private member's bill | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
private members, bill | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
pigeonholing | การถ่วงร่างกฎหมาย, การแช่เย็นร่างกฎหมาย (อเมริกัน) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
public bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์เฉพาะบุคคลหรือเฉพาะท้องถิ่น [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
private bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยประโยชน์ส่วนบุคคลหรือท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
pass the bill | ลงมติผ่านร่างกฎหมาย [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
logrolling | การช่วยกันเข็น (ร่างกฎหมาย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
recommitment; recommittal | การส่งร่างกฎหมายกลับ (คณะกรรมาธิการ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
recommittal; recommitment | การส่งร่างกฎหมายกลับ (คณะกรรมาธิการ) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
reading | วาระในการพิจารณาร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
reading | วาระ (ในการพิจารณาร่างกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
reference | ๑. การส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณา๒. การมอบคดีให้ทนายความที่ศาลตั้ง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
restitution bill | ร่างกฎหมายชดใช้ความเสียหาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
sifting committee | คณะกรรมาธิการจัดลำดับร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
smothering | การหน่วงเหนี่ยว (ร่างกฎหมาย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, money | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, private | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยประโยชน์ส่วนบุคคลหรือท้องถิ่น [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, private member's | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, private members' | ร่างกฎหมายที่สมาชิกสภาเสนอ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bill, public | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยประโยชน์สาธารณะ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, public | ร่างกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนรวม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bill, restitution | ร่างกฎหมายชดใช้ความเสียหาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill | ร่างกฎหมาย, ร่างพระราชบัญญัติ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill | ๑. ตั๋วเงิน (ก. แพ่ง)๒. ใบแจ้งหนี้ (ก. แพ่ง)๓. ร่างกฎหมายที่เสนอสภา (ก. รัฐธรรมนูญ) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
bill drafting | การยกร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, committee to consider a | คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, deficiency | ร่างกฎหมายงบประมาณเพิ่มเติม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, finance | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, government | ร่างกฎหมายของรัฐบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, hold-up | ร่างกฎหมายที่ถูกหน่วงเหนี่ยว [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
bill, initiation of | การเสนอร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
money bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
money bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
memorandum, explanatory | บันทึกหลักการและเหตุผล (ประกอบร่างกฎหมาย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
memorandum, explanatory | บันทึกหลักการและเหตุผล (ประกอบร่างกฎหมาย) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
marking up | การแก้ไขร่างกฎหมาย (เรียงมาตรา) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
committee to consider a bill | คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
committee, sifting | คณะกรรมาธิการจัดลำดับร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
commitment | ๑. การส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณา๒. ข้อผูกมัด, พันธกรณี๓. หมายจำคุก [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
drafting, bill | การยกร่างกฎหมาย [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
deficiency bill | ร่างกฎหมายงบประมาณเพิ่มเติม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
deficiency bill | ร่างกฎหมายงบประมาณเพิ่มเติม [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
guillotine | ๑. วิธีการจำกัดเวลาอภิปรายร่างกฎหมาย (ของสภาสามัญอังกฤษ)๒. เครื่องประหารชีวิต (ของฝรั่งเศส) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
government bill | ร่างกฎหมายของรัฐบาล [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
government bill | ร่างกฎหมายของรัฐบาล [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
finance bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการคลัง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
financial bill | ร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] |
explanatory memorandum | บันทึกหลักการและเหตุผล (ประกอบร่างกฎหมาย) [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
Bill drafting | การร่างกฎหมาย [TU Subject Heading] |
Initiative, Right of | สิทธิที่จะเสนอร่างกฎหมาย [TU Subject Heading] |
International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] |
International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] |
International Law Commission of the United Nations | คือคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมปรับปรุงกฎหมายระหว่า ประเทศ รวมทั้งการทำประมวลกฎหมายให้ก้าวหน้าและทันสมัยคณะกรรมาธิการนี้ประกอบด้วย สมาชิกรวม 25 คน ซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งสมาชิกคราวละ 5 ปี และจะทำงานในคณะกรรมาธิการในฐานะตัวบุคคล มิใช่เป็นตัวแทนจากประเทศของตน ตลอดการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเป็นจำนวนหลายสมัยมาแล้ว คณะกรรมาธิการได้ทำหน้าที่ร่างกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกฎหมายระหว่างประเทศเป็นจำนวนไม่น้อย บางเรื่องได้ริเริ่มขึ้นเองโดยคณะกรรมาธิการ แต่บางเรื่องทางสมัชชาสหประชาชาติหรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งไปให้พิจารณาดำเนินการคณะกรรมาธิการได้ร่างสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายทาง ทะเลไปแล้วไม่น้อยกว่า 4 ฉบับ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง อนุสัญญาว่าด้วยอาณาเขตทางทะเลและพื้นที่ติดชายฝั่งอนุสัญญาเกี่ยวกับการจับ ปลา การอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีชีวิตในท้องทะเลหลวง พร้อมทั้งได้รับสัตยาบันสารจากประเทศต่าง ๆ ไว้แล้วเป็นจำนวนมาก เมื่อ ค.ศ.1961 และ 1963 คณะกรรมาธิการได้จัดให้มีการประชุมใหญ่สองครั้งตามลำดับ ณ กรุงเวียนนา พร้อมทั้งได้ลงมติรับรองอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต และอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล [การทูต] |