กรับคู่ | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็นจังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง. |
กรับพวง | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน ด้ามจิ้ว ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ. |
จับมือ | ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ. |
จับระบำ | ก. เริ่มฟ้อนรำ. |
นฤตย-, นฤตย์ | (นะริดตะยะ-, นะรึดตะยะ-, นะริด, นะรึด) น. การระบำ, การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. |
นัจ | น. การฟ้อนรำ. |
นัฏ | ก. ฟ้อนรำ. |
นัฏกะ | (นัดตะกะ) น. ผู้ฟ้อนรำ. |
นาฏ, นาฏ- | (นาด, นาตะ-, นาดตะ-) น. นางละคร, นางฟ้อนรำ, ใช้ประกอบกับคำอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. |
นาฏกรรม | (นาดตะกำ) น. การละครหรือการฟ้อนรำ |
นาฏศิลป์ | (นาดตะสิน) น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ. |
นาฏกะ | (นาดตะกะ) น. ผู้ฟ้อนรำ. |
นาฏย- | (นาดตะยะ-) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. |
พิลาส | ฟ้อนรำ. |
ภรตศาสตร์ | (พะรดตะ-) น. วิชาฟ้อนรำทำเพลง. |
รงค-, รงค์ | ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร |
ลาสนะ | (ลาสะ-) น. การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. |
เล็บนาง | น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลาฟ้อนรำ. |
วาด ๑ | ทอดแขนหรือกรายแขนอย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรำ. |