ลหุ | (adj) light, Syn. เบา, Notes: (บาลี) |
ลหุ | (adj) rapid, See also: quick, fast, swift, Syn. เร็ว, ไว, Notes: (บาลี) |
ลหุ | (adj) light (vowel), See also: unaccented (vowel), Ant. ครุ, Thai Definition: สระสั้น, Notes: (บาลี) |
ลหุโทษ | (n) light punishment, See also: light penalty, misdemeanor, Example: โทษลักเล็กขโมยน้อยจัดเป็นลหุโทษอย่างหนึ่ง, Thai Definition: โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง |
รัฐบาลหุ่น | (n) puppet government, Example: คุณอานันท์ ก็เคยตำหนิคุณธานินทร์ กรัยวิเชียร ไปแล้ว ว่าเป็นรัฐบาลหุ่นให้เขาเชิดอะไรทำนองนั้น |
ความผิดลหุโทษ | น. ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ. |
บังคับลหุ | น. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ละ ติ ลุ. |
ลหุ | (ละ-) ว. เบา |
ลหุ | เร็ว, ฉับไว |
ลหุ | ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงเบา ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ มิ ดุ, ใช้เครื่องหมาย ุ แทน, คู่กับ ครุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ั แทน. |
ลหุโทษ | น. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ |
ลหุโทษ | ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑, ๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ. |
ลหุกาบัติ | (ละหุกาบัด) น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้องบอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. |
ครุ ๒ | (คะรุ) ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย ั แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย ุ แทน. |
ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑ | (ฉันทะ-) น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. |
ดูหมิ่นซึ่งหน้า | น. เป็นฐานความผิดอาญาลหุโทษ ที่ผู้กระทำ ดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นซึ่งหน้า หรือด้วยการโฆษณา. |
ตะเข็บไต่ขอน | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคใช้คำลหุคำครุสลับกันไปตลอดการแต่ง เช่น ระทวยระทดสลดสละขนิษฐ์ขนาง ระเหระหนกระวนกระวายระคายระคาง จะแรมจะร้างอนงค์อนาถนิราสนิรา (จารึกวัดโพธิ์). |
โตฎก | (-ดก) น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ บทหนึ่งมี ๔ บาท แต่ละบาทมี ๑๒ พยางค์, ประกอบด้วย ส คณะ (ลหุ ลหุ ครุ) ล้วน เช่น รถนั้นนลแท้ นลแน่มนใน นรอื่นบ่มีใคร รถแขงดุจนล (พระนลคำฉันท์). |
ถุลลัจจัย | (ถุนลัดไจ) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ทุกกฏ | (ทุกกด) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ทุพภาษิต | (ทุบพาสิด) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
น ๒ | (นะ) น. ชื่อคณะฉันท์ มีลหุล้วน เรียกว่า น คณะ. |
บดี | ผัว. (ป., ส. ปติ), ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ. |
บังคับ | กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ในฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. |
ปาจิตตีย์ | น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ปาฏิเทสนียะ | (ปาติเทสะนียะ) น. ชื่ออาบัติจำพวกหนึ่งในอาบัติทั้ง ๗ จัดไว้ในพวกลหุกาบัติคืออาบัติเบาที่เปรียบด้วยลหุโทษ. |
ภุชงคประยาต | (พุชงคะ-) น. ชื่อฉันท์แบบหนึ่งมี ๑๒ คำ แบ่งเป็น ๒ วรรค มีลหุต้นวรรคและกลางวรรค. |
มหันตโทษ | (มะหันตะโทด) น. โทษหนัก, คู่กับ ลหุโทษ = โทษเบา. |
มาตราพฤติ | น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยมาตรา คือ กำหนดคำในฉันท์แต่ละคำเป็นมาตราส่วน เช่น คำครุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๒ มาตรา คำลหุ กำหนดเป็นความยาวของเสียง ๑ มาตรา. |
วรรณพฤติ | (วันนะพรึด) น. ฉันท์ที่กำหนดด้วยอักษรตามอักขรวิธีเป็นเสียงหนักเบาที่เรียกว่า ครุ ลหุ เป็นสำคัญ. |
สาลินี | น. ชื่อฉันท์อย่างหนึ่ง บาทหนึ่งมี ๑๑ คํา วรรคหน้ามี ๕ คํา เป็นครุล้วน วรรคหลังมี ๖ คํา คําที่ ๑ และคําที่ ๔ เป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ เช่น
| (สามัคคีเภท). (ป.). |
|
หุ่น | ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจอะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น. |
อาบัติ | น. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มี ๗ อย่าง คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฎ ทุพภาษิต มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. |
อินทรวงศ์ | (อินทฺระ-) น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ เช่น
| (อิลราช). |
|
อินทรวิเชียร | (อินทฺระ-) น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น
| (อิลราช). |
แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น
|
coaxial cable | สายเคเบิลหุ้มฉนวนหมายถึง สายเคเบิลที่ห่อหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าอย่างดี นิยมใช้ ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) เพราสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าสายโทรศัพท์ธรรมดา |
petit | (เพท'ที) adj. เล็กน้อย, เกี่ยวกับลหุโทษ, ไม่สำคัญ, รองลงมา, Syn. small, petty, minor |
petty crimes | n. ความผิดลหุโทษ, ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ -Phr. (petty jury คณะลูกขุน (มักประกอบด้วย12คน), See also: petty juror n., Syn. petit jury |
petty offenses | n. ความผิดลหุโทษ, ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ -Phr. (petty jury คณะลูกขุน (มักประกอบด้วย12คน), See also: petty juror n., Syn. petit jury |