แปรรูปรัฐวิสาหกิจ | ก. นำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท. |
รัฐวิสาหกิจ | (รัดถะวิสาหะกิด, รัดวิสาหะกิด) น. กิจการที่รัฐเป็นผู้ลงทุนหรือถือหุ้นข้างมาก, (กฎ) องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจซึ่งรัฐเป็นเจ้าของ หรือกิจการของรัฐ หรือบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาลหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ ๕๐. |
วิสาหกิจ | (วิสาหะกิด) น. การประกอบการที่ยาก สลับซับซ้อน หรือเสี่ยงต่อการขาดทุน ล้มละลาย. |
การคลัง | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการคํ้าประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ. |
จดหมายเหตุ | น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน. |
เจ้าหน้าที่ของรัฐ | น. ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานให้แก่รัฐหรือในหน่วยงานของรัฐ เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานองค์การมหาชน พนักงานรัฐวิสาหกิจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กฎหมายบางฉบับก็ขยายไปถึงสมาชิกสภาซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติด้วย. |
ที่ราชพัสดุ | น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด แต่ไม่รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสมบัติของแผ่นดินบางชนิด. |
โบนัส | น. เงินพิเศษที่รัฐวิสาหกิจ องค์การ บริษัท ห้างร้าน เป็นต้น จ่ายให้เป็นบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของตน นอกเหนือจากเงินเดือนค่าจ้าง, เงินที่ให้เป็นส่วนแบ่งพิเศษแก่ผู้ถือหุ้น. |
ประปา | น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจซึ่งมีหน้าที่จัดทำและจำหน่ายนํ้าประปา ว่า การประปา, เรียกสิ่งอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. |
ผู้บังคับบัญชา | น. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา. |
พนักงาน | ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ. |
ศัพท์บัญญัติ | น. คำที่ตราหรือกำหนดขึ้นไว้ให้มีความหมายเฉพาะเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ธนาคาร รัฐวิสาหกิจ. |
สมาคมการค้า | น. สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้แบ่งปันกัน. |
สำนักงาน | น. สถานที่ทำการของรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทห้างร้านเป็นต้น เช่น สำนักงานสลากกินแบ่ง สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสิน สำนักงานทนายความ. |
private enterprise | วิสาหกิจเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private enterprise | วิสาหกิจเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
privatization | การแปรรูป [ จากรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชน ], การเพิ่มบทบาทของเอกชน [เทคโนโลยีสารสนเทศ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
public enterprise | รัฐวิสาหกิจ [ ดู state enterprise ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public enterprise; state enterprise | รัฐวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
state enterprise | รัฐวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
state enterprise | รัฐวิสาหกิจ [ ดู public enterprise ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
state enterprise; public enterprise | รัฐวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
socialism, municipal | เทศพาณิชย์, เทศวิสาหกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
ownership, municipal | เทศพาณิชย์, เทศวิสาหกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
authority | ๑. อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย๒. เจ้าหน้าที่ของรัฐ๓. องค์การรัฐวิสาหกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
authority | ๑. อำนาจ๒. เจ้าหน้าที่๓. องค์การรัฐวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
joint enterprise | วิสาหกิจร่วม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
municipal ownership; municipal socialism | เทศพาณิชย์, เทศวิสาหกิจ [ ดู civic enterprise ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
municipal socialism; municipal ownership | เทศพาณิชย์, เทศวิสาหกิจ [ ดู civic enterprise ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
civic enterprise | เทศวิสาหกิจ [ ดู municipal ownership และ municipal socialism ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
civic enterprise | เทศวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
entrepreneur | วิสาหกร, ผู้ประกอบวิสาหกิจ, ผู้ประกอบการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
entrepreneur | วิสาหกร, ผู้ประกอบวิสาหกิจ, ผู้ประกอบการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, private | วิสาหกิจเอกชน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, public; enterprise, state | รัฐวิสาหกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
enterprise, public; enterprise, state | รัฐวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, state; enterprise, public | รัฐวิสาหกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
enterprise, state; enterprise, public | รัฐวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise | วิสาหกิจ, การประกอบการ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
enterprise | วิสาหกิจ, การประกอบการ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, civic | เทศวิสาหกิจ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
enterprise, civic | เทศวิสาหกิจ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
enterprise, private | วิสาหกิจเอกชน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Business incubator | หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Business enterprise | วิสาหกิจธุรกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
Capitalist enterprise | วิสาหกิจแบบทุนนิยม [เศรษฐศาสตร์] |
Commercial enterprise | วิสาหกิจการพาณิชย์ [เศรษฐศาสตร์] |
Multinational enterprise | วิสาหกิจข้ามชาติ [เศรษฐศาสตร์] |
Enterprise | วิสาหกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
State economic enterprise | รัฐวิสาหกิจทางเศรษฐกิจ [เศรษฐศาสตร์] |
State trading enterprise | รัฐวิสาหกิจทางการค้า [เศรษฐศาสตร์] |
Privatization | การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ, Example: การลดสัดส่วนหุ้นที่ทางการถือครองอยู่ในรัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นออกขายแก่ภาคเอกชน (อาจจะขายแก่ผู้ประกอบการเอกชนที่มีความสามารถในธุรกิจของรัฐวิสาหกิจนั้น หรือโดยการกระจายขายให้ประชาชนทั่วไป) เพื่อให้เอกชนมีสิทธิในการควบคุมและบริหารมากขึ้น การดำเนินงานจะได้มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวเทียบได้กับบริษัทเอกชน [ตลาดทุน] |
Government business enterprises | รัฐวิสาหกิจ [TU Subject Heading] |
Government employee unions | สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ [TU Subject Heading] |
Privatization | การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ [TU Subject Heading] |
Privatizaion | การแปรรูปกิจการรัฐวิสาหกิจ, Example: การขายกิจการของรัฐให้แก่ภาคเอกชนทั้งนี้ รวมถึงการกระจายอำนาจการบริการ และการกระจายหุ้นในกิจการของรัฐให้แก่เอกชนเพื่อให้เอกชนได้เข้ามา มีส่วนร่วมในการบริหารมากขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากนโยบายทางการเมือง หรือด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจก็ได้ [สิ่งแวดล้อม] |
ASEAN Council on Petroleum | คณะมนตรีอาเซียนด้านปิโตรเลียม เป็นกลไกการหารือระหว่างวิสาหกิจแห่งชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประกอบ กิจการด้านปิโตรเลียม มีการประชุมปีละ 2-3 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแสวงหาความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต] |
International Finance Corporation | คือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต] |
Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Fund | กองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน " ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนให้ความช่วย เหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พ.ศ. 2539 โดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงาน รับผิดชอบ มีวัตถุประสงค์ให้เงินกู้ผ่อนปรนแก่รัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาประเทศ โดยเงินกู้ที่ รัฐบาลไทยปล่อยให้กู้นี้ จะต้องเป็นเงินสกุลบาท และส่วนหนึ่งของ เงินกู้จะต้องนำไปซื้อสินค้าและบริการจากภาคเอกชนไทย " [การทูต] |
Small and Medium-Sized Enterprises | วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม [การทูต] |
Team Thailand | ทีมประเทศไทย หมายถึง รูปแบบของการทำงานที่เป็นเอกภาพของหน่วยราชการไทยในการปกป้อง รักษา และส่งเสริมผลประโยชน์ของไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเพื่อช่วยประหยัดงบประมาณ ขจัดความซ้ำซ้อน ลดการทำงานที่ไม่จำเป็นให้หมดไป และช่วยให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิผลของการทำงาน แนวคิดเรื่องทีมประเทศไทยเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ในการทำงานของหน่วยงานไทย ในต่างประเทศ โดยเน้นให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีภารกิจในต่างประเทศทำงานร่วมกัน อย่างมีเอกภาพ ไม่ซ้ำซ้อน มีทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกันบนพื้นฐานของแผน งานรวมที่เป็นเอกภาพ (unified work plan) มีสำนักงานที่เป็นเอกภาพ (unified structure) และมีกรอบการประสานงานที่เป็นเอกภาพ (unified command) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศซึ่งรับผิดชอบภาพรวมของการดำเนินความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการประสานงาน ทั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการปฏิรูประบบราชการในต่างประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2541 [การทูต] |
State enterprise | รัฐวิสาหกิจ [การบัญชี] |
big business | n. วิสาหกิจขนาดใหญ่ |
enterprise | (เอน'เทอไพรซ) n. โครงการ, กิจการ, บริษัท, อุตสาหกิจ, วิสาหกิจ, Syn. task |
entrepreneur | (อานทระพระเนอ') n. ผู้บริหารกิจการ, นายจ้าง, นักวิสาหกิจ, นายทุน., See also: entrepreneurial adj. ดูentrepreneur entrepreneurship n. ดูentrepreneur, Syn. employer -pl. entrepreneurs |
syndicate | (ซิน'ดะคิท) n. สมาคม, องค์การ, องค์การวิสาหกิจ, กงสี, See also: syndication n., Syn. association |
undertaker | (อันเดอะเทค'เทอะ) n. ผู้รับหน้าที่, ผู้รับผิดชอบ, สัปเหร่อ, ผู้จัดการศพ, นักวิสาหกิจ |
undertaking | (อันเดอะเทค'ทิง) n. การดำเนินการ, ภาระหน้าที่, งาน, กิจการ, วิสาหกิจ |