กระสรวล | (-สวน) ก. ยินดี, ร่าเริง, เช่น นางนกกระสรวลสันต์ สมเสพ (นิ. นรินทร์). |
กำสรวล | (-สวน) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), (โบ เขียนเป็น กำสรวญ). |
แย้มสรวล | ก. ยิ้มแย้ม ร่าเริง. |
สรวล | (สวน) ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล. |
สรวลสันหรรษา | ก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่าประจำปี. |
สรวลเส, สรวลเสเฮฮา | ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า. |
เสสรวล | (-สวน) ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนานครึกครื้น, สรวลเส หรือ สรวลเสเฮฮา ก็ว่า. |
เสสรวล | (-สวน) ก. สรวลเส. |
กระลาพิม | น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาพิม พระมาศ กูเออย (กำสรวล). |
กระลาศรี | น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย (กำสรวล). |
กระอึด | ก. อึดอัด, สะอึก, เช่น กระอึดอกเซนเซน ช่วยเหน้า (กำสรวล). |
กัณฐกะ ๒ | (กันถะกะ) น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล (สมุทรโฆษ). |
ก้านต่อดอก | ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พรํ่ากำสรวลครวญ. |
กาหล | (-หน) ว. เอะอะอื้ออึง เช่น แตกตื่นกันกาหลอลหม่าน, ยามพลบสยงกึกก้อง กาหล แม่ฮา (กำสรวล). |
ขทิง ๑ | (ขะ-) น. กระดิ่ง, กระดึง, เช่น ขทิงทอง รนนทดโยง ลยวแล่ง (กำสรวล). |
ขมัง ๒ | (ขะหฺมัง) ว. แรง, แข็งขัน, เช่น สองอาจแข็งขมังขึ้น แบ่งให้กันเสมอ (กำสรวล). |
คลิ้งโคลง | (คฺลิ้งโคฺลง) น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง ๑). |
ควั่งคว้าง | (คฺวั่งคฺว้าง) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด (กำสรวล). |
ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง | ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา (กำสรวล). |
คอบ ๒ | ก. คืน, กลับ, เช่น สุทธนูประภาฟอง พัดจาก จยรแฮ ยงงคอบคืนหว้ายได้ สู่สํสองสํ (กำสรวล). |
โคกม้า ๒ | น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น โคกม้าม่ายนางนวล กระสาสรวลกระสันต์ (ลอ). |
จตุรงค์ | น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า (กำสรวล). |
จรลาด, จรหลาด | (จะระหฺลาด) น. ตลาด, ที่ชุมนุมซื้อขายของต่าง ๆ, เช่น จบจรลาดแลทาง ทั่วด้าว (นิ. นรินทร์), จรหลาดเลขคนหนา ฝ่งงเฝ้า (กำสรวล). |
จระคล้าย | (จะระคฺล้าย) ก. ใกล้กราย, อยู่ใกล้, โบราณเขียนเป็น จรคล้าย ก็มี เช่น โหยบเหนสายใจ จรคล้าย (กำสรวล). |
จรุง, จรูง | กรุ่น, อบอวล, ชื่น, เช่น จรุงกลิ่นแก้มน้องแก้ว ไป่วาย (กำสรวล). |
เจ้าเซ็นเต้นต้ำบุด | น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง มีตัวอย่างว่า สุดแค้นแสนคมสมเขาสรวล คำสอนข้อนสั่งข้างสิ่งควร ซํ้าข้อส่วนเข้าแซงแข่งซน. |
ฉนัง | (ฉะหฺนัง) น. หม้อ, โบราณเขียนเป็น ฉนงง ก็มี เช่น ฉนงงบ่อมาทนนสาย แสบท้อง (กำสรวล). |
ฉัตรสามชั้น | (ฉัด-) น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิลโหยสวาทหวน ครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกำสรวลโศกเศร้าใจ. |
โดร | (โดน) ก. หอม, มีกลิ่นหอมที่ฟุ้งไป, เช่น กระทึงทองลำดวนโดร รสอ่อน พี่แม่ (กำสรวล). |
ตระบอก | (ตฺระ-) น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น ตระบอกบววศรีไส กลีบกล้ยง (กำสรวล). |
ตรีบูร | น. กำแพงล้อม ๓ ชั้น (รวมทั้งคู) เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา (จารึกสยาม), ต่อมาแม้จะเป็นกำแพงชั้นเดียวก็เรียกตรีบูรด้วย เช่น อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร (กำสรวล). |
ทรง | ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่ใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่น ไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน ให้ใช้ว่า ตรัส ประทับ พระราชทาน. |
ท่าว ๑, ทะท่าว | ก. ล้ม, ทบ, ยอบลง, เช่น ก็กรลับกรลอกแทง ทีเดียวก็ท่าวล้มในกลางแปลง (อนิรุทธ์), ซ้ำ เช่น ก้มเกล้าท่าวทวน ทำนูญบำบวงสรวลเสร (อนิรุทธ์) |
เทอก, เทิก | ก. ถือเอา, พาไป, เช่น อินทรท่านเทอกโฉมเอา สู่ฟ้า (กำสรวล). |
นักนิ่น | ว. นิ่ม, อ่อน, เช่น ต่างต่างคันธเกล้ากลิ่น แก่เนื้อนักนิ่นสองกรษัตร (ม. คำหลวง กุมาร), โดยปริยายหมายถึง ผู้หญิง เช่น จากมานักนิ่นเนื้อ นอนหนาว (กำสรวล). |
พระเจ้า | น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง (กำสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่ |
ศรี ๔ | (สี) น. ลักษณนามใช้แก่คน เช่น พระปิตุราชมาตุรงค์ทรงพระสรวล เห็นสมควรคู่ครองกันสองศรี (อภัย). |
สมสอง | ก. อยู่เป็นคู่ผัวเมีย, เขียนเป็น สํสอง ก็มี เช่น ยงงขวบคืนสํสอง เศกไท้ (กำสรวล). |
สรเหนาะ, สระเหนาะ | วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด (โคลงกำสรวล). |
สะบู | น. ดอกไม้ เช่น ถนัดดั่งสะบูบังใบ แม่เร้น (กำสรวล). |
สายา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น สายาอยู่ในถนน ถามข่าว รยมฤๅ (กำสรวล). |
สู่สม | ก. อยู่ร่วมกันเสมือนผัวเมีย, อยู่ร่วมกันอย่างผัวเมีย, เขียนเป็น สู่สํ ก็มี เช่น ดินฤขัดเจ้าหล้า สู่สํสองสํ (กำสรวล). |
เสนาะ ๑ | วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น แถลงปางบำราศห้อง โหยครวญ เสนาะเสน่ห์กำสรวล สั่งแก้ว (นิ. นรินทร์). |
โสม ๔ | น. ทอง, ในวรรณคดีนิยมเขียนเป็น โสรม เช่น ในทาบทองแล้วเนื้อนอกโสรม (กำสรวล). |