มโหรี ๑ | น. วงดนตรี ๑ ใน ๓ วงหลักของดนตรีไทย คือ ปี่พาทย์ เครื่องสาย และมโหรี ใช้เครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี เป่า (ขลุ่ย) และขับร้อง ระดับเสียงที่ใช้สูงกว่าระดับเสียงวงปี่พาทย์. |
มโหรี ๒ | ดู สีกรุด. |
วงมโหรี | น. ชื่อวงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อมมี ๕ แบบ คือ ๑. วงมโหรีเครื่องสี่ ๒. วงมโหรีเครื่องหก ๓. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว ๔. วงมโหรีเครื่องคู่ ๕. วงมโหรีเครื่องใหญ่ |
กระจับปี่ | น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ลักษณะคล้ายพิณ มี ๔ สาย ตั้งเสียงต่างกันเป็น ๒ คู่ เดิมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่อง ๔ และมโหรีเครื่อง ๖ ในสมัยอยุธยา ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ใช้จะเข้บรรเลงแทน. |
กระทงน้อย | น. ชื่อเพลงไทย สมัยอยุธยา อยู่ในตำรามโหรีของเก่า. |
กล่อม ๓ | (กฺล่อม) น. ชื่อเพลงเครื่องปี่พาทย์ ทำตอนพระเข้าหานาง ซึ่งเรียกว่า โลม หรือตอนขับบำเรอ เรียกว่า กล่อมมโหรี อันใช้เป็นเครื่องสายประสมในภายหลัง และมีชื่อเป็นชนิดต่าง ๆ คือ กล่อมช้าง กล่อมพระยา กล่อมนารี และกล่อมในพิธีพราหมณ์ เรียกว่า ช้าหงส์ หรือ ช้าเจ้าหงส์, ชาวบ้านมักเรียกว่า กล่อมหงส์. |
กะระนะ | (กะระหฺนะ) น. ชื่อเพลงไทย ใช้ในการบรรเลงและขับร้องในเพลงมโหรี |
ครึ้ม | ทำให้เพลิดเพลิน เช่น เสียงมโหรีครึ้ม. |
ฆ้องวง | น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
จะเข้ ๑ | น. เครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัวจระเข้ ตัวเป็นโพรง วางยาวไปกับพื้น มีสาย ๓ สาย มีนม ๑๑ นมเป็นฐานรองรับสายเมื่อกดนิ้วขณะดีดทำให้มีเสียงสูงตํ่า มีขา ๕ ขา ใช้บรรเลงผสมอยู่ในวงเครื่องสายและมโหรี, ลักษณนามเรียก ตัว. |
ฉันทวิลาส | (ฉันทะวิลาด) น. ชื่อเพลงมโหรีทำนองหนึ่ง. |
ซอด้วง | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง กระบอกมักทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะคล้ายด้วงดักสัตว์ ขึงหนังด้านหนึ่งด้วยหนังสัตว์ มีหย่องและสาย ๒ สายพาดข้าม ปลายบนผูกติดกับลูกบิด คันชักส่วนที่เป็นหางม้าอยู่ระหว่างสายทั้ง ๒ สาย ขนาดค่อนข้างเล็กเพื่อให้มีเสียงสูงเวลาสี บรรเลงนำในวงเครื่องสาย วงมโหรี หรือใช้เดี่ยวเพลงก็ได้. |
ซอสามสาย | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีสาย ๓ สาย กะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าว มีลักษณะเป็น ๓ พู มีเสียงไพเราะนุ่มนวล ใช้บรรเลงคลอเสียงผู้ขับร้อง บรรเลงร่วมในวงมโหรี หรือบรรเลงเดี่ยว. |
ซออู้ | น. ชื่อซอชนิดหนึ่ง มีสาย ๒ สาย กะโหลกซอตัดจากกะโหลกมะพร้าว มีเสียงทุ้มกังวาน ใช้บรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสาย วงมโหรี วงปี่พาทย์ไม้นวม และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์. |
ตรีเพชรพวง | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
ทะแย | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงตับ เช่น มโหรีตับทะแย. |
โทน ๑ | น. ชื่อกลองชนิดหนึ่ง ด้านหนึ่งป่องขึงหนังเพียงหน้าเดียว ด้านปลายเป็นปากเปิดคล้ายดอกลำโพง โบราณเรียกว่า ทับ ใช้ตีคุมจังหวะคู่กับรำมะนาในวงเครื่องสาย วงมโหรี เป็นต้น |
ระนาดทอง | น. ชื่อระนาดชนิดหนึ่ง มีเสียงสูง เลียนแบบระนาดเอกที่เป็นเครื่องไม้ ลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง นิยมใช้บรรเลงในวงมโหรีเครื่องใหญ่. |
รำมะนา | น. กลองขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองที่ขึ้นหนังบานผายออก หุ่นกลองสั้น รูปกลมแป้น มี ๒ ชนิด ชนิดที่ใช้กับวงมโหรีมีขนาดเล็ก ตรึงหมุดโดยรอบ ส่วนชนิดที่ใช้กับวงลำตัดมีขนาดใหญ่กว่า ขึ้นหนังหน้ากลองโดยใช้เส้นหวายผ่าซีกโยงระหว่างขอบหน้ากับวงเหล็ก. |
สีกรุด | น. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Pomadasysวงศ์ Haemulidae หรือ Pomadasyidae โดยเฉพาะชนิด P. maculatus (Bloch) ลำตัวป้อม แบนข้าง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดหนาม บริเวณใต้คางมีรู ๒ รู ลำตัวสีเงิน ใกล้แนวสันหลังมีสีน้ำตาลอ่อนและมีแต้มสีน้ำตาลเข้มกระจายอยู่ตอนบนของลำตัว ปลาในสกุลนี้ทั้งขณะอยู่ในน้ำและเมื่อขึ้นพ้นน้ำจะทำเสียงได้จากการขบฟันที่บริเวณคอรวมทั้งการหดและขยายตัวของถุงลมและกล้ามเนื้อ โดยถุงลมยังทำให้เสียงก้องขึ้นอีกด้วย ขนาดยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร, มโหรี กระต่ายขูด กะทิขูด หรือ หัวขวาน ก็เรียก. |
เสียงแก้ว | น. ลักษณะของเสียงที่กังวานและใสดุจแก้ว โดยเฉพาะในการตีระนาดเอก มโหรีจะต้องจับไม้ตีให้หัวแม่มือเน้นที่ปลายก้านไม้ตีให้แน่นและตีทั้งแขนหรือทั้งตัว เสียงจึงจะแข็งเป็นกังวานออกมาเป็นเสียงแก้ว. |
concert | (คอน'เซิร์ท) { concerted, concerting, concerts } n. การแสดงดนตรี, มโหรี, ความสอดคล้อง, การร่วมมือกัน, ความพร้อมเพรียงกัน -Phr. (in concert ร่วมกัน) adj. สำหรับการแสดงดนตรี, เกี่ยวกับการแสดงดนตรี. vt. กระทำหรือกำหนดร่วมกัน, Syn. unity, harm |
gamelan | (เกม'มะลัน) n, ระนาด, มโหรี |
orchestra | (ออร์'เคสทระ) n. วงดนตรี, มโหรี, See also: orchestral adj. |
serenade | (เซอระเนด') n. เพลงมโหรีในยามราตรี, เพลงรักในยามราตรี, เพลงเกี้ยวของหนุ่มชาวสเปน, ดนตรีประกอบเพลงดังกล่าว. vt., vi. ร้องเพลงดังกล่าว, บรรเลงเพลงดังกล่าว, บรรเลง ดนตรีประกอบเพลงดังกล่าว., See also: serenader n. |