วิปัสสนา | (วิปัดสะนา) น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. |
วิปัสสนาธุระ | น. การเรียนวิปัสสนา, คู่กับ คันถธุระ การเรียนคัมภีร์ปริยัติ. |
วิปัสสนายานิก | น. ผู้มีวิปัสสนาเป็นยาน, ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โดยมิได้เคยฝึกหัดเจริญสมาธิใด ๆ มาก่อน. |
สมถวิปัสสนา | น. สมถะและวิปัสสนา เป็นแบบปฏิบัติในการเจริญกรรมฐานทางพุทธศาสนา. (ป.). (ดู วิปัสสนา ประกอบ). |
กรรมฐาน | (กำมะถาน) น. ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา. |
คันถธุระ | น. การเรียนคัมภีร์ปริยัติ, คู่กับ วิปัสสนาธุระ การเรียนวิปัสสนา. |
คามวาสี | น. ผู้อยู่ในหมู่บ้าน, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ, คู่กับ อรัญวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ. |
ธุร-, ธุระ | (ทุระ-) น. หน้าที่การงานที่พึงกระทำ, กิจในพระศาสนา มี ๒ อย่าง คือ การเล่าเรียน เรียกว่า คันถธุระ และ การปฏิบัติทางใจ เรียกว่า วิปัสสนาธุระ |
พิปัสสนา | น. วิปัสสนา. |
โยคาพจร, โยคาวจร | (โยคาพะจอน, -วะจอน) น. ผู้หยั่งลงสู่ความเพียร, ผู้มีความเพียร, (มักใช้เรียกพระภิกษุผู้เรียนสมถะและวิปัสสนา). |
วิชชา | (วิด-) น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. |
สมถยานิก | น. ผู้มีสมถะเป็นยาน, ผู้บำเพ็ญสมถะจนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนา. |
สอบอารมณ์ | ก. สอบถามประสบการณ์ทางจิตของผู้ที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานว่าก้าวหน้าไปถึงขั้นใดแล้ว. |
สำนัก | แหล่งศึกษาอบรม เช่น สำนักวิปัสสนาวัดปากน้ำ สำนักทิศาปาโมกข์. |
อรัญวาสี | น. ผู้อยู่ในป่า, ใช้สำหรับเรียกคณะสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ คู่กับ คามวาสี คณะสงฆ์ฝ่ายคันถธุระ. |