Constant viscosity rubber | ยางธรรมชาติที่มีการเติมสารเคมี เช่น hydroxylamine ลงไปในน้ำยางก่อนที่จะเติมกรดเพื่อทำให้ยางจับตัว สารดังกล่าวจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับหมู่อัลดีไฮด์ ป้องกันไม่ให้เกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของยางดิบที่เก็บไว้ก่อนนำมา ใช้แปรรูป ทำให้ค่าความหนืดคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาการเก็บรักษา [เทคโนโลยียาง] |
Green strength | ความแข็งแรงของยางดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการทำให้ยางคงรูป วิธีการทดสอบแสดงไว้ในมาตรฐาน ISO 9026 [เทคโนโลยียาง] |
Mooney viscosity | ความหนืดของยางดิบหรือยางคอมพาวด์ ทดสอบด้วยเครื่องวัดความหนืด Mooney viscometer ซึ่งเครื่องวัดดังกล่าวมีจานโลหะหมุนอยู่ในห้องใส่ยางภายใต้อุณหภูมิและความ ดันตามที่กำหนดไว้ การหมุนของจานโลหะในยางทำให้เกิดแรงบิด (torque) ขึ้น และจะขับให้สปริงรูปตัวยูเกิดการเคลื่อนที่ ใช้ไมโครมิเตอร์วัดขนาดการเคลื่อนที่ให้ออกมาเป็นมาตรที่เรียกว่า Mooney Viscosity เช่น 50 ML 1+4 (100C) 50 หมายถึง ค่าความหนืดที่วัดได้ในหน่วยมูนนี่ M หมายถึง Mooney L หมายถึง จานหมุนขนาดใหญ่ (ถ้าใช้จานหมุนขนาดเล็กให้ใช้อักษร S) 1 หมายถึง ระยะเวลาที่ใช้ในการอุ่นยางก่อนทดสอบ เป็นนาที 4 หมายถึง เวลาที่ใช้ในการทดสอบ เป็นนาที 100 degree C หมายถึง อุณหภูมิที่ใช้ในการทดสอบ [เทคโนโลยียาง] |
Plasticity | ความอ่อนตัวเป็นสมบัติของยางดิบหรือยางผสมที่ยังไม่ได้วัลคาไนซ์ เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของโมเลกุลยาง ซึ่งแสดงถึงความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของยาง และองศาของการไหลของยางใต้สภาวะอุณหภูมิและแรงอัดที่กำหนด [เทคโนโลยียาง] |
Plasticity retention index | อัตราส่วนของค่าพลาสติซิตี้หลังจากการให้ความร้อนในตู้อบอากาศร้อนเป็น เวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ต่อค่าพลาสติซิตี้ก่อนการให้ความร้อนในตู้อบ ซึ่งค่านี้จะบอกถึงความต้านทานต่อการเกิดออกซิเดชันของยางดิบ [เทคโนโลยียาง] |
Skim latex | หางน้ำยางเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำยางข้นที่ยังมีปริมาณเนื้อยางอยู่ ประมาณร้อยละ 3 - 5 โดยน้ำหนัก สามารถนำไปแปรรูปเป็นยางดิบแห้งชนิดสกิมบล็อก (skim block) หรือ สกิมเครพ (skim crepe) [เทคโนโลยียาง] |
Stabiliser or Stabilizer | 1. (ยาง) สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่มีอยู่หรือเติมลงไปในยางดิบ เพื่อรักษาสมบัติให้ดีเท่าหรือใกล้เคียงค่าเดิมระหว่างการทำให้แห้ง กระบวนการผลิตและการเก็บรักษา 2.(น้ำยาง)สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเติมลงไปในน้ำยางเพื่อป้องกันการรวมตัวหรือ จับตัวเป็นก้อนของอนุภาคยางระหว่างกระบวนการผลิตและ/หรือการผสมสารเคมี [เทคโนโลยียาง] |
Storage hardening | ปรากฏการณ์ที่ความหนืดของยางดิบหรือยางที่ยังไม่ได้ผ่านการคงรูปเพิ่ม ขึ้นระหว่างการเก็บ เนื่องจากหมู่อัลดีไฮด์ (aldehyde group) ที่มีอยู่ในยางธรรมชาติเข้าไปทำปฏิกิริยาควบแน่นกัน เกิดเป็นโครงสร้างสามมิติที่มีการเชื่อมโยง (crosslink) ระหว่างโมเลกุลยางมีผลทำให้ยางแข็งขึ้น [เทคโนโลยียาง] |
vulcanized rubber | ยางวัลกาไนส์, ยางดิบที่ผสมกับผงกำมะถันโดยการนวดและใช้ความร้อน ยางนี้มีสมบัติดีกว่ายางดิบ ไม่เสียรูปที่อุณหภูมิสูงและไม่เปราะหักง่ายที่อุณหภูมิต่ำ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
isoprene | ไอโซปรีน, สารประกอบไฮโดรคาร์บอนจำพวกแอลคีน สูตรเคมีคือ C5H8 เป็นของเหลวไม่มีสี จุดเดือด 34.1°C ไม่ละลายในน้ำ แต่ละลายได้ในแอลกอฮอล์และอีเทอร์ได้จากการกลั่นทำลายยางดิบ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |