กระสือ ๑ | ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด |
ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า | น. แก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า มีสูตร H2S เกิดขึ้นจากการเสื่อมสลายของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยกำมะถัน ในธรรมชาติมักมีปรากฏละลายอยู่ในบ่อนํ้าร้อนและในแหล่งนํ้าแร่บางแห่ง. |
ก๊าซหุงต้ม, แก๊สหุงต้ม | น. แก๊สที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่ติดไฟได้ง่าย ใช้ในการหุงต้มเป็นต้น. |
การกลั่นทำลาย | น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทำลายขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดนํ้าส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทำลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ นํ้ามันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. |
โขมด ๑ | (ขะโหฺมด) น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. |
คาร์บอนไดออกไซด์ | น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์ของธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทำนํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทำความเย็น. |
โคเคน | น. สารอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C17H21O4N ลักษณะเป็นผลึกสีขาว มีปรากฏในใบของต้นโคคา ( Erythroxylum coca Lam.) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาเสพติด. |
น้ำย่อย | น. ของเหลวที่มีสารอินทรีย์บางชนิดสำหรับย่อยอาหาร สร้างจากอวัยวะของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ปาก ต่อมน้ำลาย กระเพาะอาหาร และ ลำไส้. |
ปิโตรเลียม | น. นํ้ามันดิบ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์อื่น ๆ อีกมาก องค์ประกอบไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่พบ. |
ผงซักฟอก | น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง มีหลายชนิด มีองค์ประกอบที่สำคัญแตกต่างกัน เช่น ประกอบด้วยโซเดียมลอริลซัลเฟต (sodium lauryl sulphate) หรือโซเดียมอัลคิลอะริลซัลโฟเนต (sodium alkyl aryl sulphonate) เป็นต้น ใช้ประโยชน์ในการซักฟอกได้ดีกว่าสบู่ ทั้งใช้ซักฟอกในนํ้าอ่อน นํ้ากระด้าง หรือนํ้าเค็มได้ดี. |
มีเทน | น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. |
ยางมะตอย | น. สารผสมประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนมากชนิด และสารอินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งเรียกรวม ๆ กันว่า สารบิทูเมน ลักษณะเป็นของเหลวข้นหนืด หรือเป็นกึ่งของแข็ง สีดำ หรือสีนํ้าตาลแก่แกมดำ เกิดตามธรรมชาติ และเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม ใช้ประโยชน์ราดทำผิวถนนหรือใช้ผสมกับหินขนาดเล็กทำพื้นถนนได้, แอสฟัลต์ ก็เรียก. |
ลูกเหม็น | น. สารอินทรีย์ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ทำเป็นลูกกลม มีกลิ่นไม่ชวนดม ใช้ใส่ตู้หนังสือเป็นต้นเพื่อกันแมลงบางชนิด. |
วิตามิน | น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องการแต่เพียงจำนวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทำให้อวัยวะในร่างกายทำงานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย บำรุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วยต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. |
หินติดไฟ | น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีน้ำตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารน้ำมันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอาน้ำมันเชื้อเพลิงออกได้, หินน้ำมัน ก็เรียก. |
หินน้ำมัน | น. หินดินดานชนิดหนึ่ง สีนํ้าตาลอ่อน มีสารอินทรีย์ที่เรียกว่า เคโรเจน (kerogen) ซึ่งเป็นสารนํ้ามันอุ้มอยู่ในเนื้อหิน นำมากลั่นเอานํ้ามันเชื้อเพลิงออกได้, หินติดไฟ ก็เรียก. |
เอนไซม์ | น. สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนประเภทโปรตีน มีปรากฏอยู่ในเซลล์ที่มีชีวิตของพืชและสัตว์ ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีของกรรมวิธีต่าง ๆ ทางชีววิทยา เช่น การย่อยอาหาร การหมัก. |
แอลกอฮอล์ | น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นของเหลวใส กลิ่นฉุน ระเหยง่าย มีจุดเดือด ๗๘.๕ ํซ. ชื่อเต็มคือ เอทิลแอลกอฮอล์ แต่มักเรียกกันสั้น ๆ ว่า แอลกอฮอล์ โดยปรกติเกิดขึ้นจากการหมักสารประเภทแป้งหรือนํ้าตาลผสมยีสต์ ซึ่งมักเรียกกันว่า แป้งเชื้อหรือเชื้อหมัก เป็นองค์ประกอบสำคัญของสุราและเมรัยทุกชนิด เมื่อดื่มเข้าไปจะออกฤทธิ์ทำให้มีอาการมึนเมา ใช้ประโยชน์เป็นตัวทำละลาย และเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น. |
โอโซน | น. แก๊สชนิดหนึ่ง สีนํ้าเงิน กลิ่นฉุน เป็นอัญรูปของธาตุออกซิเจน มีสูตร O3 ใช้ประโยชน์ฆ่าเชื้อโรคในนํ้าเพื่อใช้เป็นนํ้าดื่ม ใช้ฟอกจางสีของสารอินทรีย์บางอย่างเช่นเส้นใยที่ใช้ทอผ้า. |
ไฮโดรคาร์บอน | (-โดฺร-) น. สารอินทรีย์ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและธาตุไฮโดรเจนเท่านั้น เช่น มีเทน (CH4) เอทิลีน (C2H4) อะเซทิลีน (C2H2) เบนซีน (C6H6). |
ไฮโดรเจนซัลไฟด์ | (-โดฺร-) น. แก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า เป็นแก๊สพิษ ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและกำมะถัน มีสูตร H2S เกิดขึ้นในธรรมชาติเนื่องจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยกำมะถัน, แก๊สไข่เน่า ก็เรียก. |
Kerogene | สารอินทรีย์ที่ประกอบอยู่ในหินตะกอน, Example: สารอินทรีย์ที่ประกอบอยู่ในหินตะกอนซึ่งไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์ (Insoluble inorganic solvents) และเป็นตัวที่ให้กำเนิดปิโตรเลียมด้วย เป็นอินทรีย์สารเชิงซ้อนเมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวให้น้ำมันดิบ [ปิโตรเลี่ยม] |
Organic-Matter Degradation | การสลายของสารอินทรีย์, Example: การเปลี่ยนแปลงของสารอินทรีย์ไปเป็น สารอนินทรีย์ โดยวิธีการทางชีวภาพ [สิ่งแวดล้อม] |
Bioethanol | ไบโอเอทานอล, เอทานอลที่ได้จากกระบวนการย่อยสลาย หรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์รวมทั้งของเสียในสภาวะไร้อากาศ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Biogas | ไบโอก๊าซ, ไบโอก๊าซ คือก๊าซที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายหรือกระบวนการหมักสารอินทรีย์ รวมทั้งของเสียในสภวะไร้อากาศ ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ มักประกอบด้วยมีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์ [เทคโนโลยีชีวภาพ] |
Chemosynthesis | พลังงานจากสารอินทรีย์อื่นๆ [การแพทย์] |
Dust, Organic | ฝุ่นอินทรีย์, ฝุ่นละอองสารอินทรีย์ [การแพทย์] |
nucleic acid | กรดนิวคลิอิก, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประกอบด้วยหน่วยย่อยคือ นิวคลีโอไทด์ต่อกันเป็นสาย กรดนิวคลีอิกมี 2 ชนิด คือ DNA และ RNA [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
decompose | เน่าเปื่อย, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของสารอินทรีย์จากโมเลกุลใหญ่เป็นโมเลกุลเล็กหลาย ๆ โมเลกุลโดยเห็ดราและแบคทีเรียบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
biochemical oxygen demand (BOD) | ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี (บีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าบีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cellulose | เซลลูโลส, สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมากที่สุด อยู่ในผนังเซลล์ของพืชทุกชนิด สูตรเคมีคือ (C6H10O5)n เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคส ใช้ในอุตสาหกรรมเส้นใยสังเคราะห์ และพลาสติกบางชนิด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
cytoplasm | ไซโทพลาซึม, ของเหลวภายในเซลล์ที่อยู่รอบนิวเคลียส มีสารอินทรีย์พวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ไซโทพลาซึมแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ เอ็กโทพลาซึมและเอนโดพลาซึม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
bile | น้ำดี, ของเหลวที่ตับสร้างขึ้นมีสีเขียวแกมเหลือง ประกอบด้วย เกลือน้ำดี และสารอินทรีย์อื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nicotinamide adenine dinucleotide (NAD) | นิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์, สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจนในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ซึ่งเมื่อรับไฮโดรเจนแล้ว จะอยู่ในรูปของ NADH2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
nicotinamide adenine dinucleotide phosphate (NADP) | นิโคตินาไมด์อะดีนีนไดนิวคลีโอไทด์ ฟอสเฟต, สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นตัวรับไฮโดรเจนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งเมื่อรับไฮโดรเจนแล้วจะอยู่ในรูปของ NADPH2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
enzyme | เอนไซม์, สารอินทรีย์จำพวกโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาชีวเคมี เฉพาะอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ เช่น ในปฏิกิริยาย่อยแป้งไปเป็นน้ำตาลมอลโทส จะต้องมีเอนไซม์ชื่ออะไมเลส [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fermentation | กระบวนการหมัก, กระบวนการที่สารอินทรีย์เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี โดยอาศัยการทำงานของจุลินทรีย์ (เช่น ยีสต์ แบคทีเรีย เป็นต้น) หรือเอนไซม์ เช่น การหมักแป้ง น้ำตาลโดยใช้ยีสต์จะได้เอทานอล [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
kerogen | เคโรเจน, สารอินทรีย์ที่อยู่ในหินน้ำมัน เมื่ออบหินน้ำมันให้ร้อนพอเคโรเจนจะสลายตัวให้น้ำมันดิบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
addition reaction | ปฏิกิริยาการเติม, 1. ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปรวมเป็นสารใหม่เพียงชนิดเดียว 2. ปฎิกิริยาเคมีที่เกิดจากโมเลกุลหรืออะตอมรวมเป็นโมเลกุลเดียวกับสารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวตรงตำแหน่งพันธะคู่หรือพันธะสาม [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
petroleum | ปิโตรเลียม, สารอินทรีย์ในธรรมชาติ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวของพืชและสัตว์ที่ทับถมอยู่ใต้พื้นดินเป็นเวลาหลายล้านปี เป็นสารไฮโดรคาร์บอนซึ่งมีจำนวนคาร์บอนตั้งแต่ 1 - 60 อะตอม อาจเป็นแก๊ส (แก๊สธรรมชาติ) ของเหลว (น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติเหลว) หรือของแข็ง (แอสฟัลต์) หรืออยู่รวมก [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
methyl bromide | เมทิลโบรไมด์, สารเคมีชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ CH3Br เป็นแก๊สไม่มีสีหนักกว่าอากาศ ใช้เป็นยาพ่นฆ่าแมลง และใช้สังเคราะห์สารอินทรีย์อื่น ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hydrocarbon compound | สารประกอบไฮโดรคาร์บอน, สารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเท่านั้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
carboxyl group | หมู่คาร์บอกซิล, - COOH, หมู่อะตอมของสารอินทรีย์พวกกรด สูตรโครงสร้างคือ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
organic chemistry | อินทรีย์เคมี, วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี สมบัติและการเกิดเป็นสารประกอบของสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ether | อีเทอร์, สารอินทรีย์ซึ่งมีสูตรโครงสร้างทั่วไป คือ R - O - R´ เช่น ไดเอทิลอีเธอร์(C2H5 - O - C2H5) เป็นของเหลวไม่มีสี ใช้เป็นยาสลบและตัวทำละลาย [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
amine | เอมีน, สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลเกิดจากหมู่ไฮโดรคาร์บอนแทนที่ไฮโดรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนียเพียงหนึ่ง สอง หรือ ทั้งสามอะตอมก็ได้ เช่น อะนิลีน C6H5NH2 ไดเมทิลอามีน(CH3)2NH เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkyne | แอลไคน์, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะสามอยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่งสูตรเคมีทั่วไปคือ CnH2n-2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkane | แอลเคน, สารอินทรีย์ประเภทอิ่มตัวพันธะระหว่างอะตอมของคาร์บอนเป็นพันธะเดี่ยวทั้งสิ้น สูตรเคมีทั่วไปคือ CnH2n+2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkene | แอลคีน, สารอินทรีย์ประเภทไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่อยู่ในโมเลกุลอย่างน้อย 1 ตำแหน่ง สูตรเคมีทั่วไป คือ CnH2n [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
alkaloid | แอลคาลอยด์, สารอินทรีย์ที่ได้จากพืช มีสมบัติเป็นเบส ในโมเลกุลจะประกอบด้วยธาตไนดตรเจนอย่างน้อย 1 อะตอม แอลคาลอยด์มีหลายชนิด เช่น นิโคติน เป็นแอลคาลอยด์ที่พบในใบยาสูบ มอร์ฟิน เป็นแอลคาลอยด์ที่พบในฝิ่น เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
fungi (พหูพจน์), fungus | ฟังไจ, สิ่งมีชีวิตที่มีทั้งเซลล์เดียวและหลายเซลล์ มักมีโครงสร้างเป็นเส้นใยที่เรียกไฮฟา ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตได้โดยได้รับอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
anaerobic bacteria | แบคทีเรียแอนแอโรบิก, แบคทีเรียเฮเทอโรโทรฟิก ที่สามารถย่อยสลายโมเลกุลของอาหารโดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจนในรูปของสารอิสระ แต่ใช้ออกซิเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
chemical oxygen demand (COD) | ความต้องการออกซิเจนทางเคมี (ซีโอดี), ปริมาณของออกซิเจนที่ใช้ทำปฏิกิริยาเคมีในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ค่าซีโอดีเป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวัดคุณภาพของน้ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
vanilla | วานิลลา, พืชชนิดหนึ่งมีมากในอเมริกาใต้ นำเมล็ดมาสกัดได้สารอินทรีย์ สูตรเคมีคือC8H8O3 เป็นผลึกสีขาว จุดหลอมเหลว 81-82 °C จุดเดือด 285 °C มีกลิ่นหอม นิยมใช้ผสมอาหาร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
destructive distillation | การกลั่นทำลาย, การให้ความร้อนแก่สารอินทรีย์ในภาวะที่ไม่มีอากาศ จะทำให้สารบางชนิดที่อยู่ในสารอินทรีย์นั้นระเหยหรือสลายตัวออกเป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กลง เช่น การกลั่นทำลายถ่านหิน จะได้แก๊สถ่านหิน เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Insecticides, Organic | สารป้องกันและกำจัดแมลงจำพวกสารอินทรีย์ [การแพทย์] |
Insecticides, Synthesized Organic | ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารอินทรีย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา [การแพทย์] |
Insecticides, Synthetic Organic | ยาฆ่าแมลงสารอินทรีย์สังเคราะห์ [การแพทย์] |