สรรพคุณ | น. คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กัญชา | (กัน-) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่าน และทอผ้า. |
ขอ ๓ | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง มีสรรพคุณอยู่คงเขี้ยว เขา และงา. |
ตรีปิตตผล | (-ปิดตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ดี ๓ อย่าง คือ รากเจตมูลเพลิงเทศ รากผักแพวแดง รากกะเพราแดง. |
ตรีวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า. |
ตรีสันนิบาตผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ไข้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา รากพริกไทย. |
ตรีสุคติสมุฏฐาน | (-สุคะติสะหฺมุด-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันทำให้มีสรรพคุณเป็นที่ตั้ง ๓ อย่าง คือ รากแคแดง รากเพกา รากมะเดื่ออุทุมพร. |
ตรีเสมหผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า. |
ตรีอากาศผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณขับลม ๓ อย่าง คือ ขิง กระลำพัก อบเชยเทศ. |
ยาวเหยียด | ว. ทอดตรงออกไปเต็มเหยียด เช่น นอนยาวเหยียด, ยาวเป็นแถวเป็นแนวไปไกล เช่น ขบวนยาวเหยียด, ยาวมากเกินไป เช่น พรรณนาสรรพคุณเสียยาวเหยียด. |
ยืดยาว | ว. ยาวมาก เช่น พูดเสียยืดยาว พรรณนาสรรพคุณเสียยืดยาว. |
อวดอ้าง | ก. พูดแสดงสรรพคุณหรือคุณวิเศษที่มิได้มีอยู่หรือให้เกินความเป็นจริง, พูดโดยยกหลักฐานซึ่งไม่มีอยู่จริงหรือที่บิดเบือนไปจากความจริงมาประกอบ. |