ร่ายยาว | น. ชื่อร่ายชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายร่ายโบราณ ใช้แต่งบทเทศน์ บทสวด บทกล่อมลูก เป็นต้น ไม่จำกัดวรรคและคำ แต่ละวรรคไม่ควรน้อยกว่า ๕ คำ นิยมส่งสัมผัสส่งท้ายวรรคหน้า และรับสัมผัสในวรรคถัดไปที่คำใดก็ได้ สัมผัสเชื่อมกันไปเช่นนี้จนจบ. |
กงวาน | น. กงที่มีรูสำหรับนํ้าเดินที่ท้องเรือ เช่น สำเภาลำใดของพาณิชซึ่งจะตกแต่งต่อติดเป็นกงวาน (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กณิการ์ | น. ไม้กรรณิการ์ เช่น งามดั่งดอกกณิการ์กาญจนสุหร่ายรดเบิกบานน่าชมเชย (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กมัณฑลุ | (กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค). |
กรกฎ, กรกฏ | (กอระกด) น. ปู เช่น กรกฎกุ้งกั้งมังกร (ม. ร่ายยาว มหาพน) |
กรรบาสิกพัสตร์ | (-สิกะพัด) น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). |
กรวด ๒ | (กฺรวด) ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคำประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้ (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระกรี๊ด | ว. เสียงกรีด ๆ ดั่งเสียงหญิงร้องด้วยความตกใจ เช่น แต่ร้องจนสุดสิ้นพระสุรเสียงสำเนียงกระกรี๊ดกรีด (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระงกกระงัน | ว. งก ๆ งัน ๆ เช่น ถึงว่าจะกระงกกระงันงมเงื่อนเหงาหง่อยพี่ก็ไม่คิด (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระเจอะกระเจิง | ก. กระเจิดกระเจิง, กระเซอะกระเซิง, เช่น เฒ่าก็เที่ยวสัญจรกระเจอะกระเจิง (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระซิกกระซวย | ก. ค่อยกระแซะเข้าไป เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระซิกกระซวย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระดางลาง | ว. มรรยาทหยาบ, สัปดน, เช่น อ้ายเฒ่าแก่กากกลีกระดางลาง ยังมันนี้ใครเขามีบ้างที่เมืองคน (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระเดื่อง ๒ | แข็ง, กระด้าง, เช่น ยามเมื่อเจ้าเยื้องยุรยาตร ก็มิได้ย่างลงเหยียบดินกระเดื่องใด (ม. ร่ายยาว กุมาร), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระด้าง เป็น กระด้างกระเดื่อง. |
กระทดกระทัน | ว. คด ๆ ค้อม ๆ เช่น ที่เตี้ยค่อมค้อมคดกระทดกระทันนั้นก็มีอยู่มากหลาย (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
กระทรวง ๑ | (-ซวง) น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา (ปกีรณำพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ซื่อให้เสื่อมเท็จ (สุ. สอนเด็ก). |
กระทิกกระทวย | ว. ระริกระรี่, ซิกซี้, เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระทิกกระทวยรวยระรื่นจนสิ้นตัว (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระบิดกระบวน | ก. แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อถ่วงเวลาหรือเรียกร้องความสนใจเป็นต้น เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้ เช่น อย่ากระเบ็ดกระบวนนักเลย. |
กระพัก | น. ตะพัก, โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระพัด | ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระเพิง | น. เพิง เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระไร | ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กระลุมพู | น. นกลุมพู เช่น เหล่ากระลิงโกกิลา กระลุมพูก็โผผิน (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ดู ลุมพู). |
กระวายกระวน | ก. กระวนกระวาย, วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). |
กระหมุดกระหมิด | ว. ขมวดให้แน่น เช่น สักกระสันเป็นสามรวดรัดกระหวัดกระหมุดกระหมิดฉุดชิด ชักชายน้อยห้อยหูกระต่าย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระไอกระแอม | ก. ทำเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะเกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กรุกกรัก | ว. เสียงดังกุกกัก เช่น ได้ยินเสียงกรุกกรักก็ทักถาม (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กเลวระ | (กะเลวะระ) น. ซากศพ เช่น ถึงกระนั้นก็จะพบพานซึ่งกเลวระร่าง มิเลือดก็เนื้อจะเหลืออยู่บ้างสักสิ่งอัน (ม. ร่ายยาว มัทรี), บางทีใช้ว่า กเฬวราก หรือ กเฬวรากซากศพ ก็มี. |
กษัตริยชาติ | (-ชาด) น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็นกษัตริยชาติ (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). |
กษีรรส | น. นํ้านม เช่น เปรียบเหมือนกษีรรสคือนํ้านมสดขาวสะอาด (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). |
กะกึก | ว. กึก ๆ เช่น ดังกะกึกกุกกักชักสายพาดขึ้นกับไก (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
กะเกาะ | ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เคาะพระทวารดังกะเกาะก้องกึก (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กัจฉปะ | (กัดฉะปะ) น. เต่า เช่น หมู่มัจฉกัจฉปะทุกสิ่งสรรพ์ (ม. ร่ายยาว จุลพน). |
กัตรทัณฑ์ | (กัดตฺระ-) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
กามสมังคี | ว. พร้อมด้วยกามคุณ เช่น เสด็จเสวยอุฬาริกราชกามสมังคีศรีสุขุมสุข (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
กำหนัด | (-หฺนัด) ก. ใคร่ในกามคุณ เช่น เทียรย่อมให้เกิดวัฒนาการกำหนัดใน (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
กิงบุรุษ | น. กินนร เช่น และเป็นที่เขานิยมว่ามีนกอย่างหนึ่งซึ่งเรียกว่ากิงบุรุษ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
กุกะ | ว. ขรุขระ เช่น ทั้งนํ้าใจก็ดื้อดันดุกุกะไม่คิดกลัว (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กุนที | (กุนนะที) น. แม่นํ้าน้อย ๆ, แม่นํ้าเล็ก ๆ, เช่น แตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
เก่น | ก. เข่น, หนัก, แรง, เร่ง, เช่น ตาแกก็มุมุ่นมุ่งเขม้น ถ่อกายเก่นตะเกียกเดิน (ม. ร่ายยาว กุมาร). |
เกลือก ๒ | (เกฺลือก) สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่าเหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
เกสร | ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
โกกิล-, โกกิลา | (-ละ-) น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์ (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
โกร่งกร่าง | (โกฺร่งกฺร่าง) ว. โครมคราม เช่น นางอมิตดาก็โกรธโกร่งกร่างกระทืบเท้า (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
โกไสย | (-ไส) น. ผ้าทำด้วยไหม เช่น โกไสยวัตถาภรณ์ (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์). |
ไกรศร, ไกรสร | (ไกฺรสอน) น. สิงโต เช่น เสือคร่งเสือแผ้วเอนกาไลยไกรสรสีหส่งเสียงแขง (ม. ร่ายยาว มหาพน). |
ขมุกขมัว | (ขะหฺมุกขะหฺมัว) ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดยปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ขยี่ขยัน | (ขะหฺยี่ขะหฺยัน) ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ขวะไขว่เขวี่ย | (ขฺวะไขฺว่เขฺวี่ย) ก. ขวักไขว่ เช่น เดินขวะไขว่เขวี่ย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
ขวาด ๒ | (ขฺวาด) ว. วุ่น, ยุ่ง, เช่น มันจะมาเตือนตั้งก่อความขวาด (ม. ร่ายยาว ชูชก). |