มาระ | ก. โกรธ. |
กุมาร-ลฬิตา | (กุมาระละลิตา) น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กำหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร (ชุมนุมตำรากลอน). |
พะพาน | ก. พ้องพาน เช่น อย่าให้ความชั่วมาพะพาน, พบปะ เช่น ไม่ได้พบปะพะพานมานาน, เกี่ยวพัน เช่น กิ่งไม้ยื่นมาระพะพาน. |
มอระกู่ | น. เครื่องสูบยาของชาวอาหรับ ลักษณะเป็นขวดทรงสูงหรือหม้อมีขาหยั่ง ด้านบนมีถ้วยสำหรับใส่ยาเส้นผสมเครื่องเทศ เครื่องหอม หรือผลไม้ มีฝาปิด มีท่อต่อจากถ้วยยาลงมาถึงก้นขวดที่มีน้ำหล่ออยู่ เมื่อดูดจะทำให้ควันผ่านน้ำขึ้นมา, เขียนเป็น มรกู่ มระกู่ มะระกู่ หรือ มาระกู่ ก็มี เช่น ออกจากเก๋งเล็งแลเห็นแต่แขก ด้วยแปลงแปลกปลอมปนคนทั้งหลาย มีตุ้งก่ามาระกู่เหมือนผู้ชาย พระมุ่งหมายมองตามดูทรามเชย (อภัย) (ช.). |
มาร, มาร- | (มาน, มาระ-, มานระ-) น. เทวดาจำพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอยกีดกันไม่ให้ทำบุญ |
มารชิ, มารชิต | (มาระชิ, มาระชิด) น. “ผู้ชนะมาร” คือ พระพุทธเจ้า. |
มารวิชัย | (มาระ-, มาน-) น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. |
มารศรี | (มาระสี) น. นาง, นางงาม. |
ระดูทับไข้ | น. การมีระดูออกมาระหว่างเป็นไข้. |
ระแนง | ร่อน เช่น เอาแป้งมาระแนงให้เป็นผง (ขุนช้างขุนแผน). |
ระรวย | ว. รวย ๆ, แผ่ว, เบา, อ่อน, เช่น หายใจระรวย ลมพัดมาระรวย |
สินเดิม | น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงมีอยู่แล้วก่อนสมรส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างเป็นสามีภรรยาโดยทางพินัยกรรม หรือมีผู้ยกให้โดยเสน่หา เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้นั้นแสดงไว้ว่าให้เป็นสินเดิม. |
สินสมรส | น. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว. |
สินส่วนตัว | น. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส หรือที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา หรือทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น. |
หนังสือราชการ | น. เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่ หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการ หนังสือที่หน่วยงานอื่นซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการหรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน และเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ. |
อุสุม | ในไวยากรณ์เรียกเสียงพยัญชนะที่มีลมเสียดแทรกออกมาระหว่างลิ้นกับฟัน ว่า มีเสียงอุสุม ได้แก่เสียง ศ ษ ส. |