หนังสือราชการ | น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ. |
เกษียน | (กะเสียน) น. ข้อความที่เขียนแทรกไว้เช่นในใบลาน, ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่ง หรือหนังสือราชการ เรียกว่า หัวเกษียน. |
ตราภูมิคุ้มห้าม | น. หนังสือราชการประจำตัวไพร่หลวงสำหรับบางหมู่บางพวก เดิมเพื่อได้รับการลดหย่อนภาษีอากรต่าง ๆ หรือได้รับยกเว้นการเกณฑ์แรงงานตามที่กำหนดให้ ต่อมาเหลือเพียงการลดหย่อนภาษีอากร. |
ท้องตรา | น. หนังสือราชการที่ประทับตราของเจ้ากระทรวง มีไปยังเจ้าเมืองตามหัวเมือง, เดิมเรียกว่า สารตรา. |
บรรณสาร | น. หนังสือราชการ. |
เรียน ๑ | คำขึ้นต้นจดหมายหรือที่ใช้ในการจ่าหน้าซองในหนังสือราชการที่เขียนถึงบุคคลทั่วไป หรือจดหมายส่วนตัวที่บุคคลธรรมดาเขียนถึงกันเพื่อแสดงความนับถือ. |
สารตรา | (สาน-) น. หนังสือราชการที่เชิญพระบรมราชโองการซึ่งประทับตราใหญ่ |
สารตรา | หนังสือราชการที่เสนาบดีเจ้ากระทรวงลงชื่อและประทับตรากระทรวงส่งไปยังหัวเมือง ซึ่งในสมัยต่อมาเรียกว่า ท้องตรา. |
หนังสือ | น. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคำพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์ |
หนังสือเวียน | น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน |
หมาย | น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือสั่งการของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการหรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. |