กินนรฟ้อนโอ่ | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือข้างใดข้างหนึ่งตั้งหงาย หักข้อมือระดับแง่ศีรษะ อีกมือหนึ่งตั้งวงกลางข้างลำตัว แขนตึง. |
ฟ่อน | น. หญ้าหรือต้นข้าวจำนวนมากที่เอามารวมกันเป็นมัดใหญ่ ๆ. |
ฟ้อน | ก. รำของทางภาคเหนือและภาคอีสาน, กราย. |
ฟ้อนแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนลาวแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก. |
ฟ้อนลาวแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก. |
มยุเรศฟ้อนใน | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือทั้งสองตั้งวงกลาง ลำตัวตั้งตรง หน้าตรง. |
ยูงฟ้อนหาง | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือทั้งสองตั้งวง แขนตึงส่งไปด้านหลัง เอียงศีรษะข้างใดก็ได้. |
กระย่อน | ยวบยาบ, แกว่ง เช่น ลมไกวกิ่งกลฟ้อน ก็กระย่อนอยู่ยานโยน (สมุทรโฆษ) |
กรับคู่ | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่ซีกหรือไม้แก่นเป็นคู่ สำหรับตีเป็นจังหวะในการฟ้อนรำขับร้อง. |
กรับพวง | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน ด้ามจิ้ว ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ. |
กลาป | (กะหฺลาบ) น. หมวด เช่น รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มี ๖ กลาป (ปรมัตถธรรมสังเขป จิตตสังเขป และภาคผนวก), ฟ่อน, กำ, มัด |
กะเลิด | น. ยานชนิดหนึ่ง คล้ายเลื่อน แต่ใช้เทียมด้วยวัวหรือควาย ไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สำหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น. |
เขน็ด | (ขะเหฺน็ด) น. ฟางที่ทำเป็นเชือกมัดฟ่อนข้าว, ขะเน็ด ก็ว่า. |
จับมือ | ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ. |
จับระบำ | ก. เริ่มฟ้อนรำ. |
ฉับฉ่ำ | ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี (บุณโณวาท). |
ชุด ๓ | การแสดงที่ไม่จับเป็นเรื่องราว เช่น ชุดระบำรำฟ้อน ชุดเบิกโรง, การแสดงตอนหนึ่ง ๆ ของโขนเป็นต้น เช่น ชุดพรหมาสตร์ ชุดนางลอย |
ตะโล้ดโป๊ด | น. ชื่อกลองสองหน้าชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๘๐ เซนติเมตร หน้ากว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ใช้ตีประกอบการฟ้อนและการเล่นพื้นเมืองทางภาคเหนือ, ใช้ตีคู่กับ กลองแอว. |
นฤตย-, นฤตย์ | (นะริดตะยะ-, นะรึดตะยะ-, นะริด, นะรึด) น. การระบำ, การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. |
นัจ | น. การฟ้อนรำ. |
นัฏ | ก. ฟ้อนรำ. |
นัฏกะ | (นัดตะกะ) น. ผู้ฟ้อนรำ. |
นาฏ, นาฏ- | (นาด, นาตะ-, นาดตะ-) น. นางละคร, นางฟ้อนรำ, ใช้ประกอบกับคำอื่น หมายความว่า หญิงสาวสวย เช่น นางนาฏ นุชนาฏ. |
นาฏกรรม | (นาดตะกำ) น. การละครหรือการฟ้อนรำ |
นาฏศิลป์ | (นาดตะสิน) น. ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ. |
นาฏกะ | (นาดตะกะ) น. ผู้ฟ้อนรำ. |
นาฏย- | (นาดตะยะ-) ว. เกี่ยวกับการฟ้อนรำ, เกี่ยวกับการแสดงละคร, เช่น นาฏยศาลา. |
พิลาส | ฟ้อนรำ. |
ภรตศาสตร์ | (พะรดตะ-) น. วิชาฟ้อนรำทำเพลง. |
ยาวัส | น. ฟ่อนหญ้า, หญ้าหรืออาหารสำหรับสัตว์. |
รงค-, รงค์ | ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร |
รวบ | ก. อาการที่เอาสิ่งต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกันให้เป็นฟ่อน เป็นมัด เป็นกลุ่ม เป็นกอง เป็นต้น, เอามือทั้ง ๒ ข้างหรือวงแขนโอบรัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าหาตัว เช่น รวบตัว รวบเอว รวบขา |
รำ ๒ | น. การแสดงที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว นิ้ว มือ และเท้า ไปตามลีลาดนตรี ใช้ผู้แสดงตั้งแต่ ๑ คนขึ้นไป มีลีลาและแบบท่ารำสวยงาม เช่น รำแม่บท รำฉุยฉายพราหมณ์, ถ้าเป็นการถืออาวุธประกอบเรียกว่า รำอาวุธ เช่น รำดาบ รำทวน รำกริช, บางครั้งมีการรำเป็นหมู่ก็เรียกว่า รำ เช่น รำโคม รำวง, อาการที่แสดงท่าแสดงท่าคล้ายคลึงเช่นนั้น, ฟ้อน. |
รำลาวแพน | น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก. |
ลาสนะ | (ลาสะ-) น. การฟ้อนรำ, การเต้นรำ. |
เล็บนาง | น. เครื่องสวมปลายนิ้วมือให้ดูเป็นเล็บยาวงอนในเวลาฟ้อนรำ. |
เลื่อน | น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สำหรับบรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นของภาคกลางเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้ลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. |
วาด ๑ | ทอดแขนหรือกรายแขนอย่างอ่อนช้อยในการฟ้อนรำ. |