กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กะล่อน ๒ | ว. อาการที่พูดคล่อง แต่ไม่จริงเป็นส่วนมาก. |
เขิน ๑ | น. ชื่อคนไทใหญ่เผ่าหนึ่ง ส่วนมากอยู่ในแคว้นฉาน ประเทศพม่า |
แขละ | (แขฺละ) น. ลายเกลียวเส้นลวดเล็ก ๆ ส่วนมากนิยมทำไว้ตรงโคนกระเปาะที่ฝังหัวแหวนแบบโบราณชนิดเม้มหรือล้มขอบ. |
ไข่ ๑ | น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้มซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาว วุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามว่า ฟอง ลูก หรือ ใบ |
คอเคซอยด์ | น. ชนชาติผิวขาว มีลักษณะผิวส่วนมากขาวจนถึงสีนํ้าตาล จมูกโด่ง. |
งาช้าง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลหลายชนิดในชั้น Scaphopoda เปลือกลักษณะคล้ายงาช้าง ส่วนมากสีขาว เช่น ชนิด Dentalium aprinumLinn ., D. longitrorsumReeve, ฟันช้าง ก็เรียก. |
จุลชีพ, จุลชีวัน, จุลชีวิน, จุลินทรีย์ | น. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ ส่วนมากมีเซลล์เดียว. |
เจือ | ก. เอาส่วนน้อยประสมลงไปในส่วนมากให้ระคนปนกัน ตามปรกติใช้กับของเหลว เช่น เอานํ้าเย็นเจือนํ้าร้อน |
เจือปน | ก. เอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน. |
ซิก ๒, ซิกข์ | ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาซิกข์ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
ตะเกียง ๑ | น. เครื่องใช้สำหรับตามไฟ มีไส้ซึ่งหล่อน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันมะพร้าว มีรูปร่างต่าง ๆ ส่วนมากมีหลอดหรือโป๊ะบังลม, ลักษณนามว่า ดวง. |
ตะวันออก | เรียกประชาชนที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนมากเป็นพวกผิวเหลือง ว่า ชาวตะวันออก. |
ทยอย ๒ | (ทะ-) น. คำนำหน้าชื่อเพลงไทย ส่วนมากมีลักษณะเป็นเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยใน ทยอยเดี่ยว |
ทอร์นาโด | น. ชื่อพายุประจำถิ่นชนิดหนึ่ง มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. |
ทั่วไป, ทั่ว ๆ ไป | ว. ธรรมดา ๆ เช่น โดยเหตุผลทั่ว ๆ ไป, ไม่จำกัด เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฎหมายทั่วไป ใช้กับทุกคน, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, เช่น คนทั่ว ๆ ไป. |
เบ็ด | น. เครื่องมือสำหรับตกปลา หรือ กุ้ง รูปเป็นขอสำหรับเกี่ยวเหยื่อ ส่วนมากมีเงี่ยง. |
ปน | ก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน. |
ปอด ๑ | น. อวัยวะทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจอยู่ภายในร่างกายของคนหรือสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเป็นส่วนมาก |
ปะการัง | น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด ในชั้น Anthozoa ส่วนมากตัวมีขนาดเล็ก พวกเดียวกับดอกไม้ทะเล รูปทรงกระบอก อาศัยอยู่เดี่ยว ๆ หรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างหินปูนห่อหุ้มตัวเป็นโครงร่างหลายแบบ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลเขตร้อน บริเวณชายฝั่งและรอบ ๆ เกาะ เช่น ปะการังเห็ด [ Fungia fungites (Linn.) ] ปะการังเขากวาง [ Acropora formasa (Dana) ] ในโครงสร้างที่ทับถมกันเพิ่มมากขึ้น เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือเทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือเทือกปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง. |
ปะแล่ม, ปะแล่ม ๆ | ว. อ่อน ๆ น้อย ๆ (ส่วนมากใช้แก่สิ่งที่มีรสหวาน) เช่น หวานปะแล่ม ๆ. |
ปากคีบ | น. เครื่องคีบเป็นเหล็ก ๒ ขา ส่วนมากมีปลายแหลม สำหรับคีบสิ่งของ. |
ปากจิ้งจก ๒ | น. ชื่องูขนาดกลางชนิด Ahaetulla prasina (Boie) ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๓ เมตร หัวและลำตัวเรียวยาว มีหลายสี ส่วนมากสีเขียวปลายหางสีนํ้าตาลแดง มักพบอาศัยบนต้นไม้ หากินเวลากลางวัน ส่วนใหญ่กินกิ้งก่า พบทั่วประเทศไทย มีพิษอ่อนมาก, บางครั้งเรียกชื่อตามสี เช่น ตัวสีส้มเรียก งูง่วงกลางดง ตัวสีเทาเรียก งูกล่อมนางนอน, เขียวหัวจิ้งจก เชือกกล้วย รากกล้วย หรือ แห้ว ก็เรียก. |
เผาอิฐ | ก. เผาดินซึ่งส่วนมากทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สุกเพื่อใช้ก่อตึกหรือกำแพง เป็นต้น. |
พายุทอร์นาโด | น. พายุประจำถิ่นขนาดเล็ก แต่มีความรุนแรงมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ กิโลเมตร บริเวณศูนย์กลางพายุมีความกดอากาศต่ำมาก จึงทำให้อากาศรอบนอกที่พัดเข้าหาศูนย์กลางพายุมีความเร็วสูงมาก เมื่อเริ่มเกิดเมฆจะม้วนตัวเป็นรูปกรวยหรืองวงยื่นออกมาจากฐานเมฆ ส่วนมากเกิดในบริเวณตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและทางตะวันตกของออสเตรเลีย, ลมงวง หรือ ลมงวงช้าง ก็เรียก. |
ฟันม้า | น. ชื่อแร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีหลายสี ส่วนมากมักมีสีขาวขุ่นคล้ายฟันม้า ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า หินฟันม้า. (ดู เฟลด์สปาร์). |
เฟลด์สปาร์ | น. ชื่อแร่ประกอบหินชนิดหนึ่ง มีหลายสี ส่วนมากมักมีสีขาวขุ่นคล้ายฟันม้า, ชาวบ้านมักเรียกกันว่า หินฟันม้า. |
ภาษาคำโดด | น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. |
มโหระทึก | น. กลองโลหะหน้าเดียวส่วนมากทำด้วยสัมฤทธิ์ ใช้ตีเป็นสัญญาณประโคมในพิธีกรรม. |
โมโนแซ็กคาไรด์ | น. สารประกอบคาร์โบ-ไฮเดรตจำพวกนํ้าตาล ส่วนมากเป็นพวกที่มีสูตรโมเลกุล C6H12O6 (hexoses) หรือ C5H10O5 (pentoses), มอโนแซ็กคาไรด์ ก็ว่า. |
ไม้สูง | น. งานช่างไม้ที่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง ทำสิ่งเกี่ยวกับเครื่องยอดเครื่องสูง เช่น ยอดปราสาท ยอดเจดีย์ ยอดบุษบก, เรียกช่างที่ทำงานในลักษณะเช่นนี้ ว่า ช่างไม้สูง, เรียกการละเล่นที่ผู้เล่นจะต้องต่อขาให้สูงขึ้นด้วยไม้คู่หนึ่ง ส่วนมากเป็นไม้กระบอก มีลูกทอยสำหรับเหยียบ ว่า เล่นเดินไม้สูง, เรียกการละเล่นไต่ลวดตีลังกา ว่า เล่นไม้สูง |
ยาดำ | น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตามขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Asphodelaceae นำไปเคี่ยวให้งวดแล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. vera (L.) Burm. f. |
เยภุยนัย | น. วิธีที่คนส่วนมากใช้. |
รา ๒ | น. ชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีคลอโรฟิลล์ ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ แพร่พันธุ์โดยสปอร์ อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ร่วมกับพืชอื่นก็มี. |
ล่วม | น. เครื่องสำหรับใส่หมากพลูบุหรี่ ส่วนมากทำด้วยผ้า มีใบปก เป็นของใช้โบราณ แต่ที่ทำด้วยโลหะก็มี, ถ้าเป็นของเจ้านาย เรียกว่า พระล่วม, สำหรับใส่ยา เรียกว่า ล่วมยา. |
ลูกประคำ | น. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทำเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อยด้วยด้ายหรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สำหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้นใช้สวมคอเพื่อกำหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนาจบครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทำเช่นนั้น. |
เลื้อยคลาน | น. สัตว์เลือดเย็นจำพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิดออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน. |
สละ ๒ | ชื่อระกำพันธุ์หนึ่ง ส่วนมากผลมีเมล็ดเดียว. |
ส่อ | ก. แสดงให้รู้เป็นนัย ๆ (ส่วนมากใช้ไปในทางที่ไม่ดี) เช่น สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล ส่อเจตนาทุจริต ส่อพิรุธ |
สัตว-, สัตว์ | (สัดตะวะ-, สัด) น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. |
สายม่าน | น. ชื่องูขนาดกลางหลายชนิด ในวงศ์ Colubridae ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร ส่วนมากลำตัวสีนํ้าตาล เกล็ดสันหลังมักวาวคล้ายสีทองเหลือง ว่องไวปราดเปรียว ออกหากินเวลากลางวันตามป่าหญ้าและบนต้นไม้ กินกบ เขียด กิ้งก่า พบทุกภาคของประเทศไทย ไม่มีพิษ เช่น สายม่านลิ้นแดง [ Dendrelaphis pictus (Gmelin) ] สายม่านหลังทอง [ D. formosus (Boie) ]. |
สิกข์, สิข | ชื่อชาวอินเดียพวกหนึ่งที่นับถือศาสนาสิกข์ ส่วนมากอยู่ในแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย |
หาด | น. เนินที่ลาดลงไปในนํ้าหรือบริเวณที่ตื้นเขินเป็นเนินอยู่กลางนํ้า ส่วนมากเป็นเนินทราย, ที่เป็นเนินกรวดหรือเนินหิน เรียกว่า หาดกรวด หาดหิน ก็มี. |
อู | น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus (Linn.) ตัวผู้บริเวณหน้า หงอน และเหนียงสีแดงจัด ขนคอยาว สีน้ำตาลแดง ขนปีกสีดำเหลือบเขียวเป็นมัน ขนตะโพกสีเหลือง ขนหางยาวเป็นมันสีดำเหลือบเขียว อาจมีขนสีเหลืองหรือขาวแซม ลำตัวล่ำ ช่วงไหล่ใหญ่ น่องใหญ่ล่ำ แข้งกลมเรียวมีเกล็ดขนาดใหญ่สีเหลืองอ่อน เทา หรือเหลืองอมแดง มีเดือยข้างละ ๑ อัน ลักษณะยาวปลายโค้งแหลม ตัวเมียรูปร่างเล็กกว่า ขนตามลำตัวส่วนมากมีสีดำ หรือดำประขาว มีหลายพันธุ์ เช่น ประดู่หางดำ เหลืองหางขาว. |
Interactive multimedia | สื่อประสมเชิงโต้ตอบ, ส่วนมากใช้ สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ [เทคโนโลยีการศึกษา] |
Classes of Consuls | เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุล แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ กงสุลอาชีพ (Consules de Carriere) กับกงสุลกิตติมศักดิ์ (Honorary Consuls) กงสุลอาชีพเป็นคนชาติของรัฐผู้ส่ง และจะประจำทำงานเต็มเวลาในที่ทำการทางกงสุล ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์นั้นไม่มีฐานะเป็นกงสุลอาชีพ โดยมากเป็นนักธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะประจำทำงานเพียงส่วนหนึ่งของวัน (ไม่ใช่เต็มวัน) ในสถานที่ทำการทางกงสุลของตน และอาจจะเป็นคนชาติของรัฐที่เขาเป็นตัวแทนอยู่ หรือไม่เป็นคนชาติของรัฐนั้นก็ได้ ความแตกต่างอื่นๆ ระหว่างกงสุลอาชีพกับกงสุลกิตติมศักดิ์ มีดังนี้1. กงสุลอาชีพจะได้รับเงินเดือนประจำ แต่กงสุลกิตติมศักดิ์ไม่มีเงินเดือน2. กงสุลอาชีพมีตำแหน่งหน้าที่ถาวร ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์มีตำแหน่งว่าจ้างเพียงชั่วคราว 3. ส่วนมากกงสุลอาชีพจะต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนกงสุลกิตติมศักดิ์ไม่ต้องเป็นเช่นนั้น4. กงสุลอาชีพมีสิทธิได้รับความคุ้มกัน (immunities) และการยกเว้นต่าง ๆ มากกว่ากงสุลกิตติมศักดิ์สำหรับบุคคลที่เป็นหัวหน้าในที่ทำการทางกงสุลนั้น มีตำแหน่งตามลำดับชั้น คือ1) กงสุลใหญ่ (Consuls-general)2) กงสุล (Consuls)3) รองกงสุล (Vice-consuls) [การทูต] |
Declaration | คำประกาศ หรือ ปฏิญญา ตามความเห็นของผู้ทรงคุณความรู้ทางกฎหมายระหว่างประเทศ ส่วนมากได้ให้ความเห็นว่า คำนี้มีความหมายต่างกันอยู่สามประการ คือประการแรก ใช้เป็นชื่อเรียกข้อกำหนดต่าง ๆ ของสนธิสัญญา กล่าวคือ ตามสนธิสัญญานี้ ภาคีคู่สัญญารับที่จะปฏิบัติตามแนวทางบางประการในอนาคตประการที่สอง เป็นคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่รัฐอื่นๆ เช่น คำประกาศสงครามประการสุดท้าย หมายถึง การกระทำซึ่งรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐได้ติดต่อแจ้งไปยังรัฐอื่น ๆ ซึ่งเป็นการอธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนพฤติกรรมของฝ่ายตนในอดีต หรืออธิบายทรรศนะและเจตจำนงเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่อง คำประกาศสำหรับความหมายสองประการหลังไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นสนธิสัญญาอนึ่ง ในกรณีคำประกาศถ่ายเดียว (Unilateral Declaration) นั้น บางทีรัฐหนึ่งต้องการเสนอนโยบายหรือหนทางปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งของตน โดยประกาศนโยบายหรือหนทางปฏิบัตินั้นไปให้รัฐอื่นๆ ทราบกันไว้ อาทิเช่น ลัทธิมอนโร (Monroe Doctrine) ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้ประกาศออกไปในรูปคำประกาศถ่ายเดียว เป็นต้น [การทูต] |
Exemption from Customs Duties and Inspection of Diplomatic Mission?s Articles | การยกเว้นจากอากรศุลกากร และการตรวจสิ่งของเครื่องใช้ของคณะผู้แทนทางการทูต การยกเว้นดังกล่าวนี้ไม่ถือว่าเป็นสิทธิ แต่เป็นเรื่องของการแสดงอัธยาศัยไมตรีระหว่งประเทศที่ให้ต่อกันมากกว่า กฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้กำหนดพันธะที่จะต้องให้การยกเว้นจากอากรศุลกากร อย่างไรก็ดี รัฐส่วนมากได้แสดงอัธยาศัยไมตรีโดยให้ผู้แทนทางการทูตได้รับการยกเว้นอากร ศุลกากรแก่สินค้าและเครื่องใช้ที่นำเข้ามาใช้ในส่วนตัวเองอนุสัญญากรุง เวียนนาได้ระบุไว้ในมาตรที่ 36 ว่า1. รัฐผู้รับจะอนุญาตให้นำเข้าและอำนวยให้มีการยกเว้นจากอากรศุลกากร ภาษี ตลอดจนค่าภาระที่เกี่ยวข้องทั้งมวล นอกจากค่าภาระในการเก็บรักษา การขนส่งและบริการ ให้ทำนองเดียวกันตามกฎหมายหรือข้อบังคับ ซึ่งรัฐผู้รับอาจกำหนดไว้แก่ก. สิ่งของสำหรับใช้ในทางการของคณะผู้แทนข. สิ่งของสำหรับใช้ส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต หรือคนในครอบครัวของตัวแทนทางการทูต ซึ่งประกอบเป็นส่วนครัวเรือนของตัวแทนทางการทูต รวมทั้งสิ่งของที่แสดงเจตนาสำหรับการตั้งถิ่นฐานของตัวแทนทางการทูตด้วย2. หีบห่อส่วนบุคคลของตัวแทนทางการทูต ให้ได้รับยกเว้นจากการตรวจตรา นอกจากมีมูลเหตุอันร้ายแรงที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า หีบห่อส่วนตัวนั้นบรรจุสิ่งของซึ่งไม่อยู่ในข่ายแห่งการยกเว้นที่ได้ระบุไว้ ในวรรค 1 ของข้อนี้ หรือสิ่งของซึ่งการนำเข้าหรือส่งออกนั้นต้องห้ามทางกฎหมาย หรือถูกควบคุมตามข้อบังคับว่าด้วยการกักตรวจโรคของรัฐผู้รับ การตรวจตราเช่นว่านี้ให้กระทำต่อหน้าตัวแทนทางการทูต หรือต่อหน้าผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจของตัวแทนทางการทูตเท่านั้น [การทูต] |
National Holiday | วันชาติ คือสถานเอกอัครราชทูตทีมีอยู่ทั่วโลก จะนิยมฉลองวันชาติของประเทศของตน ส่วนมากจะถือเอาวันครบรอบปีแห่งการประกาศเอกราช หรือวันครบรอบปีของเหตุการณ์ที่ทรงความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของ ประเทศตนเป็นวันชาติ ส่วนในประเทศที่มีระบอบกษัตริย์ ก็จะยึดเอาวันพระราชสมภพชองกษัตริย์หรือราชินีเป็นวันชาติของประเทศ ในวันชาติ สถานเอกอัครราชทูตจะมีธรรมเนียมจัดงานเลี้ยงรับรอง (Reception) ขึ้นในสถานเอกอัครราชทูตของตนหรือหากเป็นการไม่สะดวกที่จัดงานดังกล่าวขึ้น ในสถานทูต ก็มักไปจัดกัน ณ โรงแรมที่เหมาะสม ในงานเลี้ยงรับรองนี้จะเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงการต่างประทเศ หัวหน้าคณะทูตข้าราชการในสถานเอกอัครราชทูตอื่น ๆ นักหนังสือพิมพ์ เจ้าหน้าที่สื่อมวลชน บุคคลชั้นนำด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม บรรดาคนชาติเดียวกับเอกอัครราชทูตที่กำลังอาศัยอยู่ในประเทศนั้น ตลอดจนบุคคลสำคัญในสังคม รวมทั้งมิตรสหายของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่สมควรเชิญ [การทูต] |
Passport | หนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
Styrene-butadiene rubber | ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน [เทคโนโลยียาง] |
Ag Excess | แอนติเจนอยู่ในอัตราส่วนมากเกินไป [การแพทย์] |
Cloud sky | ท้องฟ้ามีเมฆเป็น ส่วนมากหรือมีเมฆค่อนข้างมาก (เมฆคลุ้ม) [อุตุนิยมวิทยา] |
sperm | ตัวอสุจิ, เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของสัตว์มีขนาดเล็กมาก และมีลักษณะต่าง ๆ กันในสัตว์แต่ละชนิด ตัวอสุจิสามารถเคลื่อนที่ได้ ส่วนมากมีหางยาวช่วยในการเคลื่อนที่ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hypothalamus | ไฮโพทาลามัส, ส่วนล่างของสมองส่วนหน้าที่ยื่นออกมาติดกับต่อมใต้สมอง เซลล์ประสาทของสมองบริเวณนี้ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายชนิด ซึ่งควบคุมการสังเคราะห์ฮอร์โมนภายในต่อมใต้สมอง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
prime number | จำนวนเฉพาะ, จำนวนเต็ม a ซึ่งไม่เท่ากับ 0 หรือ ±1 และต้องหารลงตัวด้วย ±1 และ ± a เท่านั้น เช่น ±3, ± 5, ± 7, ± 11 เป็นต้น (ส่วนมากมักจะกล่าวถึงจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนจริงบวกเท่านั้น) [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
heat conductor | ตัวนำความร้อน, สารที่มีสภาพนำความร้อนสูง ตัวนำความร้อนที่ดีส่วนมากเป็นโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cosmic rays | รังสีคอสมิก, รังสีที่มีพลังงานสูงจากนอกโลก ประกอบด้วยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ส่วนมากเป็นโปรตอน และมีอิเล็กตรอน รังสีแอลฟาและนิวเคลียสของธาตุบางธาตุปนอยู่ด้วย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
incandescent lamp | หลอดไฟฟ้า, หลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างด้วยความร้อน ภายในหลอดบรรจุแก๊สเฉื่อย มีไส้หลอดเป็นเส้นใยเส้น ๆ ขดเป็นเกลียว ส่วนมากทำด้วยทังสเตน เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปจะทำให้ไส้หลอดร้อน และเปล่งแสงสว่างออกมา ดูรูป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
floating rice | ข้าวขึ้นน้ำ, ข้าวที่ปลูกได้ในที่ลุ่มที่มีระดับน้ำในนาลึกเกิน 80 เซนติเมตรขึ้นไป ส่วนมากปลูกแบบหว่าน เช่น พันธุ์ข้าวปิ่นแก้ว 56 ข้าวขาวพลวง 32 เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gneiss | หินไนส์, หินแปรที่แร่ประกอบหินเรียงตัวขนานกันเป็นทาง ส่วนมากมีสีดำ คำนี้ใช้ประกอบชื่อหินเพื่อแสดงลักษณะของหิน เช่น หินแกรนิตไนส์ เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gypsum | ยิปซัม, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบพวกแคลเซียมซัลเฟตและน้ำ (CaSO42.2H2O) ส่วนมากจะใสไม่มีสี แต่อาจพบชนิดที่มีสี เช่น สีเทา สีแดงมีความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะมีค่าระหว่าง 2.2-2.4 ใช้ในอุตสาหกรรมทำปูนซีเมนต์ ทำเป็นแผ่นบุฝาผนังและเพดานห้อง เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
quartz | ควอรตซ์, แร่ชนิดหนึ่งเป็นผลึกของสารประกอบออกไซด์ของซิลิคอน (SiO2) ส่วนมากเป็นผลึกใส ไม่มีสี หรือสีขาวขุ่น อาจพบมีสีม่วง ชมพู เขียว เป็นต้น มีความแข็งประมาณ7 ความถ่วงจำเพาะ = 2.6 โดยทั่วไปเรียกว่า แร่เขี้ยวหนุมาน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
membrane | เยื่อ, สิ่งที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ มีรูขนาดเล็กมาก ส่วนมากยอมให้สารซึ่งมีอนุภาคเล็ก ๆ เท่านั้นซึมผ่าน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
synthetic dye | สีย้อมสังเคราะห์, สารเคมีที่มีสีซึ่งได้จากการสังเคราะห์ สีย้อมสังเคราะห์ส่วนมากมีโมเลกุลเล็กและสามารถละลายได้ในสารละลาย ใช้ย้อมวัสดุพวกสิ่งทอ กระดาษ หนังสัตว์ ขี้ผึ้ง หรือขนสัตว์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
aliasing | หมายถึงรอยหยักที่ปรากฏกับภาพตรงบริเวณที่เป็นเส้นโค้ง ภาพของคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะเห็นรอยหยักนี้ชัดเมื่อขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น |
all-purpose computer | คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นใช้เพื่อให้ทำงานสนองความต้องการได้หลายวัตถุประสงค์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่อาจใช้วิธีการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้ทำงานได้ด้วยภาษาต่าง ๆ หลายภาษา (คอมพิวเตอร์ที่พูดถึงโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ทั้งสิ้นดู special purpose computer เปรียบเทียบ |
antivirus | ป้องกันไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ จะหมายถึงโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ช่วยป้องกัน ตรวจหา และกำจัดไวรัสก่อนที่ไวรัสนั้นจะเข้ามาทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะสามารถระบุชื่อไวรัสได้ด้วยดู virus ประกอบ |
ascii file | แฟ้มข้อมูลแอสกี <คำแปล>หมายถึงแฟ้มข้อมูลที่ไม่ใช่โปรแกรม มีตัวอักขระที่ใช้เป็นรหัสแอสกีทั้งหมด บางที เรียกว่า " text file " แฟ้มแอสกี (ASCII file) มีลักษณะเฉพาะคือเป็นแฟ้มที่ไม่มีรูปแบบในการจัดหน้า ข้อความจะยาวไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการขึ้นบรรทัดใหม่ นอกจาก จะเริ่มระเบียนใหม่ โปรแกรมเวิร์ด สตาร์ (WordStar) เป็นผู้นำคำนี้มาใช้ก่อน (ตรงข้ามกับ document file ซึ่งหมายถึง แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดรูปหน้าไว้แล้ว) ส่วนมากจะใช้ศัพท์นี้เมื่อต้องการเปลี่ยน (convert) แฟ้มข้อมูลของโปรแกรมหนึ่งเป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง เช่นจาก Word Perfect เป็น Microsoft Word ในกรณีเช่นนี้ อาจจะมีเมนูให้เลือกได้ว่าจะเปลี่ยนเป็น text file หรือ ASCII file หรือไม่ ซึ่งก็หมายความว่าเปลี่ยนเป็นแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้ร่วมกันได้ ภายใต้ระบบปฏิบัติการเดียวกัน นิยมใช้กันมากในระบบสื่อสารและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล |
balloon help | คำอธิบายสั้น ๆ หมายถึง คำอธิบายพิเศษที่เครื่องแอปเปิลแมคอินทอชที่ใช้ System 7 จัดไว้ เพื่ออธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ส่วนมากจะเป็นคำอธิบายสั้น ๆ แสดบนจอภาพในลักษณะของคำพูดในหนังสือการ์ตูน ไม่เหมือน กับเมนู Help ของเดิม ที่มีข้อมูลหรือคำอธิบายยาว ๆ |
bundled software | โปรแกรมโหลหมายถึง ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่ร้านขายคอมพิวเตอร์ มักจะให้มา เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะเป็นเป็นโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้ เช่น โปรแกรมระบบดอสและวินโดว์แล้ว |
cd-rom | (ซีดีรอม) ย่อมาจาก compact disc read-only memory หมายถึง compact disc ที่เป็นฟอร์แมตสำหรับผลิตภัณฑ์มัลติมีเดีย และเก็บเสียง ภาพ และข้อความ เป็นต้น เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ จะมีหน่วยบันทึกที่อ่านซีดีรอมได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพ หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์ หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกข้อมูลลงยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคาอุปกรณ์นี้ยังค่อนข้างแพง |
cd-rom drive | หน่วยขับซีดีรอมหมายถึง หน่วยบันทึกที่ใช้อ่านจานบันทึกอัดแน่น หรือซีดี ในปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนมากมีหน่วยบันทึกที่สามารถอ่านข้อมูลจากสื่อชนิดนี้ได้ แต่ยังคงบันทึกข้อมูลลงไปไม่ได้ ต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ความเร็วในการอ่านค่อนข้างสูงจนดูภาพเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนดูภาพยนตร์ ในปัจจุบัน จานซีดีกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทุกที ทำให้ราคาถูกลงมาก คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจึงมักจะมีหน่วยบันทึกชนิดนี้ติดตั้งไว้ด้วย |
check sum | ผลรวมตรวจสอบหมายถึง ผลการคำนวณเพื่อยืนยันในความแม่นตรงของการถ่ายโอนข้อมูลผ่านทางโมเด็ม ส่วนมากจะเป็น XModem โดยปกติ ในการส่งข้อมูล คอมพิวเตอร์จะต้องจัดการแยกข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ก่อน ฉะนั้นเมื่อส่งเรียบร้อยแล้ว จึงต้องมีการตรวจสอบผลรวม ถ้าตรงกัน ก็แปลว่า ข้อมูลที่ส่งออกไปถูกต้องครบถ้วน |
color printer | เครื่องพิมพ์สีหมายถึงเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์สีต่าง ๆ ได้ ส่วนมากจะเป็นประเภทฉีดหมึก (ink jet) การพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ต้องใช้กระดาษชนิดพิเศษ ไม่ให้หมึกซึม สีที่ใช้อาจมีเพียง 3 สี แต่คอมพิวเตอร์สามารถสั่งให้ผสมออกมาเป็นสีต่าง ๆ ได้อีกมากมาย |
compact disk | ใช้ตัวย่อว่า CD เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เครื่อง คอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ มักจะมีหน่วยบันทึกที่อ่านจานบันทึกนี้ได้ ข้อมูลที่เก็บในสื่อชนิดนี้จะเป็นข้อความ ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว (ภาพยนตร์) หรือเสียงก็ได้ รูปลักษณะทั่วไปก็เหมือนจานซีดีที่บรรจุเพลง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.72 นิ้ว จุข้อมูล 600 เมกะไบต์หรือประมาณ 400 เท่าของจานบันทึกขนาด 3.5 นิ้ว ส่วนมากนิยมใช้เก็บโปรแกรม หรือใช้เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุด ศูนย์สารนิเทศ นิยมใช้ในระบบเครือข่าย ทำให้สะดวกสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามสาย (on line) ส่วนใหญ่จานบันทึกประเภทนี้ยังคงใช้อ่านได้อย่างเดียว (read only) การบันทึกยังต้องมีอุปกรณ์พิเศษ ราคายังค่อนข้างแพง |
computer language | ภาษาคอมพิวเตอร์หมายถึงภาษาที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เพื่อสื่อสารให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ โดยปกติเราแบ่งภาษาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ออกเป็น 2 ชนิด คือ1. ภาษาเครื่อง (machine language) คำสั่งที่เขียนด้วยภาษานี้เครื่องจะรับรู้และปฏิบัติตามได้ทันที ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์แต่ละแบบก็จะคิดแบบของภาษาที่ใช้กับเครื่องนั้น ๆ ขึ้นเป็นภาษาเฉพาะของเครื่องลักษณะของภาษาประเภทนี้จะเป็นตัวเลขฐานต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ ฉะนั้นจึงเป็นการยากสำหรับผู้เขียนโปรแกรม ซึ่งต้องเรียนรู้รายละเอียดของเครื่องนั้น ๆ ก่อน จึงจะใช้ภาษาได้2. ภาษาแนวมนุษย์ (human oriented language) หมายถึงภาษาที่มนุษย์เข้าใจ (แต่เครื่องไม่เข้าใจ) เนื่องจากภาษาเครื่องยุ่งยากและสับสน จึงมีการคิดภาษาหนังสือซึ่งมนุษย์เราเคยชินกันอยู่แล้วขึ้น แล้วใช้ตัวแปล (translator) แปลเป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง เครื่องจึงจะดำเนินการได้ ภาษาแนวมนุษย์นี้แบ่งออก ได้เป็น 2 ระดับ คือ2.1 ภาษาระดับต่ำ (low - level language) เช่น ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) 2.2 ภาษาระดับสูง (high - level language) เช่นภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) โคบอล (COBOL) ลักษณะของภาษาระดับสูงนี้ ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นให้เหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง เช่น ภาษาฟอร์แทรน เหมาะกับงานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และงานวิจัย ภาษาโคบอลและอาร์พีจี (RPG) เหมาะกับงานด้านธุรกิจ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีภาษาอื่นที่เป็นที่นิยมอีกมาก ภาษาเหล่านี้จะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนมาก เพราะในคอมพิวเตอร์ จะมีตัวแปล (translator) ซึ่งมีหน้าที่คอยแปลภาษาแนวมนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องอีกทีหนึ่ง การใช้ภาษาแนวมนุษย์นี้มีข้อดีคือ ใช้ง่ายกว่า มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่ายกว่า และเขียนได้สั้นกว่า เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลาย ๆ คำสั่งของภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดี ตรงที่ใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการแปล |
cray research, inc. | <ชื่อบริษัท>สถาบันวิจัยเครย์ <คำแปล>เป็นชื่อบริษัทที่สร้างคอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ยิ่งใหญ่บริษัทหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นขนาดที่เรียกกับว่า supercomputer ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกมีชื่อว่า Cray I ในปี ค.ศ.1977 คอมพิวเตอร์ขนาดนี้จะมีราคาสูงมาก และมักจะใช้กับงานใหญ่ ๆ เป็นต้นว่า การส่งยานอวกาศออกไปนอกโลก เป็นต้น |
data bank | คลังข้อมูลหมายถึง ที่หรือแหล่งเก็บข้อมูล หรือแหล่งที่รวบรวมข้อมูลไว้เป็นจำนวนมาก ส่วนมากจะอยู่กับหน่วยงานคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยคอมพิวเตอร์ของกระทรวงเกษตร อาจเป็นคลังข้อมูลในเรื่องของ ผลผลิต เนื้อที่การเกษตร รายละเอียดเกี่ยวกับกสิกร สัตว์ที่ใช้ในการเกษตร สินค้าเกษตร ฯลฯ เป็นต้น |
digital computer | ดิจิตอลคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์เชิงเลขหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์แบบหนึ่ง ซึ่งจะแก้ปัญหาได้ด้วยวิธีการทางเลขคณิต โดยป้อนข้อมูลเป็นตัวเลข และให้ผลลัพธ์เป็นเลข คอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จะคิดคำนวณในระบบตัวเลขด้วยสัญญาณดิจิตอล คือ บวก ลบ คูณ หาร และเปรียบเทียบ และจะให้ค่าที่ไม่ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์นั้นแบ่งตามลักษณะการรับ/ส่งข้อมูลเป้น 2 ชนิด คือ อะนาล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) และดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ส่วนมากจะเป็น ดิจิตอลคอมพิวเตอร์เกือบทั้งสิ้น ผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ชนิดนี้ จะถูกต้องและแม่นยำกว่าอะนาล็อกคอมพิวเตอร์ดู analog computer เปรียบเทียบ |
dot matrix printer | เครื่องพิมพ์แบบจุดส่วนมากเรียกกันสั้น ๆ ว่า dot matrix หรือ dot printer หมายถึง เป็นเครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ใช้เข็มตอกลงบนกระดาษ ทำให้ผลที่ออกมาดูเป็นจุดเรียงไปตามตารางรูปสี่เหลี่ยม จุดเหล่านี้จะรวมกันเป็นตัวอักขระที่เป็นรูปและขนาดที่ต้องการ สำหรับเส้นโค้งนั้นเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ ทำไม่ได้ดีนัก แต่หากมีจุดเรียงกันได้ละเอียดเท่าใด เส้นโค้งก็จะดูดีขึ้นและตัวอักษรก็จะดูสวยงามขึ้น คุณภาพของเครื่องพิมพ์นั้น จึงวัดกันเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว ยิ่งเครื่องพิมพ์มีคุณภาพ ก็ต้องยิ่งมีจำนวนจุดต่อนิ้วมากมีความหมายเหมือน dot printer ดู printer ประกอบ |
dots per inch | จุดต่อนิ้วใช้ตัวย่อว่า dpi เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว |
dpi | (ดีพีไอ) ย่อมาจาก dots per inch (จุดต่อนิ้ว) เป็นหน่วยวัดความละเอียดหรือความคมชัด (resolution) ของภาพ ยิ่งมีจำนวนจุดมากต่อนิ้ว ก็ยิ่งแปลว่าคมชัดมาก ส่วนมากใช้กับเครื่องพิมพ์ เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีความละเอียด 300-600 จุดต่อนิ้ว ในขณะที่เครื่องพิมพ์แบบจุดบางเครื่อง มีความละเอียดเพียง 9 - 12 จุดต่อนิ้ว |
emm | (อีเอ็มเอ็ม) ย่อมาจากคำ expanded memory manager เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486 |
eor | (อีโออาร์) ย่อมาจาก end of reel marker (แปลว่า เครื่องหมายสิ้นสุดแถบบันทึก) หมายถึง จุดสิ้นสุด ทำไว้ที่ปลายแถบบันทึกหรือเทป (tape) เพื่อบอกว่าไม่สามารถบันทึกต่อจากจุดนี้ได้ เมื่ออ่านหรือบันทึกลงถึงจุดนี้แล้ว เทปจะหยุดทันที ไม่อ่านหรือบันทึกต่อ ส่วนมากจะทำเป็นช่วงสะท้อนแสงยาวประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งหัวอ่านและบันทึกของเทปจะสัมผัสได้ด้วยไฟฟ้ามีความหมายเหมือน end of tape marker หรือ EOT |
eot | (อีโอที) 1. ย่อมาจาก end of tape marker (เครื่องหมายสิ้นสุดแถบบันทึก) หมายถึง จุดสิ้นสุดไว้ที่ปลายแถบบันทึกหรือเทป (tape) เพื่อบอกว่าไม่สามารถบันทึกต่อจากจุดนี้ได้ เมื่ออ่านหรือบันทึกลงถึงจุดนี้แล้วเทปจะหยุดทันทีไม่อ่านหรือบันทึกต่อ ส่วนมากจะทำเป็นช่วงสะท้อนแสงยาวประมาณ 1 นิ้ว ซึ่งหัวอ่านและบันทึกของเทปจะสัมผัสได้ด้วยไฟฟ้ามีความหมายเหมือน end of reel หรือ EOR2. ย่อมาจาก end of text ในรหัสแอสกี (ASCII) ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล มีความหมายว่า จบข้อความแล้ว ไม่มีอีกต่อไป |
expanded memory manager | ชื่อโปรแกรมขยายหน่วยความจำใช้ตัวย่อว่า EMM (อีเอ็มเอ็ม) เป็นชื่อของโปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program) โปรแกรมหนึ่งที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถทำให้หน่วยความจำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผลเป็นชิป (chip) เบอร์ 80386 หรือ 80486 |
filter | (ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง, กระดาษกรอง, สารที่ใช้กรอง, บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก, กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See also: filterer n., Syn. strainer, sieve, sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ format การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี ASCII |
fixed storage | หน่วยเก็บข้อมูลที่เปลี่ยนไม่ได้หมายถึงสื่อที่เก็บข้อมูลครั้งหนึ่งแล้ว นำมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ หมายความว่า จะนำมาลบแล้วบันทึกใหม่อย่างจานบันทึกหรือแถบบันทึกไม่ได้ เมื่อนำมาบันทึกใหม่ไม่ได้ ส่วนมากจึงมักใช้บันทึกแฟ้มข้อมูลที่อ่านได้อย่างเดียว (read only) บางทีหมายถึงรอม (ROM) |
generally | adv. โดยทั่วไป, ส่วนมาก, ส่วนใหญ่, โดยปกติ, ซึ่งไม่ได้เจาะจง, Syn. usually, chiefly |
hypertext | ข้อความหลายมิติหมายถึง การเรียกหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการรู้ ให้แสดงบนจอภาพ ซึ่งอาจมีทั้งข้อความที่ใช้อธิบาย หรือบางทีจะมีภาพประกอบ มีเสียง หรือมีการแสดงการเคลื่อนไหว ฯ ใช้มากในโฮมเพจต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต ส่วนมาก คำที่จะมีคำอธิบายเช่นนี้ มักจะเป็นคำที่ขีดเส้นใต้ไว้ หรือไม่ก็เป็นตัวดำหนา เมื่อลากเมาส์ไปวางที่คำเหล่านี้ ตัวชี้ตำแหน่งจะเปลี่ยนเป็นนิ้วชี้ ถ้ากดเมาส์ ก็จะมีรายละเอียดมาอธิบายให้ หรือจะโยงไปหารายละเอียดของเรื่องนั้น ๆ |
inverse text | ตัวหนังสือเจาะขาวหมายถึงตัวอักษรที่พิมพ์แบบเจาะขาวบนพื้นที่เป็นสีอื่น ส่วนมากจะเป็นสีเข้ม ๆ มักนำมาใช้เมื่อต้องการเน้น เช่น เป็นหัวข้อ มีความหมายเหมือน reverse text |
knowlelge-based | ฐานความรู้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในระบบผู้เชี่ยวชาญ (expert system) หมายถึง ข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในระบบผู้เชี่ยวชาญนี้ ฐานข้อมูลส่วนมากจะประกอบไปด้วยคำสั่งประเภท ถ้า...... (IF) มากทีเดียว ดู expert system และ artificial intelligence ประกอบ |
large | (ลาร์จฺ) adj. ใหญ่, ใหญ่โตมหึมา, ส่วนมาก, กว้าง, กว้างขวาง, (ลม) ดี. adv. อย่างใหญ่โต, อย่างมากมาย, อย่างคุยโว, ตามลม. n. -Phr. (at large อย่างอิสระ, เต็มที่, หลบหนี, มากมาย) -Phr. (in large มากมาย), See also: largeness n. ดูlarge คำที่มีความหมายเหมือนกั |
lump | (ลัมพฺ) { lumped, lumping, lumps } n. ก้อน, ก้อนบวม, ก้อนนูน, กอง, ก้อนน้ำตาลสี่เหลี่ยม, จำนวนมาก, ส่วนมาก, ส่วนใหญ่ adj. เป็นก้อน, ประกอบจากหลาย ๆ ก้อนรวมกัน. vt. รวมกัน, โป๊ะ, ทำให้เป็นก้อน. vi. กลายเป็นก้อน, เคลื่อนที่หรือขยับตัวอย่างอุ้ยอ้าย. |
magnetic ink character re | เครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็กใช้ตัวย่อว่า MICR (อ่านว่า เอ็มไอซีอาร์) หมายถึง เครื่องอ่านตัวอักขระที่พิมพ์ด้วยหมึกแม่เหล็ก การอ่านหมึกแม่เหล็กที่ว่านี้ ใช้วิธีอ่านด้วยแสง ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่อ่านไปเก็บในหน่วยความจำแล้วประมวลผลให้ เหมือนกับการป้อนข้อมูลทางแป้น ส่วนมากใช้อ่านในกิจการของธนาคาร เช่น อ่านเลขที่บัญชีของลูกค้าในสมุดเช็ค เป็นต้น |
majority | (มะจอ'ริที) n., adj. ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, คะแนนเสียงข้างมาก, ตำแหน่งพันตรี, นิติภาวะ. |
micr | (เอ็มไอซีอาร์) ย่อมาจาก magnetic ink character reader แปลว่าเครื่องอ่านอักขระหมึกแม่เหล็ก การอ่านนี้จะทำให้คอมพิวเตอร์นำข้อมูลที่อ่านไปเก็บในหน่วยความจำแล้วประมวลผลให้ เหมือนกับการป้อนข้อมูลทางแป้นพิมพ์ หมึกที่ใช้ต้องมีลักษณะพิเศษ เช่นเป็นแม่เหล็ก ส่วนมากใช้อ่านในกิจการของธนาคาร เช่น อ่านเลขที่บัญชีของลูกค้าในสมุดเช็ค เป็นต้น |
mostly | (โมสทฺ'ลี) adv. ส่วนมาก, Syn. principally |
overwrite | บันทึกทับหมายถึง การบันทึกแฟ้มข้อมูลลงเก็บในหน่วยบันทึก โดยใช้ชื่อซ้ำกับชื่อแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่เดิม หรือบันทึกข้อมูลทับลงไปในที่อยู่ (address) เดิม การทำดังกล่าวจะมีผลให้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลเดิมหายไป (มีความหมายเหมือน replace) ส่วนมาก คอมพิวเตอร์มักจะมีคำเตือนย้ำให้ก่อนเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้คำสั่ง "save as" เพื่อสั่งเก็บข้อมูลลงในหน่วยบันทึก |
pc | พีซีส่วนบุคคลย่อมาจากคำว่า personal computer (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำขึ้นไว้ใช้เป็นการเฉพาะหรือส่วนบุคคล ส่วนมากจะหมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ (ก่อนหน้านี้ จะมีขายก็แต่คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ซึ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีราคาถูกพอที่จะซื้อหามาใช้เป็นของส่วนตัวได้ ปัจจุบัน มีการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จ (packaged software) สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดนี้กันมาก โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน งานส่วนตัว เช่น งานพิมพ์ สมุดบันทึกประจำวัน บัญชีรับจ่าย จึงทำให้พีซีเป็นที่นิยมทั่วไป ดู microcomputer ประกอบ |
pcl | (พีซีแอล) ย่อมาจาก printer control language เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องพิมพ์บางยี่ห้อ ส่วนมากจะเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของบริษัทฮิวเล็ตแพกการ์ดหรือ HP |
peek | (พีค) vi., n. แอบมอง, มองตามช่อง, มองแวบหนึ่ง, Syn. spy, peep, glance, peer พีก <คำอ่าน>เป็นคำสั่งหนึ่งของภาษาเบสิก BASIC ที่จะสั่งให้แสดงที่อยู่ที่แน่นอนของข้อมูลในหน่วยความจำ ส่วนมากจะใช้ เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงค่าที่เก็บอยู่ในนั้น ดู BASIC ประกอบ |
personal computer | คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้ตัวย่อว่า PC (อ่านว่า พีซี) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทำขึ้นไว้ใช้เป็นการเฉพาะหรือส่วนบุคคล ส่วนมากจะหมายถึงไมโครคอมพิวเตอร์ (ก่อนหน้านี้ จะมีขายก็แต่คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่) ซึ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนย้ายได้สะดวก และมีราคาถูกพอที่จะซื้อหามาใช้เป็นของส่วนตัวได้ ปัจจุบัน มีการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จ (packaged software) สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดนี้กันมาก โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย เหมาะกับงานทั่ว ๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน งานส่วนตัว เช่น งานพิมพ์ สมุดบันทึกประจำวัน บัญชีรับจ่าย จึงทำให้พีซีเป็นที่นิยมทั่วไป แต่ในบางครั้งนำมาใช้หมายถึงเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็ม หรือประเภทเทียบเคียงไอบีเอ็ม (IBM compatibles) เพื่อให้เห็นแตกต่างระบบแมคอินทอช |
primarily | (ไพรแม'ริลี) adv. อย่างสำคัญ, ส่วนมาก, ส่วนใหญ่, แรกเริ่ม, Syn. mostly |
printer control language | ใช้ตัวย่อว่า PCL (อ่านว่า พีซีแอล) เป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องพิมพ์บางยี่ห้อ ส่วนมากจะเป็นเครื่องพิมพ์เลเซอร์ของบริษัทฮิวเล็ตแพกการ์ดหรือ HP (อย่างปนคำนี้กับ PDL) |
printer port | ช่องเสียบต่อกับเครื่องพิมพ์หมายถึง ช่องที่มีสายเสียบเพื่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ต่อกับเครื่องพิมพ์ ส่วนมากจะเป็นช่องขนาน (pararell port) มักอยู่ทางด้านหลังของตัวเครื่อง ดู pararel port ประกอบ |
radio button | ปุ่มวิทยุหมายถึงปุ่มประเภทหนึ่งบนจอภาพ ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้ ส่วนมากจะอยู่ติด ๆ กันเหมือนปุ่มบนเครื่องวิทยุ ปุ่มประเภทนี้ เมื่อกดปุ่มหนึ่งแล้ว ปุ่มที่เหลือจะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติเหมือนปุ่มวิทยุ จึงเรียกกันว่าปุ่มวิทยุ ใช้กับคอมพิวเตอร์ หมายถึงปุ่มคำสั่งที่กดเลือกได้เพียงอันเดียว ถ้ากดเลือกปุ่มคำสั่งอันใดอันหนึ่งหนึ่งแล้ว ปุ่มคำสั่งอื่นหรือปุ่มที่เลือกไว้เก่าก็จะถูกยกเลิก |
rem | ย่อมาจากคำว่า remark เป็นคำสั่งหนึ่งในโปรแกรมที่ทำให้สามารถเพิ่มข้อความเข้าไปในโปรแกรมได้อีกบรรทัดหนึ่ง โดยที่จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อโปรแกรมเลย (คอมพิวเตอร์ไม่นำไปประมวลผล) ส่วนมากจะใช้ในการบันทึก หรือทำหมายเหตุ หรือใช้บรรยายความที่ต้องการจะให้มีเก็บไว้ในโปรแกรมด้วย เพื่อกันลืม หรือเพื่อให้ผู้ใช้อื่นเข้าใจ) |
removable hard disk | จานแข็งนำเข้าออกได้หมายถึง ฮาร์ดดิสก์ หรือจานบันทึกแข็ง ที่สามารถใส่เข้าหรือดึงออกจากตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ โดยปกติ จานแข็งนี้มีสองชนิด คือชนิดที่จะดึงออกจากคอมพิวเตอร์ได้ กับชนิดที่ดึงไม่ได้ (ที่ใช้กันอยู่ส่วนมากจะเป็นชนิดหลังหรือที่เรียกว่า fixed disk คือดึงออกไปไม่ได้) |
smart card | บัตรเก่งหมายถึง บัตรที่มีข้อมูลซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถตรวจเช็ค หรือนำข้อมูลในบัตรนั้นไปประมวลผลได้ ตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ เช่น บัตรโทรศัพท์ ที่จะทำการคำนวณระยะเวลาที่พูด แล้วหักเงินแต่ละครั้งได้ บอกให้รู้ได้ว่ายังใช้ได้อีกเท่าใด ส่วนมากจะเป็นบัตรที่มีแถบแม่เหล็ก เช่น บัตรเอทีเอ็ม (ATM) ซึ่งจะมีชื่อและรหัสให้ตรวจสอบได้ เป็นต้น |
upload | บรรจุขึ้นหมายถึง การถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งคอมพิวเตอร์ตัวส่งข้อมูลเรียกว่าเป็นตัวที่ทำการ "บรรจุขึ้น" ส่วนคอมพิวเตอร์ตัวรับข้อมูลเรียกว่าเป็นตัวที่ทำการ "บรรจุลง" ส่วนมากใช้ในการถ่ายโอนจากคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายไปไว้ในแม่ข่าย ซึ่งถือว่าสูงกว่า ถ้าเป็นการถ่ายโอนจากแม่ข่าย จะเรียกว่า "บรรจุลง" (download) |
wish bone | n. กระดูกสองง่าม หน้ากระดูกอกของนกส่วนมาก สมัยก่อนใช้ สำหรับตั้งคำอธิษฐาน |
wishing bone | n. กระดูกสองง่าม หน้ากระดูกอกของนกส่วนมาก สมัยก่อนใช้ สำหรับตั้งคำอธิษฐาน |
word processing | การประมวลผลคำการประมวลคำหมายถึงการนำข้อมูลต่าง ๆ มาพิมพ์ใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้คำสั่งจัดให้แสดงผลในรูปแบบที่ต้องการ เช่น กำหนดขนาดของหน้า กำหนดให้ให้หน้าหนึ่งมีกี่บรรทัด แต่ละบรรทัดมีกี่ตัวอักษร นอกจากนั้น ยังสามารถแก้ไขง่าย กับทั้งเก็บไว้ใช้ในโอกาสหลังได้ ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จช่วย ปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาให้ทำเพิ่มขึ้นได้อีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า แทรกภาพได้ ทำตารางประกอบได้ ตรวจแก้ตัวสะกดให้ได้ แม้แต่เสนอศัพท์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ ก็ได้ ฯ |
average | (n) ค่าเฉลี่ย, ส่วนมาก, คนทั่วไป |
chiefly | (adv) ส่วนมาก, ส่วนใหญ่, โดยมาก |
generally | (adv) ส่วนใหญ่, โดยทั่วไป, ส่วนมาก, โดยปกติ |
largely | (adv) มากมาย, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก, โดยทั่วไป |
mainly | (adv) ส่วนมาก, ส่วนใหญ่, โดยทั่วไป |
major | (adj) สำคัญ, เขื่อง, ใหญ่, ส่วนใหญ่, ส่วนมาก |
major | (n) พันตรี, วิชาเอก, คนส่วนมาก, ผู้บรรลุนิติภาวะ |
majority | (n) หมู่มาก, คะแนนเสียงส่วนมาก, วัยผู้ใหญ่ |
most | (adj, adv) มากที่สุด, ที่สุด, ส่วนมาก, โดยมาก, สุดขีด |
mostly | (adv) โดยมาก, ส่วนมาก, โดยทั่วไป |
oft | (adv) เป็นประจำ, เสมอๆ, บ่อยๆ, หลายครั้ง, ส่วนมาก, มักจะ |
often | (adv) เป็นประจำ, เสมอๆ, บ่อยๆ, หลายครั้ง, ส่วนมาก, มักจะ |
primarily | (adv) แรกเริ่ม, ส่วนมาก, ส่วนใหญ่, อย่างสำคัญ |
principally | (adv) ส่วนมาก, ส่วนใหญ่, โดยสำคัญ |