Tire fabrics | ผ้ายางล้อ [TU Subject Heading] |
Tire industry | อุตสาหกรรมยางล้อ [TU Subject Heading] |
Tire industry workers | คนงานในอุตสาหกรรมยางล้อ [TU Subject Heading] |
Tires | ยางล้อ [TU Subject Heading] |
Bias tyre | ยางล้อชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยชั้นผ้าใบ (ply cord) ที่ทำจากไนลอนหลายๆ ชั้น วางทำมุมกับดอกยางประมาณ 30-45 องศา เพื่อให้ความแข็งแรงกับล้อยาง [เทคโนโลยียาง] |
Butyl Rubber or Isobutylene Isoprene Rubber: IIR | ยาง IIR เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคโพลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น และเนื่องการมีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้อง ทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่นสะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือนด้วย [เทคโนโลยียาง] |
Halobutyl rubber | ยาง XIIR เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งได้จากการทำปฏิกิริยาฮาโลจิเนชัน (Halogenation) ของยาง IIR กับก๊าซคลอรีน (Cl 2) หรือก๊าซโบรมีน (Br 2) ได้เป็นยางคลอโรบิวไทล์ (CIIR) หรือยางโบรโมบิวไทล์ (BIIR) ตามลำดับ ยางฮาโลบิวไทล์นี้มีปริมาณฮาโลเจนอยู่น้อยมากจึงไม่จัดอยู่ในพวกยางที่มี ขั้ว แต่ยางชนิดนี้คงรูปได้เร็ว มีระดับการคงรูปสูง และมีความต้านทานต่อการเกิด reversion ในระหว่างการคงรูปได้ดี ดังนั้นยางฮาโลบิวไทล์จึงสามารถใช้ผสมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติได้ดีและยังสามารถเกิดการคงรูปร่วมกับยางที่ไม่อิ่มตัวชนิดอื่นๆ ได้ สมบัติของยางชนิดนี้โดยทั่วไปดีกว่ายาง IIR เล็กน้อย คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำกว่า มีความทนทานต่อโอโซน ความร้อน สภาพอากาศ และสารเคมีต่างๆ ได้ดีกว่า แต่มี hysteresis สูงกว่า การใช้งานนิยมใช้ผลิตยางโอริงหรือปะเก็นยางชนิดที่ต้องทนต่อสารเคมี ท่อไอน้ำ ยางบุด้านในของยางล้อแบบไม่มียางใน สายพาน ยางบุต่างๆ และจุกปิดขวดยา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Isobutylene isoprene rubber or Butyl rubber | ยาง IIR หรือยางบิวไทล์เป็นยางสังเคราะห์ที่ได้จากโคพอลิเมอร์ระหว่าง isobutylene กับ isoprene มีสมบัติทนทานต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องจากสารเคมี ความร้อน แสงแดด ได้เป็นอย่างดี มีค่าการกระเด้งกระดอนต่ำที่อุณหภูมิห้องทำให้ดูดซับพลังงานกลและการสั่น สะเทือนได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง จึงเหมาะที่จะผลิตเป็นยางกันสะเทือน นอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีสมบัติเด่น คือ มีอัตราการซึมผ่านของก๊าซต่ำมาก ดังนั้นจึงนิยมใช้ในการผลิตยางในรถยนต์ หรือเคลือบผนังด้านในของยางเรเดียล ใช้ทำถุงยางลมสำหรับอบยางล้อให้คงรูปในอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Reclaimed rubber | ยางรีเคลมได้มาจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ยางเก่าที่ใช้แล้ว เช่น ยางล้อรถยนต์ ยางในรถยนต์ หรือยางคงรูปที่เป็นของเสียซึ่งเกิดระหว่างกระบวนการผลิต มาผ่านกรรมวิธีโดยความร้อนและเคมี ยางจะเกิดการดีพอลิเมอไรซ์ (depolymerize) เปลี่ยนจากสภาพคงรูป (vulcanized) และมีความยืดหยุ่น (elasticity ) กลับคืนไปสู่สถานะแรกเริ่ม คือ ไม่มีความคงรูป (unvulcanised) และไม่มีความยืดหยุ่น (plasticity )* ได้เป็นยางรีเคลมที่มีลักษณะกึ่งของแข็งและของเหลว (paste-like ) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ปกติจะใช้ยางรีเคลมผสมกับยางธรรมชาติสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่คำนึงถึงความ แข็งแรงและความ ทนทานมากนัก *Plasticity คือ ความโน้มเอียงของวัสดุที่จะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างถาวรเมื่อได้รับ แรงกระทำ [เทคโนโลยียาง] |
Styrene-butadiene rubber | ยางเอสบีอาร์เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งผลิตโดยการเตรียมโคพอลิ เมอร์ระหว่างสไตรีนและบิวทาไดอีนด้วยวิธีพอลิเมอไรเซชั่นแบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization) มีชื่อเรียกว่า Buna-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1) และ GR-S (สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) เป็นยางที่ใช้ในงานทั่วไป ราคาไม่แพง มีหลายเกรดขึ้นกับกระบวนการสังเคราะห์ ยางเอสบีอาร์เมื่อเปรียบเทียบกับยางธรรมชาติจะมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่า มีสิ่งเจือปนน้อยกว่า และที่สำคัญคือ ไม่ต้องบดยางให้นิ่มก่อนทำการผสมเคมียางเนื่องจากยางชนิดนี้ถูกสังเคราะห์มา ให้มีน้ำหนักโมเลกุลที่ไม่สูงมากนัก จึงมีความหนืดที่เหมาะสมทำให้สารเคมีกระจายตัวได้ดี ไหลได้ง่ายในระหว่างการขึ้นรูป มีแนวโน้มที่จะเกิดยางตายในระหว่างกระบวนการผลิตน้อยกว่า มีอัตราเร็วในการคงรูปช้ากว่าและถูกออกซิไดซ์ได้ช้ากว่ายางธรรมชาติ ทำให้สามารถผสมยางในเครื่องผสมระบบปิดที่อุณหภูมิสูงกว่าได้ แม้ว่ายางเอสบีอาร์จะมีค่าความทนต่อแรงดึงและความทนต่อการฉีกขาดต่ำกว่ายาง ธรรมชาติ เนื่องจากไม่สามารถเกิดการตกผลึกได้เมื่อถูกยืด แต่ถ้ามีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงลงไปก็สามารถทำให้ค่าดังกล่าวสูงใกล้ เคียงหรือต่ำกว่ายางธรรมชาติเพียงเล็กน้อย สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น การผลิตสายพาน พื้นรองเท้า ฉนวนหุ้มสายไฟ และส่วนมากจะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยางล้อยานพาหนะขนาดเล็กโดยใช้ผสมกับ ยางชนิดอื่นๆ เช่น ยางธรรมชาติ ยางบิวทาไดอีน [เทคโนโลยียาง] |