19 ผลลัพธ์ สำหรับ *ระเบียบข้อบังคับ*
หรือค้นหา: ระเบียบข้อบังคับ, -ระเบียบข้อบังคับ-

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
เคร่ง(เคฺร่ง) ก. ถือปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ เช่น พระเคร่งวินัย.
ระเบียบน. แบบแผนที่วางไว้เป็นแนวปฏิบัติหรือดำเนินการ เช่น ระเบียบวินัย ระเบียบข้อบังคับ ต้องปฏิบัติตามระเบียบ.
วัน ๑น. ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม วัน หมายความว่า เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี.

ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
standing ordersระเบียบข้อบังคับ (ของสภาหรือของศาล) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

คลังศัพท์ไทย (สวทช.)
Law and legislationกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ [TU Subject Heading]
Conduct of Diplomatic Mission Towards the Receiving Stateในการปฏิบัติของคณะผู้แทนทางการทูตต่อรัฐผู้รับ นั้นหน้าที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งของนักการทูตคือ จะต้องละเว้นจากการเข้าแทรกแซงใด ๆ ในกิจการภายในของรัฐผู้รับ อนุสัญญากรุงเวียนนาได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตราที่ 41 ว่า1. โดยไม่เสื่อมเสียแก่เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของตน เป็นหน้าที่ของบุคคลทั้งมวลซึ่งอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นนี้ ที่จะเคารพกฎหมายรวมทั้งข้อบังคับของรัฐผู้รับ บุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ที่จะไม่แทรกสอดในกิจการภายในของรัฐนั้นด้วย2. ธุรกิจในทางการทั้งมวลกับรัฐผู้รับ ซึ่งรัฐผู้ส่งได้มอบหมายแก่คณะผู้แทนให้กระทำกัน โดยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นเช่นที่อาจจะตกลงกัน3. สถานที่ของคณะผู้แทนต้องไม่ใช้ไปในทางที่ไม่ต้องด้วยกับการหน้าที่ของคณะผู้ แทน ดังที่ได้กำหนดลงไว้ในอนุสัญญานี้ หรือโดยกฎเกณฑ์อื่นของกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไป หรือด้วยการตกลงพิเศษอื่นใดที่ใช้บังคับอยู่ระหว่างรัฐผู้ส่งกับรัฐผู้รับ ข้อ 42 ของอนุสัญญากรุงเวียนนายังได้บัญญัติด้วยว่า ตัวแทนทางการทูตจะต้องไม่ปฏิบัติกิจกรรมใดทางวิชาชีพหรือพาณิชย์เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวในรัฐผู้รับตามบทบัญญัติข้างต้นของอนุสัญญากรุงเวียนนา พอจะตีความหมายได้ว่า ผู้แทนทางการทูตจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ เพื่อที่จะธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งความปลอดภัยในรัฐผู้รับ การปฏิบัติใดๆ ที่ถูกต้องของผู้แทนทางการทูตนั้นย่อมเป็นเครื่องประกันอย่างดีที่สุด ที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตนั้นจะถูกล่วงละเมิดมิได้ตามที่กล่าวอ้าง [การทูต]
Inter-Governmental Maritime Consultative Organizationองค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต]
International Civil Aviation Organizationเรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต]
International Telecommunica-tion Unionสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1865 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีชื่อว่าสหภาพโทรเลขระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ.1932 จึงมีการรับรองอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน และหลังจากนั้นอีก 2 ปี คือ ค.ศ.1934 ก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออนุสัญญาโทรเลขและวิทยุโทรเลข เป็นอนุสัญญาโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ต่อมาในปี ค.ศ. 1947 ได้มีการปรับปรุงใหม่ ณ เมืองแอตแลนติกซิตี้ สหรัฐอเมริกา แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1954 เป็นต้นมา สหภาพดังกล่าวหรือที่เรียกโดยย่อว่า ITU อยู่ภายใต้การบริหารปกครองตามอนุสัญญา ซึ่งได้รับการรับรองจากการประชุมเต็มคณะ ณ กรุงบุเอนอสไอเรส เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1952วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การไอทียูคือ ต้องการวางระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศสำหรับโทรเลข โทรศัพท์และบริการทางวิทยุ เพื่อที่จะส่งเสริมและขยับขยายให้ประชาชนได้มีโอกาสใช้บริการเหล่านี้ให้ กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยต้องการให้อัตราค่าบริการต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ กล่าวโดยทั่วไปองค์การไอทียูนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศ เพื่อปรับปรุงการใช้โทรคมนาคมทุกชนิดให้เป็นประโยชน์ก้าวหน้าขึ้น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือทางเทคนิคให้นำออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้และพยายามประสานการปฏิบัติของชาติต่าง ๆ ให้กลมกลืนกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน หัวหน้าของสหโทรคมนาคมระหว่างประเทศมีตำแหน่งเรียกว่า เลขาธิการ องค์การนี้ตั้งอยู่ในนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต]
Passportหนังสือเดินทาง คือเอกสารทางราชการที่ใช้แสดงตัวและสัญชาติ ซึ่งทางราชการออกให้แก่บุคคลที่จะเดินทางไป หรือพำนักอยู่ชั่วคราวในต่างประเทศเมื่อสมัยก่อนสงครามโลกทั้งสองครั้ง ประเทศต่าง ๆ มิได้ขอให้คนต่างด้าวที่จะเข้าไปในประเทศของตนต้องมีหนังสือเดินทาง มีการเริ่มใช้หนังสือเดินทางอย่างแพร่หลายก็ในระยะหลังสงครามดังกล่าว ทุกวันนี้ ประเทศส่วนมากในโลกต่างต้องการให้คนต่างด้าวที่จะเดินทางเข้าไปในดินแดนของ ตนมีหนังสือเดินทางซึ่งได้รับการตรวจลงตรา (Visa) โดยถูกต้องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนเสียก่อน อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้ประเทศส่วนมากได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายกงสุลของตนในต่าง ประเทศเป็นผู้ออกหนังสือเดินทางได้ด้วยหนังสือเดินทางที่ใช้กันในปัจจุบันมี อยู่หลายประเภทอันได้แก่1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic passports ) ออกให้แก่ผู้ที่มีตำแหน่งเอกอัครราชทูต อัครราชทูต เจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของสถานเอกอัครราชทูต และบุคคลอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งทางการทูต รวมทั้งบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น2. หนังสือเดินทางพิเศษ (Special passports) ออกให้ แก่ข้าราชการที่ไม่มีสถานะทางการทูต และบุคคลในครอบครัวของเขาเหล่านั้น3. หนังสือเดินทางธรรมดา ( Regular passports ) ออกให้แก่บุคคลธรรมดา (Private persons) ซึ่งมีสิทธิจะขอหนังสือเดินทางดังกล่าวได้ตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของ ประเทศของตนมีบางประเทศได้ออกหนังสือเดินทางประเภทอื่น นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาข้างต้นด้วยเหตุผลเฉพาะ เช่น ภายใต้ระบบของสหรัฐอเมริกา มีการออกหนังสือเดินทางที่เรียกว่า1. หนังสือเดินทางบริการ (Service passports) ออกให้แก่คนอเมริกัน หรือชนชาติที่สวามิภักดิ์ต่อสหรัฐอเมริกาที่อยู่ในต่างประเทศ2. หนังสือเดินทางบุคคลในครอบครัว (Dependent passports) ออกให้แก่บุคคลที่ถือหนังสือเดินทางนี้ในกรณีที่เดินทางไปชั่วคราว หรือพำนักอยู่นาน ๆ ในต่างประเทศในฐานะที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ หรือพลเรือนอเมริกันที่ยังรับราชการอยู่นอกเขตประเทศสหรัฐอเมริกา [การทูต]
Reciprocity of Rank of Envoysหมายถึง การถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันในเรื่องตำแหน่งของทูต กล่าวคือ ประเทศทั้งหลายถือธรรมเนียมปฏิบัติในการแลกเปลี่ยนทูตที่มีตำแหน่งเท่าเทียม กัน ดังนั้น หากประเทศหนึ่งส่งทูตไปประจำอีกประเทศหนึ่ง ในตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม ประเทศนั้นก็คาดว่าประเทศผู้รับย่อมจะให้ถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน โดยส่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของตนไปประจำที่ประเทศผู้ส่งด้วย พึงสังเกตว่าการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติกันเช่นนี้มิใช่เป็นระเบียบข้อบังคับของ กฏหมายระหว่างประเทศ หากเป็นการแสดงไมตรีจิตมิตรภาพต่อกันระหว่างประเทศทั้งหลายมากกว่า [การทูต]
Wives of Diplomatsภรรยาของนักการทูต ในประเทศที่มีกษัตริย์ และเอกอัครราชทูตจัดถวายพระราชสาส์นตราตั้งต่อกษัตริย์หรือราชินีในฐานะ ประมุขของรัฐนั้น มักจะให้ภรรยาเข้าเฝ้าด้วยต่างหาก แต่การเข้าเฝ้านั้นจะมีพิธีรีตองน้อยกว่าของเอกอัครราชทูตในอดีตกาล ภรรยาของเอกอัครราชทูตมักจะไม่ได้รับการพิจารณารับรองและยกย่องเหมือนกับที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน อาทิเช่น ที่กรุงเวนิส ตามกฎหมายปี ค.ศ. 1268 ไม่อนุญาตให้ภรรยาของเอกอัครราชทูตติดตามไปด้วย ไม่ว่าจะไปประจำแห่งไหน เพราะเกรงว่าภรรยาอาจจะปากโป้งเกี่ยวกับการงานของสามี แต่กฎหมายได้กำหนดให้เอกอัครราชทูตนำพ่อครัวของตนเองติดตามไปด้วย เพื่อกันมิให้เอกอัครราชทูตต้องถูกวางยาพิษในอาหารที่รับประทานกล่าวโดยทั่ว ไปแล้ว ทุกวันนี้ภรรยาของเอกอัครราชทูตได้อุปโภคเอกสิทธิ เกียรติ ลำดับอาวุโส และความคุ้มกันต่าง ๆ เหมือนกับสามี ถึงแม้ในบางกรณีเอกอัครราชทูตกับภรรยาอาจแยกกันอยู่ก็ตาม ภรรยาของเอกอัครราชทูตที่เพิ่งยื่นสารตราตั้ง มักจะหาโอกาสไปเยี่ยมคารวะภรรยาของเอกอัครราชทูตอื่น ๆ ด้วย แม้ว่าในทุกวันนี้ธรรมเนียมปฏิบัติดังกล่าวอาจจะไม่เคร่งครัดเหมือนกับสมัย ก่อน อนึ่ง ในบางประเทศได้มีระเบียบข้อบังคับ ห้ามมิให้ผู้แทนทางการทูตและทางการกงสุลที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ แต่งงานกับคนต่างชาติโดยมิได้รับอนุมัติจากรัฐบาลของตนก่อน [การทูต]

ตัวอย่างประโยคจาก Open Subtitles
**ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
You know, my shop is safer than any regulations that agri-business paid for. คุณรู้มั๊ย, ร้านของผม ปลอดภัยกว่ากฎระเบียบข้อบังคับ ที่ธุรกิจเกษตรต้องมี The Method in the Madness (2012)

Volubilis Dictionary (TH-EN-FR)
กฎระเบียบข้อบังคับ[kot rabīep khøbangkhap] (n, exp) EN: rules and regulations
ระเบียบข้อบังคับ[rabīep khøbangkhap] (n, exp) EN: regulation ; rule

Hope Dictionary
constitution(คอนสทิทิว'เชิน) n. การประกอบขึ้น, การก่อตั้ง, การสถาปนา, ร่างกาย, อุปนิสัย, สันดาน, รัฐธรรมนูญ, ระเบียบข้อบังคับ, รูปแบบการปกครอง, รากฐาน, Syn. composition
constitutional(คอนสทิทิว'เชินเนิล) adj. เป็นรากฐาน, เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ, เป็นส่วนสำคัญ, ถูกต้องหรือเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ, เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ. n. การเดินหรือการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ, Syn. basic
disciplinal(ดิส'ซะพลิเนิล) adj. เกี่ยวกับวินัย, เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ

Nontri Dictionary
discipline(n) ระเบียบข้อบังคับ, ระเบียบวินัย, การลงโทษ, การฝึกฝน

Time: 0.0514 seconds, cache age: 1.613 (clear)Longdo Dict -- https://dict.longdo.com/