ราชอาณาจักร | (n) kingdom, See also: empire, Syn. อาณาจักร, แว่นแคว้น, แผ่นดิน, Example: บรรดาข้าราชการและคณาประชาชนจากทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร พร้อมใจกันมาชุมนุมในมหาสมาคมแห่งนี้เพื่อถวายพระพรชัยแด่ในหลวง, Thai Definition: แว่นแคว้นในปกครองของกษัตริย์ |
นอกราชอาณาจักร | (n) outside the Kingdom, Ant. ในราชอาณาจักร, Example: การนำโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุออกนอกราชอาณาจักร จะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมศิลปากรก่อน, Thai Definition: ภายนอกรัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข |
พระราชอาณาจักร | (n) kingdom, See also: empire, Syn. อาณาจักร, เขตแดน, Example: พระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยมีให้เห็นอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรในวันรัฐธรรมนูญ, Count Unit: อาณาจักร, Thai Definition: เขตอำนาจปกครองของรัฐบาลหนึ่งๆ, Notes: (ราชา) |
ราชอาณาจักร | น. ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข. |
กบฏ | เป็นฐานความผิดอาญา ที่เกี่ยวกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และการแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง. |
กลาโหม | ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ |
เขตติดโรค | น. ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด ในหรือนอกราชอาณาจักรที่มีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศกำหนด. |
คลังสินค้าทัณฑ์บน | น. สถานที่ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติและกำหนดให้เป็นสถานที่ตรวจและเก็บของซึ่งมีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยังไม่ต้องชำระอากรขาเข้า. |
ฉุกเฉิน | ว. ที่เป็นไปโดยปัจจุบันทันด่วนและจะต้องรีบแก้ไขโดยฉับพลัน เช่น เหตุฉุกเฉิน, ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร เช่น ภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ฉุกเฉิน. |
ทหารผ่านศึก | น. ทหารหรือบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการทหาร หรือบุคคลซึ่งทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงครามหรือในการรบไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรหรือในการปราบปรามการจลาจล |
ทหารผ่านศึก | ทหารหรือบุคคลซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด. |
น่านน้ำไทย | น. บรรดาน่านน้ำที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย และในบางกรณีกฎหมายกำหนดให้หมายความรวมถึงน่านน้ำที่อยู่ในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทยด้วย. |
เนรเทศ | ขับคนต่างด้าวให้ออกไปนอกราชอาณาจักร |
พิกัดอัตราศุลกากร | น. กำหนดอัตราเพื่อคำนวณเงินอากรที่เรียกเก็บจากของที่ส่งหรือพาออกไปนอกราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาออก หรือของที่นำหรือพาเข้ามาในราชอาณาจักร เรียกว่า อากรขาเข้า. |
ภาวะฉุกเฉิน | น. ภาวะอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หรืออันอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวการณ์รบหรือการสงคราม. |
ศุลกากร | ชื่อกรมที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาและส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และพัฒนาส่งเสริมด้านการค้าระหว่างประเทศและการส่งออก. |
อัยการ | องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบด้วยคณะกรรมการอัยการ อัยการสูงสุด และพนักงานอัยการอื่น โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยธุรการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งหรือคดีปกครอง และให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ตรวจร่างสัญญาและเอกสารทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า องค์กรอัยการ, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดิน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร. |
Commonwealth of Nations | การรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต] |
emergency certificate | เอกสารเดินทางฉุกเฉิน เอกสารเดินทางที่ออกให้แก่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและทำหนังสือเดินทางสูญหาย รวมทั้งเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งไม่มีสถานทูต/สถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย [การทูต] |
employment prohibited | ห้ามทำงาน คนต่างด้าวที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทเดินทางผ่าน นักท่องเที่ยว และคนอยู่ชั่วคราว (บางประเภท) จะถูกห้ามทำงานขณะพำนักในราชอาณาจักร [การทูต] |
European Union | สหภาพยุโรป สหภาพยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ นับแต่การก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steal Community) ในปี พ.ศ. 2494 ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดทำสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) ได้มีการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community : EEC) และประชาคมพลังงานปรมาณู (Euratom) ในช่วงเวลานั้นจึงเรียกชื่อกันว่าประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ต่อมาได้มีการรวม 3 ประชาคมเข้าด้วยกันและได้มีกฎหมายยุโรปตลาดเดียว (Single European Act) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเข้าสู่ขั้นตอนการเป็นตลาดร่วมและตลาดเดียวที่ สมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2535 ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อเป็นประชาคมยุโรป (European Communities : EC) ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ต่อมาเมื่อสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายและขั้นตอนให้ประชาคมยุโรปพัฒนาไปสู่การเป็นสหภาพยุโรป จึงได้เปลี่ยนมาเรียกชื่อในทางปฏิบัติว่า สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก เดนมาร์ก สวีเดน ไอร์แลนด์ กรีซ ฟินแลนด์ ออสเตรีย [การทูต] |
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] |
High Commissioner | 1. เอกอัครราชทูตของประเทศในเครือจักรภพที่ประจำในสหราชอาณาจักรหรือประเทศใน เครือจักรภพด้วยกัน 2. ข้าหลวงใหญ่ ข้าหลวงใหญ่ : ใช้เรียกหัวหน้าสำนักงานบางแห่งในกรอบสหประชาชาติ เช่น United Nations High Commissioner of Refugee (UNHCR) หมายถึง ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
International Maritime Organization | องค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีระหว่างประเทศสมาชิก ในการกำหนดมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการเดินเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน มีสมาชิก 155 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร " [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
North Atlantic Treaty Organisation | องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2492 เป็นองค์การร่วมมือทางการทหาร มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศคือ เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สเปน ตุรกี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา [การทูต] |
permit of stay | การอนุญาต/ใบอนุญาตให้พำนักอยู่ในราชอาณาจักร/ประเทศ [การทูต] |
Pacific Islands Forum | PIF เป็นองค์กรระดับภูมิภาคของประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2514 เพื่อขยายความร่วมมือด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน ธรรมาภิบาลและความมั่นคง ปัจจุบันมีสมาชิก 16 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ นาอูรู หมู่เกาะคุก ตองกา ฟิจิ ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาปัวนิวกีนี วานูอาตู ปาเลา ไมโครนีเซีย คิริบาส นีอูเอ และตูวาลู มีประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partner) จำนวน 12 ประเทศและ 1 กลุ่มเศรษฐกิจ ประกอบด้วย แคนาดา จีน ฝรั่งเศส อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ไทย และสหภาพยุโรป นอกจากนี้ ยังมีประเทศผู้สังเกตการณ์ (Observer Status) อีก 3 ประเทศ คือ ติมอร์เลสเต นิวแคลิโดเนีย และเฟรนซ์โปลินีเซีย สำนักเลขาธิการ PIF ตั้งอยู่ที่กรุงซูวา ประเทศฟิจิ [การทูต] |
The Overseas Election Coordination Centre | ศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร [การทูต] |
United Nations Security Council | คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ " ประกอบด้วยสมาชิกสหประชาชาติ 15 ประเทศ แบ่งออกเป็นสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (กำหนดในกฎบัตรสหประชาชาติ) และสมาชิกไม่ถาวรที่มาจากการเลือกตั้งจากสมัชชาฯ อีก 10 ประเทศ มีกำหนดคราวละ 2 ปี คณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยกระทำในนามของสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด และสมาชิกสหประชาชาติมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำวินิจ- ฉัยของคณะมนตรีความมั่นคงฯ " [การทูต] |
visa | การตรวจลงตรา " การประทับตราหรือข้อความในหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางของคนต่างด้าวโดยเจ้าพนักงานของรัฐ เพื่อแสดงว่า ผู้เดินทางได้รับอนุญาตให้เข้ามาพำนัก เดินทางผ่าน และเดินทางออกจากราชอาณาจักร - courtesy visa การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี การตรวจลงตราประเภทนี้จำกัดเฉพาะคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราว ซึ่ง (1) ปฏิบัติหน้าที่เพื่อการอื่นนอกเหนือจากการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุล หรือราชการ (สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือ เดินทางราชการ) และ (2) เข้ามาในฐานะเป็นพระราชอาคันตุกะ ราชอาคันตุกะ แขกของรัฐบาล หรือหน่วยของรัฐ (สำหรับผู้ที่ถือหนังสือเดินทางธรรมดา) - diplomatic visa การตรวจลงตราประเภททูต - immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร - non-immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว - non-quota immigrant visa การตรวจลงตราประเภทคนเข้าเมืองนอกกำหนดจำนวนคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี การตรวจลงตราประเภทนี้จะอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ 1 ปี - official visa การตรวจลงตราประเภทราชการ - re-entry visa การตรวจลงตราประเภทให้กลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก - tourist visa การตรวจลงตราประเภทนักท่องเที่ยว - transit visa การตรวจลงตราประเภทคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร - visa on arrival การตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง " [การทูต] |
Western European Union | องค์การความร่วมมือทางด้านการทหารของประเทศในทวีปยุโรป ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส กรีซ ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 [การทูต] |
ผู้ค้าน้ำมัน | ผู้ค้าน้ำมัน, ผู้กระทำการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยซื้อนำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือได้มาไม่ว่าด้วยประการใดเพื่อจำหน่าย และให้หมายความรวมถึงผู้กลั่นหรือผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ได้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม [พลังงาน] |
amhara | (อามฮา' รา) n. ราชอาณาจักรโบราณในอาฟริกาตะวันออกเดี๋ยวนี้เป็นจังหวัดหนึ่งในเอธิโอเปีย |
kingdom | (คิง'เดิม) n. ราชอาณาจักร |
realm | (เรล์ม) n. ราชอาณาจักร, อาณาจักร, บริเวณ, แผ่นดิน, ดินแดน, ขอบเขตล ปริมณฑล |
regality | (รีแกล'ลิที) n. ความเป็นกษัตริย์, อำ-นาจสิทธิ์ขาดของกษัตริย์, ราชอาณาจักร, Syn. royalty |
royalty | (รอย'อัลที) n. บุคคลในราชวงศ์, ตำแหน่งกษัตริย์, พระบรมราช, ราชอาณาจักร, ราชตระกูล, สัมปทานจากกษัตริย์, ภาษีสัมปทาน, ค่าภาคหลวง, ความสูงส่ง |
united kingdom | n. สหราชอาณาจักร |
a sense of occasion | a sense of occasion / Mostly used in UK / the feeling people have when there is a very important event or celebration: The decorations, flowers, and crowds gave the town a real sense of occasion. a sense of occasion / หลักๆใช้ในสหราชอาณาจักร์ / ความรู้สึกของผู้คนที่มีต่อการเฉลิมฉลองหรือเหตุการณ์สำคัญๆ เช่น การประดับประดาต่างๆทั้งดอกไม้และฝูงชนที่แออัดทำให้ตัวเมืองเป็นที่ตื่นตาตื่นใจไปหมด |
British Deputy High Commission | รองข้าหลวงใหญ่แห่งสหราชอาณาจักร |
Chief Secretary | (n) เสนาเอก เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในอาณานิคมของสหราชอาณาจักร |
Deputy Governor | รองข้าหลวง เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในดินแดนของสหราชอาณาจักร ตำแหน่งนี้ปรากฎเฉพาะอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ เทียบได้ตำแหน่งผู้ช่วยข้าหลวง (Lieutenant-Governor) ในอาณานิคมอื่นๆ |
Dominion | (รัฐศาสตร์) รัฐอธิราช เป็นประเทศเอกราชซึ่งยอมรับกษัตริย์สหราชอาณาจักรเป็นประมุขแห่งรัฐ |
First Sea Lord | (n) สมุหราชนาวี (ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือสหราชอาณาจักร) |
Great Offices of State | (n) อำมาตย์นายก เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร |
HM | (n) กองทัพในสหราชอาณาจักร |
LANNA | (n) ล้านนา คือดินแดนที่มีจำนวนที่นานับล้าน เป็นอาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และ ลำปาง โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษาที่เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาเหนือ ตัวหนังสือ ตัวเมือง วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมี พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะราชอาณาจักรพระองค์สุดท้าย และ เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้าผู้ปกครองนครองค์สุดท้าย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสาย "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน |
Lieutenant-Governor | ผู้แทนข้าหลวง เป็นตำแหน่งข้าราชการพลเรือนฝ่ายปกครองในดินแดนของสหราชอาณาจักร |
lifeguard | [คำอ่าน :: ชีบ-พะ-บาน] (n) lifeguard [ 1 ] - (N) - ชีพบาล คำอ่าน :: ชีบ-พะ-บาน คำหมาย :: ผู้ประกอบวิชาชีพดูแลความปลอดภัยทางน้ำ ให้แก่ผู้ทำกิจกรรมนันทนาการทางน้ำ เช่น สระว่ายน้ำ , สวนน้ำ, ชายหาด, ชายทะเล ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข็มข้น ทั้งทักษะการว่ายน้ำ ปฐมพยาบาล การกู้ชีพ กู้ภัยทางน้ำ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์หลากหลายที่เกี่ยวข้องการทำงาน บางพื้นที่ในต่างประเทศ ยังต้องทำงานเกี่ยวข้องกับการงานฉุกเฉิน เช่น การกู้ภัยบนภูเขา การนำส่งผู้ประสพภัยฉุกเฉิน จากภัยพิบัติต่างๆ อ้างอิง :: life = ชีวิต, ชีพ guard = ยาม, ผู้ดูแล ในที่นี้ ขอใช้คำว่า บาล ซึ่งหมายถึงผู้ดูแล เช่น รัฐบาล, คชบาล, โคบาล, ทวารบาล, พยาบาล, อภิบาล, อนุบาล lifeguard [ 2 ] - (N) – ทหารรักษาพระองค์ (ทหารมหาดเล็ก) ในกองทัพ สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ), See also: Lifesaving, Lifesaver |
minister of state | (n) ตำแหน่งรัฐมนตรีชั้นสองของสหราชอาณาจักร ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือ รัฐมนตรีว่าการทบวง |
Second Sea Lord | (jargon) รองสมุหราชนาวี (ตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรือสหราชอาณาจักร) |
Secretary of State | (n) เสนาบดีใหญ่ เป็นตำแหน่งในรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีประจำอยู่ในสองกระทรวงคือกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงปิตุภูมิ |
UK Bribery Act | (n, uniq) พระราชบัญญัติการติดสินบนแห่งสหราชอาณาจักร |