Ambient dose equivalent | ปริมาณรังสีสมมูลโดยรอบ, ปริมาณรังสีสมมูลที่อ้างอิงกับทรงกลมไอซีอาร์ยู ใช้ในการปรับเทียบปริมาณรังสียังผลของเครื่องมือตรวจวัดรังสี (ดู ICRU sphere ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Committed dose | ปริมาณ (รังสี) ผูกพัน, ปริมาณรังสียังผลจากสารกัมมันตรังสีที่เข้าสู่ร่างกาย บางชนิดจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางชนิดจะไปสะสมอยู่ในอวัยวะเฉพาะที่ เรียกว่า อวัยวะวิกฤติ (critical organ) เช่น ไอโอดีนจะสะสมอยู่ที่ต่อมไทรอยด์ รังสีจะมีผลต่อร่างกายจนกว่าสารกัมมันตรังสีนั้นสลายหมดไปหรือถูกขับถ่ายออกจนหมด ปกติจะคำนวณระยะเวลาการรับรังสี 50 ปีสำหรับผู้ใหญ่ และ 70 ปีสำหรับเด็ก มีหน่วยเป็น ซีเวิร์ต [นิวเคลียร์] |
Dose limit | ขีดจำกัดปริมาณรังสี, ค่ากำหนดสูงสุดของปริมาณรังสียังผลหรือปริมาณรังสีสมมูลที่บุคคลอาจได้รับจากการดำเนินกิจกรรมทางรังสี ซึ่งคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านการป้องกันรังสี (International Commission on Radiation Protection, ICRP) ได้กำหนดขีดจำกัดปริมาณรังสีไว้ดังนี้ 1. ผู้ปฏิบัติงาน -ปริมาณรังสียังผลเฉลี่ยไม่เกิน 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีในระยะเวลา 5 ปีติดต่อกัน โดยในปีใดปีหนึ่งต้องได้รับปริมาณรังสียังผลไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี -ปริมาณรังสีสมมูลที่เลนส์ตา ไม่เกิน 150 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี -ปริมาณรังสีสมมูลที่มือและเท้า หรือที่ผิวหนัง ไม่เกิน 500 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี 2. บุคคลทั่วไป ปริมาณรังสียังผลไม่เกิน 1 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี โดยไม่รวมปริมาณรังสีจากธรรมชาติและปริมาณรังสีจากการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ ทั้งนี้ในทางปฏิบัติต้องจำกัดให้ได้รับรังสีน้อยที่สุด (ดู sievert ประกอบ) [นิวเคลียร์] |
Effective half-life | ครึ่งชีวิตยังผล, ระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้เพื่อลดกัมมันตภาพเหลือครึ่งหนึ่งของกัมมันตภาพตั้งต้น ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการการสลายกัมมันตรังสี และ กระบวนการทางชีวภาพ [นิวเคลียร์] |
Supercritical mass | มวลเหนือวิกฤต, มวลของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ทำให้ตัวประกอบพหุคูณยังผลมีค่ามากกว่า 1 ซึ่งจะทำให้ปฏิกิริยาลูกโซ่แบ่งแยกนิวเคลียสเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ (ดู critical mass และ effective multiplication factor ประกอบ), Example: [นิวเคลียร์] |
Radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, การฉายรังสีอาหารประเภทพืชหัวด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า 0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุมหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือน ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเน่าเสีย อาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อยับยั้งการงอก เช่น หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม <br>(ดู food irradiation ประกอบ) </br> [นิวเคลียร์] |
Effective multiplication factor | ตัวประกอบพหุคูณยังผล [นิวเคลียร์] |
Gorbachev doctrine | นโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต] |
International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] |
Personal Diplomacy | คือการเจรจากันโดยตรงระหว่างรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงต่างประเทศด้วยกัน ส่วนการเจรจากันโดยตรงระหว่างประมุขของรัฐ หรือหัวหน้าของรัฐบาล แต่เดิมก็จัดอยู่ในประเภทการมทูตส่วนบุคคล แต่มาในปัจจุบันนี้ มักนิยมเรียกกันว่าเป็นทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) แยกออกต่างหากจากการทูตส่วนบุคคลมีผู้สังเกตการณ์หลายคนเตือนว่า ในกรณีที่เกิดเรื่องหรือปัญหาที่ยังคาราคาซังอยู่นั้น ไม่ควรหันเข้าใช้วิธีส่งผู้แทนพิเศษจากนครหลวงไปแก้ปัญหา ควรให้เอกอัครราชทูตเป็นผู้ดำเนินการมากกว่า เพราะประการแรก การกระทำเช่นนั้นยังผลเสียหายต่อศักดิ์ศรีของตัวเอกอัครราชทูตเอง ทั้งยังกระทบกระเทือนต่อการที่เขาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลอย่างเต็มที่ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในประเทศนั้นในภายหน้าด้วย อีกประการหนึ่ง จะพึงคาดหมายได้อย่างไรว่า ตัวผู้แทนพิเศษที่ส่งไปนั้นจะมีความรอบรู้เกี่ยวกับภูมิหลังของปัญหา รวมทั้งตัวบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่ากับตัวเอกอัครราชทูตเอง ซึ่งได้ประจำทำงานอยู่ระยะเวลาหนึ่งแล้ว ณ ที่นั่น แม้แต่ แฮโรลด์ นิโคลสัน ก็ไม่เห็นด้วย และได้เตือนว่า การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศหนึ่งไปเยือนและพบปะกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอีกประเทศหนึ่งบ่อย ๆ นั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำและไม่ควรสนับสนุน เพราะการกระทำเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ประชาชนคาดหมายไปต่าง ๆ นานาแล้ว ยังจะทำให้เกิดเข้าใจผิด และเกิดความสับสนขึ้นมาได้แม้แต่ผู้รอบรู้ในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติทางการ ทูตบางคนก็ยังแคลงใจว่า การทูตแบบสุดยอด (Summit Diplomacy) จะได้ประโยชน์และให้ผลจริง ๆ หรือไม่ นอกจากเฉพาะในกรณียกเว้นจริง ๆ เท่านั้น บ้างเห็นว่า การพบปะเจรจาแบบสุดยอดมักจะกลายสภาพเป็นการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธ์มากกว่า ที่จะเป็นการเจรจากันอย่างแท้จริง เพราะมีอันตรายอยู่ว่า ผู้ร่วมเจรจามักจะแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกมากกว่าตามข้อเท็จจริง เพราะมัวแต่เป็นห่วงและคำนึงถึงประชามติในประเทศของตนมากเกินไปนอกจากนี้ ผู้เจรจาไม่อยู่ในฐานะที่จะให้ข้อลดหย่อนหรือทำการประนีประนอม ( ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งหากจะให้เจรจาบังเกิดผล) เพราะกลัวเสียหน้าหากกระทำเช่นนั้น ตามปกติ ถ้าให้นักการทูตเป็นผู้เจรจา เขาจะมีโอกาสมากกว่าที่จะใช้วิธีหลบหลีกอันชาญฉลาดในการเจรจาต่อรอง เพื่อให้เป็นผลตามที่มุ่งประสงค์ [การทูต] |
Personal Inviolability of Diplomatic Agents | หมายถึง ตัวบุคคลของตัวแทนทางทูตจะถูกละเมิดมิได้ กล่าวคือ มาตรา 29 ของอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติในเรื่องนี้ไว้ว่า ?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ ตัวแทนทางการทุตจะไม่ถูกจับกุมหรือกักขังในรูปใด ๆ ให้รัฐผู้รับปฏิบัติต่อตัวแทนทางการทูตด้วยความเคารพตามสมควร และดำเนินการที่เหมาะสมทั้งมวลที่จะป้องกันการประทุษร้ายใด ๆ ต่อตัวบุคคล เสรีภาพ หรือเกียรติของตัวแทนทางการทูต?ตัวบุคคลของตัวแทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้ นั้น ได้ถือเป็นปัจจัยหลักในการที่ให้ผู้แทนทางการทูตได้รับสิทธิและความคุ้มกัน ทั้งมวล ถึงกับมีการพูดกันว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อตัวเอกอัครราชทูต จักถือว่าเป็นการทำร้ายต่อประมุขของประเทศซึ่งผู้แทนทางการทูตผู้นั้นเป็น ตัวแทนอยู่ ทั้งยังถือว่าเป็นการยังผลร้ายต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของประชาชาติทั้ง มวลด้วยตัวอย่างเช่น เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1964 ชายหนุ่มญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งมีจิตวิปลาส ได้ใช้มีดแทง นายเอ็ดวิน โอไรส์ชาวเออร์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศญี่ปุ่น ในเขตนอกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงโตเกียว รัฐมนตรีว่าการกระทวงมหาดไทยญี่ปุ่นได้ลาออกจากตำแหน่งทันทีและรุ่งขึ้นใน วันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1964 นายอิเคดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ได้ทำการขอโทษต่อประชาชนชาวอเมริกันทางวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการดำเนินการในทำนองนี้ และการที่นายกรัฐมนตรีอิเคดะได้ปฏิบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า การที่ตัวบุคคลของผู้แทนทางการทูตจะถูกละเมิดมิได้นั้น มีความสำคัญมากเพียงใดตัวแทนทางการทูตจะถูกจับ ถูกฟ้องศาล หรือถูกลงโทษฐานประกอบอาชญากรรมนั้นไม่ได้ เพราะถือว่าผู้แทนทางการทูตมิได้อยู่ในอำนาจศาลของรัฐผู้รับ อย่างไรก็ดี หากผู้แทนทางการทูตกระทำความผิดอย่างโจ่งแจ้ง รัฐผู้รับอาจขอให้รัฐผู้ส่งเรียกตัวกลับไปยังประเทศของเขาได้ในทันที [การทูต] |
Sanctions | การบังคับตามกฎระหว่างประเทศ หมายถึงการที่หลาย ๆ ชาติได้ลงมติใช้มาตรการบังคับหรือจูงใจพร้อม ๆกันเพื่อบังคับให้ชาติหนึ่งที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำการยับยั้ง (Desist) หรือยินยอมให้มีการชี้ขาดตัดสิน (Adjudication) หรือกล่าวอย่างสั้น ๆ แซ็งชั่นก็คือ หนทางที่บังคับพันธกรณีทางกฎหมายให้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องแซ็งชั่นนี้ กฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวไว้ในบทที่ 7 ข้อ 41 และ 42 มีข้อความดังนี้ ?ข้อ 41 คณะมนตรีความมั่นคงอาจวินิจฉัยว่า จะต้องใช้มาตรการอันใดอันไม่มีการใช้กำลังอาวุธ เพื่อยังผลให้เกิดแก่คำวินิจฉัยของคณะมนตรี และอาจเรียกร้องให้สมาชิกแห่งสหประชาชาติใช้มาตรการเช่นว่านั้น มาตรการเหล่านี้อาจรวมถึงการตัดสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และการคมนาคมทางรถไฟ ทางทะเล ทางอากาศ ทางไปรษณีย์โทรเลข ทางวิทยุ และวิถีทางคมนาคมอย่างอื่นโดยสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วน และการตัดความสัมพันธ์ทางการทูต ข้อ 42 หากคณะมนตรีความมั่นคงพิจารณาเห็นว่ามาตรการที่บัญญัติไว้ในข้อ 41 น่าจะไม่เพียงพอ หรือได้พิสูจน์แล้วว่าไม่เพียงพอ คณะมนตรีก็อาจดำเนินการใช้กำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินเช่นที่เห็นจำเป็น เพื่อธำรงไว้ หรือสถาปนากลับคืนมาซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การดำเนินการเช่นว่านี้ อาจรวมถึงการแสดงแสนยานุภาพ การปิดล้อม และการปฏิบัติอย่างอื่นโดยกำลังทางอากาศ ทางทะเล หรือทางพื้นดินของบรรดาสมาชิกแห่งสหประชาชาติ [การทูต] |
radappertization | การทำให้ปลอดจากเชื้อจุลินทรีย์ด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ซึ่งบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท ไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีสูงกว่า 10 กิโลเกรย์ เพื่อฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคหรือจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย ยังผลให้อาหารนั้นเก็บได้นานหลายเดิอน หรือเป็นปี โดยไม่ต้องใช้ความเย็น เช่น การทำอาหารแช่แข็ง หรือใช้ความร้อน เช่น การทำอาหารกระป๋อง ตัวอย่างอาหารที่ผ่านการฉายรังสีเพื่อทำให้ปลอดจุลินทรีย์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่งวงรมควัน อาหารสำหรับคนไข้ และอาหารสำหรับมนุษย์อวกาศ [พลังงาน] |
radiation sprout inhibition | การยับยั้งการงอกด้วยรังสี, คือ การนำอาหารประเภทพืชหัวไปผ่านการฉายรังสีแกมมา หรือรังสีเอกซ์ หรืออิเล็กตรอน ด้วยปริมาณรังสีต่ำกว่า0.15 กิโลเกรย์ เพื่อควบคุม หรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ทำให้เกิดการงอก ยังผลให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานหลายเดือนโดยไม่งอกหรืองอกเล็กน้อย ทั้งนี้ต้องเก็บรักษาอาหารที่ผ่านการฉายรังสีที่อุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้ อาหารเน่าเสีย ตัวอย่างของอาหารที่นำมาฉายรังสี ได้แก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง กระเทียม และขิง [พลังงาน] |
Conception Variables | ปัจจัยที่ยังผลต่อการตั้งครรภ์ [การแพทย์] |