กระเกริ่น | ว. ระบือ เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา (อุเทน). |
กระผีกริ้น | ว. นิดหน่อย, น้อยมาก, เล็กน้อย. |
เกริ่น ๑ | (เกฺริ่น) ก. บอกข่าวให้รู้ล่วงหน้า เช่น เกริ่นข่าว, อาการที่ฝ่ายชายร้องนำในเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงฉ่อย เพลงเกี่ยวข้าว เพื่อเชื้อเชิญฝ่ายหญิงให้ร้องตอบ |
เกริ่น ๑ | ร้องหา, เรียกหา, เช่น นกเขาขันเกริ่น ผีกู่เกริ่น. |
เกริ่น ๒ | (เกฺริ่น) น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าเป็นซีก ๆ ผูกด้วยหวายให้ติดกันเป็นแผง, ปัจจุบันเรียกว่า เฝือก. |
ริ้น | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Ceratopogonidae ขนาดเล็กเท่าแมลงหวี่ มีปีกคู่เดียว มักพบบินอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือชายทะเล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้เกิดอาการระคายเคือง ที่พบมากอยู่ในสกุล Culicoides และ Leptoconops ถ้าพบมากตามเขตติดต่อกับทะเล เรียก ริ้นน้ำเค็ม. |
ริ้นดำ | ดู คุ่น. |
กระ ๔ | ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ. |
กระเกริก | ว. เสียงดังอึกทึก เช่น กระเกริ่นกระเกริกกฤษฎา (อุเทน). |
กระวายกระวน | ก. กระวนกระวาย, วุ่นวายใจ, แสดงอาการวุ่นวายไม่เป็นสุข, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวนด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). |
กระไอกระแอม | ก. ทำเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะเกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กริว ๒ | (กฺริว) ว. เกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง, เช่น บางหมู่ก็กริวเกริ่น (ม. ฉันท์ มหาพน). |
คาส | (คาด) ก. กิน, กัด, เช่น ริ้นร่านห่านยุง ยงงคาสคุงใจ (ม. คำหลวง สักบรรพ). |
คุ่น | น. ชื่อแมลงในสกุล Simuliumวงศ์ Simuliidae ขนาดเล็ก มีความยาว ๒-๔ มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ตัวป้อมสีดำ มีปีกใสค่อนข้างกว้าง ๑ คู่ มักพบบินเป็นกลุ่มเวลาพลบค่ำหรือเช้ามืดบริเวณลำธารน้ำไหล ดูดกินเลือดคนและสัตว์ ทำให้ผิวหนังบวมแดง ถ้าเป็นมากจะอักเสบจนเป็นหนอง เช่น ชนิด S. nigrogilrum Summers พบทางภาคเหนือ, บึ่ง ปึ่ง หรือ ริ้นดำ ก็เรียก. |
สุจะ | น. ริ้น. |