |
lps | (แอลพีเอส) ย่อมาจาก lines per second (บรรทัดต่อวินาที) เป็นหน่วยวัดความเร็วในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์รายบรรทัด (line printer) เช่น พิมพ์ได้ 100 บรรทัดต่อวินาที เป็นต้น |
measurement | (เมส'เชอเมินทฺ) n. การวัด, ขนาดที่วัด, ระบบการวัด, หน่วยวัด., See also: measurements n. ขนาดต่าง ๆ เป็นนิ้วของผู้หญิง ครึ่งลำตัว เอว ตะโพก |
megahertz | (เมก' กะเฮิรตซ์) n. เมกกะเฮิรตซ์ , เท่ากับหนึ่งล้านรอบต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความถี่ มีความหมายเหมือน megacycle |
million instructions per | ล้านคำสั่งต่อวินาทีใช้ตัวย่อว่า MIPS เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานตามโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งของตัวประมวลผลหรือของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อว่า สามารถประมวลผลได้กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที ยิ่งมาก แสดงว่ายิ่งทำงานได้เร็ว |
mips | (มิปส์) ย่อมาจาก million instructions per second แปลว่า ล้านคำสั่งต่อวินาที เป็นหน่วยวัดความเร็วของการทำงานตามโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งของตัวประมวลผล หรือของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อว่า สามารถประมวลผลได้กี่ล้านคำสั่งต่อวินาที ยิ่งมากแสดงว่ายิ่งทำงานได้เร็ว |
pages per minute | ใช้ตัวย่อว่า ppm. (อ่านว่า พีพีเอ็ม) เป็นหน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ (ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์) หมายถึง จำนวนหน้าที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ได้ใน 1 นาที อย่างไรก็ตาม การที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า การพิมพ์ที่ใช้ตัวอักษรธรรมดา หรือตัวอักษรพิเศษ เป็นการพิมพ์ภาพสีเดียว หรือภาพหลายสี ฯ เครื่องพิมพ์บางชนิด วัดความเร็วในการพิมพ์เป็นบรรทัดต่อนาที (lines per minute) ก็มี |
point | (พอยทฺ) n. จุด, จุดประสงค์, จุดเครื่องหมาย, จุดทศนิยม, สิ่งที่มีปลายแหลม, สถานที่, ตำแหน่ง, ทิศทาง, ขั้น, ตอน, สิ่งที่สำคัญที่เข้าใจ, ประเด็น, จุดสำคัญ, เอกลักษณ์, ข้อแนะ, ข้อคำขำ, หน่วย, หน่วยวัด, ขีด, คะแนน, การชี้, vt., vi. ชี้, เล็ง, แจ้ง, ทำให้แหลม, เสริม, ใส่จุดทศนิยม -Phr. (inpoint เข้าประเด็น ทำได้, เกี่ยวข้อง) |
ppm | (พีพีเอ็ม) ย่อมาจาก pages per minute เป็นหน่วยวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ (ส่วนใหญ่ น่าจะเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์) หมายถึง จำนวนหน้าที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ได้ใน 1 นาที อย่างไรก็ตาม การที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์ช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เป็นต้นว่า การพิมพ์ที่ใช้ตัวอักษรธรรมดา หรือตัวอักษรพิเศษ เป็นการพิมพ์ภาพสีเดียว หรือภาพหลายสี ฯ เครื่องพิมพ์บางชนิด วัดความเร็วในการพิมพ์เป็นบรรทัดต่อนาที (lines per minute) ก็มีดู lpm เปรียบเทียบprecedence : การทำก่อนในทางคณิตศาสตร์ หมายถึง การดำเนินการที่ทำก่อนอย่างอื่น เช่น ในนิพจน์ใดที่เครื่องหมาย + - * (คูณ) / (หาร) และวงเล็บ () ก็ต้องทำในวงเล็บก่อน แล้วมาทำ * และ / หลังจากนั้นจึงจะทำ + และ - เช่นนี้ เรียกว่า วงเล็บเป็นลำดับก่อน |
rpm | อาร์พีเอ็ม <คำอ่าน>ย่อมาจาก revolutions per minute หมายถึงจำนวนครั้งที่หมุนรอบตัวเองต่อนาที ใช้เป็นหน่วยวัดความเร็วของการหมุนของอุปกรณ์บางอย่าง เป็นต้นว่า จานบันทึก |
tpi | ร่องต่อนิ้วย่อมาจากคำว่า tracks per inch จำนวนร่องต่อนิ้ว ใช้เป็นหน่วยวัดการบรรจุข้อมูลบนจานบันทึก ดู track ประกอบ |
viscosity | (วิสคอส'ซิที) n. ความเหนียว, ความหนืด, หน่วยวัดความหนืด |