กฤตยา ๑ | (กฺริดตะ-) น. เกียรติ เช่น เสื่อมกฤตยาสยามยศ (ตะเลงพ่าย). |
เจ้าพระยา ๑ | น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการผู้ใหญ่ สูงกว่าพระยา ต่ำกว่าสมเด็จเจ้าพระยา เช่น เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี. |
เจ้าพระยา ๑ | ดูใน เจ้า ๑. |
ฉายา ๑ | น. เงา, ร่มไม้. (ป.) |
ฉายา ๑ | ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. |
ชายา ๑ | น. ภรรยาที่เป็นหม่อมเจ้าของพระบรมวงศ์และพระอนุวงศ์, ภรรยาที่เป็นเจ้าฟ้าหรือพระองค์เจ้าของพระบรมวงศ์และพระอนุวงศ์ เรียกว่า พระชายา. |
ทยา ๑ | (ทะ-) น. ความเอ็นดู, ความกรุณา, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส เช่น ทยาทิคุณ. |
น้ำยา ๑ | น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกงกะทิ กินกับขนมจีน มีรสค่อนข้างเค็ม ทำด้วยเนื้อปลาต้ม โขลกกับเครื่องแกงผสมกระชาย กินกับถั่วงอกลวก ใบแมงลักเป็นต้น |
น้ำยา ๑ | สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสำหรับจิตรกรรมหรือระบายภาพ |
น้ำยา ๑ | นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายาล้างรูป. |
พัทธยา ๑ | น. จำนวนที่หักหรือริบเอาไว้เป็นภาคหลวง. |
ยา ๑ | น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม |
ยา ๑ | เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา |
ยา ๑ | สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ. |
ยา ๑ | ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา |
ยา ๑ | ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. |
เยา ๑ | น. อาการที่ทองไม่แล่นติดต่อกันโดยตลอดในการหล่อ. |
สังขยา ๑ | (-ขะหฺยา) น. การนับ, การคำนวณ. |
ยาเขียว ๑ | ดูใน ยา ๑. |