คันถรจนาจารย์ | (-รดจะนาจาน) น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. |
รจนา | (รดจะ-) ก. ตกแต่ง, ประพันธ์. (ป., ส.). |
รจนา | (รดจะ-) ว. งาม. |
วิจิตรรจนา | (-จิดรดจะนา) ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา. |
กฎหมาย | กำหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนาใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย (พากย์). |
กำโบล ๑ | น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง- กชรัตนรจนา (สุธน). |
กิรินท | (-ริน) น. ช้างสำคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
จรส | (จะหฺรด) ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ฉัยยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เขียนเป็น ไฉยา ก็มี เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง). (ดู ชายา ๒). |
ไฉยา | น. ผู้หญิง, นางผู้มีโฉมงาม, เช่น เมื่อนั้น นางรจนาไฉยา แลเห็นสมเด็จพระมารดา กัลยาออกมารับทันที (บทละครสังข์ทอง), เขียนเป็น ฉัยยา ก็มี. (ดู ชายา ๒). |
ดูดู๋, ดูหรู | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธ เช่น อีรจนาดูดู๋มึงช่างมักง่าย ทรลักษณ์อัปรีย์ไม่มีอาย หน่อกษัตริย์ทั้งหลายไม่เอื้อเฟื้อ (สังข์ทอง), ดูหรูอ้ายเจ้าเล่ห์ทำเสแสร้งพูดจานี่แอบแฝงเป็นแยบคาย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
แดกดัน | ก. กล่าวกระทบกระแทกหรือประชดให้เจ็บใจ เช่น ในบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง นางรจนาพูดแดกดันพี่สาวทั้ง ๖ ว่า ผัวพี่ไปหาปลากับบ่าวไพร่ น้อยฤๅช่างได้มาอักโข ผัวข้าหาปลาประสาโซ แต่จมูกไม่โหว่เหมือนผู้ดี, แดก ก็ว่า. |
ทะยาทะแย, ทะยาทะแยแส | ก. เอาใจใส่, สนใจ, แยแส, เช่น แก้สาดเสียสิ้นกินแต่ของ อันใบตองหาทะยาทะแยไม่ (ขุนช้างขุนแผน), เมื่อนั้นรจนาไม่ทะยาทะแยแส คิดว่าเงาะลูบหลังทำรังแก ไม่เหลียวแลร้องอึงคะนึงไป (สังข์ทอง). |
นวลหง | งามเลิศ เช่น พระสังข์ตั้งแต่วันนั้นมา ไม่ไว้ใจรจนานวลหง (สังข์ทอง). |
รัตนาภรณ์ | น. เหรียญบำเหน็จส่วนพระองค์ที่สร้างขึ้นสำหรับพระราชทานแก่ผู้จงรักภักดีและทรงคุ้นเคยรู้จัก เพื่อเป็นเครื่องหมายในพระมหากรุณาธิคุณ มี ๕ ชั้น, เดิมเรียกว่า รจนาภรณ์. |